หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา

คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา

สงครามระหว่างวัย

รายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันอาทิตย์ ที่ 21 กรกฎาคม 2556
สงครามระหว่างวัย ตอน 2
http://www.dailymotion.com/video/x124ies_master-kampaka-210756_news#.UexHAKzsXQo
 
คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2556
สงครามระหว่างวัย
http://www.dailymotion.com/VoiceTV#video=x123fna


ปืนใหญ่พญาตานี กับหนทางสู่  'สันติภาพ' 

คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556
ปืนใหญ่พญาตานี กับหนทางสู่ 'สันติภาพ' ตอน 2 
http://www.dailymotion.com/video/x11vnlr_ป-นใหญ-พญาตาน-ก-บหนทางส-ส-นต-ภาพ-ตอน

คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา ประจำวันวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2556
ปืนใหญ่พญาตานี กับหนทางสู่ 'สันติภาพ' 
http://www.dailymotion.com/video/x11upyp_ป-นใหญ-พญาตาน-ก-บหนทางส-ส-นต-ภาพ_news#  

การฟื้นตัวของขบวนการแรงงานอียิปต์

การฟื้นตัวของขบวนการแรงงานอียิปต์ 


โดย กองบรรณาธิการ นสพ. เลี้ยวซ้าย

ขบวน การแรงงานอียิปต์เริ่มลุกขึ้นต่อสู้เมื่อมีคลื่นการนัดหยุดงานใหญ่เกิดขึ้น ในปี  2006 แนวหน้าในยุคนั้นคือคนงานสิ่งทอ แต่ในไม่ช้ามีคนงานท่าเรือและขนส่ง และพนักงานปกคอขาว เช่นเจ้าหน้าที่สรรพากร ร่วมนัดหยุดงานด้วย คลื่นการนัดหยุดงานนี้มาจากความไม่พอใจในนโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดที่เผด็จการ มูบารักใช้มานาน และห้าปีหลังจากนั้นมัน เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระแสปฏิวัติที่สามารถล้มมูบารักในปี  2011 เพราะสาเหตุสำคัญที่กองทัพอียิปต์ปลดมูบารักออกจากตำแหน่ง ก็เพราะมีการนัดหยุดงานทั่วไปเกิดขึ้น และกองทัพมองว่าถ้าไม่รีบออกมา ชนชั้นกรรมาชีพจะลุกขึ้นยึดประเทศและทำลายอำนาจชนชั้นปกครองเก่ารวมถึงผล ประโยชน์การเมืองและธุรกิจของกองทัพด้วย


ในปี 2012 หลังจากที่มูบารักถูกล้ม และประธานาธิบดีมูรซี่ชนะการเลือกตั้ง กระแสนัดหยุดงานพุ่งขึ้นอีก เพราะรัฐบาลพรรคมุสลิมยังคงใช้นโยบายกลไกตลาดเสรีและจับมือกับองค์กรไอเอ็ม เอฟ ซึ่งมีผลในการขยายความเหลื่อมล้ำและไม่แก้ปัญหาว่างงานเลย นอกจากนี้รัฐบาลพรรคมุสลิมเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของคนงานในอดีตรัฐวิสาหกิจ ที่ถูกขายให้นายทุนเพื่อนฝูงของมูบารัก บ่อยครั้งศาลตัดสินให้คืนกิจการเหล่านั้นให้ภาครัฐ แต่มูรซี่ไม่ทำอะไร “ศูนย์สิทธิเศรษฐศาสตร์และสังคมอียิปต์” คาดว่าในช่วงรัฐบาลใหม่ปี 2012 มีการนัดหยุดงานประมาณสามพันครั้ง และในสามเดือนแรกของปี 2013 มีการนัดหยุดงาน 2,400 ครั้ง ซึ่งทำให้เราเห็นชัดว่ากระแสนัดหยุดงานมีความสำคัญในการล้มมูรซี่ด้วย และไปควบคู่กับการออกมาชุมนุมของมวลชน 17 ล้านคน


การต่อสู้ของกรรมาชีพคนทำงาน ประกอบไปด้วยการนัดหยุดงานและการยึดสถานที่ทำงานด้วย และครอบคลุมถึง คนงานขนส่งรวมถึงรถไฟ สนามบิน คลองซูเอส และท่าเรือ นอกจากนี้มีการนัดหยุดงานในภาคอุตสาหกรรม ปูนซีเมน และภาคบริการ แม้แต่กองกำลังตำรวจปราบจลาลจล ที่ประกอบไปด้วยคนจนที่ถูกเกณฑ์มาจากชนบท ก็เริ่มออกมาประท้วงรัฐบาล


