กรรมาชีพ กองหน้าในการสร้างสังคมที่เท่าเทียม
"ดังนั้นนักปฏิวัติที่ก้าวหน้าที่สุด เอาการเอางานมากที่สุด
และมีวินัยมากที่สุด ต้องร่วมมือกันกับกลุ่มอื่นๆ...
สร้างองค์กรใหม่ในรูปแบบพรรคการเมือง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำงานการเมืองขยายแนวคิดปฏิวัติไปสู้กรรมมาชีพและนัก
ศึกษาให้ได้มากที่สุด"
โดย วัฒนะ วรรณ
กรรมาชีพคือกองหน้า หาใช่เป็นคนชายขอบดั่งคำกล่าวอ้างของนักกิจกรรมบางคน
กรรมาชีพเกิดมาพร้อมๆ กับระบบทุนนิยม ผลประโยชน์ของกรรมาชีพกับนายทุน
ขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง ประนีประนอมกันไม่ได้ เมื่อนายทุนได้มาก
กรรมาชีพย่อมได้น้อย เมื่อนายทุนได้น้อย กรรมาชีพย่อมได้มาก
แต่มูลค่าแต่แรกที่เกิดขึ้นในระบบการผลิตเกิดขึ้นจากลงแรงของกรรมาชีพ
ที่เปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติเป็นสินค้า หาใช่เกิดขึ้นจากนายทุน
ถ้านายทุนหยุดงานกรรมาชีพก็ยังดำเนินการผลิตไปได้ แต่ถ้ากรรมาชีพหยุด
ระบบการผลิตทั้งหมดก็จะหยุดไปด้วย
กรรมาชีพจึงเปรียบเสมือนยืนอยู่ใจกลางการผลิตของระบบทุนนิยม
ระบบการเมืองของทุนนิยมบริหารงานโดย “คณะกรรมการบริหารผลประโยชน์ร่วมของชนชั้นนายทุน” ดังคำกล่าวของ มาร์คซ์และเองเกลส์ นั่นเท่ากับว่าเมื่อระบบการผลิตของกรรมาชีพหยุดทำงาน ชนชั้นปกครองเหล่านี้ก็ไม่สามารถมีอำนาจบริหารการเมืองได้อย่างง่ายๆ และถ้ากรรมาชีพเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจากทุนนิยม ที่เน้นผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย มาเป็นระบบการผลิตสังคมนิยม ที่เน้นประโยชน์ของทุกคนในสังคมโดยเท่าเทียมกันแล้วละก็ ระบบชนชั้นที่มีผู้ปกครองเป็นคนส่วนน้อยก็จะหายไป นี่คือพลังของกรรมาชีพในระบบทุนนิยม
ภายใต้การเมืองประชาธิปไตยครึ่งใบหรือน้อยกว่านั้น ในสังคมไทย กรรมาชีพจำเป็นจะต้องเป็นกองหน้าในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย เต็มใบ โดยร่วมมือกับกลุ่มเสื้อแดงก้าวหน้า นักวิชาการอย่างนิติราษฎร์ เพราะการมีประชาธิปไตยเต็มใบ ย่อมดีกว่าเผด็จการ ในต่อสู้เปลี่ยนสังคมไปสู่สังคมนิยมที่ปลดปล่อยกรรมาชีพอย่างถาวรในระยะยาว
แต่การต่อสู้ของกรรมาชีพจำเป็นต้องมีองค์กรนำของตนเองในรูปแบบ “พรรคปฏิวัติกรรมาชีพ” ที่ใช้แนวทางสังคมนิยมมาร์คซิสต์ เพราะเป้าหมายของเราคือการปลดปล่อยกรรมาชีพอย่างถาวร การต่อสู้แบบ “ลัทธิสหภาพ” ที่มุ่งเน้นแต่เพียงเรื่องปากท้องในกรอบของทุนนิยม จะไม่สามารถปลดปล่อยกรรมาชีพได้อย่างแท้จริง เพราะตราบใดที่ทุนนิยมยังอยู่ ชนชั้นก็ยังดำรงอยู่ การกดขี่ก็ต้องดำรงอยู่ควบคู่ไปด้วย
แต่ในรูปธรรมปัจจุบันเรายังไม่มีพรรคปฏิวัติกรรมาชีพ มีแต่องค์กรนำในกรอบของรัฐทุนนิยม เช่น สหพันธ์แรงงาน สภาแรงงาน ดังนั้นเราต้องช่วยกันคบคิดว่า องค์กรนำเช่นว่านี้ จะพัฒนาไปเป็นพรรคของกรรมาชีพได้หรือไม่ อย่างไร โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ ได้ให้ความเห็นในประเด็นนี้ไว้ว่า...
