หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ปัญญาชนแรงงาน เขาหายไปไหน // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 เมษายน 56

ปัญญาชนแรงงาน เขาหายไปไหน // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 เมษายน 56


 
คลิกดาวน์โหลดได้ที่นี่
  
(ที่มา) 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/04/8-11-56.html

ทางเท้า... ภาพสะท้อนชนชั้นทางสังคม

ทางเท้า... ภาพสะท้อนชนชั้นทางสังคม
 
ยิ่งรถเก๋งราคาแพงๆ ก็ยิ่งบอกชนชั้นและถ่างช่องว่างอย่างชัดเจน ซึ่งรถเหล่านี้พร้อมจะแผดเสียงแตรแสดงอำนาจ และไล่ชนคนเดินเท้าอย่างไม่ยี่หระ ข่าวบรรดาคนดัง ไฮโซ และลูกเศรษฐีขี่รถเฟอรารี่ ขี่โรลสลอยแพงระยับระดับคันละหลายสิบล้านก่อเหตุสยดสยองบนท้องถนนมีบ่อย ครั้งอย่างน่าเอน็จอนาจ 

โดย ยังดี  โดมพระจันทร์ 

ในสังคมไทย และอีกหลายสังคมที่ล้าหลัง ทางเท้านอกจากเป็นที่ทางสำหรับการก้าวเท้าเดิน ยังเป็นอะไรอีกหลายอย่าง เช่น ที่จอดรถวิน ที่กินข้าว เป็นลู่วิ่งจักรยาน ทางซิ่งมอเตอร์ไซค์  เป็นที่ขายของ ขายล็อตเตอร์รี่ เป็นที่ซ่อมนาฬิกา ปะชุนเสื้อผ้า แม้กระทั่งที่ซ่อมรถยนต์ ทางเท้าเป็นทั้งสนามเด็กเล่น เป็นที่พักผ่อน เป็นที่นอนคนจรจัด เป็นสารพัดดราม่า ที่หากินยามค่ำคืน คนตื่นเช้าทางเท้าใช้ออกกำลังกาย เป็นที่ถวายอาหารพระ สำหรับขบวนการประชาธิปไตย ทางเท้าเป็นที่ตั้งเวทีปราศรัย ที่ชุมนุมเดินขบวน เป็นที่พักคนงาน และเป็นทั้งสุขาสาธารณะ ฯลฯ

• ทางเท้า...ใครเล่าเป็นเจ้าของ

ท่าพระจันทร์ที่เคยพลุกพล่าน วันนี้กลับดูเงียบเหงาไป ท่าเรือปิดตายมาเป็นปี เสียงเพลงเจื้อยแจ้วของวณิพกตาบอดริมทางเท้าก็เงียบหาย เพลงประจำเคยขับขานอย่าง

“....คิดถึงพี่หน่อยนะกลอยใจเจ้า พี่ตรม พี่เหงาเพราะคิดถึงเจ้าเชื่อไหม ฝากใจกับจันทร์ ฝากฝันกับดาว ทุกคราวก็ได้ เราต่างสุขใจเมื่อคิดถึงกัน คืนไหนข้างแรมฟ้าแซมดารา น้องจงมองหาดาวประจำเมือง ทุกคืนเราจ้องดูเดือนดาว ทุกคราวเราฝันเห็นกันเนืองเนือง ถึงสุดมุมเมืองไม่ไกล...”

คนค้าขายขนมจีบหัวมุมถนนบอกเล่าว่าที่ทางแถวนี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะ “ทัศนียภาพ” ไม่อำนวย หมายความว่าสกปรกรกรุงรังในสายตาใครบางคน  แม้ทางเดินจะคับแคบแต่คนจำนวนมากก็ชอบมาซื้อหาของกินข้างทาง  นี่อาจจะเป็นความปรองดองที่อยู่ร่วมกันได้ในชนชั้นเดียวกัน

แต่คนธรรมดาต้องไม่พอใจกับภาวะจำยอมแบบนี้ ถามว่าแบบนี้น่ะแบบไหน ก็คือแบบไร้ที่ไร้ทาง ทางเดินเท้าก็คับแคบ เสี่ยงกับขอบกระทะทอดมัน ขอบเตาหมูย่าง ที่ทางของพ่อค้าแม่ขายรายย่อยๆที่เบียดเสียด และที่ทางของคนว่างงาน คนพิการ ที่ต้องแปรตัวเองมาเป็นวณิพก มาเป็นขอทานใช้ทางเท้าร่วมกัน

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand 
 

Coffee with : ดร.โสภณ พรโชคชัย

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 8 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
Coffee with : ดร.โสภณ พรโชคชัย 
http://www.dailymotion.com/video/xytltp_coffee-with-yy-yyyy 


