สรุปเพิ่มเติมงานเสวนาเรื่องทุนกับแรงงาน 24 ก.พ. ที่ประชาไทไม่รายงาน
โดย พัชณีย์ คำหนัก
โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
ผู้เขียนได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนา
หัวข้อ“ทำไมกลุ่มทุนบางกลุ่มถึงคัดค้านการปรับค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ”
ของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่ง
ประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 56 ที่ห้องประชุม 14 ตุลา 19 ถ.ราชดำเนิน
ส่วนประเด็นที่นำเสนอคือ
สถานการณ์ปัญหาแรงงานปัจจุบันในบริบทความขัดแย้งทางการเมือง :
การปรับตัวของชนชั้นนายทุนและผลกระทบต่อแรงงาน
คู่กับวิทยากรอีกท่านหนึ่งคือ อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ที่นำเสนอเกี่ยวกับกลุ่มทุน
แต่สำนักข่าวประชาไทไม่รายงานให้ครบองค์ประกอบของการเสวนาที่มีวิทยากร 2 คน
โดยไม่ทราบเหตุผล
ผู้เขียนจึงขอสรุปด้วยตัวเองเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับองค์กรแรงงานสำหรับวิจารณ์และแก้ไข ดังนี้
สถานการณ์แรงงานไทยปัจจุบันถูกนำเสนอออกเป็นสองช่วงคือ ช่วงวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 และช่วงปี 2555-2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนปัญหาและสะท้อนนัยทางการเมือง เพื่อนำประเด็นที่สรุปไปแลกเปลี่ยนทัศนะกับสหภาพแรงงานในอนาคต
เราอยู่ในกระแสที่รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยใช้นโยบายประชานิยมเพิ่มค่า จ้างขั้นต่ำคู่ขนานไปกับนโยบายเสรีนิยมเอาใจนักลงทุน ลดภาษีนิติบุคคลเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ กอปรกับการดำรงนโยบายค่าจ้างราคาถูกสวัสดิการต่ำกับระบบการจ้างงานแบบ ยืดหยุ่นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจูงใจนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ พร้อมๆ กับการอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองทั้งในเชิงสัญลักษณ์ ไปจนถึงการใช้ความรุนแรงโดยอ้างความมั่นคงของรัฐทำลายขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคม เช่น ขบวนการเสื้อแดง ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือ
ประเด็นปัญหาความไม่เป็นธรรมที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาและกลไกรัฐกระทำต่อขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ได้แก่
¡ ขบวนการต้านรัฐประหารปี 2549 ถูกกลั่นแกล้ง ทำลาย
¡ เสรีภาพในการรวมตัว ชุมนุม
แสดงความเห็นที่แตกต่างกัน
ถูกคุกคามด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิด
ทางคอมพิวเตอร์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในฯ
ที่ใช้โดยกลไกรัฐที่เข้มแข็งคือ คุก ศาล ทหาร ตำรวจ
¡ ผู้ต้องหา นักโทษทางการเมืองจากการถูกสลายการชุมนุมเมื่อเดือนพ.ค.53 ยังคงถูกกักขังอย่างไม่เป็นธรรมหลายคน