หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญของ “การปฏิวัติถาวร” ในโลกปัจจุบัน

ความสำคัญของ “การปฏิวัติถาวร” ในโลกปัจจุบัน

 


 
Leon Trotsky

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


คำว่า “การปฏิวัติถาวร” เป็นคำที่คาร์ล มาร์คซ์ เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1848 เมื่อเขาเห็นว่าชนชั้นนายทุนในยุโรปหมดสภาพในการเป็น “ชนชั้นก้าวหน้าปฏิวัติ” ที่จะล้มซากของระบบฟิวเดิลที่ยังหลงเหลืออยู่ก่อนหน้านั้นในปี 1640-1688 ในอังกฤษ ในปี 1776 ที่อเมริกา และในปี 1789 ที่ฝรั่งเศส

ชนชั้นนายทุนเป็นหัวหอกในการนำการปฏิวัติที่ล้มอำนาจเก่า แต่พอมาถึง ค.ศ. 1848 ชนชั้นนายทุนเกรงกลัวชนชั้นใหม่ที่ยืนอยู่ข้างหลัง นั้นคือชนชั้นกรรมาชีพ นายทุนกลัวว่าถ้าปลุกกระแสปฏิวัติ กรรมาชีพจะไม่หยุดง่ายๆ และจะต่อสู้ต่อไปเพื่อกำจัดการกดขี่ขูดรีดของนายทุนและอำนาจเก่าที่เป็นซาก ระบบขุนนางด้วยพร้อมๆ กัน ดังนั้นการลุกฮือปฏิวัติถาวรของกรรมาชีพคือสิ่งที่คาร์ล มาร์คซ์หันมาสนับสนุนเต็มที่ตั้งแต่ 1848


ในปี ค.ศ. 1906
ลีออน ตรอทสกี เริ่มฟื้นฟูความคิดปฏิวัติถาวรของมาร์คซ์ในรัสเซีย เพื่อเสนอว่ากรรมาชีพรัสเซียต้องต่อสู้อิสระจากนายทุนชาตินิยม และควรก้าวข้ามขั้นตอนประชาธิปไตยทุนนิยมหลังล้มกษัตริย์ซาร์ เพื่อไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยมและอำนาจของรัฐกรรมาชีพทันที และเราก็เห็นว่าในปี 1917 การล้มกษัตริย์ซาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามมาด้วยการปฏิวัติสังคมนิยมในเดือนตุลาคม โดยที่พรรคบอล์เชวิคเป็นหัวหอกของกรรมาชีพผู้ปฏิวัติ และเลนินมีข้อสรุปตรงกับมาร์คซ์และตรอทสกี มาตั้งแต่เดือนเมษายน 1917 อีกด้วย

หลังการปฏิวัติรัสเซีย ประเด็นเรื่อง
“การปฏิวัติถาวร” กลายเป็นเรื่องชี้ขาดในการปฏิวัติจีนและสเปน แต่พรรคคอมมิวนิสต์สากลสมัยนั้นเริ่มตกอยู่ในมือของพรรคพวกของสตาลิน ที่ขึ้นมาปฏิวัติซ้อนและระงับความก้าวหน้าของรัสเซีย สตาลินเน้นเสถียรภาพของรัสเซียและของรัฐบาลข้าราชการแดงเป็นหลัก จึงไม่อยากให้การปฏิวัติในที่อื่นๆ มารบกวนการคานอำนาจทั่วโลก เพราะเขาต้องการเอาใจมหาอำนาจทุนนิยมตะวันตก

ดังนั้นพรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลินเหมาในจีน และสายสตาลินในสเปน เริ่มปฏิเสธแนวปฏิวัติถาวร เพื่อทำแนวร่วมกับนายทุนชาตินิยมแทน ผลคือนายทุนชาตินิยมในพรรคก๊กหมินตั๋งจีน จัดการปราบและสลายพวกคอมมิวนิสต์ จนสหายที่รอดตายต้องหนีออกจากเมือง และในสเปนการยอมจำนนต่อทุนนิยมทำให้กระแสปฏิวัติพ่ายแพ้และฟาสซิสต์ขึ้นมา ครองประเทศได้


