หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Wake up Thailand ประจำวันอังคาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2555

Wake up Thailand ประจำวันอังคาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2555



 
สิ่งที่โอบามาพูดแต่ เสธ. อ้าย ไม่ได้ยิน 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=0U76j-ONGZg

The Daily Dose ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555


The Daily Dose ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555


 
อคติของนักข่าวที่ทำสื่อมวลชนเสีย
 
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=sal4pAJFslg

Divas Cafe ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555



แช่แข็งคนดี...ดีกว่าไหม?

(อ่านต่อ)
http://www.dailymotion.com/VoiceTV#video=xv89j1 

ที่นี่ความจริง

ที่นี่ความจริง

 



ที่นี่ความจริง 20 12 53 part 1
http://www.youtube.com/watch?v=zw_NmevnA3E

ที่นี่ความจริง 20 12 53 part 2
http://www.youtube.com/watch?v=LXcXNl5gn_c&feature=relmfu

ประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจจากกรณีการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ( 3) : ศาลปกครองควบคุมองค์กรอิสระทางปกครองได้มากน้อยเพียงใด?

ประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจจากกรณีการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ( 3) : ศาลปกครองควบคุมองค์กรอิสระทางปกครองได้มากน้อยเพียงใด?

 


 

โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล


หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองเป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมาย ปกครองที่เรียกร้องให้องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองต้องผูกพันตนเองต่อ กฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นและต่อกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่องค์กร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองตราขึ้นเอง หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองจะบังเกิดผลขึ้นได้จริงก็ต่อ เมื่อมีระบบการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ซึ่งองค์กรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประกันสิทธิและ เสรีภาพของประชาชนได้ดี คือ องค์กรตุลาการ ดังนั้น ในนิติรัฐ ที่เรียกร้องให้การกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย จึงจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองโดย องค์กรตุลาการ

สำหรับระบบกฎหมายไทย โดยหลักแล้วศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการ กระทำทางปกครอง หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งนั้นชอบด้วย กฎหมาย ศาลปกครองก็จะยกฟ้อง แต่ถ้าศาลปกครองเห็นว่าการกระทำทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยหลักแล้ว ศาลปกครองก็จะเพิกถอนการกระทำทางปกครองนั้น
ในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองนี้ มีขอบเขตหรือระดับความเข้มข้นของการควบคุมที่กำกับศาลปกครองไว้อยู่ ทั้งนี้เพื่อมิให้ศาลปกครองสามารถลงไปควบคุมลึกมากจนเกินไปถึงขนาดลงไปควบ คุมความเหมาะสมของการกระทำทางปกครอง สาเหตุก็เนื่องมาจากเหตุผลสามประการ

ประการแรก หลักการแบ่งแยกอำนาจเรียกร้องให้องค์กรผู้ใช้อำนาจมหาชนต้องตรวจสอบถ่วงดุล การใช้อำนาจของแต่ละองค์กร หากกล่าวให้เป็นรูปธรรมเฉพาะในแดนของวิชากฎหมายปกครอง ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจตรากฎหมาย ฝ่ายปกครองมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราขึ้นให้เป็น รูปธรรม โดยต้องผูกมัดตนเองเข้ากับกฎหมาย กล่าวคือ ต้องมีกฎหมายให้อำนาจ และใช้อำนาจโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ในขณะที่ศาลมีอำนาจในตรวจสอบว่าการกระทำของฝ่ายปกครองนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือ ไม่ หากปราศจากซึ่งการตรวจสอบฝ่ายปกครองโดยศาล หลักความชอบด้วยกฎหมายก็ไร้ซึ่งการบังคับ ในขณะเดียวกัน หากศาลตรวจสอบฝ่ายปกครองมากจนลงไปแทรกแซงการทำงานของฝ่ายปกครอง ก็จะกลายเป็นว่าศาลลงไปทำหน้าที่เสมือนเป็นฝ่ายปกครองเสียเอง อันนำมาซึ่ง “การปกครองโดยผู้พิพากษา” ซึ่งเป็นสภาพการณ์อันไม่พึงประสงค์ในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น การควบคุมฝ่ายปกครองโดยศาลจึงต้องมีขอบเขต

