หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ป่าเถื่อน // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 กุมภาพันธ์ 56

ป่าเถื่อน // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 กุมภาพันธ์ 56 

 



ดาวน์โหลดที่นี่


พบกับ

ความคืบหน้าของการปฏิวัติอียิปต์  
โดย สาเมย์ นากวิบ
 
ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม  
โดย ลั่นทมขาว


การเคลื่อนไหวทางการเมืองของ ผู้หญิงกับอุดมการณ์เดือนตุลา  
โดย ยังดี โดมพระจันทร์


จริงหรือที่โรงเรียนของเราน่าอยู่ 
โดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม


การขึ้นมาของฮิตเลอร์ เป็นความพ่ายแพ้อันยิ่งใหญ่ของชนชั้นกรรมาชีพ  
โดย ดอนนี กลุคสไตน์

ความป่าเถื่อนของระบบศาลและคุกในประเทศไทย 

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

ความเคลื่อนไหวนักต่อกรรมาชีพ 

เรียบเรียง โดย สหายโต้ง

ยกระดับนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 ไปสู่มาตรฐานการจ้างงานที่ดี 

โดย พจนา วลัย

ปัญหาเรื่อง เพศ ความรัก วัฒนธรรม และข้อเสนอของฝ่ายซ้าย (ตอนที่ 2) 

โดย สมุดบันทึกสีแดง

หนังสือพิมพ์สังคมนิยมปฏิวัติของอียิปต์ 

โดย กองบรรณาธิการเลี้ยวซ้าย

แนวชาตินิยมและการทหาร แก้ปัญหาชายแดนใต้ไม่ได้

แนวชาตินิยมและการทหาร แก้ปัญหาชายแดนใต้ไม่ได้ 


 
เสนอให้ยกเลิกกฎหมายความมั่นคงทุกฉบับ และถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเปิดพื้นที่ประชาธิปไตยให้กับคนในพื้นที่สามารถออกแบบรูปแบบการปกครอง ของตนเองได้ เพราะการมีกฎหมายความมั่นคงและทหารอยู่ในพื้นที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ความ รุนแรงสงบลงได้ และบ่อยครั้งทหารมักจะเป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงด้วย 

โดย วัฒนะ วรรณ

การก่นด่าเหตุการณ์ที่ผู้บริสุทธิ์ ตามภาพข่าวที่นำเสนอออกมาสู่สาธารณะ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในชายแดนใต้ ด้วยความเครียดแค้นเช่นที่เห็นตามสื่อโดยทั่วไปของพลเมืองในรัฐไทย ย่อมเข้าใจได้ระดับหนึ่ง ภายใต้ชุดความคิดด้านมนุษยชาตินิยม เพราะเป็นการก่นด่าเครียดแค้นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของกลุ่มกบฏ แต่ละเลยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งการฆ่า จับกุม ทรมาน ในหลายกรณี ภายใต้กฎหมายความมั่นคง

แต่การตายไม่ว่าจะเกิดกับใคร ก็ไม่สมควรเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าเราอาจจะก่นด่า ประณามการกระทำที่โหดร้ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ และฝ่ายกบฏ แต่การพูดแบบนี้ ก็ไม่ได้นำไปสู่ทางออกใดๆ ทั้งสิ้น

ถ้าเราจะหาทางออก เราต้องมองหาสาเหตุ ว่าอะไรทำให้เกิดสงครามกลางเมืองชายแดนใต้ ซึ่งมีทั้งมิติทางประวัติศาสตร์ และมิติในปัจจุบันผสมอยู่มิใช่น้อย ในด้านมิติประวัติศาสตร์ก็ประกอบไปด้วยมิติชาตินิยมมาลายู(ผมไม่แน่ใจว่าควร ใช้ชื่อเรียกชนชาติที่ถูกต้องในเขตพื้นที่นี้ว่าอย่างไร ท่านใดพอทราบช่วยอธิบายด้วย) ที่ชนชั้นปกครองของชนชาติมาลายูไม่ยอมจำนนท์ต่อรัฐสยามในอดีต และต่อสู้เรื่อยมา ซึ่งมิติเช่นนี้ มันได้แปรสภาพการต่อสู้ ส่งผลกระทบต่อเนื่องมาถึงประชาชน คนธรรมดาในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงมาตั้งแต่กระบวนการกลืนชาติ กลืนอัตลักษณ์ท้องถิ่น ดูถูกเหยียดหยาม และการก่ออาชญากรรมอันโหดเหี้ยมของรัฐสยาม และรัฐไทยในเวลาต่อมาในหลายเหตุการณ์ จนกระทั่งเหตุการณ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ก็คนรุ่นผมน่าจะจดจำได้ดี คือเหตุการณ์ตากใบ ที่รัฐไทยก่ออาชญากรรมต่อคนในพื้นที่อย่างโหดเหี้ยม