“ปัญหาของการใช้สหภาพแรงงานเป็นองค์กรต่อสู้อย่างเดียว โดยไม่สร้างพรรค คือในประการแรกเขาไม่สามารถจัดตั้งกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนงาน เช่นนักศึกษา คนกลุ่มน้อย หรือคนที่อยากรณรงค์เรื่อง 112 เป็นต้น มันนำไปสู่การเน้นประเด็นการเมืองปากท้องอย่างเดียวด้วย ทั้งๆ ที่ในนามธรรมอาจกล่าวถึง “เลนิน”
ในประการที่สององค์กรสหภาพแรง งานต้องการรับทุกคนในสถานที่ทำงานเข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่งแน่นอนรวมถึงคนที่มีความคิดฝ่ายขวาตามชนชั้นปกครองและคนที่ยังขี้เกียจ คิดอีกด้วย และแกนนำของสหภาพจะต้องปกป้องความสามัคคีภายในสหภาพระดับหนึ่ง เพราะกลัวว่าจะแพ้การเลือกตั้งและหลุดจากตำแหน่งในสหภาพ จึงไม่สามารถถกเถียงแนวคิดอย่างตรงไปตรงมาได้ ไม่เหมือนพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่ทำงานภายในสหภาพ
ในประการที่สาม ถ้านักลัทธิสหภาพแบบนี้แพ้การเลือกตั้งเขาจะไม่มีองค์กรเหลือเลย ประเด็นนี้เป็นปัญหาด้วยเวลาคนงานไม่มีความมั่นใจในการต่อสู้ ไม่ยอมนัดหยุดงานในช่วงหนึ่ง กิจกรรมทางการเมืองก็ลดลง ไม่เหมือนพรรค
ใน ประการสุดท้ายสหภาพแรงงานไม่สามารถยึดอำนาจรัฐได้ เพราะเป็นองค์กรที่สร้างขึ้นมาเพื่อต่อรองกับนายจ้างในระบบทุนนิยม ไม่สามารถประสารทุกซีกทุกส่วนของสังคมที่ก้าวหน้าเพื่อยึดอำนาจรัฐ”
ระบบการเมืองของทุนนิยมบริหารงานโดย “คณะกรรมการบริหารผลประโยชน์ร่วมของชนชั้นนายทุน” ดังคำกล่าวของ มาร์คซ์และเองเกลส์ นั่นเท่ากับว่าเมื่อระบบการผลิตของกรรมาชีพหยุดทำงาน ชนชั้นปกครองเหล่านี้ก็ไม่สามารถมีอำนาจบริหารการเมืองได้อย่างง่ายๆ และถ้ากรรมาชีพเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตจากทุนนิยม ที่เน้นผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย มาเป็นระบบการผลิตสังคมนิยม ที่เน้นประโยชน์ของทุกคนในสังคมโดยเท่าเทียมกันแล้วละก็ ระบบชนชั้นที่มีผู้ปกครองเป็นคนส่วนน้อยก็จะหายไป นี่คือพลังของกรรมาชีพในระบบทุนนิยม
ภายใต้การเมืองประชาธิปไตยครึ่งใบหรือน้อยกว่านั้น ในสังคมไทย กรรมาชีพจำเป็นจะต้องเป็นกองหน้าในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย เต็มใบ โดยร่วมมือกับกลุ่มเสื้อแดงก้าวหน้า นักวิชาการอย่างนิติราษฎร์ เพราะการมีประชาธิปไตยเต็มใบ ย่อมดีกว่าเผด็จการ ในต่อสู้เปลี่ยนสังคมไปสู่สังคมนิยมที่ปลดปล่อยกรรมาชีพอย่างถาวรในระยะยาว