  
รักชาติเทียมเทียม เมื่อวัยรุ่นไทยเกณฑ์ทหาร

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 8 เมษายน 2556  ตอนที่ 1 
รักชาติเทียมเทียม เมื่อวัยรุ่นไทยเกณฑ์ทหาร
http://www.dailymotion.com/video/xytkpn_y-yyyy-yy 
 

เกาหลีคือเหยื่อของมหาอำนาจ

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 5 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
เกาหลีคือเหยื่อของมหาอำนาจ
http://www.dailymotion.com/video/xyr2w3_yyyyy-y- 


  
ประชาชน vs ศาลรัฐธรรมนูญ คู่กรรมคู่ใหม่

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 5 เมษายน 2556  ตอนที่ 1    
ประชาชน vs ศาลรัฐธรรมนูญ คู่กรรมคู่ใหม่
http://www.dailymotion.com/video/xyr23n_yyyyyyy-vs-yyyy 

Divas Cafe ประจำวันที่ 8 เมษายน 2556

Divas Cafe ประจำวันที่ 8 เมษายน 2556

 

รู้จักกับนักสตรีนิยม ผู้มีความสัมพันธ์ลับกับอดีตผู้ว่า IMF สุดอื้อฉาว

http://www.dailymotion.com/video/xytnea_y-y-yy- 

ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน

ทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลาน

 

โดย วีรพงษ์ รามางกูร 

พ.ร.บ.กู้ยืมเงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะไปลงทุนสร้างระบบรางรถไฟ ประโยชน์โภชน์ผลคงไม่ต้องพูดกันแล้ว เพราะฝ่ายรัฐบาลอภิปรายไปแล้ว

ก็เหลือประเด็นที่ฝ่ายค้านใช้เวลาอภิปรายว่า จะเป็นการเปิดช่องให้มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง กับสร้างหนี้ไว้ให้ลูกหลาน ควรใช้งบประมาณประจำปีดีกว่า

ประเด็นเรื่องคอร์รัปชั่น ไม่มีใครกล้ารับประกันได้ แต่ต้องช่วยกันป้องกัน ถ้าเล็ดลอดไปได้ ก็ต้องหาทางเอาตัวมาลงโทษให้ได้

แม้ว่าอาจรับประกันได้ ก็ยังต้องลงทุน ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ การฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างหยาบคาย ก็เหมือนกับสังคมป่วยเป็นริดสีดวงทวาร เข้าห้องเล็กเมื่อไหร่ก็เจ็บปวด มีเลือดไหลทุกที เพราะเป็นจนเรื้อรังไปแล้ว รักษาก็ยาก แต่เมื่อเป็นริดสีดวงแล้วจะไม่ยอมเข้าห้องเล็ก ก็เห็นจะไม่ถูก เมื่อถึงเวลาก็ต้องเข้า แล้วควรระวังดูแลอย่าให้เจ็บปวดมาก รักษากันไป

นักศึกษากับการออกนอกระบบ

นักศึกษากับการออกนอกระบบ


โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ 
 
นักศึกษาของมหาวิทยาลัย "นอกระบบ" ที่เหลืออยู่ คงประสบความล้มเหลวต่อไปที่จะขัดขวางการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยเหล่านั้น เพราะนักการเมืองในสภาไม่สนใจเรื่องนี้

ผมคิดว่า การชุมนุมประท้วงอย่างที่นักศึกษาทำมาหลายครั้งแล้วนั้น ไม่บังเกิดผล น่าจะคิดถึงการล็อบบี้ให้ข้อมูลความรู้แก่นักการเมืองมากกว่า ด้วยความไร้เดียงสาทางการเมืองของตัวผมเอง ผมไม่ทราบว่านี่จะเป็นยุทธวิธีที่ดีกว่าหรือไม่ เพียงแต่แน่ใจว่าการชุมนุมประท้วงอย่างเดียว ไม่บังเกิดผลอะไร อย่างที่ไม่เคยบังเกิดผลอะไรในเรื่องนี้ตลอดมา

ผมจึงอยากแบ่งปันความรู้ (โบราณๆ) เท่าที่มีอยู่กับนักศึกษาในเรื่องนี้

ความ คิดเรื่องเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการเริ่มมีมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 2510 ส่วนใหญ่ของผู้เสนอเป็นปัญญาชนนอกระบบ กล่าวคือแม้จะรับราชการอยู่ ก็ไม่เป็นที่วางใจหรือโปรดปรานของเผด็จการทหารในช่วงนั้น ผมเข้าใจว่า จุดมุ่งหมายของปัญญาชนเหล่านั้นมีเป็นสองประการ