หลังจากนั้น จนถึงยุคพังทลายของกำแพงเมืองเบอร์ลินและการสิ้นสุดของสงครามเย็น องค์กรหลักที่คัดค้านการปฏิวัติถาวร เพื่อระงับการต่อสู้ไม่ให้ไปถึงสังคมนิยม คือพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก และพรรคเหล่านี้ ไม่ว่าจะในตะวันออกกลางหรือในอินโดนีเซียหรือไทย ก็เสนอให้ฝ่ายซ้ายจับมือกับผู้นำชนชั้นนายทุน เช่น นาเซอร์ในอียิปต์ ซะดัมในอิรัก ซุการ์โน ในอินโดนีเซีย หรือสฤษดิ์ ในไทย และทุกครั้งโดยไม่มีข้อยกเว้น ผู้นำเหล่านั้นจะหักหลังพรรคคอมมิวนิสต์ และการต่อสู่ก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้และการนองเลือด


หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ล่มสลายทั่วโลก ประเด็นการปฏิวัติถาวรไม่ได้จบไป เมื่อต้นปี ค.ศ. 2011 ในตะวันออกกลาง มีการลุกฮือล้มเผด็จการ และเรื่อง
“การปฏิวัติถาวร” กลายเป็นเรื่องแหลมคมอีกครั้ง เพราะคนที่คัดค้านการปฏิวัติถาวรไปสู่อำนาจกรรมาชีพและสังคมนิยม กลายเป็นรัฐบาลทหารอียิปต์และพรรคมุสลิม เพราะสองกลุ่มอำนาจนี้ต้องการรักษาโครงสร้างเดิมในอียิปต์ไว้แต่เปลี่ยนแค่ ผู้นำ จากผู้นำเผด็จการมูบารัก ไปสู่ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง โดยที่สภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย ดังนั้นเราจะเห็นว่าคนหนุ่มสาวและนักสังคมนิยมที่ออกมาต่อสู้กับรัฐบาลทหาร ในอียิปต์เมื่อปลายปีเดียวกัน เป็นพวกที่ต้องการให้ปฏิวัติถาวร


ในลิบเบีย มหาอำนาจตะวันตกเข้ามาแทรกแซงการปฏิวัติเพื่อล้มเผด็จการกาดาฟี เพื่อไม่ให้นักสู้รากหญ้าเดินตามแนวปฏิวัติถาวร ตะวันตกต้องการเปลี่ยนผู้นำ แต่ต้องการรักษาโครงสร้างที่พร้อมจะขายน้ำมันให้บริษัทข้ามชาติ

ในไทย หลังจากที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ต้องการที่จะให้โครงสร้างเก่าคงอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรัฐบาล จากรัฐบาล “พรรคทหาร” ไปสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราเห็นชัดในกรณีที่เพื่อไทยและ นปช. ไม่ยอมแตะอำนาจทหาร และกฎหมายเผด็จการต่างๆ เช่น 112 เป็นต้น และถ้าเราต้องการให้ไทยเป็นประชาธิปไตยแท้ และต้องการเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในสังคม เพื่อยุติการกดขี่ขูดรีด เราต้องสู้ต่อไป ไม่ใช่หยุดอยู่แค่ขั้นตอนการมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเท่านั้น

ทั้งหมดนี้แสดงให้เราเห็นความสำคัญของ “การปฏิวัติถาวร” ในโลกปัจจุบัน

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2011/12/blog-post_06.html

Wake up Thailand ประจำวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2555

Wake up Thailand ประจำวันพุธที่ 31 ตุลาคม 2555
       


รำลึกนวมทอง ไพรวัลย์

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xuq6e9

The Daily Dose ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2555


  
ธนาคารยุโรปรับผิดชอบตนเอง

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xuqkvy

Divas Cafe ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 31 ตุลาคม 2555


 
รำลึก 6 ปี นวมทอง ไพรวัลย์ แท๊กซี่ผู้พลีชีพเพื่อต้านรัฐประหาร

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xuqdl2_yyy-y-6-

วิกฤติศีลธรรมบีบีซี: เมื่อความเชื่อมั่นของสาธารณะสั่นคลอน

วิกฤติศีลธรรมบีบีซี: เมื่อความเชื่อมั่นของสาธารณะสั่นคลอน

 


 
เซอร์ เจมส์ วิลสัน วินเซนท์ เซวิลล์ หรือ "จิม เซวิลล์"
 
