หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความอัปลักษณ์ของการเมืองแบบ “กองเชียร์”

ความอัปลักษณ์ของการเมืองแบบ “กองเชียร์”


 
กองเชียร์เสื้อแดงพวกนี้ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ นักการเมืองเพื่อไทย ไม่ว่าเพื่อไทยจะหักหลังประชาชนอย่างไร กองเชียร์ก็จะหลับหูตาเชียร์ การสร้างกติกาที่เป็นธรรมในสังคมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม กลายเป็นประเด็นที่พวกกองเชียร์เลือกที่จะหันหลังให้ เป็นเงาสะท้อนพฤติกรรมของพรรคเพื่อไทยที่เลือกหันหลังให้กับประชาชนได้เป็น อย่างดี 

โดย สมุดบันทึกสีแดง 

กลางปีที่แล้ว ผู้เขียนได้เห็นความเห็นเทรนของคนรุ่นใหม่เสื้อแดง ซึ่งเป็นวัยรุ่นยังเรียนอยู่ในมหาลัย ได้โพสบนวอลเฟสบุ๊คของพวกเขาว่า “วันนี้เราได้คุยกับคุณลุงเสื้อแดง แลกเปลี่ยนประเด็นการเมือง...คุณลุงบอกว่าเรามีความคิดเหมือนคนอายุ 50!” แน่ นอนพวกเธอภูมิอกภูมิใจ ซึ่งเป็นเรื่องดีและเป็นเรื่องที่น่าอดสูในเวลาเดียวกัน เพราะ สังคมไทยมันล้าหลังและกล่อมเกลาให้คนคิดอยู่แต่ในกรอบ จนคนอายุ 50 สามารถคิดได้แค่ระดับคนอายุ 20 ปี

ถ้าคิดในภาพรวมสังคมสูญเสียความสร้างสรรค์ที่ปัจเจกคนหนึ่งพึงมี และปัจเจกเหล่านั้นพึงมีส่วนในการสร้างสังคม  โดยที่พวกเขาเหล่านั้นจะเป็นฐานเพาะให้กับสังคมที่มีความเสมอภาคในแง่มุม ต่างๆ หรือ ที่เรียกว่าการมีส่วนร่วมในการออกแบบสังคมใหม่ที่รับใช้คนส่วนใหญ่นั่นเอง อย่างไรก็ตามถ้ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและฝ่ายประชาธิปไตยเป็นฝ่ายชนะ การพัฒนาของสังคมและทัศนะของประชาชนจะก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็วมาก เหมือนที่เกิดขึ้นในสเปนหลังจากที่ล้มรัฐฟาสซิสต์ไป หรือ ตัวอย่างปัจจุบัน ประชาชนในอียิปต์ส่วนต่างๆ ได้ออกมาเรียกร้องและกดดันให้รัฐบาลปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา อาจารย์ ครู นักเรียน นักศึกษา ออกมาเรียกร้องให้ปลดคณะผู้บริหารที่เคยถูกแต่งตั้งโดยเผด็จการออกไป และเรียกร้องให้ทุกตำแหน่งในฝ่ายบริหารต้องมาจากการเลือกตั้ง หมอออกมาเรียกร้องให้รัฐเพิ่มงบให้กับโรงพยาบาลเพื่อปรับปรุง และบริการประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ฯลฯ

สองย่อหน้าแรกมันมีความสำคัญอย่างไร และทำไมผู้เขียนยกขึ้นมา

ศปช.แถลง นิรโทษกรรมแก้ไขความผิดพลาดปฎิบัติการของรัฐ คืนความยุติธรรมให้กับประชาชน

ศปช.แถลง นิรโทษกรรมแก้ไขความผิดพลาดปฎิบัติการของรัฐ คืนความยุติธรรมให้กับประชาชน

 