1.ระบบราชการทำให้ การศึกษาค้นคว้าและการถ่ายทอดความรู้ไม่เป็นไปโดยอิสระ เพราะจะต้องถูกผู้บริหารมหาวิทยาลัยกำกับให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ เนื่องจากผู้บริหารเองก็ต้องได้รับความไว้วางใจจากระบอบปกครองเหมือนกัน กล่าวอย่างสั้นๆ ก็คือ ตราบเท่าที่มหาวิทยาลัยยังเป็นหน่วยราชการ ก็ไม่มีทางที่จะมีเสรีภาพทางวิชาการได้

ว่าโดยหลักการก็ใช่ แต่อันที่จริง เสรีภาพทางวิชาการไม่เคยเป็นปัญหาใหญ่ของมหาวิทยาลัยไทย ไม่ใช่เพราะมีเสรีภาพเต็มเปี่ยมนะครับ แต่เพราะไม่มีใครคิดอยากใช้มันต่างหาก แม้ในช่วงนั้นเอง ผมก็ได้ยินมาว่ารัฐพยายามขัดขวางการทำงานบางอย่างของอาจารย์มหาวิทยาลัย เพราะเห็นว่าเป็นอันตรายต่อความมั่นคง แต่รัฐก็หลีกเลี่ยงที่จะใช้วิธีรุนแรงอะไร พอใจเพียงจะขีดเส้นที่มองไม่เห็นเอาไว้ว่าอย่าล้ำเกินเส้นนี้ เพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยขีดให้ชัดเอาเอง และตามธรรมชาติคนเราก็มักจะขีดให้ต่ำๆ ไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย แต่การขัดขวางเสรีภาพทางวิชาการของรัฐก็เกิดขึ้นกับอาจารย์เพียงไม่กี่คน และไม่เป็นข่าวใหญ่อะไร

การเมือง ฮอตฮ้อน รัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ประหมัด เลือดเดือด

การเมือง ฮอตฮ้อน รัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ประหมัด เลือดเดือด



ขณะ ที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 3 ต่อ 2 รับพิจารณาคำร้อง นายสมชาย แสวงการ ให้วินิจฉัยการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ในตอนบ่าย

ตอนดึกของคืนวันที่ 3 เมษายน วันเดียวกัน

ที่ประชุมรัฐสภาลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ อันเสนอโดย 312 ส.ส. และ ส.ว.

367 ต่อ 204 รับร่างแก้ไขมาตราว่าด้วยที่มาของ ส.ว.

374 ต่อ 209 รับร่างแก้ไขมาตรา 190 ว่าด้วยการทำสนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศ

374 ต่อ 206 รับร่างแก้ไขมาตรา 68 และ 237

นี่ไม่เพียงแต่ยืนยันตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า รัฐสภามีอำนาจในการสถาปนา แก้ไข เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ

หากเท่ากับเป็นการปะทะโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ

ขณะ เดียวกัน การรับคำร้องจาก นายสมชาย แสวงการ อย่างรวดเร็วก็เป็นการยืนยันอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อการสถาปนา แก้ไข เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญด้วย

ถึงครา "รัฐสภา" กับ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ต้องปะทะกัน

ต้องชมเชย นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ที่ทำให้ภาวะเหลื่อมซ้อนระหว่างอำนาจของรัฐสภากับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นประเด็นขึ้นมา

หากถาม นายสมชาย แสวงการ ต้นเหตุย่อมมาจากการเสนอแก้ไขมาตรา 68

หากถามสมาชิกรัฐสภาจำนวน 312 ซึ่งถูกร้องว่ากระทำความผิด ต้นเหตุย่อมมาจากความคลุมเครือของมาตรา 68

คดีประหลาดยิ่งจริงยิ่งหมิ่น

คดีประหลาดยิ่งจริงยิ่งหมิ่น

 

 
โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ


เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ที่ผ่านมานี้ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ได้อ่านคำพิพากษา คดี นายเอกชัย หงส์กังวาน ที่ถูกฟ้องในความผิดฐาน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ และ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวิดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ คือ การประกอบกิจการจำหน่ายวีดีทัศน์ฯโดยไม่ได้รับอนุญาต ในที่สุด ศาลก็ตัดสินว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง จึงให้ลงโทษจำคุก ๕ ปี และปรับ ๑ แสนบาท แต่เนื่องจากจำเลยเบิกความเป็นประโยชน์ลดโทษให้ ๑ ใน ๓ คงเหลือโทษจำคุก ๓ ปี ๔ เดือน และปรับ ๖๖,๖๖๖ บาท และหลังจากนั้น นายเอกชัยก็ถูกนำตัวเข้าคุกทันที


คงต้องอธิบายไว้ในที่นี้ว่า คดีนี้เป็นอีกกรณีหนึ่งของข้อถกเถียงในทางวิชาการเรื่องความไม่เป็นธรรมที่ เกิดจากการตัดสินของศาล เพราะความจริงแล้ว กรณีนี้ในทางเหตุผลและหลักฐานไม่อาจจะอธิบายได้เลยว่า นายเอกชัยมีความผิด