วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555
แบทแมน ความคลุมเครือของโลกที่ไร้ทางออก
แบทแมน ความคลุมเครือของโลกที่ไร้ทางออก
ความล้มเหลวในอดีต เป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์โลกหรือไม่
เปล่าเลยเพราะการปฏิวัติไปสู่สังคมใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยตัวมันเอง
แต่มันถูกสะสมพลังแห่งความขัดแย้งภายในสังคมเดิมที่เราอาศัยอยู่
แต่เราต้องพยายามช่วงชิงนิยามการปฎิวัติกลับมาจากพวกฝ่ายปฎิรูปที่มองกว่า
สังคมสามารถปฏิรูปเล็กๆน้อยๆ ผ่านความเป็นคนดี หรือผ่านความใจดี
ของคนรวยได้ เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ใครดีหรือไม่ดี
แต่มันอยู่ที่ระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาต่างหาก
โดย วัฒนะ วรรณ
โดย วัฒนะ วรรณ
The Dark Knight Rises หนังภาคสุดท้ายของ แบทแมน ซึ่งต้องออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้ดูสองภาคแรก ก่อนหน้านี้ โดยสิ่งที่เขียนมาจากเนื้อหาของหนังในภาคสุดท้ายเป็นหลัก
หนังในภาคนี้ ประกอบด้วย ตัวละครสามกลุ่มหลัก คือ “คนจน” ที่สิ้นหวังและมีหวัง อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านการปฏิวัติ “คนรวย” ที่ทั้งคนเห็นแก่ตัวและเอื้ออารีย์ ที่ต้องการรักษาโลกใบนี้ที่ให้น่าอยู่ และ “ตำรวจ” ผู้ถืออำนาจรัฐ ที่เป็นทั้งผู้บ้าในอำนาจและผู้หวังดีที่จะนำพาสังคมไปสู่ความสงบสุข และแน่นอนพระเอกหรือฮีโร่ของหนังก็คือ แบทแมน มหาเศรษฐีที่ทุ่มเทชีวิต เพื่อรักษาเมืองให้คงอยู่ปกติสุข กับผู้ร้ายคือ เบน ที่ต้องการทำลายเมืองทิ้งไปเสีย
เนื้อหนังสร้างสัญลักษณ์ การต่อสู้ทางชนชั้นไว้ในหลายฉาก เช่นการบุกไปตลาดหุ้น การตั้งศาลประชาชน การพิพากษาคนรวย การทำลายคุก ที่ขังคนด้วยกฎหมายเผด็จการ แต่มันดูแปลกหรือเป็นตลกร้าย คือผู้นำการปฏิวัติอย่าง เบน กลับเป็นเผด็จการชัดเจน ที่ต้องการทำลายเมือง โดย เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร ให้ความเห็นว่า...
“ผมคิดว่า "เบน" เป็นขวามากกว่าซ้าย เป็นฟาสซิสต์เลยก็ว่าได้ เพราะเขาต้องการสานต่องานของอัลกูลใช่มั้ย ที่คิดว่าคนในเมืองเป็นปัญหา ต้องทำลายล้างคนพวกนี้ที่แปดเปื้อนให้หมดแล้วเริ่มต้นใหม่ ผมว่าไอเดียแบบนี้ไม่ใช่ซ้ายเลย คำว่า "ประชาชน" ถูกเอามาใช้อ้างเท่านั้น ที่มันตลกร้ายคือ เขาเอาวิธีการแบบการปฏิวัติฝรั่งเศสมาใช้และเอาวาทกรรมของการปฏิวัติมาใช้ สร้างความชอบธรรมให้ตัวเอง”
“สำหรับผม ฉากการทำลายคุก แล้วก็การตั้งศาลเตี้ยแบบที่เห็น หรือการแขวนคนประจานบนสะพาน มันคือการปฏิวัติฝรั่งเศสชัดๆ ส่วนที่บอกว่าเอาวาทกรรมการปฏิวัติมาใช้ ก็เพราะเบนพูดถึงประชาชน คืนอำนาจกลับไปให้ประชาชน การปลดปล่อยประชาชน คือ ใช้คำพูดชุดนี้มาอธิบายการยึดอำนาจ เท่ากับเป็นการสร้างความชอบธรรม แต่มันตรงข้ามกับที่เขาทำทุกอย่าง”[1]