Photo: July 18, 2013

ท่านที่กรุณาติดตามงานเขียนและพูดของผมมาชั่วระยะหนึ่ง คงสังเกตได้เองว่าผมไม่ค่อยออมความเห็น หรือยับยั้งชั่งใจอะไรนัก จุดยืนทุกๆ เรื่องของผมต้องชัดเจนเสมอ ไม่ว่าจะ “ถูกใจตลาด” หรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ก็มิใช่เห่อเหิมหรือโอหัง แต่เป็นเพราะผมรู้สึกเคารพและให้เกียรติอย่างสูงต่อมวลชนผู้รับสาร ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศไทยตัวจริง และสมควรที่จะได้รับข้อเสนอที่ชัดเจนที่สุดจากเพื่อนร่วมชาติอย่างไม่มีอะไรเคลือบแฝงหรือถูกดูถูกว่าเป็นเด็ก เรื่องใดที่ผมยังนั่งอยู่บนรั้ว และตัดสินใจไม่ได้ว่าจะกระโดดลงมาข้างไหน ผมมักงดเว้นการแสดงความเห็นในเรื่องนั้นๆ ออกตัวมาอย่างนี้ในวันนี้ เพื่อจะบอกท่านว่า ผมอาจจะละเมิดกฎของตัวเองสักครั้ง ด้วยการแสดงความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งกำลังเป็นประเด็นสำคัญในบ้านเมือง และเป็นเงื่อนไขอันจำเป็นที่เราทั้งสองฝ่าย (หรือหลายฝ่าย) ต้องหาทางก้าวข้ามไปให้ได้ ถ้าหากเราอยากเป็นชาติเดียวกันต่อไปหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดนองเลือดกันอีกในอนาคตอันใกล้ 

แต่ความเห็นในวันนี้ ไม่ใช่การฟันธง ผมเพียงตั้งใจที่จะช่วยสางปมปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน ให้เราแลเห็นทางกันมากขึ้น เหมือนแกะปมผ้าออกทีละนิดหรือใช้หวีสางเส้นผมที่เกาะติดกันเป็นสังกะตัง เหตุผลที่ถอยออกมาก้าวหนึ่งและไม่ฟันธง ทั้งๆ ที่ผมก็มีความเห็นอันเป็นข้อสรุปอยู่ในใจ เพราะผมไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุร้ายเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ถึงจะติดตามเหตุการณ์ด้วยกรรมวิธีต่างๆ จนรู้รายละเอียดอย่างสมบูรณ์ ผมรู้สึกว่าเรื่องนี้พี่น้องมวลชนและแกนนำในที่เกิดเหตุ และได้เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายมา ควรเป็นผู้นำในการแสดงความคิดเห็นและสรุปว่าจะก้าวไปทางใดต่อ ผมขอทำหน้าที่เพียงผู้ร่วมให้ความเห็นคนหนึ่งต่อท่าน ทั้งในฐานะแนวร่วมที่ใกล้ชิด และในฐานะพลเมืองไทยผู้มิใช่ทาส แต่พร้อมเสมอที่จะร่วมผลักดันให้ข้อสรุปและแผนคืนความเป็นธรรมเหล่านี้ให้ปฏิบัติได้จริง ถึงจะต้องประสบกับแรงต้านทานของอำนาจเก่า และความไม่เข้าใจของฝ่ายเดียวกันขนาดไหนก็ตาม 