ประการที่สอง กิจกรรมทางปกครองทั้งหลายที่กฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองกระทำการก็เพราะฝ่าย ปกครองมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ในขณะที่โดยธรรมชาติของความเป็นองค์กรตุลาการที่มีบทบาทในการวินิจฉัยคดี ศาลจึงไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเท่ากับฝ่ายปกครอง ปัจจุบัน มีภารกิจใหม่ๆของฝ่ายปกครองที่ต้องอาศัยความรู้ทางเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้น ดังนั้น การควบคุมการกระทำทางปกครองในบางประเด็น ศาลต้องเคารพความเชี่ยวชาญของฝ่ายปกครองด้วย เช่น การปรับข้อเท็จจริงให้เข้ากับถ้อยคำทางกฎหมายที่ไม่เฉพาะเจาะจงอย่าง “ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” ก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ หรือ “การก่อสร้างอาคารที่เป็นอันตราย” ก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรม เป็นต้น

ประการที่สาม องค์กรตุลาการทำได้เพียงควบคุมความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ไม่สามารถควบคุมความเหมาะสมได้ ดังนั้น ศาลทำได้เพียงตรวจสอบว่าการกระทำทางปกครองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ส่วนการกระทำทางปกครองนั้นจะเหมาะสมหรือถูกใจหรือไม่นั้น ศาลไม่มีอำนาจพิจารณา
  
ในทางตำรา มีการจัดระดับความเข้มข้นของการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทาง ปกครองโดยศาลไว้ เพื่อใช้พิจารณาว่าในแต่ละเรื่อง ศาลจะลงไปควบคุมฝ่ายปกครองได้มากน้อยเพียงใด โดยแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ ดังนี้

(อ่านต่อ)
http://blogazine.in.th/blogs/piyabutr-saengkanokkul/post/3784

ประชาชนปาเลสไตน์ชุมนุมประท้วงปฏิบัติการฉนวนกาซ่าของอิสราเอล

ประชาชนปาเลสไตน์ชุมนุมประท้วงปฏิบัติการฉนวนกาซ่าของอิสราเอล

 




หลังเกิดเหตุโจมตีด้วยกำลังอาวุธในฉนวนกาซ่าเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจน มีประชาชนได้รับความสูญเสียจากเหตุการณ์ ประชาชนชาวปาเลสไตน์ก็พากันออกมาชุมนุมตามที่ต่างๆ ในเขตเวสท์แบงค์ เพื่อประท้วงการโจมตีฉนวนกาซ่าของอิสราเอลรอบล่าสุด19 พ.ย. 2012 - ชาวปาเลสไตน์ออกมาเดินขบวนตามท้องถนนของเขตเวสท์แบงค์ เพื่อประท้วงปฏิบัติการโจมตีฉนวนกาซ่าทางอากาศของอิสราเอล โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมอย่างน้อย 2 ราย

การประท้วงเกิดขึ้นที่ของเมืองฮีบรอน หลังจากที่ถูกกองกำลังรักษาความปลอดภัยของอิสราเอลผลักให้ถอยร่นไปยังใจกลางเมือง


ผู้พบเห็นเหตุการณ์ซึ่งเป็นผู้อาศัยในฮีบรอนเล่าว่า เขาเห็น ฮัมดี อัล-ฟาลา อายุ 17 ปี ถูกทหารฝ่ายอิสราเอลยิงเข้าใส่ 4 นัด โดยที่ในตอนนั้น ฮัมดี อัล-ฟาลา กำลังจะเข้าไปในบ้าน แต่มีการปะทะกันในละแวกใกล้เคียง และฮัมดีอาจเป็นหนึ่งในผู้ประท้วงด้วย ฮัมดีโดนยิงเข้าที่ขาหนึ่งนัด ที่แขนหนึ่งนัด ที่หน้าอกและที่หัวอีกอย่างละหนึ่งนัด

