หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศาลรัฐธรรมนูญจะทำรัฐประหารหรือไม่?

แดงสังคมนิยม

ศาลรัฐธรรมนูญจะทำรัฐประหารหรือไม่?

 

 

โดยใจ อึ๊งภากรณ์


ข้อ หาว่ารัฐบาลคิดจะ “ล้มล้างระบบ...และกษัตริย์” ผ่านการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นความเพ้อฝันของนักการเมืองปัญญาอ่อน และเป็นข้อหาสามัญของพวกที่อยากทำรัฐประหารเพื่อล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการ เลือกตั้งหรือฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย มันเป็นวิธีที่เผด็จการทรามใช้ในไทย อียิปต์ และตุรกี 

ตาม หลักประชาธิปไตยรัฐสภามีอำนาจชอบธรรมในการร่างกฏหมาย ยิ่งกว่านั้นรัฐธรรมนูญปัจจุบันของไทยเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการทหาร ดังนั้นถ้าศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนในการล้มล้างรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตยด้วย การยุบพรรคเพื่อไทย มันจะเป็นเรื่องที่ขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง สมควรที่จะถอดถอนผู้ที่ดำรงตำแหน่งในศาล

คำ ถามว่าศาลจะก่อรัฐประหารหรือไม่เป็นเรื่องที่ตอบยาก และการเมืองเต็มไปด้วยอุบัติเหตุ ความขัดแย้ง และการกระทำของคนที่ไม่คิดไกล เราเดาไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่เราสามารถชั่งน้ำหนักความเป็นไปได้ตามเงื่อนไขต่างๆ

ปัจจัยที่อาจทำให้ศาลไม่น่าจะล้มรัฐบาล

ทหาร คือกลุ่มคนที่มีอำนาจสูงในสังคมไทย ทักษิณและเพื่อไทยทำข้อตกลงกับทหารเรียบร้อยแล้ว ทหารทราบดีว่าจะไม่ถูกนำมาขึ้นศาลในฐานะที่ฆ่าเสื้อแดง และทหารทราบดีว่ารัฐบาลจะไม่แก้ 112 หรือปล่อยนักโทษ 112 หรือ แตะสิทธิพิเศษของทหาร และใครที่มีสมองก็คงเข้าใจด้วยว่าทักษิณและเพื่อไทยเชิดชูสถาบันกษัตริย์พอๆ กับทหาร ข้าราชการชั้นสูง และนายทุนอื่นๆ

ทหาร เข้าใจว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มีความสามารถในการควบคุมเสื้อแดงผ่านแกนนำนปช. เพื่อไม่ให้เสื้อแดงออกมาชุมนุม รัฐบาลประชาธิปัตย์ หรือรัฐบาลแห่งชาติในรูปแบบที่ถูกมองว่าเป็นผลจากการทำรัฐประหารโดยศาล จะไม่สามารถควบคุมเสื้อแดงได้ และเสี่ยงกับการที่จะมีการชุมนุมใหญ่รอบใหม่
ถ้า รัฐบาลถูกล้มจะมีการหมุนนาฬิกากลับไปสู่สองปีก่อน และความปั่นป่วนของการเมืองไทย สภาพแบบนี้ไม่ตรงกับผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองไทยรวมถึงทหาร

ละคร ร้ายของศาลอาจเป็นแค่การต่อรองกับเพื่อไทยและทักษิณ เพื่อให้เขารู้ว่าเขาจะไม่ได้อะไรดังใจง่ายๆ มันอาจไม่จบลงด้วยการล้มรัฐบาลก็ได้

ปัจจัยที่อาจนำไปสู่รัฐประหารของศาล

อำมาตย์ ไม่ใช่กลุ่มคนที่สามัคคีกันตลอด เต็มไปด้วยความขัดแย้งและการช่วงชิงผลประโยชน์กัน ทหารก็ขัดแย้งกันเองเรื่องผลประโยชน์ ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่ฟังทหาร และอาจลองรุกสู้แบบโง่ๆ เพื่อผลประโยชน์เฉพาะของเขา