'จิม เซวิลล์' อดีตผู้ดำเนินรายการชื่อดังของบีบีซีผู้เสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว ได้สร้างความสั่นสะเทือนในสังคมอังกฤษ เมื่อพบหลักฐานเร็วๆ นี้ว่าเขาอาจล่วงละเมิดเด็กทางเพศกว่า 300 คนตลอดการทำงาน 40 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดวิกฤติความเชื่อมั่นต่อบีบีซีที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี


"จิม เซวิลล์" เป็นที่รู้จักในฐานะนักจัดรายการวิทยุชื่อดังของสถานีข่าวบีบีซี เขาเป็นผู้ดำเนินรายการจัดชาร์ตเพลงอังกฤษ "Top of the Pops" คนแรกและคนสุดท้าย และยังทำรายการ "Jim'll Fix It" มาต่อเนื่องกว่า 40 ปี รายการดังกล่าวคล้ายกับรายการ "ฝันที่เป็นจริง" บ้านเรา คือ ให้เด็กๆ (และคนทั่วไป) เขียนขอพรมายังรายการ และ "ลุงจิม" ก็จะเดินทางไปทำคำขอดังกล่าวให้เป็นจริง


จิม เซวิลล์ ผู้เสียชีวิตเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ยังได้รับมอบตำแหน่ง "ขุนนาง" จากกษัตริย์อังกฤษในปี 1990 จากการทำงานเพื่อมูลนิธิสำหรับเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ เขายังใกล้ชิดเป็นอย่างดีกับอดีตนายกรัฐมนตรี มากาเร็ต เเธ็ตเชอร์ และเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หลังจากการเสียชีวิตของเซวิลล์ต่อมา 1 ปี สก็อตแลนด์ยาร์ด องค์กรตำรวจของอังกฤษออกมาเปิดเผยว่า พวกเขาได้เริ่มทำการสอบสวนกรณีล่วงละเมิดทางเพศเด็กของเซวิลล์ โดยมีผู้เสียหายแล้วอย่างน้อย 10 ราย และมีเบาะแสว่าเขาได้ทำเช่นเดียวกันกับเหยื่ออีกราว 300 คน ตลอดชีวิตการทำงาน 40 กว่าปีที่ผ่านมาของเขา โดยเหยื่ออายุน้อยที่สุดมีอายุเพียง 10 ขวบ เด็กที่ป่วยและพิการ ไปจนถึงผู้ชายที่แปลงเพศเป็นหญิง

มีรายงานว่า จิม เซวิลล์ ได้ใช้การเข้าถึงตัวเด็กๆ ผ่านทางรายการโทรทัศน์ มูลนิธิ การเข้าเยี่ยมผู้ป่วยเยาวชนในโรงพยาบาล เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ ผู้ที่เคยถูกเซวิลล์ล่วงเกิน เริ่มออกมาให้ปากคำถึงการกระทำของเขา อาทิ เควิน คุก ซึ่งอายุ 9 ขวบในปี 1976 และได้ไปออกรายการ Jim'll Fix It และถูกเซวิลล์ลวนลามในขณะที่อยู่ในห้องแต่งตัว หรือ นาง แคริน วาร์ด ซึ่งกล่าวว่าตนถูกเซวิลล์ล่วงละเมิดในขณะที่อยู่ในโรงเรียนหญิงล้วนในเมือง เซอร์เรย์เมื่อเธอยังเป็นเด็ก เช่นเดียวกับนายสตีเวน จอร์จ ซึ่งพักรักษาตัวจากการผ่าตัดแปลงเพศที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอังกฤษ กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นช่วงที่เซวิลล์เริ่มเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตนเองถูกเซวิลล์เข้ามาคุมคามทางเพศในห้องพัก เขาชี้ว่า เขาให้การกับตำรวจหลังออกจากโรงพยาบาล แต่ตำรวจกลับไม่เชื่อ และไม่ได้ลงบันทึกการฟ้องดังกล่าวไว้
  
(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43349

กลุ่ม24มิถุนาฯ รำลึก 6 ปี "ลุงนวมทอง”

กลุ่ม24มิถุนาฯ รำลึก 6 ปี "ลุงนวมทอง”

 

 
 
รำลึกอุดมการณ์ นวมทอง ไพรวัลย์
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Vxk2kLnKKgM


กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย จัดรำลึก 6 ปี การอัตตวินิบาตกรรม “ลุงนวมทอง ไพรวัลย์” คนขับแท็กซี่ต้านรัฐประหาร สุชาติ นาคบางไทร เรียกร้องเป็นวันสำคัญของประเทศไทย