ขณะนี้เกิดร่างกฎหมายนิรโทษกรรมจากหลายแหล่งและหลายที่มา มีความแตกต่างกันในรายละเอียดที่สำคัญมากบ้างน้อยบ้าง ผมขอไม่แสดงความเห็นเจาะจงลงไปถึงระดับถ้อยคำสำนวน แต่จะชวนเชิญให้เราท่านพิจารณาในภาพรวม อันดับแรกสุด การเน้นว่าความเคลื่อนไหวครั้งนี้ คือการ “นิรโทษกรรม” และไม่ใช่การ “อภัยโทษ” นั้น เป็นหลักการที่ถูกต้อง และต้องรักษาไว้ให้สุดกำลัง คำว่า “นิร” ซึ่งอ่านว่า นิ-ระ มีความหมายว่า ไม่ หรือ ไม่มี การนิรโทษกรรมคือไม่มีกรรมนั้นๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องต่อสิ่งที่เราจะแก้ผิดให้เป็นถูก เพราะมวลชนทุกคนที่อยู่กักขังด้วยข้อกล่าวหาทางการเมืองตั้งแต่วันรัฐประหารเป็นต้นมานั้น รัฐต้องถือว่าเป็นผู้ไม่มีความผิดเลย จะบังคับหรือเกี่ยงให้เขายอมรับผิด แล้วจึงหลอกล่อ จะให้ “อภัยโทษ” นั้นไม่ได้ ถือว่าเสียหลักการขั้นพื้นฐานเลยทีเดียว แต่นี่เป็นคนละเรื่องกับผู้ถูกกล่าวหาจะใช้สิทธิของแต่ละคนนะครับ ถ้าเจ้าตัวเขาอยากยอมรับความผิดเพื่อแลกกับอิสรภาพเราก็ห้ามเขาไม่ได้ แต่เมื่อเราตั้งเรื่องขึ้นใหม่สำหรับมวลชนทั้งหมด เราเสนอได้เลยว่าทุกคนไม่มีความผิด ทุกคนที่ช่วยเหลือผลักดันในเรื่องนี้ต้องเชื่อเสียก่อนว่ามวลชนเหล่านี้คือผู้บริสุทธิ์ มิฉะนั้นจะกลายเป็นตัวอย่างที่เลวร้ายมากสำหรับอนาคต เพราะประชาชนยังต้องลุกขึ้นสู้อีกหลายครั้งเพื่อให้บ้านเมืองนี้เป็นของเขามากขึ้น ผู้เจรจาจะไปยอมรับความผิดแม้เพียงบางส่วนก็ไม่ได้ ถ้าเช่นนั้นเราลุกออกจากโต๊ะเจรจาเสียเลยจะมีประโยชน์กว่าในเชิงบรรทัดฐาน

อันดับสองคือการแยกแยะตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ “ฐานความผิด” ในเรื่องนี้ออกเป็นกลุ่ม ประสบการณ์ของผมที่ได้เข้าร่วมต่อสู้กับพี่น้องมวลชนมาตั้งแต่แรกก็พอมีอยู่ ผมเสนอให้แยกคนทั้งหมดออกเป็น ๓ กลุ่มหรือ ๓ ประเภทของความเกี่ยวข้อง (involvement / engagement) ได้แก่

1. ผู้วางแผนและผู้สั่งการ
2. ผู้บริหารกิจกรรมและผู้ตัดสินใจภาคสนาม 
3. มวลชนและแนวร่วม 

เรื่องนี้เปรียบกับการแข่งขันฟุตบอลอาจจะทำให้มองง่ายขึ้น ในการแข่งขันแต่ละนัดจะต้องมีผู้คนสามกลุ่มอยู่เสมอในแต่ละทีม นั่นคือ ผู้ฝึกสอน (โค้ช) ผู้เล่น (นักบอล) และผู้ชมในสนาม สามประเภทนี้ยกมาเปรียบเทียบกันได้กับสามประเภทที่ผมเสนอไว้เป็น แนวพิจารณา โค้ชเป็นผู้วางแผนและสั่งการ นักบอลเป็นผู้ตัดสินใจภาคสนาม และผู้ชมเป็นแฟนและผู้สนับสนุน ที่มาเชียร์โดยไม่รู้เบื้องหลังของแต่ละนัดว่าเขาวางแผนการเล่นมาอย่างไร คราวนี้ใส่สถานการณ์เข้าไปในสมการนั้น เอาเป็นว่าเกิด “ความผิดพลาด” ขึ้นในเกม เราก็ต้องเพ่งความสนใจไปที่ผู้วางแผนและผู้เล่นในสนามนั้นก่อน เพราะเป็นผู้ที่รู้แผนหรือมีความรับผิดชอบในภารกิจที่สำคัญคือทำให้ได้รับชัยชนะ แฟนบอลที่มาเชียร์นั้นไม่เกี่ยวข้องเลย ถึงจะตะโกนด่าอะไรลงมาหรือถึงขนาดฝ่าด่านวิ่งเข้ามาในสนาม ก็ต้องถือว่าไม่ใช่ผู้รับผิดชอบเกม นั้น และเป็นเพียงผู้รับผิดชอบในพฤติกรรมเฉพาะตัวที่กระทำลงไปเท่านั้น บุคคลในสองประเภทแรกจึงควรถือว่าเป็นผู้รับผิดชอบหลัก จะมีความผิดหรือไม่ต้องพิจารณากันอีกระดับหนึ่งและด้วยหลักฐานอีกแบบหนึ่ง 