ซีก ที่อยากรุกสู้อาจมั่นใจในตัวเองสูงเกินไปว่าจะชนะ โดยไม่พิจารณาผลระยะยาวจากการทำลายข้อตกลงระหว่างทหารกับทักษิณ ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียอำนาจของอำมาตย์ทั้งหมดในที่สุด และพวกนี้อาจไม่สนใจประเด็น “ความชอบธรรม” ในสายตาคนไทยและต่างประเทศ เขาอาจโง่ด้วย

ซีก ที่อยากรุกสู้อาจคาดการว่าการยุบพรรคเพื่อไทยจะไม่ล้มรัฐบาล เพราะอาจมีการฟื้นตัวในอีกรูปแบบหนึ่ง เขาอาจมองว่าเป็น “การสั่งสอน” ทักษิณและเพื่อไทยไม่ให้มั่นใจเกินไป แต่แนวแบบนี้เต็มไปด้วยความเสี่ยงสำหรับอำมาตย์ซีกนี้

เราควรทำอะไร?


เสื้อ แดงก้าวหน้าต้องปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อรัฐบาลนั้นถูกข่มขู่ จากฝ่ายเผด็จการ แต่ในขณะเดียวกันเราต้องจัดตั้งอิสระและกล้าวิจารณ์รัฐบาลเมื่อรัฐบาลทำใน สิ่งที่ไม่ถูกต้อง อย่าลืมว่าทั้งฝ่ายอำมาตย์และเพื่อไทยอาจอยากให้มีบรรยากาศตึงเครียดใน เรื่องรัฐประหาร เพื่อกดดันให้เสื้อแดงก้าวหน้าสยบยอม เราต้องกล้าเสนอให้มีการปฏิรูปสังคมไทยอย่างถอนรากถอนโคนต่อไป เราต้องสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราฎร์และร่วมรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมือง 112 พร้อมกับนำทหารและนักการเมืองมือเปื้อนเลือดมาขึ้นศาล

(ที่มา)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/362-2012-07-02-17-58-06.html

Divas Cafe

Divas Cafe


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

 

เชียงใหม่มหานครฝันที่ใกล้เป็นจริง การทำลายระบอบอำมาตยาธิปไตย Divas Cafe 02กค55

http://www.youtube.com/watch?v=o1amsmCnHSI

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand

 

Wake Up Thailand 03กค55

http://www.youtube.com/watch?v=U6vCmrdFiz4&feature=player_embedded

Wake Up Thailand 02กค55 

http://www.youtube.com/watch?v=1o48QJ1esQA 

The Daily Dose

The Daily Dose


The Daily Dose 03กค55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=NzIjd6zLmCc#!

The Daily Dose 02กค55
http://www.youtube.com/watch?v=WYAsjGoFwL8&feature=related 

สมยศ พฤกษาเกษมสุข: วิกฤติตุลาการกับความบัดซบของนักการเมือง

วิกฤติตุลาการกับความบัดซบของนักการเมือง

 

http://www.matichon.co.th/online/2012/07/13412881531341288359l.jpgPhoto: หยุดกฎหมายล้างผิด หยุดทำผิดให้เป็นถูก หยุดอ้างอำนาจที่ไม่ได้มาจากปวงชน

เมื่อมีการยึดอำนาจของปวงชนก็จะมีการออกกฎหมายลบล้างความผิดของพวกที่ทำการยึดอำนาจ ซึ่งเป็นความผิดฐานกบฏที่มีโทษถึงประหารชีวิต เหมือนโจรที่ปล้นบ้าน แล้วประกาศว่าการปล้นบ้านไม่เป็นความผิด

ตามด้วยประกาศและคำสั่งของพวกที่ทำการยึดอำนาจของปวงชน และยังให้มีผลทางกฎหมาย แม้ว่าคณะรัฐประหารได้ลงจากอำนาจไปแล้ว เหมือนโจรบังคับให้เจ้าของบ้านต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพวกโจรตลอดไป แม้ว่าพวกมันจะลงจากบ้านไปแล้ว