หนังสะท้อนภาพกระแสความคิดบางชุดในสังคมทุนนิยมปัจจุบัน ท่ามกลางกระแสที่คนเริ่มไม่พอใจระบบทุนนิยม หรือระบบเสรีนิยมกลไกตลาด ที่สร้างความร่ำรวยมหาศาลให้กับกลุ่มนายทุน ในขณะที่คนจน ประสบกับความยากลำบากมากขึ้น จนเป็นที่มาของขบวนการ อ๊อกคิวพาย ที่เกิดขึ้นที่วอลสตรีท ที่เป็นย่านธุรกิจการเงิน ของสหรัฐอเมริกา แล้วกระจายไปที่ต่างๆ ในหลายเมืองในยุโรป แต่ในหนังทำให้ภาพการปฏิวัติของคนจน ดูกลายเป็นผู้ร้าย และนำมาซึ่งระบบเผด็จการในอีกรูปแบบ ที่เลวร้ายกว่าสภาพที่เป็นอยู่ ทางออกของหนังจึงเน้นไปที่การพึ่งพาฮีโร่ ซึ่งเป็นใครก็ได้ ที่กระทำการในนิยามของ “ความดี” มันก็คล้ายๆ กับกระแสความคิดในสังคมไทย ก่อนหน้าที่จะมีขบวนการเสื้อแดง ที่สังคมส่วนมากมักจะเรียกหาฮีโร่ หรือผู้นำ ที่จะนำพาประเทศไปให้รอด
การมองว่าการปฏิวัติ มักนำพาไปสู่ระบอบเผด็จการที่เลวร้าย เป็นชุดความคิดที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ในสังคม ผ่านการยกตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เช่น โซเวียต สมัยสตาลิน คิวบา เขมรแดง จีน ลาว อีหร่าน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า ผู้กำกับเขาต้องการสื่อในความหมายนี้หรือไม่ แต่ความคิดแบบนี้ มันก็ถูกสร้างขึ้นมาในสังคมอย่างต่อเนื่อง
แน่นอนการปฏิวัติทางชน ชั้นในอดีตไม่สบผลสำเร็จ และมีการปฏิวัติซ้อนกลายเป็นเผด็จการที่ให้เราเห็น และบางขบวนการปฏิวัติก็อาศัยเพียงเสื้อคลุมทางชนชั้น เพื่อนำการปฏิวัติเพียงเท่านั้น หาใช่เป็นเนื้อแท้แห่งการปฏิวัติทางชนชั้นไม่
แต่ความล้มเหลวในอดีต เป็นจุดสิ้นสุดของประวัติศาสตร์โลกหรือไม่ เปล่าเลยเพราะการปฏิวัติไปสู่สังคมใหม่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยตัวมันเอง แต่มันถูกสะสมพลังแห่งความขัดแย้งภายในสังคมเดิมที่เราอาศัยอยู่ แต่เราต้องพยายามช่วงชิงนิยามการปฎิวัติกลับมาจากพวกฝ่ายปฎิรูปที่มองกว่า สังคมสามารถปฏิรูปเล็กๆน้อยๆ ผ่านความเป็นคนดี หรือผ่านความใจดี ของคนรวยได้ เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ใครดีหรือไม่ดี แต่มันอยู่ที่ระบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาต่างหาก
เชิงอรรถ
[1]ความคิดเห็นของ เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร มาจากการแลกเปลี่ยนกับผู้เขียนในเฟซบุ๊ค
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/07/blog-post_9904.html
มองเกม"สุกำพล" จากประเพณีดูตัว ถึง บี้ "มาร์ค" "ร.ต.อภิสิทธิ์" กับ นายร้อย จปร. และ"มอร์นิ่ง บรี๊ฟ"
มองเกม"สุกำพล" จากประเพณีดูตัว ถึง บี้ "มาร์ค" "ร.ต.อภิสิทธิ์" กับ นายร้อย จปร. และ"มอร์นิ่ง บรี๊ฟ"
เป็นที่วิพากษ์พอสมควร เมื่อ บิ๊กโอ๋
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม พา บิ๊กเล็ก พล.อ.ทนงศักดิ์
อภิรักษ์โยธิน ผช.ผบ.ทบ. และ บิ๊กจิน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผช.ผบ.ทอ.
เข้าทำเนียบ พบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อ 25
กรกฎาคมที่ผ่านมา
เพราะหมายถึงเป็นการ "ประกาศ" และรวบรัดให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นว่าที่ปลัดกลาโหม และ พล.อ.อ.ประจิน เป็น ผบ.ทอ.คนใหม่
ลำพัง การนำ พล.อ.อ.ประจิน ไปแสดงตนในฐานะ ว่าที่ ผบ.ทอ.คนใหม่ นั้น ก็ไม่ถูกวิจารณ์มากนัก เพราะ พล.อ.อ.ประจิน แกนนำ ตท.13 นั้นเป็น "ตัวเต็ง" และมีความชอบธรรมที่จะเป็นแม่ทัพฟ้าคนใหม่อยู่แล้ว หลังจากที่ บิ๊กเฟื่อง พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. แท็กทีมกับ ผบ.สส. และ ผบ.เหล่าทัพ หนุน พล.อ.อ.ประจิน เป็น ผบ.ทอ.