เช่นเดียวกับการการชุมนุมทางการเมือง ที่แกนนำและผู้วางแผน (หากพิสูจน์ได้ว่ามี) ถือเป็นผู้รับผิดชอบหลัก และจะต้องแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง การตั้งเงื่อนไขว่า ไม่ผิด (นิร) ไว้ก่อน น่าจะกลายเป็นปมปัญหาใหม่ที่ทำให้เรื่องไม่จบง่ายและลุกลามไปได้ พูดอย่างนี้ก็มิใช่ว่าต้องผิด เพียงแต่มีหลักพิจารณาความผิด (หรือไม่ผิด) ที่แยกต่างหากไป ส่วนมวลชนหรือผู้ชมนั้น ไม่ควรมีความผิดเลย และควรเป็นเป้าหมายหลักของการชำระล้างมลทิน อันเนื่องมาจากการกล่าวหาทางการเมืองด้วย มวลชนเหล่านี้ต้องได้รับอิสรภาพโดยเร็ว ไม่มีประวัติอาชญากรติดตัว และได้รับการชดเชยในรูปใดรูปหนึ่งจากภาครัฐ

อันดับสามหรืออันดับสุดท้ายเป็นเรื่องของพื้นที่สีเทา แปลว่าก้ำกึ่งระหว่างผิดหรือไม่ผิด ซึ่งบางกรณีก็เป็นเพียงคำกล่าวหาที่ยังไม่อาจพิสูจน์ได้ การเขียนกฎหมายให้ครอบคลุมหรือเกี่ยวข้องกับพื้นที่สีเทาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนยิ่งกว่าสองประเด็นแรกที่กล่าวมา เมื่อคิดพิจารณาแล้ว ผมก็เห็นพื้นที่สีเทาอยู่อย่างน้อย ๓ ประเด็น ได้แก่

1. การเริ่มต้นกระทำและปฏิกิริยาตอบโต้ (action & reaction)
2. สิทธิในการป้องกันระบอบประชาธิปไตยและในการป้องกันตนเอง จนถึงสิทธิในการติดอาวุธ
3. กรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 

ผมขออธิบายความคละไปทั้งสาม ประเด็นว่า การฆาตกรรมประชาชนเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๒ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และระหว่างนั้นทั้งก่อนและหลัง ต้องตั้งประเด็นไว้ให้ชัดเจนว่าเป็นการเริ่มต้นกระทำ (action) ของรัฐบาล และ/หรือ กองทัพในขณะนั้น โดยมีผู้กุมอำนาจรัฐเป็นผู้วางแผนและสั่งการ (อาจต้องพิสูจน์โดยใช้หลักฐานแวดล้อม หากหาหลักฐานตรงไม่ได้)  และสิ่งที่มวลชนผู้ชุมนุมกระทำต่อมาทั้งหมดทั้งมวลเป็นปฏิกิริยา (reaction) ต่อการกระทำนั้น สิ่งสำคัญคือการสร้างหลักการในกฎหมายว่ามวลชนประชาธิปไตยมิใช่ผู้เริ่มก่อเหตุ โยงถึงประเด็นที่สองว่ามวลชนที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธสงคราม ย่อมมีเหตุผลในความเป็นมนุษย์ที่จะป้องกันตนเองให้รอดจากการกระทำของฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่า (self-defence) การแสวงหาสิ่งที่เขาจะมาใช้เป็นเครื่องป้องกันตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นก้อนหิน ท่อนไม้ หรือแม้กระทั่งอาวุธประจำกายที่เขามีไว้ก่อนแล้ว ต้องถือว่าเป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่เขาจะนำมาใช้ได้ แม้แต่ในกฎบัตรสหประชาชาติก็ยังระบุสิทธินั้นไว้ ข้อกล่าวหาในเรื่องอาวุธจึงต้องพิจารณาคู่ขนานไปกับประเด็นหลักฐานและหลักการในการป้องกันตนเองด้วย มิใช่ว่าเอาข้อกล่าวหาลอยๆ มาเป็นโจทย์ตั้งต้น และบิดเบือนคดีฆาตกรรมหมู่และเป็นสาธารณะครั้งนี้ให้เหลือเพียง “ปฏิกิริยา” จากฝ่ายรัฐและกองทัพในขณะนั้น ส่วนข้อสุดท้ายนั้น เราต้องถือว่าคดีหมิ่นฯ ที่เกิดขึ้นมากมายตามกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เป็นคดีการเมืองด้วย จู่ๆ มวลชนไม่ได้มีพฤติกรรมใหม่เช่นนี้ขึ้นมาลอยๆ แต่เป็นปฏิกิริยาต่อผู้ที่เขาเชื่อว่าเป็นเหตุปัจจัยในวิกฤติด้วยเช่นกัน.
    