รวมถึงการอ้างอำนาจของตุลาการที่มีจากการเลือกกันเองของข้าราชการตุลาการที่มิได้ยึดโยงกับประชาชนแม้แต่น้อยที่ใช้อำนาจโดยไม่มีขอบเขต ทั้งๆที่ตุลาการมีหน้าที่เพียงแค่การพิจารณาคดีความตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องทางการเมืองที่ขึ้นกับการตัดสินใจของประชาชน 
การที่ตุลาการเข้าแทรกแซงกำกับควบคุมเรื่องทางการเมือง ควบคุมการทำงานของสภาและรัฐบาล ก็เท่ากับเป็นการรวบอำนาจหรือปล้นอำนาจของปวงชนนั่นเอง เท่ากับว่ามีคนที่ไม่ใช่เจ้าของบ้านแต่มาอ้างสิทธิ์ตัดสินใจเรื่องภายในบ้านแทนเจ้าของบ้าน หรือกระทั่งจัดการขับไล่ ลงโทษหรือกลั่นแกล้งตัวแทนเจ้าของบ้าน

ประชาชนผู้เป็นเจ้าของบ้าน จงลุกขึ้นทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของตน
จงร่วมกันปฏิเสธกฎหมายล้างผิดให้พวกกบฏที่ปล้นอำนาจของประชาชน
จงปฏิเสธบรรดาประกาศ คำสั่งและกฎหมายของโจรที่ปล้นอำนาจของพวกเรา
จงปฏิเสธตุลาการซึ่งไม่ใช่ตัวแทนของพวกเราแต่กลับมาทำลายและริดรอนอำนาจตัวแทนของพวกเรา

ประชาชนทั้งหลายจงรวมตัวกันเพื่อทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของพวกเราคืนจากพวกโจรปล้นอำนาจทั้งหลาย ที่มาในหลากหลายรูปแบบ
เพื่อสร้างประเทศให้เป็นประชาธิปไตย เพื่อลูกหลานไทยทุกคน

โดยสมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยสมเจตน์ บุญถนอม นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหาจากกรณีรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นการลบล้างระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย พร้อมกับออกคำสั่งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ชะลอการพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 ที่จะมีขึ้นวันที่ 5มิถุนายน 2555 เอาไว้ก่อนจนกว่า จะมีคำวินิจฉัยออกมา

ศาลรัฐธรรมนูญออกแถลงการณ์ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไว้ว่า ผู้ทราบการกระทำว่า มีบุคคลหรือพรรคการเมืองกระทำการเพื่อลบล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิ์เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด และเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อดำเนินการวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำ การดังกล่าว

ทางฝ่ายพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาตอบโต้โดยเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญกำลังก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ ออกคำสั่งโดยปราศจากกฎหมายรองรับ รัฐสภาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม

ปรากฏการณ์ตุลาการภิวัตน์ ซึ่งกำลังกลายเป็นตุลาการวิบัติในครั้งนี้เป็นเพียงหนังม้วนเก่า คนแสดงหน้าเดิม นำมาฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนคนดูเอือมระอาในพฤติกรรมอัปยศอดสูของตุลาการเมืองไทย

ประการแรก เมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ฉีกรัฐธรรมนูญ 2540ล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย เป็นการกระทำแบบโจรกบฏที่ชัดเจนที่สุด แต่บรรดาตุลาการผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย ไม่ทราบว่าไปมุดรูอยู่ตรงไหน ณ เวลานั้น จึงไม่ได้ออกมาทำหน้าที่ออกคำสั่งให้หยุดกระทำการดังกล่าว ในทางตรงกันข้ามหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลับมีตุลาการบางคนยอมรับคำ สั่งแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นประจักษ์พยานของความต่ำทรามในวงการตุลาการไทยเป็นอย่างยิ่ง

