หน้าเว็บ

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

17 พ.ค. “วันนี้มีใครตาย”

17 พ.ค. “วันนี้มีใครตาย”

 

 


นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ   
อายุ 61 ปี ถูกยิงเสียชีวิตเวลาประมาณ 21.00 น. บริเวณปากซอยรางน้ำ บาดแผลกระสุนปืนลูกโดดทะลุผ่านลำไส้

นายสมพาน หลวงชม 
อายุ  35 ปี  ถูกยิงเวลาประมาณ 22.00 น. บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง เสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาลทหารผ่านศึก บาดแผลกระสุนปืนลูกโดดบริเวณปีกจมูกซ้ายทิศจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง หน้าไปหลัง ทะลุผ่านคอและช่องอกข้างขวาพบหัวกระสุนปืนชนิดมีทองแดงหุ้มขนาดเส้นผ่านศก. 0.5 ซม. ค้างในช่องออกขวา สันนิษฐานว่าเกิดจากปืนความเร็วสูง

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 ( ศปช.)
มายเหตุ ประชาไทนำเสนอซีรี่ส์ “วันนี้มีใครตาย” นำเสนอเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2553 (หลังเหตุการณ์ 10 เมษา) โดยจะทยอยนำเสนอความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อเป็นการรำลึกและย้ำเตือนถึงบาดแผลความรุนแรงที่อีกสองปีให้หลังสังคม ไทยก็ยังไม่มีทางออกว่าจะจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร

(คลิกดูรายละเอียด)


(ที่มา)  
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40562

ญาติมาเอง ยื่น จม.นายกจี้ปล่อยนักโทษการเมือง-พัฒนาคุกทั่วประเทศ

ญาติมาเอง ยื่น จม.นายกจี้ปล่อยนักโทษการเมือง-พัฒนาคุกทั่วประเทศ

 

 

ร้องนายกฯทบทวนแก้ม.112

http://www.youtube.com/watch?v=bzJooZ4S858&feature=player_embedded 



เมื่อวันที่ 15 พ.ค.55 เวลา 10.00 น. เครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย ญาตินักโทษทางการเมือง นักโทษ ม.112 หรือคดีหมิ่นพระบรมเดชนุภาพ เช่น นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) และ แม่นายสุรภักดิ์ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังคดีหมิ่นฯ เป็นต้น ได้รวมตัวกันประมาณ 50 คน บริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นจดหมายเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองและนักโทษที่โดนคดีอาญา มาตรา 112 ทันที โดยให้รวมนักโทษที่โดนคดีอาญามาตรา 112 เป็นนักโทษการเมือง ทบทวนการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์และข้อเสนอของและคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหา ความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)  รวมทั้งพัฒนาความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องขัง

โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกมารับจดหมายดังกล่าวแทนนายกรัฐมนตรี พร้อมกับพูดคุยกับผู้ชุมนุม และยืนยันว่า "จะต้องไม่มีใครเป็นเหมือนอากงอีก" (ทั้งนี้ อากงหรือ นายอำพล หรือเป็นที่รู้จักในทางสาธารณะในนามว่า "อากง SMS" ผู้ต้องขังคดี ม.112 ที่ได้เสียชีวิตในเรือนจำเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา)

 

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40559

ศาลต้องพิจารณาตัวเอง

ศาลต้องพิจารณาตัวเอง

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 





โดยชำนาญ จันทร์เรือง

 

ไม่น่าเชื่อว่าศาลไทยจะไม่มีใครออกมาปกป้องเลย ไม่ว่าจากสื่อหรือประชาชนทั่วไปจากกรณี “อากง” ที่เสียชีวิตในเรือนจำอันเนื่องมาจากการต้องคำพิพากษาศาลชั้นต้นถึง 20 ปีจากกรณีต้องสงสัยว่าส่งเอสเอ็มเอส หมิ่นเบื้องสูง และไม่ได้ประกันตัวในชั้นศาล ทั้งๆที่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน เพราะโดยปกติแล้ว หากมีการวิจารณ์ศาลเกิดขึ้น มักจะมีการออกมาปรามทั้งหนักและเบาว่าระวังจะเข้าข่ายหมิ่นศาลหรือละเมิด อำนาจศาลอยู่เสมอ แต่ในคดีนี้กลับเงียบกริบ มีเพียงโฆษกศาลยุติธรรมและอธิบดีศาลอาญาออกมาพยายามอธิบายบ้าง แต่ก็ถูกระหน่ำจนเละในโซเชียลเน็ตเวิร์กหรือเครือข่ายสังคม

ผมคงไม่กล่าวถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายในคดีนี้เพราะมีผู้เขียนถึงเยอะ มากแล้ว เช่น โทษหนักไปหรือไม่ เหตุใดจึงไม่ได้ประกันตัว หรือแม้กระทั่งเชื่อหรือไม่เชื่อว่าอากงเป็นคนส่งเอสเอ็มเอสเพราะอากงบอกกับ ผู้เกี่ยวข้องมาตลอดว่าตนเองส่งเอสเอ็มเอสไม่เป็น ฯลฯ แต่จะกล่าวถึงการสูญเสียความเชื่อมั่นในศาลไทยจากประชาชนไทยและต่างประเทศ