ต่อให้ พล.อ.อ.สุกำพล จะไม่ค่อยแฮปปี้กับ พล.อ.อ.ประจิน ซึ่งเป็นน้องรักของ บิ๊กต๋อย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข อดีต ผบ.ทอ. แกนนำ คมช. ที่ปัจจุบันเป็นองคมนตรี เท่าใดนัก แต่ก็ไม่อาจต้านทานเสียงที่เป็นหนึ่งเดียวของ ผบ.เหล่าทัพได้
แต่ กรณีของ พล.อ.ทนงศักดิ์ นั้น เป็นเสมือนการ "หักดิบ" เนื่องจากยังคงมีการแย่งชิงเก้าอี้ปลัดกลาโหม กันอยู่ แต่ พล.อ.อ.สุกำพล ก็เร่งพาเข้าพบนายกรัฐมนตรีก่อนเลยเพื่อเป็นการประกาศเป็นนัยๆ ว่า นี่แหละ ว่าที่ปลัดกลาโหม
ในมุมมองของ พล.อ.อ.สุกำพล ก็เพื่อเป็นการตัดปัญหาความขัดแย้งและการวิ่งเต้นในการโยกย้ายทหาร อีกทั้งทำให้เชื่อว่า บิ๊กเปี๊ยก พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกลาโหม ก็หนุน พล.อ.ทนงศักดิ์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.11 ให้มานั่งแทนด้วย เพราะมีอายุราชการแค่ 1 ปี
แม้ว่าเดิมจะเมียงมอง บิ๊กหนู พล.อ.อ.บุญยฤทธิ์ เกิดสุข รอง ผบ.สส. เพื่อนอีกคนที่พลาดเก้าอี้ ผบ.ทอ. ไว้ แต่เพราะมีอายุราชการ 2 ปี นานไป เพราะเก้าอี้ปลัดกลาโหม มักจะใช้เป็นเก้าอี้ในการแก้ปัญหาโยกย้ายก็ตาม
เพราะหมายถึงเป็นการ "ประกาศ" และรวบรัดให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นว่าที่ปลัดกลาโหม และ พล.อ.อ.ประจิน เป็น ผบ.ทอ.คนใหม่
ลำพัง การนำ พล.อ.อ.ประจิน ไปแสดงตนในฐานะ ว่าที่ ผบ.ทอ.คนใหม่ นั้น ก็ไม่ถูกวิจารณ์มากนัก เพราะ พล.อ.อ.ประจิน แกนนำ ตท.13 นั้นเป็น "ตัวเต็ง" และมีความชอบธรรมที่จะเป็นแม่ทัพฟ้าคนใหม่อยู่แล้ว หลังจากที่ บิ๊กเฟื่อง พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. แท็กทีมกับ ผบ.สส. และ ผบ.เหล่าทัพ หนุน พล.อ.อ.ประจิน เป็น ผบ.ทอ.
ต่อให้ พล.อ.อ.สุกำพล จะไม่ค่อยแฮปปี้กับ พล.อ.อ.ประจิน ซึ่งเป็นน้องรักของ บิ๊กต๋อย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข อดีต ผบ.ทอ. แกนนำ คมช. ที่ปัจจุบันเป็นองคมนตรี เท่าใดนัก แต่ก็ไม่อาจต้านทานเสียงที่เป็นหนึ่งเดียวของ ผบ.เหล่าทัพได้
แต่ กรณีของ พล.อ.ทนงศักดิ์ นั้น เป็นเสมือนการ "หักดิบ" เนื่องจากยังคงมีการแย่งชิงเก้าอี้ปลัดกลาโหม กันอยู่ แต่ พล.อ.อ.สุกำพล ก็เร่งพาเข้าพบนายกรัฐมนตรีก่อนเลยเพื่อเป็นการประกาศเป็นนัยๆ ว่า นี่แหละ ว่าที่ปลัดกลาโหม
ในมุมมองของ พล.อ.อ.สุกำพล ก็เพื่อเป็นการตัดปัญหาความขัดแย้งและการวิ่งเต้นในการโยกย้ายทหาร อีกทั้งทำให้เชื่อว่า บิ๊กเปี๊ยก พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกลาโหม ก็หนุน พล.อ.ทนงศักดิ์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ตท.11 ให้มานั่งแทนด้วย เพราะมีอายุราชการแค่ 1 ปี
แม้ว่าเดิมจะเมียงมอง บิ๊กหนู พล.อ.อ.บุญยฤทธิ์ เกิดสุข รอง ผบ.สส. เพื่อนอีกคนที่พลาดเก้าอี้ ผบ.ทอ. ไว้ แต่เพราะมีอายุราชการ 2 ปี นานไป เพราะเก้าอี้ปลัดกลาโหม มักจะใช้เป็นเก้าอี้ในการแก้ปัญหาโยกย้ายก็ตาม
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344128731&grpid=01&catid=&subcatid=
เหตุใดนักกีฬาอาเซียนจึงได้เหรียญน้อยในโอลิมปิก ?
เหตุใดนักกีฬาอาเซียนจึงได้เหรียญน้อยในโอลิมปิก ?