"ในตอนนี้กองกำลังของอิสราเอลอยู่ที่ใจกลางเมือง พวกเขายิงแก็สน้ำตาทั่วไปหมด ทางเข้าเมืองแทบทั้งหมดถูกปิด พวกเขายิงกระสุนเหล็กที่หุ้มด้วยยางและกระสุนปืนจริง สถานการณ์ที่นี่เริ่มปั่นป่วนแล้ว" ชาวเมืองฮีบรอนเล่าเหตุการณ์

มีวีดิ โอถ่ายโดยมือสมัครเล่นแสดงให้เห็นวัยรุ่นชาวปาเลสไตน์ยิงดอกไม้ไฟที่ใจกลาง เมือง กระตุ้นให้ทหารอิสราเอลตอบโต้กลับด้วยความรุนแรง


นอกจากกรณีล่าสุดนี้แล้ว ก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจปาเลสไตน์คนหนึ่งถูกยิงในที่ชุมนุมหมู่บ้าน นาบี ซาเลห์ และเสียชีวิตสองวันหลังจากถูกนำส่งโรงพยาบาล

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43758 

ครม.ไฟเขียวขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วปท. เริ่ม 1 ม.ค.′56 ตั้ง"กิตติรัตน์"หามาตรการเยียวยาช่วยภาคเอกชน

ครม.ไฟเขียวขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วปท. เริ่ม 1 ม.ค.′56 ตั้ง"กิตติรัตน์"หามาตรการเยียวยาช่วยภาคเอกชน


2012.02.28 คนงานทวงสัญญาค่าจ้าง 300 บ.
 

วันนี้ ( 20 พ.ย.)  ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ครม.มีมติเห็นชอบในการขึ้นค่าแรง 300 บาท ทั่วประเทศ โดยจะเริ่มในวันที่ 1 ม.ค. 2556 นี้ แล้ว พร้อมกับหามาตรการในการช่วยเหลือภาคเอกชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากมาตราการ ดังกล่าว  โดยแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการการะทรวงการคลัง เป็นประธานคณะกรรมการในการหามาตราการช่วยเหลือ ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อหามาตราการในการเยียวยาผู้ประกอบการต่อไป  

(อ่านต่อ)

ขุนนาง ‘สหภาพแรงงาน’ และ ขุนนาง 'NGO' จงช่วยอำมาตย์ ‘แช่แข็งประเทศไทย' กันเถิด?

ขุนนาง ‘สหภาพแรงงาน’ และ ขุนนาง 'NGO' จงช่วยอำมาตย์ ‘แช่แข็งประเทศไทย' กันเถิด?

 

 
ทนง  โพธิ์อ่าน
รำลึก 21 ปี ทนง โพธิ์อ่าน.wmv

โดย สุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์


กระแสข่าวที่ออกมาว่า สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และ NGO บางส่วนเตรียมเข้าร่วมการชุมนุมกับองค์กรพิทักษ์สยาม ที่นำโดย เสธ.อ้าย พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์

รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มิอาจปฏิเสธได้ว่า ‘สหภาพแรงงาน’ ภายใต้ปีกการนำของ สมศักดิ์ โกศัยสุข และสาวิทย์ แก้วหวาน เข้าร่วมพันธมิตรฯ เพื่อสร้างเงื่อนไขสู่การรัฐประหาร

ในวงการแรงงาน สมศักดิ์ โกศัยสุข นับว่าเป็นผู้มีจิตใจสนับสนุนร่วมการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานเพื่อความเป็น ธรรมในสังคม เขาเป็นผู้มากบารมีที่ผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยมีความศรัทธา เอาเขาเป็นแบบอย่าง เขาเป็นแกนนำสำคัญคนหนึ่งที่ต่อสู้กับเผด็จการทหารยุค รสช. สุจินดา คราประยูร ยุคพฤษภา 35