สงครามกลางเมืองใต้ ถึงเวลาปลดปล่อยความคิดลัทธิอำมาตย์

สงครามกลางเมืองใต้ ถึงเวลาปลดปล่อยความคิดลัทธิอำมาตย์ 

 



 
South(ถามตอบ โดย อ.ใจและนุ่มนวล)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=h1RTpMNjBZ0 


(ที่มา)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-41-04/396-2013-02-13-21-13-17.html

วาระแห่งชาติว่าด้วยเรื่อง “นิรโทษกรรม”

วาระแห่งชาติว่าด้วยเรื่อง “นิรโทษกรรม”

 

โดย สมยศ  พฤกษาเกษมสุข
4  กุมภาพันธ์  2556
 
 
นิรโทษกรรม (Amnesty) เป็นการออกกฎหมายให้มีผลย้อนหลังที่เป็นคุณ มีผลให้การกระทำใด ๆ ที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดให้ไม่เป็นความผิดและไม่มีโทษ ไม่ว่าจะมีอยู่ในระหว่างการพิจารณราคดี หรือคดีสิ้นสุดแล้ว หรืออยู่ในขั้นตอนใดก็ต้องยุติลง มักเป็นการลบล้างการกระทำความผิดทางอาญาที่บุคคลใดไก้กระทำมาแล้วดดยมีมูล เหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมือง หรือเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง จึงไม่ใช่การกระทำผิดทางอาญาโดยทั่วไป
 
การนิรโทษกรรมมักเป็นเรื่องทางการเมือง ดังเช่น  รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรมให้กับคณะราษฎร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย ต่อมาการออกกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นไปได้ทั้งประราชกำหนดนิรโทษกรรม และด้วยการตราเป็นพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม รวมทั้งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาฝ่ายทหารซึ่งยึดอำนาจการปกครองล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง มักจะทำการนิรโทษกรรมให้กับตนเองอยู่เสมอ รวมกกันแล้วมีการนิรโทษกรรมถึง 21 ครั้งด้วยกัน

เสวนา ม.112 กรณี สมยศ พฤกษาเกษมสุข " การเมือง ความยุติธรรม สถาบันกษัตริย์ .....

เสวนา ม.112 กรณี สมยศ พฤกษาเกษมสุข " การเมือง ความยุติธรรม สถาบันกษัตริย์ .....






อ สุธาชัย เสวนา ม.112 17 2 2013

ประวิตร เสวนา ม 112 17 2 2013

อ ปิยบุตร เสวนา ม 112 17 2 2013


วาด รวี เสวนา ม.112 17 2 2013-1
http://www.youtube.com/watch?v=2M5V0EcDMzY 

วาด ระวี เสวนา ม 112 17 2 2013 2
http://www.youtube.com/watch?v=UzehbFNh-As 

ดร.ยุกติ เสวนา ม.112 17 2 2013.nsv
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=tcXXELxQMIk#! 

อ สมศักดิ์ เสวนา ม 112 17 2 2013
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=qlPpObCqeyI

ถาม ตอบ เสวนา ม 112 17 2 2013
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=QmUWjktwkNI 

"พิธีการฝังศพของนายมะรอโซ มีคนมาร่วมงานศพจำนวนมากและกล่าวสรรเสริญ อวยพรให้กับเขา"

"พิธีการฝังศพของนายมะรอโซ  มีคนมาร่วมงานศพจำนวนมากและกล่าวสรรเสริญ อวยพรให้กับเขา"





Untukmu 16 Syahid Pahlawan Patani | 13-2-2013
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=lkC2yRYEZic#!

