ผู้นำ"อังกฤษ-สก็อตแลนด์"เตรียมรับรองแผนทำ"ประชามติแยกประเทศ"
รัฐบาลสก็อตแลนด์ยืนยันว่าประสบผลสำเร็จในสิ่งที่เตรียมการไว้ที่ใช้ในการเจรจาเพื่อจัดทำประชามติแยกประเทศ
ทั้งนี้ คาดกันว่า คำถามที่จะใช้ในการลงประชามติว่าสก็อตแลนด์ต้องการแยกตัวจากสหราชอาณาจักร จะเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบเพียงว่า ใช่/ไม่ เท่านั้น และคาดว่า รัฐบาลอังกฤษจะจำกัดอำนาจบางส่วนไว้แก่รัฐสภาสก็อตแลนด์ เพื่อจัดการลงประชามติตามกฎหมาย ภายใต้กลไกที่เรียกว่า "เซ็กชัน 30" (Section 30) โดยคาดว่าการหยั่งเสียงครั้งนี้จะครอบคลุมถึงกลุ่มวัยรุ่นอายุ 16 ปีด้วย
นายกรัฐมนตรีคาเมรอนซึ่งประกาศคัดค้านการแยกสกอตแลนด์ออกจากสหราช อาณาจักรอย่างแข็งขันจะพบปะกับนายซัลมอนด์ ผู้นำพรรคสก็อตติชเนชันแนล (เอสเอ็นพี) ซึ่งชูนโยบายเอกราชสกอตแลนด์ที่เมืองเอดินเบอระหลังคณะรัฐมนตรีประกาศบรรลุ ข้อตกลงรายละเอียดสำหรับการทำประชามติแยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรในช่วงปลาย ปี 2014
นางสเตอร์เจียนกล่าวว่า การลงประชามติครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่สุดของประชาชนในรอบกว่า 300 ปี ว่าต้องการให้สก็อตแลนด์อยู่ในสถานะใด และไม่น่าประหลาดใจว่าชาวสก็อตส่วนใหญ่ต้องการอาศัยอยู่ในสังคมที่มีความ ยุติธรรมกว่า มั่งคั่งกว่า เท่าที่ความมีอิสรภาพจะเอื้ออำนวยให้ และหากเมื่อใดที่ข้อตกลงได้รับการลงนาม ประชาชนก็จะมีโอกาสในการกำหนดอนาคตได้ด้วยตนเอง
ด้านผลสำรวจความคิดเห็นระบุว่า แผนการรณรงค์แยกสกอตแลนด์เป็นประเทศเอกราชของนายซัลมอนด์ได้รับการสนับสนุน จากชาวสกอตเพียงร้อยละ 28 แต่จากกำหนดการลงคะแนนเสียงซึ่งจะมีขึ้นในอีกสองปีข้างหน้าทำให้พรรคเอสเอ็น พียังมีเวลาเก็บเกี่ยวเสียงสนับสนุน รัฐบาลสกอตแลนด์ได้รับมอบอำนาจบริหารเฉพาะในขอบเขตจำกัด โดยครอบคลุมถึงงานสาธารณสุข การศึกษา และระบบยุติธรรม ขณะที่การบริหารงานความมั่นคง พลังงาน และต่างประเทศยังคงเป็นของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งนายซัลมอนด์เรียกร้องให้สกอตแลนด์สามารถดำเนินนโยบายความมั่นคง เศรษฐกิจ และต่างประเทศด้วยตนเอง
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350202826&grpid=&catid=06&subcatid=0600