หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สัญญาณ"ปรองดอง"แผ่ว "ยิ่งลักษณ์" ปรับโหมด"การเมือง" เร่งถอดชนวนปะทุ!

สัญญาณ"ปรองดอง"แผ่ว "ยิ่งลักษณ์" ปรับโหมด"การเมือง" เร่งถอดชนวนปะทุ!

 


หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 1 รับไต่สวนคำร้องที่กล่าวหาว่าการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 68 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ดูเหมือนว่าการเมืองเริ่มมีการเปลี่ยนอีกครั้ง

ทั้งนี้เพราะ มาตรา 68 บัญญัติห้ามการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข หรือการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน


โทษความผิดตามมาตรานี้รุนแรงถึงขั้นยุบพรรค!
ดังนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับไต่สวน และสั่งห้ามสภาลงมติ

ในวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จึงทำให้สัญญาณปรองดองที่เคยแจ่มชัด กลับแผ่วเบาลง

ย้อน หลังกลับไปเมื่อไม่นานมานี้ ดูเหมือนว่าเมื่อพรรคเพื่อไทยได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย การจัดตั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีจึงไม่สะดุด ขณะที่นานาชาติให้ความสำคัญทำให้บรรยากาศทางการเมืองไทยแลดูดีขึ้น

ยิ่งเมื่อมีการจัดงาน
"รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย" ที่ ทำเนียบรัฐบาล และการร่วมมือร่วมใจของนักวิชาการกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการเห็นกระบวนการปรองดองเกิดขึ้น มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองและมีการ ดำเนินการตามคำแนะนำ

ขณะนั้นดูเหมือนว่าการเมืองไทยกำลังก้าวเข้าสู่โหมดปรองดอง

กระทั่ง มีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรองดองแห่งชาติเข้าสู่การพิจารณา ของรัฐสภา โดยมีเนื้อความบ่งบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะได้รับนิรโทษกรรมด้วย

เท่านั้นเองสัญญาณปรองดองที่เคย "เข้ม" กลับ "แผ่ว" ขณะที่ความขัดแย้งรอบใหม่กำลังเกิดขึ้น

จังหวะ นี้เอง ศาลรัฐธรรมนูญที่รับไต่สวนตามมาตรา 68 และมีคำสั่งให้สภาชะลอการลงมติในวาระ 3 จนเกิดความขัดแย้งในขั้นตอนกระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฝ่ายหนึ่งเห็นว่า มาตรา 68 เปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องต่อ "อัยการสูงสุด" เท่านั้น ไม่สามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้

แต่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เรื่องดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญสามารถยื่นคำร้องได้โดยตรง

ความขัดแย้งดังกล่าวได้แตกประเด็นออกไปเรื่อยๆ แม้แต่พรรคเพื่อไทยเองก็มีความเห็นแตกต่าง

ฝ่าย หนึ่งผลักดันให้รัฐสภาไม่ฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ โดยโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 วาระ 3 ไปเลย แต่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่าหากโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญไปได้ แต่เมื่อกฎหมายยังมีข้อน่าสงสัยอาจกระทบต่อสถานภาพของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ทูลเกล้าฯ กฎหมาย และอาจกระทบต่อพรรค

เพื่อไทย และเสถียรภาพของรัฐบาลในที่สุด


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339896588&grpid=01&catid=&subcatid=

ความมืดกลางแสงแดด: กรณีการไต่สวนคดีสมยศ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ความมืดกลางแสงแดด: กรณีการไต่สวนคดีสมยศ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

 

โดยพีระศักดิ์  ชัยธรรม


การดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามมาตรา 112 ต่อนายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข เกิดขึ้นในช่วงที่กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมยืดเยื้อเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์  เวชชีวะ ยุบสภา จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่รัฐบาลกลับใช้กำลังทหารปราบปรามจนมีผู้เสียชีวิต 93 คน บาดเจ็บกว่า 3,000 คน ระหว่างนี้รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แก้ไขปัญหาการชุมนุมของคนเสื้อแดงโดยกล่าวหาว่า กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นขบวนการล้มเจ้า มีการนำเสนอรายชื่อกลุ่มคนเชื่อมโยงกันเป็นขบวนการล้มเจ้ามากมายด้วยกัน หนึ่งในนั้นมีนายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Voice of Taksin อยู่ด้วย

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้รวบรวมพยานหลักฐานออกหมายเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบสวนบันทึกหลักฐานเป็นวี ดีโอเทปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม  2553  จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 จึงขอศาลอนุมัติหมายจับ จนกระทั่งวันที่ 30 เมษายน 2554 เมื่อนายสมยศได้นำคณะท่องเที่ยวไปกัมพูชา ได้ยื่นเอกสารการเดินทางให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จึงถูกจับกุมตัวนำส่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) นำตัวไปขังไว้กองปราบปรามอยู่  2  คืน แล้วส่งไปฝากขังต่อ  84  วันที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพตั้งแต่วันที่  2  พฤษภาคม  2554