วันนี้ช่วงคอลัมน์ "Go Global " ซึ่งเป็นคอลัมน์ใหม่ของ VOICE NEWS โดยรองศาสตราจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกียวโต จะวิเคราะห์การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลอนดอนเกมส์ โดยมองว่าไทยให้ความสำคัญกับกีฬาประเภทรองมากกว่ากีฬาประเภทหลัก พร้อมตั้งข้อสังเกตการแก้ปัญหาข้อพิพาทต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน
(คลิกฟัง)
'ปวิน'แนะขอให้เลิกนักโทษการเมือง
'ปวิน'แนะขอให้เลิกนักโทษการเมือง
รองศาสตราจารย์ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จากสถาบันเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต เสนอแนวคิด ยกเลิกนักโทษการเมือง
ในเวทีปฏิญญาหน้าศาล
รศ.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ จากสถาบันเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้พูดคุยถึงทัศนะในเรื่องนักโทษการเมืองว่า ในประเทศประชาธิปไตยไม่มีนักโทษการเมือง เพราะโดยนิยามแล้วนักโทษการเมืองคือ กลุ่มคนที่มีความคิดแตกต่างจากรัฐบาล ซึ่งในประเทศประชาธิปไตยเรื่องนี้เกิดขึ้นไม่ได้ รัฐบาลต้องยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ต้องเปิดพื้นที่ให้มีการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและรับผิดชอบในสิ่งตนเองพูด การลงโทษถึงขนาดจับกุมเป็นเรื่องที่ผิดและทำไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงความเห็นด้านการเมือง
ในประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
โดยเฉพาะประเทศเผด็จการก็มีนักโทษการเมืองอยู่มาก
การจับกุมคุมขังถือเป็นมาตรการหนึ่งของรัฐ
ในการที่จะควบคุมการแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา
กลไกอีกอันหนึ่งคือ มาตรา 112 ปัจจุบัน ใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อ เป็นเครื่องมือกำจัดศัตรูทางการเมือง อย่างกรณีอากงก็เห็นได้ชัดว่าเป็นประเด็นทางการเมือง มีการจับกุมโดยที่ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ก่อนหน้ารัฐประหารมีการใช้มาตรา 112 น้อยมาก และใช้กันเฉพาะในหมู่นักการเมืองระดับสูง เช่น คุณทักษิณก็ถือว่าเป็นคนหนึ่งที่เอา 112 มาเล่น แกล้งฝ่ายตรงข้าม คุณทักษิณฟ้องคุณสนธิ คุณสนธิฟ้องคุณทักษิณ คุณทักษิณฟ้องพรรคประชาธิปัตย์เรื่องเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเครื่อง มือในการหาเสียงเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ก็ฟ้องกลับ แต่อย่างไรก็ตาม มันยังมีวงจำกัดอยู่แค่นักการเมืองเท่านั้น ไม่ลงมาถึงระดับประชาชน
แต่หลังรัฐประหาร
ฝ่ายอำมาตย์เริ่มมีความหวั่นกลัวว่าประชาชนมีความตื่นตัวด้านการเมืองมาก
ขึ้น จุดนี้ทำให้เขารู้สึกเริ่มอ่อนแอลง
ซึ่งมันมีไม่กี่ทางที่เขาจะสามารถป้องกันตนเองได้
วิธีหนึ่งคือใช้รัฐประหาร มันก็อาจเป็นไปได้อีก
วิธีการหนึ่งคือใช้ตุลาภิวัตน์ ซึ่งเขากำลังใช้อยู่ วิธีการที่เริ่มใช้มา
3-4 ปี แล้วคือใช้กฎหมายหมิ่นฯ ซึ่งตอนนี้ใช้อย่างสะเปะสะปะ
บางอันไม่เกี่ยวกับการเมืองระดับชาติเลย
ชี้ให้เห็นว่ากฎหมายมีช่องโหว่อยู่มาก
สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวทุกภาคทุกอณูของสังคมไทย
เป็นทางแยกที่เราไม่รู้จะเดินไปทางไหน
ความหวังอย่างเดียวคือรัฐบาลจะช่วยทำให้สถานการณ์มีความกระจ่างมากขึ้น
จึงอยากขอจุดยืนจากรัฐบาลหน่อย เรื่อง 112 ว่าจะเอายังไง เลิกคลุมเครือ
ถ้าไม่แก้ ขอเหตุผลดีๆ ซึ่งเชื่อว่าหาเหตุผลลำบากถึงจุดนี้ มาตรา 112
ถึงไม่ยกเลิก อย่างต่ำก็ต้องได้รับการแก้ไข เพราะสังคมไทยไปอย่างนี้ไม่ได้
ส่วนตุลาการภิวัฒน์ หรือ judicial coup นั้น รศ.ปวิน เห็นว่า
เกิดขึ้นครั้งแรกในการปลดสมัครออกจากนายกฯ ต่อมา ยุบพรรคพลังประชาชน
แต่การยุบพรรคไม่เกิดขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์
สิ่งที่เราคิดว่าไม่น่าเกิดขึ้นกับสังคมไทย ไม่ว่าจะเลวร้าย บัดซบ