ท่ามกลางกระแสการต่อสู้แบบนี้ มีการก่อตั้งสภาแรงงานใหม่ที่อิสระจากรัฐ เพราะในสมัยเผด็จการมูบารักรัฐควบคุมสภาแรงงานอย่างเบ็ดเสร็จ ในขณะเดียวกันมีการสร้างเครือข่ายแรงงานในรูปแบบกลุ่มย่านอุตสาหกรรม เพื่อประสานงานการต่อสู้ ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ในระดับรากหญ้า กลุ่มย่านแบบนี้ถูกสร้างขึ้นในซูเอส และซาดัดซิตตี้

ถึงแม้ว่าการก่อตั้งสภาแรงงานอิสระเป็นก้าวสำคัญ แต่สองรูปแบบการจัดตั้ง คือสภาแรงงานอิสระ กับเครือข่ายกลุ่มย่าน เริ่มขัดแย้งและสวนทางกัน เพราะสภาแรงงานมักหันมาเน้นผลประโยชน์ของสภาและประเด็นเศรษฐกิจ ผู้นำก็เริ่มมีลักษณะ “ข้าราชการ” ด้วย แต่เครือข่ายกลุ่มย่านนำโดยคนงานรากหญ้าและผสมประเด็นการเมืองกับเรื่องปากท้อง เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ผู้นำแรงงานในสภาอิสระเริ่มหลงรักองค์กรแรงงานสากล เช่น ITUC, AFL-CIO และองค์กรแรงงานยุโรป นักเคลื่อนไหวแรงงานผู้หนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า “เราไม่ต้องการให้องค์กรแรงงานสากลเข้ามาเชิญผู้นำแรงงานของเราไปสัมมนาต่างประเทศ เพราะเราต้องการสร้างขบวนการแรงงานรากหญ้าที่เข้มแข็ง ไม่ใช่สร้างผู้นำข้าราชการ”


(ข้อมูลจาก Egypt: The Workers Advance. โดย Philip Marfleet ใน International Socialism Journal, Summer 2013)

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/07/blog-post_20.html 

ลดเงินจำนำข้าว ความอัปลักษณ์ของพวกคลั่งกลไกตลาด

ลดเงินจำนำข้าว ความอัปลักษณ์ของพวกคลั่งกลไกตลาด 


 
การนำภาษีของสังคมมาอุดหนุนโครงการบางอย่าง เพื่อเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนโดยเฉพาะคนจน เป็นเรื่องที่ชอบธรรม ยิ่งในสังคมไทยที่มีความเหลื่อมล้ำมากระหว่างคนรวยกับคนจน ยิ่งสมควรทำมากขึ้นอีก

โดย วัฒนะ วรรณ 

โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเพื่อไทย เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวนาอย่างไม่ต้องสงสัย ถึงแม้ว่าจะมีคอรัปชั่นในบางขั้นตอนเช่นการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวม สิทธิ์ หรือการขายข้าวราคาถูกมากๆ ให้กับนายทุนเอาไปขายต่อในราคาเดิม ดูได้จากการแสดงความไม่พอใจขององค์กรชาวนาที่มาชุมนุม ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลขยายเวลาการรับจำนำข้าวตันละ 15,000 บาทออกไปอีก ซึ่งชาวนาเป็นกลุ่มที่ยากจนกลุ่มแรกๆ ในสังคมไทยที่ถูกละเลยมาต่อเนื่อง

ส่วนคนที่คัดค้านในโครงการนี้ ส่วนมากจะเป็นพวกเสรีนิยมกลไกตลาด เช่น TDRI ที่มักจะหยิบประเด็นการขาดทุนของโครงการมาแสดงความไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าถึงที่สุดแล้วรัฐบาลอาจจะเป็นหนี้มากขึ้น หรือรัฐบาลอาจจะถังแตกได้ จากการเอาเงินมาอุดหนุนชาวนา

การขาดทุนของรัฐไม่ใช่เรื่องใหม่ของพวกเสรีนิยม พวกนี้มักมองว่ารัฐไม่ควรเอาเงินภาษีไปอุดหนุนโครงการต่างๆ ที่ก่อประโยชน์ให้กับคนในสังคมโดยเฉพาะคนจน(แต่ถ้าเอาไปอุดหนุนคนรวยสามารถ ทำได้) ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของกลไกตลาดเป็นคนจัดการ แนวคิดแบบนี้ไม่ต่างจากการเสนอให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ แปรรูปรถเมล์ แปรรูปรถไฟ แปรรูปมหาวิทยาลัย เพราะเป้าหมายเดียวกัน คือการลดเงินอุดหนุน(ให้เปล่า) กับกิจการเหล่านี้จากภาครัฐเพื่อบริการประชาชนในราคาถูก

