หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนะนำ “สังคมนิยม” และความคิด “มาร์คซิสต์ เบื้องต้น 

Karl Marx 001.jpg

โดย กองบรรณาธิการ


สังคมนิยมคืออะไร
   
“สังคมนิยม” เป็นระบบที่มนุษย์ฝันถึงมานาน ตั้งแต่เกิดสังคมชนชั้นที่ไร้ความเสมอภาคและความยุติธรรม ในสมัยก่อนเขาอาจไม่เรียกว่า “สังคมนิยม” แต่มันมีความหมายเดียวกัน นักสังคมนิยมที่ทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันอย่างเป็นระบบ เพื่อหาทางปฏิวัติไปสู่สังคมนิยม คือ คาร์ล มาร์คซ์ และเพื่อนเขาชื่อ เฟรดเดอริค เองเกิลส์
   
พวกเราชาว “มาร์คซิสต์” เชื่อว่าสังคมนิยมต้องมาจากการกระทำของชนชั้นกรรมาชีพส่วนใหญ่เอง ไม่ใช่มาจากการวางแผนโดยคนคนเดียว หรือกลุ่มคนชั้นสูงในวงแคบๆ หรือผู้นำพรรค หรือกองทัพปลดแอก ดังนั้นสังคมนิยมจะมีลักษณะตามที่กรรมาชีพและพลเมืองส่วนใหญ่พึงปรารถนา อย่างไรก็ตาม ถ้าเราจะสร้างสังคมใหม่ที่เป็นสังคมนิยม มันน่าจะมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้คือ
   
1.เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยครึ่งใบอย่างทุนนิยมซึ่งอำนาจควบคุมการผลิตเป็นของนายทุน ทั้งนี้เพราะในระบบสังคมนิยมระบบเศรษฐกิจการผลิตจะถูกควบคุมโดยพลเมืองทุกคน ดังนั้นสังคมนิยมจะเป็นระบบก้าวหน้า ที่ปลดแอกมนุษย์อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์
   
2.ในระบบสังคมนิยมจะมีการวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุก คน ไม่ใช่เพื่อสะสมอาวุธ หรือเพื่อการหวังกำไรของคนส่วนน้อย จะเป็นระบบที่มีความเสมอภาคเต็มที่ ไม่มีคนรวย ไม่มีคนจน ไม่มีการกดขี่ทางเพศหรือเชื้อชาติ

3.ในระบบสังคมนิยมจะยกเลิกการขูดรีดของนายทุน โดยการยกเลิกสิทธิ์อันไร้ความชอบธรรมของคนบางคน ที่จะควบคุมปัจจัยการผลิตอย่างผูกขาดแล้วนำกำไรเข้ากระเป๋าตนเองหรือลงทุน เพื่อหากำไรเพิ่ม ทุกสถานที่ทำงานจึงต้องเป็นของคนงานเอง ของสังคมโดยรวม ไม่มีเจ้านาย ไม่มีชนชั้น บริหารกันเอง ทรัพยากรของโลกจะเป็นของส่วนรวม ดังนั้นการกดขี่แย่งชิงกันระหว่างชาติก็จะหมดไป

   
4.มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มที่ ไม่ใช่ว่าบางคนมีงานทำที่น่าสนใจ และคนอื่นต้องทำงานซ้ำซาก การทำงานของพลเมืองควรจะเป็นเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจ และสนับสนุนความสร้างสรรค์ของเราทุกคน พลเมืองทั้งสังคมจะได้มีศักดิ์ศรีและได้รับความเคารพรักซึ่งกันและกัน

สังคมนิยมสองรูปแบบ

   
เมื่อเราพูดถึงสังคมนิยม มักจะมีคนนึกถึงระบบเผด็จการในรัสเซียหรือจีน หรือบางครั้งอาจนึกถึงระบบพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยภายใต้ทุนนิยมในประเทศ สแกนดิเนเวีย อังกฤษ หรือออสเตรเลีย แต่แนวคิดสังคมนิยมมีสองรูปแบบที่แตกต่างกันคือ
   