ไม่มีเหตุผลรองรับอย่างไร มันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
สิ่งที่เกิดขึ้นในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งในรัฐสภาและการแทรกแซงของศาลรัฐธรรมนูญ จึงเป็นสิ่งไม่แปลก
แต่มันคงอยู่ได้ไม่นาน เพราะมันยิ่งลดความน่าเชื่อถือของระบบตุลาการไทย
รศ.ปวิน เห็นว่า ปัจจุบัน เราพึ่งใครไม่ได้
พึ่งสถาบันศาสนาให้มาเป็นแนวทางในการนำจริยธรรมก็คงลำบาก
พึ่งองค์กรอิสระให้เป็นกลางดูแลแก้ไขปัญหาก็คงลำบาก ทางออกทางเดียวคือ
ประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย
รู้จักเล่นเกมตามระบอบประชาธิปไตย ถ้าแพ้ก็ต้องยอมรับ
ต่อประเด็นที่ประชาชนเริ่มเห็นว่ารัฐบาลและ
ส.ส.ที่เลือกมาไม่ใช้อำนาจที่มีอยู่อย่างเต็มที่
รองศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโตกล่าวว่า อยากให้รัฐบาลมีความกล้าๆ
หน่อย คุณได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนแล้วยังจะกลัวอะไร ประชาชนเขาจำ
ถ้าคุณไม่ทำอย่างที่เขาต้องการ เขาก็ไม่เลือกคุณอีก
คุณอย่าทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเขามีความสำคัญแค่วันเลือกตั้งเท่านั้น
รัฐบาลอาจคิดถึงความอยู่รอดของตัวเอง
ทำให้มีความพยายามต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับศัตรูทางการเมืองที่มีอำนาจ
ล้นเหลือ เช่น ผูกมิตรกับกองทัพ ไปพบผู้อาวุโสบางคนของประเทศ
แต่การทำเช่นนี้ คุณลืมประชาชนไป มันไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนต้องการ
อย่างน้อยสิ่งที่ประชาชนเรียกร้องคุณต้องทำให้ได้ นักโทษการเมือง
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเสื้อแดงที่สนับสนุนคุณมายังไม่ช่วยเขาเลย มาตรา 112
ก็มีความคลุมเครือ นายกฯ ก็ออกมาพูดว่าจะไม่แก้ไข
พูดได้อย่างไรในเมื่อมันเป็นปัญหาแก่นของสังคมไทย
ถ้าคุณทักษิณคิดว่ารัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์จะได้รับการสนับสนุนจากประชาชน
และต้องอยู่ไปอีก 8 ปี สิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์ทำอยู่ตอนนี้ไม่พออย่างแน่นอน
ต้องทำมากกว่านี้ มีจุดยืนมากกว่านี้
ส่วนสภาในเมื่อคุณมีเสียงข้างมาก ถ้าคุณเห็นว่ากฎหมายอันไหนเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ เป็นความก้าวหน้าด้านประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ตอบสนองข้อเรียกร้องของประชน คุณก็ต้องมีความรับผิดชอบ อย่างมาตรา 112 ประชาชนเรียกร้องไปแล้ว รวบรวมรายชื่อไปแล้ว ถึงเวลาต้องทำคุณก็ต้องทำ จะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยใน ต่างประเทศว่าแย่มาก ประเทศไทยเคยเป็นโมเดลของประเทศในภูมิภาคที่มีประชาธิปไตยที่เบ่งบาน มีสื่อที่พูดได้อย่างตรงไปตรงมา ตอนนี้กลับตาลปัตรไปหมด ตอนนี้พม่าเจริญกว่าเราทางด้านความคิดทางการเมือง เขากำลังเดินออกจากระบบที่ครอบงำโดยทหาร ส่วนประเทศไทยกำลังถอยหลังเข้าสู่ระบบครอบงำของทหาร ของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถ้าเราไม่ปรับตัวเราจะเป็นประเทศที่ล้าหลังอย่างมาก
ประเทศไทยเป็นสมาชิกประชาคมโลก เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ
เรามีพันธกรณีกับหลายๆ หน่วยงานระหว่างประเทศ
ถ้าเราคิดว่าเราเป็นประเทศประชาธิปไตย เราต้องพิสูจน์ให้เขาเห็นว่า
เราเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งจุดนี้เรายังอ่อนมาก
และต่างชาติกำลังมองเราอย่างใกล้ชิด
ถ้าเราจะเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าในแบบที่เป็นประชาธิปไตย
เราคงต้องเคลื่อนไปทั้งองคาพยพ จะทำทีละเล็กละน้อยไม่ได้
เราเคยมีความหวังว่าระบบตุลาการจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา
แต่ตอนนี้ระบบตุลาการทั้งหมดกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา
ความรุนแรงจะเพิ่มมากขึ้น
สิ่งที่เราเห็นในทุกวันนี้ว่ามันเลวร้ายมาก มันจะเลวร้ายไปกว่านี้อีก ใน