วันนี้(31 ต.ค.55) เวลา 10.00 น. ที่สะพานลอยหน้าไทยรัฐ ถนนวิภาวดีรังสิต ประชาชนประมาณ 50 คน นำโดย กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย จัดกิจกรรมรำลึก 6 ปีการเสียชีวิตของ "นวมทอง ไพรวัลย์" คนขับแท็กซี่ที่ผูกคอเสียชีวิตบริเวณดังกล่าว โดยในจดหมายลาตายระบุว่า ต้องการลบคำสบประมาทของ พันเอก อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) ที่ว่า ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้ จากการที่ก่อนหน้านั้น 30 ก.ย.49  นายนวมทอง ได้ขับแท็กซี่พุ่งชนรถถังของ คปค. เพื่อประท้วงการรัฐประหาร ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรง จนได้รับบาดเจ็บสาหัส

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/node/43425

โรเบิร์ต ฟิสก์: ไม่ว่าโอบาม่าหรือรอมนีย์ชนะ ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อาหรับ จะเปลี่ยนไป

โรเบิร์ต ฟิสก์: ไม่ว่าโอบาม่าหรือรอมนีย์ชนะ ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-อาหรับ จะเปลี่ยนไป

 


โรเบิร์ต ฟิสก์ นักข่าวผู้เชี่ยวชาญเรื่องตะวันออกกลางเขียนบทความลงเว็บไซต์ The Independent เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมาเกี่ยวกับมุมมองเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐฯ กับผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับโลกอาหรับ โดยจั่วหัวไว้ว่า "ไม่ว่าโอบาม่าหรือรอมนีย์เป็นฝ่ายชนะ ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับโลกอาหรับต้องเปลี่ยนไปแน่นอน"


"ผู้อ่านบทความนี้คงแก่หรือตายไปก่อนที่ 'การปฏิวัติ' อาหรับจะเสร็จสิ้นจริงๆ และปาเลสไตน์ก็เป็นฝ่ายเดียวที่ไม่ได้ประโยชน์จากมันเลย" ฟิสก์กล่าว

บทความของฟิสก์ขึ้นต้นว่า ทั้งโอบาม่า และรอมนีย์ ดูจะเข้าข้างอิสราเอลกันทั้งคู่ และชาวอาหรับก็ต้องตักสินใจนานมากกว่าจะบอกว่าใครจะเป็นคนที่ดีกว่าสำหรับ ชาวตะวันออกกลาง ดูเหมือนโอบาม่าจะเป็นคนที่เหมาะสมในกรณีนี้ แต่ก็มีเรื่องน่าเศร้าบางอย่างที่ทำให้สองคนนี้ไม่ต่างกัน

ฟิสก์เล่าว่า จอร์จ บุช ได้สั่งกองทัพบุกอิรักหลังจากให้อนุญาตอาเรีย ชารอน อดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอลยึดเขตเวสท์ แบงค์ ไว้เป็นอาณานิคมต่อไป โอบาม่าถอนทัพจากอิรักเพิ่งการโจมตีด้วยโดรนมากขึ้นในเขตพรมแดน ปากีสถาน-อัฟกานิสถาน และยอมจำนนต่อเบนจามิน เนทันยาฮู เมื่อเขาบอกว่าจะไม่มีการหารือกันเรื่องให้อิสราเอลถอนกำลังไปยังพรมแดนปี 1967

"แทนที่จะบอกว่า 'มันควรจะมีการหารือ' อย่างที่ประธานาธิบดีที่เข้มแข็งและเป็นตัวของตัวเองควรทำ โอบาม่านั่งขลาดๆ อยู่บนเก้าอี้ทำเนียบขาว ขณะที่นายกฯ อิสราเอลบอกเขาว่าข้อมติ 242 ของยูเอ็น ที่พูดถึง 'กระบวนการสันติ' อันไม่เคยมีอยู่จริง ไม่มีโอกาสสำเร็จตั้งแต่ต้น" ฟิสก์กล่าวในบทความ