แต่การต่อสู้ของกรรมาชีพจำเป็นต้องมีองค์กรนำของตนเองในรูปแบบ “พรรคปฏิวัติกรรมาชีพ” ที่ใช้แนวทางสังคมนิยมมาร์คซิสต์ เพราะเป้าหมายของเราคือการปลดปล่อยกรรมาชีพอย่างถาวร การต่อสู้แบบ “ลัทธิสหภาพ” ที่มุ่งเน้นแต่เพียงเรื่องปากท้องในกรอบของทุนนิยม จะไม่สามารถปลดปล่อยกรรมาชีพได้อย่างแท้จริง เพราะตราบใดที่ทุนนิยมยังอยู่ ชนชั้นก็ยังดำรงอยู่ การกดขี่ก็ต้องดำรงอยู่ควบคู่ไปด้วย
แต่ในรูปธรรมปัจจุบันเรายังไม่มีพรรคปฏิวัติกรรมาชีพ มีแต่องค์กรนำในกรอบของรัฐทุนนิยม เช่น สหพันธ์แรงงาน สภาแรงงาน ดังนั้นเราต้องช่วยกันคบคิดว่า องค์กรนำเช่นว่านี้ จะพัฒนาไปเป็นพรรคของกรรมาชีพได้หรือไม่ อย่างไร โดย ใจ อึ๊งภากรณ์ ได้ให้ความเห็นในประเด็นนี้ไว้ว่า...
“ปัญหาของการใช้สหภาพแรงงานเป็นองค์กรต่อสู้อย่างเดียว โดยไม่สร้างพรรค คือในประการแรกเขาไม่สามารถจัดตั้งกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนงาน เช่นนักศึกษา คนกลุ่มน้อย หรือคนที่อยากรณรงค์เรื่อง 112 เป็นต้น มันนำไปสู่การเน้นประเด็นการเมืองปากท้องอย่างเดียวด้วย ทั้งๆ ที่ในนามธรรมอาจกล่าวถึง “เลนิน”
ในประการที่สององค์กรสหภาพแรง งานต้องการรับทุกคนในสถานที่ทำงานเข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่งแน่นอนรวมถึงคนที่มีความคิดฝ่ายขวาตามชนชั้นปกครองและคนที่ยังขี้เกียจ คิดอีกด้วย และแกนนำของสหภาพจะต้องปกป้องความสามัคคีภายในสหภาพระดับหนึ่ง เพราะกลัวว่าจะแพ้การเลือกตั้งและหลุดจากตำแหน่งในสหภาพ จึงไม่สามารถถกเถียงแนวคิดอย่างตรงไปตรงมาได้ ไม่เหมือนพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่ทำงานภายในสหภาพ
ในประการที่สาม ถ้านักลัทธิสหภาพแบบนี้แพ้การเลือกตั้งเขาจะไม่มีองค์กรเหลือเลย ประเด็นนี้เป็นปัญหาด้วยเวลาคนงานไม่มีความมั่นใจในการต่อสู้ ไม่ยอมนัดหยุดงานในช่วงหนึ่ง กิจกรรมทางการเมืองก็ลดลง ไม่เหมือนพรรค
ใน ประการสุดท้ายสหภาพแรงงานไม่สามารถยึดอำนาจรัฐได้ เพราะเป็นองค์กรที่สร้างขึ้นมาเพื่อต่อรองกับนายจ้างในระบบทุนนิยม ไม่สามารถประสารทุกซีกทุกส่วนของสังคมที่ก้าวหน้าเพื่อยึดอำนาจรัฐ”