ประการที่สอง การใช้ข้ออ้างว่าเป็นการกระทำหน้าที่พลเมืองที่จะปกป้องรัฐ ธรรมนูญ ราวกับว่าพวกเขาห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองเป็นล้นพ้น กลัวจะเป็นการพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน เปลี่ยนแปลงการปกครอง จะให้เป็นอำนาจอัยการสูงสุดอย่างเดียวไม่ได้ จึงต้องกุลีกุจอออกคำสั่งทันทีทันใด ให้หยุดกระทำการดังกล่าว ข้ออ้างเช่นนี้เป็นการอ้างอันน่าสมเพศเวทนาเหลือเกิน เพราะเมื่อคราวที่คณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำการล้มล้างรัฐ ธรรมนูญ 2540 ไม่มีใครหน้าไหนในกลุ่มที่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญคราวนี้ และก็ไม่มีตุลาการหน้าไหนออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ 2540 แต่กลับยินดีปรีดาไป กับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่คลอดมาจากมดลูกของคณะรัฐประหาร และยัดเยียดให้กับสังคมไทยในเดือนสิงหาคม 2550

  

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41340

ปลื้ม คำผกา เสวนาเรื่อง 3ปีอนาคตประเทศไทย 03กค55

ปลื้ม คำผกา เสวนาเรื่อง 3ปีอนาคตประเทศไทย 03กค55

 

 

คุณปลื้ม คำผกา เสวนาเรื่อง 3ปีอนาคตประเทศไทย 03กค55

(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?v=veCeQ_qh-h8&feature=player_embedded

นศ.ค้าน มข.ออกนอกระบบ ปฏิบัติการปิดถนนมิตรภาพ ร้องมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายมหา'ลัย [ประมวลภาพ]

นศ.ค้าน มข.ออกนอกระบบ ปฏิบัติการปิดถนนมิตรภาพ ร้องมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายมหา'ลัย [ประมวลภาพ]





เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ จัดขบวนนักศึกษา มุ่งหน้าชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมและกระบวนการมีส่วนร่วม ปฏิบัติการขอสื่อสารความคิดร่วมกำหนดนโยบายมหาวิทยาลัย

วันนี้ (3 ก.ค.55) เมื่อเวลา 08.00 น. ขบวนเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ พร้อมด้วยเครือข่ายแนวร่วมซึ่งเป็นนิสิต-นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฯลฯ ได้เดินเท้าจากหอพักมุ่งหน้าไปรวมตัวยังศูนย์อาหารและบริการ1 (คอมเพล็กซ์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อชุมนุมคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ

วรรณวิศา เกตุใหม่ ตัวแทนเครือข่ายฯ กล่าวว่า การชุมนุมครั้งนี้ทางเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ มีจุดประสงค์คือ เรียกร้องกระบวนการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของทางมหาลัย และยืนยันจะชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ หากยังไม่ได้รับคำตอบและได้เจรจากับนายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทั้งนี้ นักศึกษาส่วนหนึ่งได้เดินทางไปขอเข้าเจรจากับอธิการบดีฯ แต่ได้รับคำตอบจากเลขาว่าอธิการบดีฯ ไม่อยู่ ซึ่งทางพวกเรายืนยันจะขอเข้าพบกับท่านอธิการบดีเท่านั้น

วรรณวิศา กล่าวด้วยว่า เมื่อขบวนนักศึกษาได้เดินทางมาถึงหน้าคอมเพล็กซ์ เราได้ร่วมกันตะโกนดังๆ พร้อมกันว่า “ม.นอกระบบออกไป” โดยเสียงที่เปล่งออกมานั้นเปี่ยมไปด้วยความหวังว่า สาธารณชนจะรับรู้และเห็นใจว่า พวกเรานักศึกษากำลังต่อสู้กับความไม่ชอบธรรมของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยแห่ง นี้

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41364

Coup d'Etat 2.0 กระแสรัฐประหารรูปแบบใหม่ภายใต้การอ้างนิติรัฐ

Coup d'Etat 2.0 กระแสรัฐประหารรูปแบบใหม่ภายใต้การอ้างนิติรัฐ

 

โดยปิยบุตร แสงกนกกุล


รัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ - รัฐประหารโดยศาล กำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศ ตลอดเดือนที่ผ่านมา ศาลแสดงบทบาทมาก ตั้งแต่ อียิปต์, ปากีสถาน, ปารากวัย, "ราชอาณาจักร" ไทย เมื่อสักครู่อ่านจาก หนังสือพิมพ์ฝรั่ง เขาตั้งชื่อว่า รัฐประหารในลักษณะนี้เป็น "Coup d'Etat 2.0" ภายหลังจาก Coup d'Etat โดยทหาร ล้าสมัยและสังคมโลกไม่อาจยอมรับได้