*******************************************
TPNews : บริการข่าวสั้นผ่านมือถือ SMS สำหรับคนรักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ไม่ใส่ร้าย บิดเบือน ส่งตรงถึงมือถือของท่านทุกวัน ควบคุมงานข่าวโดย "จักรภพ เพ็ญแข"
สมัครง่ายๆ ระบบ AIS เพียงกด *455240415 แล้วโทรออก
ระบบ DTAC และ TRUE เข้าเมนูเขียนข้อความในมือถือของท่าน พิมพ์ pn แล้วกดส่งมาที่เบอร์ 4552146
ราคา 29 บาท / เดือน พิเศษ สมัครวันนี้ใช้ฟรี 14 วัน 
ย้ำการประกาศกฎหมายความมั่นคงขาดความชอบธรรม ระบุยังมีข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีด้วย กม.ที่ไม่เป็นธรรมที่ไม่เป็นที่เปิดเผย อีกมาก ย้ำหลักการนิรโทษกรรมต้องเป็นการแก้ไขความผิดพลาดของฝ่ายรัฐ และคืนความยุติธรรมให้กับประชาชน ไม่ใช่เหมาเข่งอ้างปรองดอง ต้องปฏิรูประบบยุติธรรมทั้งระบบ


วันที่ 26 ก.ค. 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) จัดเสวนาหัวข้อ 108 เหตุผลทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง

โดย กฤตยา อาชวณิชกุล ประธาน ศปช. กล่าวถึงเหตุผลที่จัดการเสวนาขึ้นว่า แม้ ศปช. จะจัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสลายการชุมนุมเมื่อเดือน เม.ย.–พ.ค. 2553 จะได้จัดทำรายงานเผยแพร่แล้ว ศปช. ก็ยังไม่ปิดตัว เพราะพบว่ายังมีประชาชนจำนวนมากที่ประสบชะตากรรมเรื่องคดีความ ศปช.จึงยังคงทำงานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อติดตามคดีความต่างๆที่ประชาชนทั้งผู้เข้าร่วมชุมนุมและไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมถูกจับกุม อันมีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ เมษา – พฤษภา 2553 สรุปได้ว่า มีการจับกุมตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2555 รวม 1,763 คน เป็นจำนวนคดีรวม 1,381 คดี และเมื่อรวมตัวเลขผู้ถูกจับกุมภายหลังด้วย ทำให้มี จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีรวม 1,833 คน (1,451 คดี) ในจำนวนนี้ เป็นผู้ถูกดำเนินคดีคดีสิ้นสุดแล้ว 1,644 คน อยู่ระหว่างจำคุก 5 คน และ คดีที่คดียังไม่สิ้นสุดประมาณ 150 คน  ได้ประกันตัว 137 คน (คดีก่อการร้าย 24 คน) ไม่ได้ประกันตัว ยังอยู่ในเรือนจำต่างๆ 13 คน นอกจากนี้ ศปช. พบว่ายังมีจำนวนหมายจับที่ยังจับกุมไม่ได้อีกหลายร้อย ในหลายจังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร อุดรฯ จ.อุบลฯ จ.ขอนแก่น และเชียงใหม่

ถ้านับจำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทาง การเมืองหลังรัฐประหาร พบว่า มีผู้ถูกดำเนินคดี เท่าที่รวบรวมได้ 55 ราย เป็นคดีที่คดีสิ้นสุดแล้ว 23 ราย ยังไม่สิ้นสุด 23 ราย และไม่ทราบสถานะคดี 9 ราย