ลำดับความน่าเชื่อถือของศาลไทยอยู่เป็นอันดับหนึ่งในบรรดาองค์กรของรัฐ ไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้วยความรู้ความสามารถในการสอบแข่งขันเข้าสู่ตำแหน่ง การดำรงตนอย่างสมถะของผู้พิพากษาตุลาการ ความเป็นกลางทางการเมือง ฯลฯ แต่ภายหลังจากเหตุการณ์ที่คนพยายามเรียกว่า “ตุลาการภิวัตน์” เกิดขึ้นโดยศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองต่างวินิจฉัยยกเลิกการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปี 2548 ด้วยเหตุผลว่าตั้งคูหาลงคะแนนหันหลังให้ประชาชน ซึ่งเป็นการผิดปกติเป็นอย่างยิ่งที่ศาลสองศาลจะพิจารณาคดีเดียวกัน

ความเคลือบแคลงสงสัยต่อศาลไทยเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดภายหลังการรัฐประหาร 2549 เมื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคอื่นอีกสองพรรค แม้จะแก้ว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาลจึงไม่ได้สวมเสื้อครุยศาลก็ตาม แต่คณะตุลาการก็มาจากศาลยุติธรรมและศาลปกครองอยู่ดี และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัย (อย่างเร่งด่วนนอกที่ตั้งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ไปวินิจฉัยที่ศาลปกครองแทน) ยุบพรรคพลังประชาชนและพรรคชาติไทยอีกระลอกหนึ่ง แต่ที่ตลกจนหัวเราะก็ไม่ออกร้องไห้ก็ไม่ได้คือ กรณีไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆที่ต่อสู้กันมาจนปิดคดีแล้ว โดยให้เหตุผลว่า ส่งฟ้องเกินระยะเวลา หรือพูดง่ายๆว่า ขาดอายุความ ซึ่งก็เป็นเหมือนปล่อยให้นักมวยต่อยกันจนครบยกแล้วกรรมการบอกไม่ตัดสินล่ะ เพราะอีกฝ่ายน้ำหนักเกิน เรียกเสียงครางฮือๆกันทั่วประเทศ

 

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40514

รัฐบาล "ต้อง" จัดการเรื่อง ม.112

รัฐบาล "ต้อง" จัดการเรื่อง ม.112






ใบตองแห้งออนแอร์ ชี้ว่ารัฐบาลต้องแสดงความกล้าหาญ และยอมรับว่า ม.112 มีปัญหา พร้อมหาคนกลาง เช่น คอป. มาเป็นเจ้าภาพหารือกับทุกฝ่ายว่าควรแก้ไขแก้อย่างไร โดยในตอนหนึ่ง ใบตองแห้งระบุว่า:

"ผมคิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ควร ทำเท่านั้น แต่มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่รับผิดชอบประเทศ คุณรับผิดชอบเนี่ย รับผิดชอบ สองด้านเลย หนึ่ง ก็คือว่า ต้องรับผิดชอบในการพิทักษ์จุดยืนประชาธิปไตย รักษาความเป็นประชาธิปไตย และอันสองก็คือ รับผิดชอบในการปกป้องสถาบัน และก็ทำให้สถาบันพ้นไปจากความขัดแย้ง ทั้งสองด้านเนี่ยจะต้องมาบรรจบกันที่ว่า คุณจะทำอย่างไรในการยุติปัญหา 112 ถ้ารัฐบาลไม่ทำเรื่องนี้ ก็บอกได้ สองคำว่า หนึ่ง 'โง่' สอง 'ขี้ขลาด' ครับ"





"ปฎิรูป ม.112 คือ การปลดเงื่อนไขการนองเลือด"

คำให้สัมภาษณ์ของ ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผู้เชี่ยวชาญในด้านประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับ ม.112 ตอนหนึ่งระบุว่า:


"ก็ต้องปฏิรูปออกมาสักทาง ต้องเข้าใจว่ามาตรา 112 มีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ แต่ก่อนโทษมันไม่ห
นัก ขนาดนี้ แต่มันมาเพิ่มโทษให้หนักขึ้นในช่วงที่มีการปกครองด้วยอำนาจทั้งเผด็จการทหาร และพลเรือนตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร มันต้องปลดล็อก ถ้าเราปลดไม่ได้ มันจะยิ่งไปกันใหญ่ ... น่าห่วงมาก แต่ยอมรับว่าการแก้กฎหมายนี้จะเกิดขึ้นยาก เพราะแรงต้านทานมีสูง คนจำนวนไม่น้อยที่อยู่ในสังคมชั้นสูง ผมได้พบปะเป็นการส่วนตัว บอกกับผมว่าเห็นด้วยกับผม แต่พอที่แจ้งจะไม่ออกมาพูด ผมจึงเป็นห่วงว่าถ้าเป็นกันแบบนี้โอกาสที่สังคมนี้จะแตกหัก นองเลือดกันเหมือน พฤษภา 2553 หรือพฤษภา 2535 ถ้ามองตามหลักวิชาประวัติศาสตร์ที่ผมเรียนมา มันก็มีโอกาส วันนี้สังคมไทยต้องช่วยปลดเงื่อนไขการนองเลือด ต้องการคนที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมสูงมากในการทำภารกิจนี้ และการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ก็ใช้คนไม่มาก ใช้คนจำนวนหนึ่งที่เป็นตัวนำ แต่ต้องได้รับแรงสนับสนุนจากสังคมพอสมควร"