2-4 ปีข้างหน้า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ องค์กรต่างๆ
ที่อยู่นอกเหนือระบบรัฐสภา นอกเหนือระบอบประชาธิปไตย
จะยิ่งเพิ่มเขี้ยวเล็บมากขึ้น
เพราะเขารู้ว่าสิ่งที่เขาปกป้องอยู่ทั้งผลประโยชน์ของตัวเอง
และผลประโยชน์ของคนอื่นๆ มันจะไม่อยู่กับเขาอีกต่อไป
เพราะฉะนั้นตอนนี้เป็นช่วงวาระสุดท้ายที่เขาจะทำทุกอย่าง
เราจะเห็นเรื่องต่างๆ ที่มันทุเรศๆ ออกมาอีก เรื่องที่เรารับไม่ได้
เรื่องที่ขาดเหตุผล อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรง
ถ้าคุณเห็นว่าตุลาการทุกวันนี้ประพฤติตนไม่ถูกต้อง
มันจะกรณีเช่นนี้อีกเยอะ ถ้าคุณเห็นว่าทหารไม่ยอมออกจากการเมือง
คุณจะเห็นว่าเขาจะกลับเข้ามาอีกมากขึ้นๆ ไม่รู้ทางออกจะเป็นอย่างไร
ประชาชนคงต้องสู้ต่อไป
สุดท้าย รศ.ปวิน ตอบคำถามผู้เข้าร่วม
ถึงกรณีที่หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นสิ่งผิด
ประชาชนจะทำอย่างไรต่อ อ.ปวินกล่าวว่า หากรัฐธรรมนูญตัดสินเช่นนั้น
และรัฐสภาเชื่อตามศาลรัฐธรรมนูญ มันเหลือโอกาสน้อยที่ประชาชนจะทำอะไรได้
นอกจากว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยลุกขึ้นต่อสู้โต้เถียงในทางกฎหมายว่าศาลรัฐ
ธรรมนูญไม่มีอำนาจจะทำเช่นนั้น แต่ลึกๆไม่เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะทำ
ทุกคนยังหลับตาและฝันหวานอยู่ในความเชื่อมั่นว่าจะมีความปรองดองเกิดขึ้น
ส่วนประชาชนคงต้องสู้กันแบบ street protest(การต่อสู้ตามท้องถนน) , civil
disobedience (อารยะขัดขืน) การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต
ที่จะเกิดขึ้นต้องเปลี่ยนแปลงมาจากมวลชนเท่านั้น
คาดหวังจากนักการเมืองก็เหนื่อย ประชาชนใช้สิทธิไปแล้วในตอนเลือกตั้ง
ในเมื่อไม่เป็นไปตามสิ่งที่เราคิด วิธีเดียวคือร่วมกันออกมาต่อต้าน
(ที่มา)
http://news.voicetv.co.th/thailand/42678.html
บทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย
บทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อเช้า ไปบรรยายที่สมาคมธรรมศาสตร์
รอบแรก พูดเรื่องการกระจายอำนาจและ
ผลคือได้เกิดการกระจายทรัพย
ผลอีกทางคือ เกิดการกระจายอำนาจ เกิดการฝังรากลึกของประชาธิ
การรัฐประหารปี 2549 พยายามกลับกระบวนการนี้ แต่ไม่สำเร็จ แถมยังต้องตามน้ำรักษาการกร
แล้วก็พักช่วงแรก ระหว่างพัก เริ่มมีเสียงวิจารณ์ว่าผมจะ
หลังเบรค ผมพูด 2 ประเด็น หนึ่ง ทำไมบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการเมืองระบอบประชา
ประเด็นแรก ผมตอบว่า ประเด็นทางการเมืองในสังคมไทยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่การเปลี่ยนประเด็นแต่ละส
ประเด็นที่สอง การที่ ม.112 เป็นประเด็น ไม่ใช่เพราะนักวิชาการจุดขึ้นมา เพราะนักวิชาการหลายกลุ่มพู
แล้วเมื่อเกิดการเคลื่อนไหว
ตอนท้าย มีคำถามระดมเข้าใส่ผมมากมาย
คำถามหนึ่งที่ผมอยากแชร์คือ
ผมตอบ: "แน่นอนว่าการคุ้มครององค์พระประมุขของรัฐย่อมสำคัญ แต่กฎหมายในระบอบประชาธิปไต
ขอบคุณผู้จัดที่มีความกล้าห
เนื้อหาข้างต้นยังไม่ถูกราย
(ที่มา)
การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล ICC
การประกาศยอมรับเขตอำนาจศาล ICC
อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล โครงการสัมนาเชิงวิชาการเรื่อง
"ประเทศไทยกับศาลอาญาระหว่างประเทศ" จัดโดยคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา
เรื่อง บทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ใน
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ ห้องกรรมาธิกา หมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา
(ที่มา)
http://www.youtube.com/watch?v=4gXqt4KABsA&feature=relmfu
ถลกทัศน์ตุลาการ แก้รัฐธรรมนูญได้ไหม
ถลกทัศน์ตุลาการ แก้รัฐธรรมนูญได้ไหม
'ใบตองแห้ง' วอยซ์ทีวี
ที่มา: เผยแพร่ครั้งแรกใน เว็บไซต์วอยซ์ทีวี