ดังนั้นถ้ารวมตัวเลขทั้งหมด คือ 1,833 และ 55 ราย สรุปได้ว่ามีประชาชนถูกดำเนินคดีเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองหลังรัฐประหาร รวม 1,888 คน

ดร. กฤตยา กล่าวว่า ศปช. มีข้อสังเกตและข้อเสนอจากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมปี 2553 ของ ศปช. ว่า  ข้อมูลของ ศปช.จึงอาจยังไม่ครอบคลุมจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง โดยเฉพาะจำนวนและรายชื่อของผู้ที่ถูกออกหมายจับแต่ยังไม่มีการจับกุม และผู้ถูกดำเนินคดีในเหตุการณ์อื่นๆ เนื่องจาก ศปช.ไม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของข้อมูลเหล่านี้ได้ ดังนั้น หน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ที่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญจึงควรต้องใช้กลไก ของตนในการแสวงหาข้อมูล ผ่านทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด   ศาลยุติธรรม  หรือเปิดรับข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47871 

Intelligence ประจำวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556

Intelligence ประจำวันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2556 



กระตุกต่อมคิด กับ ศ.ธงชัย วินิจจะกูล ประธานสมาคมเอเชียศึกษา ว่าด้วยความภูมิใจต่างๆ นานาเกี่ยวกับชาติไทย และความเป็นไทย ที่เชื่อว่าวิเศษกว่าใคร เป็นหนึ่งเดียวในโลก
 
เอาเข้าจริงก็คือการหลอกตัวเอง มองโลกแคบ Provincialism ประเทศไทยไม่ได้วิเศษวิโสกว่าชาติอื่น แล้วก็ไม่ได้แย่กว่า มีดีมีแย่เป็นธรรมดา
 
ความรักชาติก็เหมือนรักบ้าน ไม่ว่าหลังใหญ่หลังเล็กก็คือบ้านของเรา ความรักชาติไม่จำเป็นต้องสร้างขึ้นด้วยการหลอกตัวเอง ความมั่นคงไม่จำเป็นต้องผูกติดกับคาถา "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" ซึ่งอันที่จริงก็เพิ่งสร้างขึ้นไม่กี่สิบปี ความมั่นคงขึ้นกับประชาชนมีวุฒิภาวะ รู้จักแก้ปัญหาในระบอบประชาธิปไตย
 
"ความเป็นไทย" เชื่อว่าวิเศษกว่าใครอื่น แต่กลับโทษการเมืองไทย วิกฤติที่สุดในโลก แล้วก็ทำรัฐประหาร ทั้งที่การเมืองไทยก็ไม่ได้ดีหรือเลวร้ายกว่าทั่วไป
 
"ความเป็นไทย" ยึดถือสังคมไทยเป็นเหมือนหมู่บ้าน ที่ต้องสมานฉันท์ สามัคคี ทั้งที่สังคมเติบโตแตกต่างหลากหลาย ต้องยอมรับความขัดแย้งและแก้ปัญหาด้วยประชาธิปไตย
 
"ความเป็นไทย" เชื่อว่าประชาธิปไตยต้องมีเกณฑ์ มีมาตรฐาน ต้องรอให้พร้อมจึงจะเป็นได้ ทั้งที่ประชาธิปไตยคือเครื่องมือแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติ

108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง

108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง


 

อ.กฤตยา อาชวนิจ
http://www.youtube.com/watch?v=Jx9hASNDy04 
อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
http://www.youtube.com/watch?v=nEle6p0cam4 
นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
http://www.youtube.com/watch?v=j-H0TWv4seM 
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์   
http://www.youtube.com/watch?v=vJj4gknwbfc 
จาตุรนต์ ฉายแสง
http://www.youtube.com/watch?v=Z1B5hCJ6Vkg 
 
ชมวิดีโอการอภิปรายของนักวิชาการถึงเหตุผลที่จะต้องนิรโทษกรรมนักโทษการ เมือง กฤตยา อาชวนิจกุล จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย

การอภิปรายนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน “108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง” จัดโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) เมื่อวันที่ 26 ก.ค.56 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47876