ขณะเดียวกันฟิสก์ก็กล่าววิจารณ์มิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครอีกคนของสหรัฐฯ ว่าเขาเป็นคนที่มีความเข้าใจในเรื่องตะวันออกกลางพอๆ กับนักเทศน์ในเท็กซัสที่เผาคัมภีร์อัลกุรอาน รอมนีย์บอกว่าชาวปาเลสไตน์ "ไม่สนใจเรื่องการวางรากฐานสันติภาพใดๆ เลย" และรอมนีย์ยังไม่สามารถอธิบายให้เป็นที่พอใจได้ว่าทำไมในปี 2005 สมัยที่เขายังเป็นผู้ว่าการรัฐฯ แมสซาชูเซตส์ เขาถึงกระตือรือร้นในการแอบดักฟังมัสยิดนัก

"ความจริงคือว่า ไม่ว่าใครก็ตามที่จะได้เป้นประธานาธิบดีคนใหม่ พวกเขาจะไม่มีอิสระในการตัดสินนโยบายเรื่องตะวันออกกลาง" ฟิสก์กล่าว "เว้นแต่อิสราเอลโจมตีอิหร่านและลากอเมริกาเข้าร่วมสงครามตะวันออกกลางอีก ครั้ง แต่นี่จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อเมริกันที่ผู้เข้าดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีจะต้องจัดการโลกอาหรับแบบใหม่ หรือจริงๆ คือโลกมุสลิมใหม่"

(คลิกอ่าน)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43414

โครงสร้างความสัมพันธ์ของสังคมไทยใน 'แรงเงา'

โครงสร้างความสัมพันธ์ของสังคมไทยใน 'แรงเงา'

 

 
ยุกติ มุกดาวิจิตร: ทำไมพระเอกมันโง่จัง


"สำหรับผู้เขียนนั้นมิได้เป็นแฟนพันธุ์แท้ของละครเรื่องดังกล่าว แต่เนื่องจากบุคคลใกล้ชิดตกอยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า “ติดงอมแงม” ผู้เขียนจึงได้ติดตามละครเรื่องดังอยู่บ้างเป็นครั้งคราว กระนั้นก็ตาม จากการติดตามแบบห่างๆ อย่างห่วงๆ  เช่นนี้กลับพบว่า ละครเรื่องดังกล่าวมีความน่าสนใจมากกว่าประเด็นเรื่องการตบตีแย่งผัว แย่งเมีย แต่พบว่ามันสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคมไทยได้ดีทีเดียว แม้ว่าจะไม่ชัดเจนและจงใจนักก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองไม่ใช่นักวิจารณ์มืออาชีพ สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้ จึงคล้ายกับการจับแพะชนแกะ พยายามลากเรื่องราวในเนื้อเรื่องให้เข้าสู่โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางเอาไว้ ดังนั้น ท่านผู้อ่านจึงอย่าหวังที่จะหาความเป็นวิชาการ หรือบทวิจารณ์ที่เข้มข้นลึกซึ้งจากบทความของผู้เขียนฉบับนี้

ผู้เขียนเห็นว่า “แรงเงา” เป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ระหว่าง “บ้าน” กับ “เมือง” ในช่วง 50 ปีหลังนี้เป็นอย่างดี โดยแสดงผ่านตัวละครต่างๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างสับสนวุ่นวายภายในเนื้อเรื่อง ซึ่งผู้เขียนได้แบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดังต่อไปนี้ หนึ่งคือ “พวกผู้ดีเก่า” สะท้อนผ่านตัวละครคือ “ผอ.เจนภพ” สองคือ “พวกผู้ดีใหม่” สะท้อนผ่านครอบครัวเมียหลวง “นพนภา” สามคือ ชนชั้นกลางในเมืองกรุง สะท้อนผ่านพระเอกของเรื่อง “วีกิจ” สี่คือ “ชนบทเก่า” ผ่านตัวละคร “มุตตา” และสุดท้ายคือ “ชนบทใหม่” ผ่านนางเอกสุดร้าย มากฤทธิ์อย่าง “มุนินทร์”"

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43405

สัมภาษณ์ทนายความคดีสุรภักดิ์ : มุมมองการ

สัมภาษณ์ทนายความคดีสุรภักดิ์ : มุมมองการต่อสู้คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์-112





"เราพูดเรื่องสิทธิของจำเลยในการได้รับการประกันตัวกันเยอะ แต่เราไม่เคยพูดว่าอำนาจของคนที่จะไม่ให้ประกันตัวควรจะมีแค่ไหน จริงๆ เราควรพูดเรื่องนี้มากกว่า ผมเห็นว่าปัญหานี้เป็นปัญหาเรื่องของคนซึ่งสามารถใช้ช่องว่างของระบบ แต่ถ้าเราสามารถแก้ไขระบบได้ ต่อให้คนที่มีทัศนคติเกี่ยวกับคดียังไง ก็ไม่สามารถใช้ดุลยพินิจเกินเลยได้"
ธิติพงษ์ ศรีแสน