1.สังคมนิยมจากบนสู่ล่าง ซึ่งประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการสร้างหรือบริหาร เช่นสังคมนิยมที่มาจากการสร้างเผด็จการของกลุ่มข้าราชการพรรคคอมมิวนิสต์ใน จีน ลาว คิวบา เกาหลีเหนือ หรือรัสเซีย(ภายใต้สตาลิน) หรือสังคมนิยมปฏิรูปที่มาจากการกระทำของ ส.ส. พรรคสังคมนิยมในรัฐสภา สังคมนิยมดังกล่าวเป็นสังคมนิยมประเภท “ท่านให้” ซึ่งเป็นสังคมนิยมจอมปลอม เป็นการประนีประนอมกับระบบกลไกตลาดเสรีของทุนนิยมและอำนาจนายทุน หรือไม่ก็เป็นเผด็จการข้าราชการแดงของพรรคคอมมิวนิสต์ที่กดขี่ขูดรีดประชาชน
   
2.สังคมนิยมจากล่างสู่บน เป็นสังคมนิยมที่สร้างโดยมวลชนกรรมาชีพเอง ร่วมกับชาวนาระดับยากจน โดยอาศัยการปฏิวัติล้มระบบทุนนิยมเพื่อสถาปนารัฐกรรมาชีพ และรัฐกรรมาชีพดังกล่าวต้องมีกลไกในการควบคุมรัฐตามแนวประชาธิปไตยอย่าง ชัดเจน เช่นต้องมีสภาคนงานในรูปแบบคอมมูนปารีส หรือสภาโซเวียตหลังการปฏิวัติรัสเซีย 1917 สมัย เลนิน สังคมนิยมประเภทนี้คือสังคมนิยมแบบ “มาร์คซิสต์” เพราะสังคมนิยมเหมือนกับประชาธิปไตยหรือสิทธิเสรีภาพอื่นๆ ไม่มีใครยกให้ได้ ต้องมาจากการต่อสู้เรียกร้องของมวลชนเอง นี่คือสังคมนิยมที่เราชื่นชมและอยากได้
   
สังคมนิยมมาร์คซิสต์ แตกต่างจากเผด็จการคอมมิวนิสต์แบบ “สตาลิน-เหมา เจ๋อ ตุง” ที่พรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกนำมาใช้ใน รัสเซีย จีน ลาว เขมร เวียดนาม คิวบา หรือ เกาหลีเหนือ และที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเสนอ
 
เนปาล
   
ถ้าเราไปดูประเทศเนปาล เราจะได้บทเรียนเพิ่มเติม ในเนปาลพรรคคอมมิวนิสต์สายเหมา เจ๋อ ตุง ใช้วิธีจับอาวุธสู้กับเผด็จการทุนนิยมของกษัตริย์เนปาล การต่อสู้นี้บวกกับการต่อสู้ของมวลชนในเมือง เช่นนักศึกษาและสหภาพแรงงาน ในที่สุดนำไปสู่ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในการเลือกตั้ง มีการยกเลิกสถาบันกษัตริย์ แต่ระบบที่พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลเสนอคืออะไร? พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลต้องการกลไกตลาดเสรีของนายทุน!! และต้องการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ!! ซึ่งแปลว่าต้องคงไว้การขูดรีดกรรมกรและเกษตรกร เพียงแต่เปลี่ยนประเทศไปเป็นสาธารณะรัฐเท่านั้น
   
การจับอาวุธปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล จึงเป็นการต่อสู้เพื่อประนีประนอมกับระบบทุนนิยม แต่ข้อแตกต่างกับไทยคือ ในเนปาลไม่มีนายทุนใหญ่อย่างทักษิณที่มีอิทธิพลต่อขบวนการและสามารถดึงการ ต่อสู้ไปเพื่อคงไว้ระบบเดิมที่มีระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
   
ประชาธิปไตยแท้จะเกิดจากการเปลี่ยนประมุขอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีการยึดอำนาจโดยประชาชนในทุกเรื่อง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ถ้าเรายกอำนาจให้นายทุนดำรงอยู่และขูดรีดต่อไป และถ้าเราเกาะติดนายทุนใหญ่ในขณะที่เขาประนีประนอมกับอำมาตย์ทุนนิยม เราก็จะปลดแอกสังคมไม่ได้
   