ประเด็นนี้เป็นเรื่องพิลึกพิลั่น เพราะนอกจากตั้งขึ้นมาโดยไม่เกี่ยวกับประเด็นตามมาตรา 68 ศาลยังไม่ชี้ถูกผิด แต่กลับไปให้คำแนะนำว่า “ควรจะได้ให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่า สมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่” ซึ่งทำให้งงกันไปทั้งโลก เพราะไม่เคยพบเคยเห็น ศาลทำตัวเป็นผู้ชี้แนะ “ควรจะ”
กระนั้น เมื่ออ่านคำวินิจฉัยส่วนตนแล้ว ยิ่งทำให้กังขาว่าคำวินิจฉัยกลางนี้ท่านได้แต่ใดมา
เพราะตุลาการ 1 คนคือ ชัช ชลวร เห็นว่า สามารถยกเลิกและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับได้
ตุลาการ 3 คนคือ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ, บุญส่ง กุลบุปผา, อุดมศักดิ์ นิติมนตรี เห็นว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ อยู่นอกเหนืออำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
อีก 4 คนมีความเห็น 3 อย่าง นุรักษ์ มาประณีต เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ยกเลิกไม่ได้เลย ไม่ว่าด้วยวิธีใด ยกเลิกเมื่อไหร่ก็ผิดมาตรา 68 เพราะถือเป็นการล้มล้าง “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
สุพจน์ ไข่มุกด์ กับเฉลิมพล เอกอุรุ เห็นว่าต้องทำประชามติก่อน, จรูญ อินทจาร เห็นว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจแก้ไขทั้งฉบับ แต่หากมีความจำเป็นย่อมทำได้โดยใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน ซึ่งอาจแสดงออกโดยการลงประชามติ (ไม่ชี้ชัดว่าต้องทำประชามติก่อน)
จะเห็นได้ว่ามีแค่ 2 คนบอกว่า “ต้อง” ทำประชามติก่อน 1 คนบอกว่าทำได้เลย 1 คนบอกว่าทำไม่ได้เลย ต่อให้ทำประชามติก็ผิดอยู่ดี อีก 1 คนก้ำกึ่ง ขณะที่อีก 3 คนบอกว่าอยู่นอกเหนืออำนาจศาล
แล้วคำว่า “ควรจะ” นี่มาจากไหนหว่า คนที่ใช้คำว่า “อาจ” ก็มีแค่จรูญ อินทจาร คนเดียว
นี่เป็นประเด็นที่รัฐบาลและรัฐสภาต้องคิดหนัก ว่าถ้าลงมติวาระ 3 แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไร เห็นชัดๆว่าจะมี 3 เสียงชี้ผิด 3 เสียงเห็นว่าอยู่นอกอำนาจศาล 1 เสียงถูก 1 เสียงก้ำกึ่ง แล้วอย่าลืมว่าจรัญ ภักดีธนากุล จะกลับมา
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41836
ชาวฟูกุชิมาบอก 'ไม่เอา' นิวเคลียร์ หลังรบ. ทำเวทีประชาพิจารณ์
ชาวฟูกุชิมาบอก 'ไม่เอา' นิวเคลียร์ หลังรบ. ทำเวทีประชาพิจารณ์
ประชาชนชาวฟูกุชิมากว่า 90% คัดค้านการเปิดใช้โรงงานนิวเคลียร์อีกครั้ง
เหตุยังเกรงภัยซ้ำซ้อนจากวิกฤติการณ์โรงงานนิวเคลียร์ระเบิดเมื่อปีที่แล้ว
โดยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาประชาชนหลายหมื่นคนได้เดินขบวนคัดค้านหน้ารัฐสภา
เพื่อคัดค้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ด้วย
1 ส.ค. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า
หลังจากที่ทางการญี่ปุ่นได้จัดทำเวทีประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น
เรื่องนโยบายพลังงานที่เมืองฟูกุชิมาในวันนี้
ประชาชนฟูกุชิมาต่างแสดงความไม่เห็นด้วยกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์
และต้องการให้ยุติการใช้โรงงานนิวเคลียร์
เหตุยังกลัวซ้ำรอยการระเบิดของโรงงานนิวเคลียร์ฟูกุชิมาหลังเกิดคลื่นสึนามิ
ในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว
"ฉันต้องการให้โรงงานนิวเคลียร์ทุกแห่งในญี่ปุ่นปิดลงและยุติการทำงานโดย
ทันที" ผู้หญิงผมสีเทาคนหนึ่งกล่าวในเวทีประชาพิจารณ์
เธอแนะนำตนเองว่าเป็นชาวนาที่อยู่ห่างไปจากโรงงานฟูกุชิมาไป 65 กิโลเมตร
"ตอนนี้คนหลายคนได้รู้แล้วว่า คำที่รัฐบาลบอกว่า
'ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพในทันที' ที่จริงแล้วมันหมายถึง
'ความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว' ต่างหาก" เธอพูด
ตามด้วยเสียงปรบมือของคนอีก 200 คนในเวทีประชาพิจารณ์ในฟูกุชิมา