การยกฟ้องในคดีของสุรภักดิ์ ผู้ต้องขังในคดีความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สร้างแรงกระเพื่อมอย่างสำคัญในสังคม โดยเฉพาะแวดวงนักกิจกรรมและผู้ที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะคดีลักษณะดังกล่าว เมื่อเกี่ยวพันกับมาตรา 112 ที่ผ่านมาแทบไม่ปรากฏการชนะคดีให้เห็น ยกเว้นคดี ‘เบนโตะ’ ผู้ถูกกล่าวหาว่าโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ด

ธิติพงษ์ ศรีแสน หรือที่เรียกกันว่า ทนายเซียง เป็นทนายว่าความคดีนี้ เขาเป็นทนายผู้เชี่ยวชาญคดีทรัพย์สินทางปัญญาและเริ่มทำคดีความมั่นคงที่ เป็นประเด็นอ่อนไหวเป็นคดีแรก ความน่าสนใจของเขาอยู่ที่แนวทางในการสืบพยานและการเตรียมการของทนายซึ่งไม่ มีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยเหลือ รวมไปถึงมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่น่าสนใจ

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43417

ยกฟ้อง! คดีโปรแกรมเมอร์ถูกกล่าวหาโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นสถาบัน

ยกฟ้อง! คดีโปรแกรมเมอร์ถูกกล่าวหาโพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นสถาบัน


ฝากรูป

31 ต.ค.55 เวลาประมาณ 9.50 น. ห้องพิจารณาคดี 804 ศาลอาญา รัชดา ผู้พิพากษานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.4857/2554 ที่นายสุรภักดิ์ ภูไชยแสง เป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา 112 และ มาตรา 3, 14, 17 โดยศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ฟ้องหรือไม่ ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2

(อ่านคำพิพากษาฉบับย่อด้านล่าง)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ได้แก่ ผู้พิพากษาณรงค์เดช นวลมณี ผู้พิพากษาสุรพล โตศักดิ์ และผู้พิพากษาอิสริยา ยงพาณิชย์ ส่วนบรรยากาศในห้องพิจารณาคดีวันนี้มีผู้เข้าร่วมฟังคำพิพากษาจนเต็มห้อง ทั้งสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป ขณะที่เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประกาศว่าผู้สื่อข่าวสามารถรับคำพิพากษาฉบับ ย่อได้ที่สำนักเลขานุการศาลอาญา

หลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษาสุรภักดิ์มีอาการยิ้มแย้มและเข้าสวมกอด มารดาก่อนจะถูกคุมตัวไปยังเรือนจำ และคาดว่าเขาจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯในช่วงเย็นวันนี้

สุรภักดิ์กล่าวในภายหลังว่า การประกันตัวเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่มาตราในรัฐธรรมนูญกลับกับมีค่าไม่เท่ากัน การไม่ได้รับการประกันตัวทำให้เขามีความยากลำบากในการต่อสู้คดีอย่างมาก ต้องอยู่ในเรือนจำเกือบ 1 ปี 2 เดือน ทำให้สูญเสียทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการงาน ครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจเยียวยาได้ รัฐไทยมีงบประมาณปกป้ององค์กรต่างๆ มากมายแต่กลับไม่มีการปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์

ธิติพงษ์ ศรีแสน ทนายความของสุภักดิ์ กล่าวว่า ไม่ว่าคดีอะไรก็ตาม ถ้าจำเลยต้องติดคุกในระหว่างพิจารณาคดีจะทำให้จำเลยเสียเปรียบ โดยเฉพาะกฎหมายไทยเป็นระบบกล่าวหา และคดีลักษณะนี้เป็นเรื่องทางเทคนิคซับซ้อน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราควรพูดกันมากกว่าสิทธิการประกันตัวตามที่รัฐธรรมนูญรับรองซึ่งพูด กันมามากแล้ว ก็คือ อำนาจของการไม่ให้ประกันของแต่ละส่วนว่ามีอำนาจแค่ไหน หากเราวางระบบให้ดี ก็จะปิดช่องการใช้ดุลยพินิจที่อาจละเมิดสิทธิประชาชนได้

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43413