การจับอาวุธหรือสร้างกองกำลัง เป็นการตัดขาดบทบาทมวลชนจำนวนมาก เป็นการผูกขาดสิทธิที่จะกำหนดแนวทางโดยแกนนำเผด็จการใต้ดิน ถ้ามีการถกเถียงเกิดขึ้นในแกนนำ จะใช้ปืนแทนปัญญาในการตัดสิน และเมื่อมีการลดบทบาทหรือสลายพลังมวลชน เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยแท้ที่พลเมืองนำตนเองและร่วมสร้างสังคมใหม่ได้


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.com/2010/10/blog-post_4893.html 

มารู้จัก "แนวมาร์ซิสต์" กันเถอะ??

ความสำคัญของ “การปฏิวัติถาวร” ในโลกปัจจุบัน

Leon Trotsky

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

คำว่า
“การปฏิวัติถาวร” เป็นคำที่คาร์ล มาร์คซ์ เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1848 เมื่อเขาเห็นว่าชนชั้นนายทุนในยุโรปหมดสภาพในการเป็น “ชนชั้นก้าวหน้าปฏิวัติ” ที่จะล้มซากของระบบฟิวเดิลที่ยังหลงเหลืออยู่ก่อนหน้านั้นในปี 1640-1688 ในอังกฤษ ในปี 1776 ที่อเมริกา และในปี 1789 ที่ฝรั่งเศส

ชนชั้นนายทุนเป็นหัวหอกในการนำการปฏิวัติที่ล้มอำนาจเก่า แต่พอมาถึง ค.ศ. 1848 ชนชั้นนายทุนเกรงกลัวชนชั้นใหม่ที่ยืนอยู่ข้างหลัง นั้นคือชนชั้นกรรมาชีพ นายทุนกลัวว่าถ้าปลุกกระแสปฏิวัติ กรรมาชีพจะไม่หยุดง่ายๆ และจะต่อสู้ต่อไปเพื่อกำจัดการกดขี่ขูดรีดของนายทุนและอำนาจเก่าที่เป็นซาก ระบบขุนนางด้วยพร้อมๆ กัน ดังนั้นการลุกฮือปฏิวัติถาวรของกรรมาชีพคือสิ่งที่คาร์ล มาร์คซ์หันมาสนับสนุนเต็มที่ตั้งแต่ 1848


ในปี ค.ศ. 1906
ลีออน ตรอทสกี เริ่มฟื้นฟูความคิดปฏิวัติถาวรของมาร์คซ์ในรัสเซีย เพื่อเสนอว่ากรรมาชีพรัสเซียต้องต่อสู้อิสระจากนายทุนชาตินิยม และควรก้าวข้ามขั้นตอนประชาธิปไตยทุนนิยมหลังล้มกษัตริย์ซาร์ เพื่อไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยมและอำนาจของรัฐกรรมาชีพทันที และเราก็เห็นว่าในปี 1917 การล้มกษัตริย์ซาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ ตามมาด้วยการปฏิวัติสังคมนิยมในเดือนตุลาคม โดยที่พรรคบอล์เชวิคเป็นหัวหอกของกรรมาชีพผู้ปฏิวัติ และเลนินมีข้อสรุปตรงกับมาร์คซ์และตรอทสกี มาตั้งแต่เดือนเมษายน 1917 อีกด้วย

หลังการปฏิวัติรัสเซีย ประเด็นเรื่อง
“การปฏิวัติถาวร” กลายเป็นเรื่องชี้ขาดในการปฏิวัติจีนและสเปน แต่พรรคคอมมิวนิสต์สากลสมัยนั้นเริ่มตกอยู่ในมือของพรรคพวกของสตาลิน ที่ขึ้นมาปฏิวัติซ้อนและระงับความก้าวหน้าของรัสเซีย สตาลินเน้นเสถียรภาพของรัสเซียและของรัฐบาลข้าราชการแดงเป็นหลัก จึงไม่อยากให้การปฏิวัติในที่อื่นๆ มารบกวนการคานอำนาจทั่วโลก เพราะเขาต้องการเอาใจมหาอำนาจทุนนิยมตะวันตก