ครก. 112 แถลง โต้ประธานรัฐสภา ปัดตกขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ป.อาญาม. 112

ครก. 112 แถลง โต้ประธานรัฐสภา ปัดตกขอเสนอแก้ไขเพิ่มเติม ป.อาญาม. 112

 

 


ครก.112 เตรียมส่งหนังสือโต้แย้งคำสั่งประธานรัฐสภา ชี้ม.112 เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ การเสนอแก้ไขกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ฯ ไม่ใช่เปิดให้แสดงความเห็นตามอำเภอใจ แต่เพื่อรักษาสถานะกษัตริย์ พร้อมอุทธรณ์คำสั่ง ให้รัฐสภารับคำข้อเสนอเพื่อแก้ไขมาตรา 112 ของประชาชน

13.00 น. วันที่ 17 ก.พ.2556  ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. และ วาด รวี นักเขียนจากคณะแสงสำนึกตัวแทน คณะรณรงค์แก้ไข ม. 112 (ครก. 112)  ร่วมกันแถลงโต้ประธานรัฐสภา ที่พิจารณาไม่รับข้อเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่ง ครก. 112 ได้รณรงรงค์รวบรวมรายชื่อได้กว่า 30,383 คน พร้อมร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

โดยประธานรัฐสภาบอกปัดโดยบอกว่ากฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้อยู่ในหมวดที่ประชาชนสามารถเข้าชื่อแก้ไขได้เพราะไม่อยู่ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและ หมวด 5 ที่ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ โดยระบุว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ในหมวด 2 โดยอ้างอิงกับมาตรา 8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้พระมหากษํตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดละเมิดมิได้”

ยุกติ ระบุว่า ตามร่างฯ ที่ทาง ครก. เสนอไปนั้นไม่ได้แปลว่าจะทำให้ประชาชนสามารถละเมิดกษัตริย์ได้โดยเสรีไม่มี ความผิด แต่ทางครก. เห็นว่าข้อโต้แย้งของประธานสภาบิดเบือน และไม่เข้าใจร่างฯ ที่ครก. เสนอไป

และย้ำว่า มาตรา 112 ถูกนำไปใช้ในการกลั่นแกล้งกันทางการเมืองหรือแมแต่ในทางส่วนตัวไม่ได้ถูกใช้ในการปกป้องสถาบัน

17 ภาพันธ์ วันแพะแห่งชาติ

17 ภาพันธ์ วันแพะแห่งชาติ





การสวรรคตของ ร.๘ โดย อ.สมสักดิ์
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=k48gueRlkwg




[เกร็ดประวัติศาสตร์ : คำสารภาพผิดของนาย ตี๋ ศรีสุวรรณ พยานปากเอกสวรรคตรัชกาลที่ 8]

เพื่อเป็นการรำลึกถึง คุณเฉลียว ปทุมรส, คุณชิต สิงหเสนี, คุณบุศย์ ปัทมศริน เนื่องในวันครบรอบการถูกประหารในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 และ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้ถูกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันในคดีสวรรคตรัชกาล ที่ 8 ทางเพจประเทศไทย 101 จึงใคร่ขอนำเสนอเกร็ดประวัติศาสตร์ชิ้นนี้ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อความเข้าใจในเรื่องคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8 กันครับ
 


"...แก (ตี๋ ศรีสุวรรณ ) ก็รับเพราะเขาจะให้เงินสองหมื่น แกก็ไปเบิกความว่า ท่านปรีดีกับ นายชิต นายเฉลียว นายบุศย์ มานั่งปรึกษากันที่พระยาศรยุทธเสนี (ข้างวัดชนะสงคราม) วางแผนเพื่อปลงพระชนม์ในหลวง ผมไปเบิกความครั้งนี้ไม่ใช่ความจริง เป็นความเท็จ ผมโกหก ตามตำรวจเขาขอร้อง แล้วสามคนก็ถูกประหาร ผมเสียใจมาก ถวายสังคทานทีไรก็อุทิศให้เขาทั้งสามคน เขาถูกประหารเพราะพยานสำคัญคือผมเอง..."

นอกจากคำบอกเล่าจากปัญญานันทภิกขุในคลิปอ้างอิง [1] แล้ว ยังมี จดหมายขอขมาของนายตี๋ ศรีสุวรรณ ที่ให้ลูกเขยเขียนขึ้นในขณะที่อายุ 102 ปี จดหมายมีใจความว่า [2]

--------------------------------


(อ่านต่อ) 
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=512022725515918&set=a.391927867525405.105704.387136838