Coup d'Etat โดยศาล กล่าวอ้างความชอบธรรมได้เสมอ เพราะกระทำในนาม "กฎหมาย" ทำให้อำนาจดิบเถื่อนกลายเป็นสิ่งชอบธรรมและดู Rational มากขึ้น

เมื่อนิติรัฐเบ่งบานไปทั่วโลก หากศาลในประเทศไหนวิปริต คิดก่อการ Coup d'Etat ก็จะกระทำลงไปได้สะดวกขึ้น โดยอ้างความจำเป็นของการมีศาลในการควบคุมตรวจสอบตาม "นิติรัฐ"

นานาอารยประเทศจะไม่เข้ามาแทรกแซง กดดัน วิพากษ์วิจารณ์ เพราะ เป็นเรื่องระบบรัฐธรรมนูญภายในของแต่ละประเทศ และไม่ได้ใช้กำลังทางกายภาพที่แสดงออกอย่างประจักษ์ชัดถึงความรุนแรง และอย่างน้อยที่สุด ดีๆชั่วๆ มันก็มาในนาม "กฎหมาย"

นี่เป็นอันตราย และเป็นศักยภาพล่าสุดของ "Coup d'Etat 2.0"

What is to be done?

กับดักที่ทำให้ต้านรัฐประหารโดยศาลทำได้ยาก – ความเห็นต่างไม่มีผลทางกฎหมาย

อิทธิฤทธิ์ของ "Coup d'Etat 2.0" รัฐประหารโดยศาล อีกประการหนึ่ง คือ เขาจะผลักให้บุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินของศาล บุคคลที่เห็นว่าการตัดสินของศาลเป็น "รัฐประหารโดยศาล" ไปว่า "นี่เป็นความเห็นแตกต่างกัน คุณไม่เห็นด้วยก็เป็นการใช้เสรีภาพ แต่สุดท้าย ศาลตัดสินแล้วต้องเคารพ ไม่งั้นบ้านเมืองอยู่ไม่ได้"

วิธีการต่อต้านกับ "Coup d'Etat 2.0" รัฐประหารโดยศาล ที่ส่งผลพอฟัดพอเหวี่ยง และอาจต้านสำเร็จ มีเพียงประการเดียว คือ องค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ต้องใช้อำนาจที่ตนมีตามรัฐธรรมนูญ เข้าไปจัดการกับ "รัฐประหารโดยศาล" นั้น 

เพราะ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ

อาศัยอำนาจที่ตนมีตามรัฐธรรมนูญเข้าไป "กำจัด" ผลิตผลที่ศาลผลิตขึ้น นี่เป็นการทำตามอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ เหมือนกับที่ศาลก็อ้างแบบนี้

การให้บุคคลภายนอกวิจารณ์พวกเขาก็จะไม่ส่งผลทางกฎหมาย เพราะ พวกเขาจะโยนไปว่า "นี่เป็นความเห็นต่าง"

การให้ประชาชนออกไปชุมนุม ก็ไม่ส่งผลทางกฎหมาย พวกเขาจะโยนไปว่า "นี่คือการคุกคามศาล"

การเข้าชื่อถอดถอนศาล ก็สำเร็จได้ยาก เพราะ ผู้มีอำนาจถอดถอน อาจเป็นกลไกเดียวกับพวกเขา

ดังนั้น มีอยู่เพียงประการเดียว คือ องค์กรผู้มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้ ใช้กลไกต่างๆที่รัฐธรรมนูญมอบให้ เข้าไป "จัดการ" รัฐประหารของศาลเสีย

นี่เป็นการใช้อำนาจปะทะอำนาจ ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจให้ได้ดุลยภาพ ถ้าศาลไม่ใช้อำนาจออกนอกแถวมาก่อน ก็จะไม่มีการใช้อำนาจโต้กลับไป

พลังของตัวบทอยู่ที่การตีความ และการตีความอยู่ภายใต้การ “บีบ” ให้ผู้ตีความยับยั้งชั่งใจ

 

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41348