ดังนั้นพรรคคอมมิวนิสต์สายสตาลินเหมาในจีน และสายสตาลินในสเปน เริ่มปฏิเสธแนวปฏิวัติถาวร เพื่อทำแนวร่วมกับนายทุนชาตินิยมแทน ผลคือนายทุนชาตินิยมในพรรคก๊กหมินตั๋งจีน จัดการปราบและสลายพวกคอมมิวนิสต์ จนสหายที่รอดตายต้องหนีออกจากเมือง และในสเปนการยอมจำนนต่อทุนนิยมทำให้กระแสปฏิวัติพ่ายแพ้และฟาสซิสต์ขึ้นมา ครองประเทศได้


หลังจากนั้น จนถึงยุคพังทลายของกำแพงเมืองเบอร์ลินและการสิ้นสุดของสงครามเย็น องค์กรหลักที่คัดค้านการปฏิวัติถาวร เพื่อระงับการต่อสู้ไม่ให้ไปถึงสังคมนิยม คือพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก และพรรคเหล่านี้ ไม่ว่าจะในตะวันออกกลางหรือในอินโดนีเซียหรือไทย ก็เสนอให้ฝ่ายซ้ายจับมือกับผู้นำชนชั้นนายทุน เช่น นาเซอร์ในอียิปต์ ซะดัมในอิรัก ซุการ์โน ในอินโดนีเซีย หรือสฤษดิ์ ในไทย และทุกครั้งโดยไม่มีข้อยกเว้น ผู้นำเหล่านั้นจะหักหลังพรรคคอมมิวนิสต์ และการต่อสู่ก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้และการนองเลือด


หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ล่มสลายทั่วโลก ประเด็นการปฏิวัติถาวรไม่ได้จบไป เมื่อต้นปี ค.ศ. 2011 ในตะวันออกกลาง มีการลุกฮือล้มเผด็จการ และเรื่อง
“การปฏิวัติถาวร” กลายเป็นเรื่องแหลมคมอีกครั้ง เพราะคนที่คัดค้านการปฏิวัติถาวรไปสู่อำนาจกรรมาชีพและสังคมนิยม กลายเป็นรัฐบาลทหารอียิปต์และพรรคมุสลิม เพราะสองกลุ่มอำนาจนี้ต้องการรักษาโครงสร้างเดิมในอียิปต์ไว้แต่เปลี่ยนแค่ ผู้นำ จากผู้นำเผด็จการมูบารัก ไปสู่ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง โดยที่สภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย ดังนั้นเราจะเห็นว่าคนหนุ่มสาวและนักสังคมนิยมที่ออกมาต่อสู้กับรัฐบาลทหาร ในอียิปต์เมื่อปลายปีเดียวกัน เป็นพวกที่ต้องการให้ปฏิวัติถาวร

ในลิบเบีย มหาอำนาจตะวันตกเข้ามาแทรกแซงการปฏิวัติเพื่อล้มเผด็จการกาดาฟี เพื่อไม่ให้นักสู้รากหญ้าเดินตามแนวปฏิวัติถาวร ตะวันตกต้องการเปลี่ยนผู้นำ แต่ต้องการรักษาโครงสร้างที่พร้อมจะขายน้ำมันให้บริษัทข้ามชาติ

ในไทย หลังจากที่พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ต้องการที่จะให้โครงสร้างเก่าคงอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรัฐบาล จากรัฐบาล “พรรคทหาร” ไปสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราเห็นชัดในกรณีที่เพื่อไทยและ นปช. ไม่ยอมแตะอำนาจทหาร และกฎหมายเผด็จการต่างๆ เช่น 112 เป็นต้น และถ้าเราต้องการให้ไทยเป็นประชาธิปไตยแท้ และต้องการเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในสังคม เพื่อยุติการกดขี่ขูดรีด เราต้องสู้ต่อไป ไม่ใช่หยุดอยู่แค่ขั้นตอนการมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเท่านั้น

ทั้งหมดนี้แสดงให้เราเห็นความสำคัญของ “การปฏิวัติถาวร” ในโลกปัจจุบัน

(ที่มา)

ชาวปาเลสไตน์จะมีรัฐอิสระแท้จริงได้อย่างไร?