วันที่  25  กรกฎาคม  2554  พนักงานอัยการส่งฟ้องต่อศาลอาญารัชดาภิเษก กล่าวหาว่านายสมยศ  พฤกษาเกษมสุข เป็นผู้จัดทำ จัดจำหน่ายนิตยสาร Voice of Taksin  ปีที่ 1  ฉบับที่  15  ปักษ์หลังกุมภาพันธ์  2553  หน้าที่  44 – 47  และฉบับที่  16  ปักษ์แรกมีนาคม  2553  เรื่อง  6  ตุลา  แห่งปี  2553  หน้าที่ 45 – 47  ทั้งสองบทความเป็นของผู้ใช้นามปากกา  “จิตร  พลจันทร์”  มีข้อความหมิ่นประมาท  ดูหมิ่น  อาฆาตมาดร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41109

"รัฐสภาประชาธิปไตย"

"รัฐสภาประชาธิปไตย"

 

โดยผาสุก พงษ์ไพจิตร

 

(17 มิ.ย.55) ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบรรยายพิเศษเรื่อง “การเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549 และบทบาทที่ควรจะเป็นของ ขบวนการภาคประชาชน” เนื่องในโอกาสรำลึก 21 ปีการสูญหาย ของทนง โพธิ์อ่าน จัดโดยมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ณ ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลารายละเอียดมีดังนี้

สาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันเป็นหัวข้อที่ใหญ่มากและมีคำ อธิบาย-ข้อเสนอที่แตกต่างกัน อยากสรุปว่า ที่เรารู้แน่ๆ คือ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทยไม่ใช่ของที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองไทย ประเทศอื่นๆ ได้ผ่านกระบวนการความขัดแย้งทางการเมืองในแบบเดียวกันมาแล้ว เมื่อประชาชนส่วนใหญ่เปลี่ยน แต่สถาบันทางการเมืองและชนชั้นนำยังไม่ปรับตัว เปลี่ยนแปลงตาม ยังคงต้องการรักษาสภาพเดิม ซึ่งไม่สามารถสนองตอบกับความต้องการและความคาดหวังใหม่ๆ ได้แล้วเอาไว้ ทำให้เกิดความลักลั่น ไม่สอดคล้อง ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งตามมา

เรากำลังอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง โดยอาจมองว่าความขัดแย้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดี เพราะต้องมีความขัดแย้งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีสูตรแก้ความขัดแย้งที่จะคลี่คลายความขัดแย้งได้ทันทีทันใด ไม่ว่าจะมีคณะกรรมการปรองดองสักกี่ชุด แก้กฎหมายกี่ฉบับ หรือเปลี่ยนรัฐธรรมนูญกี่มาตรา ก็จะไม่ทำให้ความขัดแย้งสูญหายไปทันที สมมติเราไปหาหมอ ได้ยามา ก็จะลดความเจ็บปวดลงได้บ้าง แต่เราก็ต้องรอให้ร่างกายเยียวยาตัวเองจนแผลค่อยๆ หาย แต่ในระหว่างรอเยียวยาตัวเองให้ดีขึ้น เราควรจะมีท่าที-จุดยืนอย่างไรกับสถานการณ์การเมืองบางอย่างที่จะส่งกับ สถานการณ์การเมืองในระยะยาว เช่น จุดยืนต่อรัฐประหาร-ล้มรัฐธรรมนูญ หรือการเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41113

 

ผาสุก ฟันธง"ระบบเลือกตั้ง" ฟันทุจริต"ดีกว่า"ระบบแต่งตั้ง" กระแส"เสื้อเหลือง"ปลุกไม่ขึ้น

 

(คลิกอ่าน) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339922467&grpid=00&catid=&subcatid= 

คลิปเปิดตัวหนังสือ"สมยศ ที่ฉันรู้จัก" และงานจากมือที่มองเห็น ถึงความยุติธรรมตาขาว และ ราษฎรตาดำๆ

คลิปเปิดตัวหนังสือ"สมยศ ที่ฉันรู้จัก" และงานจากมือที่มองเห็น ถึงความยุติธรรมตาขาว และ ราษฎรตาดำๆ



 

กลุ่ม 24 มิถุนา จัดเปิดตัวหนังสือ "สมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ฉันรู้จัก" พร้อมจัดเวทีเสวนาประชาชน
"จากมือที่มองไม่เห็น ถึง ความ
ความยุติธรรมตาขาว และ ราษฏรตาดำๆ"