ทั้งนี้ ทางการญี่ปุ่นได้จัดทำเวทีประชาพิจารณ์ทั้งหมด 11
แห่งทั่วประเทศ โดยจัดที่เมืองฟูกุชิมาเป็นครั้งที่ 9
เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนว่าด้วยเรื่องนโยบายพลังงานของประเทศ
โดยมีสามตัวเลือกเป็นข้อเสนอแก่ประชาชน ได้แก่ 1)
เลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ทั้งหมด โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 2)
ให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์คิดเป็นร้อยละ 15 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี
2030 หรือ 3) ให้ใช้พลังงานนิวเคลียร์คิดเป็นร้อยละ 20-25
ของพลังงานทั้งหมดภายในปี 2030
โดยผลที่ออกมาพบว่า
ประชาชนชาวฟูกุชิมาได้เลือกตัวเลือกแรกกันอย่างถล่มทลาย ในขณะที่
หนังสือพิมพ์อาซาฮีของญี่ปุ่นรายงานว่า ร้อยละ 70
ของประชาชนชาวญี่ปุ่นที่ได้เข้าร่วมในเวทีความคิดเห็นในที่อื่นๆ
เลือกที่จะไม่ให้มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์เลย แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า
ผลการประชาพิจารณ์ที่ออกมาจะมีผลอย่างไรต่อการกำหนดนโยบายพลังงานที่อาจจะ
ออกมาภายในเดือนนี้
มีรายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ประชาชนชาวญี่ปุ่นหลายหมื่นคนได้ออกมาเดินขบวนประท้วงคัดค้านการใช้พลังงาน
นิวเคลียร์บริเวณหน้ารัฐสภา และตะโกนคำขวัญว่า "ไม่เอาการเปิดโรงงาน"
หลังจากที่เท็ตสึนาริ ลิดะ ผู้สมัครในการเลือกตั้งผู้ว่าจังหวัดยามากูจิ
ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน พ่ายแพ้ให้การเลือกตั้งให้กับ
ชิเกทาโร่ ยามาโมโต จากพรรค Liberal Democratic Party
ซึ่งมีจุดยืนสนับสนุนการใช้พลังงานนิวเคลียร์
ผู้สังเกตการณ์บางส่วนมองว่า การประท้วงดังกล่าว
เป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา
โดยมีการคาดการณ์จำนวนผู้เข้าร่วมจากผู้จัดงานตั้งแต่ 200,000 คน ไปจนถึง
14,000 คนจากการประมาณการณ์จากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
"คนพวกนี้ได้รวมกันและต้องการที่จะมีเสียงของตนเอง" โชจิ กิตาโน ชายวัย
64 ซึ่งเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ที่เกษียณแล้ว กล่าว เขาระบุว่า
ตนไม่เคยเห็นการประท้วงที่ใหญ่ขนาดนี้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 และย้ำว่า
คนญี่ปุ่นทั่วไปไม่ได้นิยมการออกมาประท้วง
แต่สำหรับการเปิดโรงงานนิวเคลียร์แล้ว พวกเขารู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมาก
หลายเดือนที่ผ่านมา ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้พลังงานนิวเคลียร์
ได้จัดการชุมนุมบริเวณหน้าสำนักงานของนายกรัฐมนตรีโนดะในทุกๆ วันศุกร์
โดยมีจำนวนผู้ชุมนุมคัดค้านมากขึ้นเรื่อยๆ จากพันคนเป็นจำนวนหลายหมื่นคน
โดยมีผู้สูงอายุวัยเกษียนอายุ คนทำงานออฟฟิศ และครอบครัวซึ่งนำพาเด็กๆ
มาด้วย
โดยเมื่อเดือนที่แล้ว นายกฯ โนดะ
ได้อนุมัติให้โรงงานนิวเคลียร์สองแห่งที่ผ่านการตรวจสอบแล้วเปิดดำเนินการ
อีกครั้ง เนื่องจากอ้างว่าจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/41852
ปัญหามาตรา 8 กับการลงสัตยาบัน
ปัญหามาตรา 8 กับการลงสัตยาบัน
ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ-อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล-อ.สุดสงวน สุธีสร
โครงการสัมนาเชิงวิชาการเรื่อง "ประเทศไทยกับศาลอาญาระหว่างประเทศ"
จัดโดยคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา เรื่อง
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ใน
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันอังคารที่ ๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ ห้องกรรมาธิกา หมายเลข ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=1-zstp-rkYg&feature=youtu.be
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)