การนำภาษีของสังคมมาอุดหนุนโครงการบางอย่าง เพื่อเป้าหมายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนโดยเฉพาะคนจน เป็นเรื่องที่ชอบธรรม ยิ่งในสังคมไทยที่มีความเหลื่อมล้ำมากระหว่างคนรวยกับคนจน ยิ่งสมควรทำมากขึ้นอีก การนำเงินภาษีเหล่านี้มาสนับสนุนคนจนเพื่อลดช่องว่าง มันไม่ใช่การให้ทาน จากผู้มีมากให้กับผู้มีน้อย แต่เป็นการทวงคืนความมั่งคั่งกลับสู่สังคม เนื่องด้วยความร่ำรวยที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่มีใครทำมากกว่าใครอย่างเห็นได้ชัด ความร่ำรวยมาจากการทำงานของทุกคนโดยเฉลี่ย แต่ความมั่งคั่งกลับกระจุกตัวอยู่กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ไม่กี่กลุ่ม ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่มาก

9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 1: พ.ร.บ. ปรองดอง + นิรโทษกรรม

9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 1: พ.ร.บ. ปรองดอง + นิรโทษกรรม

 
 
สำรวจนโยบายอ่อนไหวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่เจอทั้งแรงต้านต่อตัวนโยบายเอง และแรงตรวจสอบที่เข้มข้นทั้งเรื่องงบประมาณ ผลประโยชน์ทับซ้อน และกระบวนการบริหารเริ่มด้วยนโยบายนิรโทษกรรม ที่ถึงวันนี้เจอแรงเสียดทานในฝั่งเดียวกันเข้าเต็มๆ  


การเมืองเป็นเรื่องกระแส แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ทานกระแสต้านและการจุดประด็นสารพัดมาโจมตีตั้งแต่วัน แรกที่เธอเป็นแคนดิเดตนายกจนถึงวันนี้สองปีกว่า ก็นับว่าน่าทึ่งไม่น้อย


อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันขณะ จะบอกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังเจอหมัดหนักรัวๆ จนอาจจะเมาหมัดเข้าแล้วเบาๆ ก็อาจจะไม่ผิดความจริงนัก และในบรรดาหมัดที่รัวอยู่นี้ หมัดไหนจะเด็ดเป็นหมัดน็อก หมัดไหนปล่อยออกมาชกลมจนคนชกล้มคว่ำลงไปบ้าง ก็น่ามาพิจารณากัน


ประชาไทรวบรวมประเด็นที่สำคัญในระดับนโยบายของรัฐบาลซึ่งถูกจับตาขยับ ไปทางไหนก็ติดขัด ทั้งแรงต้านต่อตัวนโยบายเอง และแรงตรวจสอบที่เข้มข้นทั้งเรื่องงบประมาณ ผลประโยชน์ทับซ้อน และกระบวนการบริหาร


ประเดิมเรื่องแรกที่กำลังเป็นประเด็นของทางฝั่งรัฐบาลเองและมวลชนที่ หนุนรัฐบาล ก็เห็นจะได้แก่เรื่อง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมและพ.ร.บ. ปรองดองแห่งชาติ โดยในขณะนี้ มีร่างพ.ร.บ. ปรองดองรอการพิจารณาอยู่ในรัฐสภาแล้ว 5 ฉบับ ได้แก่ 

(อ่านต่อ)

"กองทัพปชช.โค่นระบอบทักษิณ" เปิดตัวคณะเสนาธิการ เรียกร้องรัฐบาล 6 ข้อ - 4 ส.ค. นัดรวมพล

"กองทัพปชช.โค่นระบอบทักษิณ" เปิดตัวคณะเสนาธิการ เรียกร้องรัฐบาล 6 ข้อ - 4 ส.ค. นัดรวมพล 


Photo: รัฐบาลนี้  ....
มาจากประชาชนทั้งประเทศ
พวกมึงจะเรียกร้อง  จะมาขับไล่
ถามตีนคนเสื้อแดงหรือยัง
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM05ETXhORFE1TVE9PQ==&subcatid=


รัฐบาลนี้ ....มาจากประชาชนทั้งประเทศ จะเรียกร้อง จะมาขับไล่ ถามตีนคนเสื้อแดงหรือยัง???

(อ่านต่อ)
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM05ETXhORFE1TVE9PQ%3D%3D&subcatid

รายการ Intelligence ประจำวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2556

รายการ Intelligence ประจำวันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2556
 

นักโทษ112เหยื่อการเมือง

นักโทษ112เหยื่อการเมือง
http://www.youtube.com/watch?v=e_PQsRPaIyI