ปิด ตัวหนังสือ คุณสมยศ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว( ตึกหลัง) เสวนา จากมือที่มองเห็น ถึงความยุติธรรมตาขาว และ ราษฎรตาดำๆ อ.ยิ้ม วัฒน์ วรรลยางกูร คุณประวิทย์ โรจนพฤกษ์ ดำเนินรายการโดย จิตรา คชเดช

เปิดตัวหนังสือ สมยศ 16/06/12 part2/2  

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


เปิดตัวหนังสือ 'สมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ฉันรู้จัก'      ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ


เปิดตัวหนังสือของ คุณสมยศ 16 6 2012

วัฒน์ วรรยางกูล

Timeline: ชัยชนะของกรรมกรข้ามชาติ 'เอ็มแอพพาแรล' กับการต่อสู้เพื่อสิทธิค่าจ้างขั้นต่ำ

Timeline: ชัยชนะของกรรมกรข้ามชาติ 'เอ็มแอพพาแรล' กับการต่อสู้เพื่อสิทธิค่าจ้างขั้นต่ำ

 

เขียนโดย ปรานม สมวงศ์ ศูนย์แรงงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง (WH4C)
(เผยแพร่ครั้งแรกใน Facebook ส่วนตัวของเธอ Pranom Somwong 
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150900350109332)

 

ปรานม สมวงศ์ บันทึกการต่อสู้ของกรรมกรข้ามชาติชาวพม่า 323 คน ที่ทำงานในโรงงาน เอ็มแอพพาแรล จำกัด ได้ร่วมกับมูลนิธิแมพและสมาคมแรงงานยองชีอูเพื่อเจรจากับนายจ้างจนได้รับการ จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ ตามกฎหมาย

แรงงานพม่า 323 คนที่ทำงานในโรงงาน เอ็มแอพพาแรล จำกัด ได้ร่วมกับมูลนิธิแมพและสมาคมแรงงานยองชีอูเพื่อเจรจากับนายจ้างโดยผ่านทาง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สาขาอำเภอแม่สอด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา แรงงานได้ประสบความสำเร็จในการเจรจาและขณะนี้ได้รับการจ่ายค่าจ้างตามอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ของแม่สอด ซึ่งจริงๆแล้วแรงงานทุกคนต้องได้รับการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ โดยต้องรวมถึงแรงงานข้ามชาติด้วย อย่างไรก็ตามแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตาม กฎหมายและค่าจ้างจริงๆที่ได้รับมักจะต่ำกว่าที่รัฐบาลไทยกำหนดทางกฎหมายมาก

แรงงานได้รับชัยชนะในการต่อสู้เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามกฎหมายค่า จ้างขั้นต่ำ และเพื่อให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการทำงานและสภาพความเป็นอยู่ เมื่อแรงงานไม่ได้รับการจ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย ตามที่รัฐบาลกำหนดอัตราใหม่เพิ่มขึ้นในวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา แรงงานได้เรียกร้องสิทธิของตนและได้ดำเนินกระบวนการเพื่อนัดหยุดงานจำนวน 21 วัน เริ่มเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งตามกฎหมายแรงงานควรมีสิทธิได้รับค่าแรง 226 บาทในเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงของวันทำงานปกติ ก่อนที่จะมีการกำหนดอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำใหม่นี้ แรงงานในพื้นที่นี้ควรจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย วันละ 162 บาท

ทว่าก่อนที่แรงงานจะเรียกร้องสิทธิพวกเธอและเขา แรงงานได้รับค่าแรงจริงเพียงแค่ 60-100 บาท ซึ่งในเงินจำนวนนี้ได้รวมค่าทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุดแล้ว แรงงานต้องทำงานโดยไม่มีวันหยุดตั้งแต่ 8.00 เช้าถึงห้าทุ่ม โดยโรงงานจ่ายค่าล่วงเวลาแค่ชั่วโมงละ 8-10 บาท 

เหตุเกิดจากการนายจ้างไม่จ่ายค่าแรงตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน ส่งผลให้แรงงานประสบความยากลำบาก ต้องอยู่โดยไม่มีเงิน ต้องอดอยากไม่มีเงินซื้ออาหารกินและไม่มีเงินใช้จ่ายในสิ่งของพื้นฐานที่จะ เป็นต่อการดำรงชีวิต แรงงานเริ่มที่จะเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าแรงขั้นต่ำอัตราใหม่ตามที่ กฎหมายกำหนด และอยากให้นายจ้างซ่อมแซมที่พัก จัดให้มีน้ำดื่มที่สะอาดและมีไฟฟ้าใช้ และได้รับสิทธิที่พึงมีพึงได้เหมือนแรงงานคนอื่นๆ 

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41110