แต่การต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับเผด็จการอำมาตยาธิปไตย เขากลับอยู่ฝั่งเผด็จการอำมาตยาธิปไตย เช่นเดียวกับ สุริยะใส กตะสิลา อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย

แม้ว่าปัจจุบัน สมศักดิ์ โกสัยสุข เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ ขัดแย้งจนถึงแยกทางเดินกับพันธมิตร แต่เขากลับประกาศจะเข้าร่วมชุมนุมกับ เสธ.อ้าย ‘ร่วมแช่แข็งประเทศไทย’ โดยนำพา ‘สหภาพแรงงาน’ ใต้ร่มเงาของเขาเข้าร่วม

ผู้เขียนก็มิอาจรู้ทราบได้ว่า ‘สหภาพแรงงาน’ ที่เขาเคยครอบงำนำพามาร่วมเหมือนช่วงพันธมิตรฯ นั้น ยังจะมีจุดยืนแบบเดิมหรือไม่ ? ยังจะมี ‘สหภาพแรงงาน’ สักกี่แห่งที่ยังนิยมอำมาตยาธิปไตยกันอยู่ เมื่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นจริงได้ทางปฏิบัติ
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยบอกให้รู้ว่า ตราบที่มีระบบประชาธิปไตย ผู้ใช้แรงงานย่อมมีเสรีภาพในการต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานเพื่อความเป็นธรรม

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ประชาธิปไตย เบ่งบาน ทำให้ผู้ใช้แรงงานได้รวมกลุ่ม จัดตั้งองค์กร ตั้งสหภาพแรงงานจำนวนมาก และมีกฎหมายแรงงานขึ้น

สมัยรัฐบาลชาติชาย นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง ผู้ใช้แรงงานผลักดันจนมีกฎหมายประกันสังคม

ประวัติศาสตร์การเมืองไทย บอกให้ตระหนักว่า ยุคที่ไม่มีประชาธิปไตย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อำนาจเผด็จการครองเมือง ประชาชนไม่มีเสรีภาพ

การปราบปรามอย่างอำมหิต 6 ตุลา 2519 เป็นผลให้ผู้ใช้แรงงานกลายเป็นเพียงจักรกลของกระบวนการผลิต ไม่มีความเป็นมนุษย์ ไม่มีสิทธิเสียง และไม่มีอำนาจต่อรองแต่อย่างใด

ภายหลังการรัฐประหาร 24 กุมพาพันธ์ 2534 โดย รสช. ทำให้นายทนง โพธ์อ่าน ผู้นำแรงงานที่ประกาศกล้าต้านอำนาจนอกระบบ หายไปกลับกลีบเมฆ ปัจจุบันก็ยังไม่รู้ว่า ‘ใครฆ่าทนง โพธิ์อ่าน’

สหพันธ์แรงงานสิ่งทอฯ-สนนท. แถลงต้านรัฐประหาร ค้าน“แช่แข็งประเทศไทย”

สหพันธ์แรงงานสิ่งทอฯ-สนนท. แถลงต้านรัฐประหาร ค้าน“แช่แข็งประเทศไทย”

 


แถลงต้านรัฐประหาร เคารพเสรีภาพในการชุมนุม ค้านข้อเสนอ ปธ.องค์การพิทักษ์สยาม ชี้ขัดกับเจตจำนงค์ของประชาชน ก่อปัญหาประเทศหลายด้าน จิตรา ไม่เชื่อ แรงงานรัฐวิสาหกิจ จะร่วมเสธฯอ้าย
 
18 พ.ย. 55 เวลา 14.00 น. ที่ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์หนัง แห่งประเทศไทย (ส.พ.ท.) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ 2540 และสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย ได้จัดแถลงจุดยืนต่อต้านการรัฐประหารและคัดค้านการ “แช่แข็งประเทศไทย” จากกรณีที่องค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งนำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานกลุ่ม ได้ประกาศชุมนุมใหญ่ขั้นแตกหักโดยมีเป้าหมายล้มล้างรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ยกเลิกประชาธิปไตย แช่แข็งประเทศไทย 5 ปี ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43730