 

 

 

 

 

 

โดย ลั่นทมขาว
 

การปฏิวัติล้มเผด็จการในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะที่อียิปต์ ได้เปลี่ยนดุลอำนาจในพื้นที่ โดยลดอิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกและอิสราเอ็ลลงไปบ้าง เพราะเผด็จการมูบารักที่ถูกมวลชนล้มในอียิปต์เคยเป็นแนวร่วมสำคัญของสหรัฐ และอิสราเอ็ลในอดีต นี่คือสาเหตุสำคัญที่ผู้นำปาเลสไตน์พยายามเรียกร้องให้สหประชาชาติยอมรับรัฐ อิสระของชาวปาเลสไตน์ในช่วงนี้
    
การเรียกร้องรัฐอิสระครั้งนี้มีข้อดีในรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ และถือว่าเป็นการเปิดโปงความไม่จริงใจของสหรัฐในเรื่อง “เสรีภาพและประชาธิปไตย” ที่สหรัฐชอบอ้างเสมอ โดยเฉพาะในการปฏิวัติอาหรับที่กำลังเกิดขึ้น เพราะโดยเนื้อแท้แล้วรัฐบาลสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีไหน ไม่เคยสนใจเสรีภาพและประชาธิปไตยของชาวปาเลสไตน์เลย การ “วีโต้” ข้อเรียกร้องที่จะตั้งรัฐอิสระใน “คณะมนตรีความมั่นคง” ของสหประชาชาติ โดยสหรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจ และถ้าจะพูดกันจริงๆ มวลชนในตะวันออกกลางส่วนใหญ่ไม่เคยหลงเชื่อว่าสหรัฐหรือตะวันตกมีเจตนา ดี.... ยกเว้นในลิบเบีย
    
ในลิบเบีย มหาอำนาจตะวันตกในยุโรปและสหรัฐ ฉวยโอกาสแทรกแซงทางทหารภายใต้เสื้อคลุมของการ “ปกป้องประชาชน” เพื่อ ให้ตะวันตกรักษาอิทธิพลและผลประโยชน์เรื่องน้ำมัน และเพื่อพยายามกู้สถานการณ์การเสียดุลอำนาจจากการปฏิวัติที่อื่น แต่เราจะเห็นว่านักสู้ลิบเบียหลายซีกเริ่มไม่พอใจที่ตะวันตกไปแต่งตั้ง รัฐบาลใหม่ให้เหนือหัวเขา โดยที่รัฐบาลใหม่เต็มไปด้วยนักฉวยโอกาส
 

(อ่านต่อ)  

http://turnleftthai.blogspot.com/2011/12/blog-post_21.html

สื่อสภาฯ ตั้งฉายาสุดแสบ "สภาปูแดง-วุฒิสภาสังคโลก" ยก "รังสิมา" เป็นดาวเด่น ให้ "ยิ่งลักษณ์" เป็นดาวดับ!



 

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ระดมความเห็นในการตั้งฉายาผู้ที่ทำหน้าที่ในฝ่าย นิติบัญญัติ ทั้งในส่วนของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกและการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ประจำปี 2554 ซึ่งการพิจารณาทั้งหมดได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ของสื่อมวลชนประจำ รัฐสภา โดยผลการพิจารณามีดังต่อไปนี้

เหตุการณ์แห่งปี : องค์ประชุมรัฐสภาล่มวันแถลงนโยบายของรัฐบาล 

เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลางดึกเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการแถลงนโยบายของรัฐสภาต่อที่ประชุมรัฐสภา สืบเนื่องมาจากการที่ส.ทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ได้อภิปรายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ จนนำมาสู่การประท้วงอย่างวุ่นวาย ส่งผลให้ต้องพักการประชุมนานถึง 40นาที ต่อมานายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา สั่งให้นับองค์ประชุมถึง 2 ครั้ง ก่อนลงมติว่าจะปิดการอภิปรายตามที่นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เสนอหรือไม่ โดยครั้งสุดท้ายมีองค์ประชุมเพียง 314 ไม่ถึงกึ่งหนึ่งจำนวน 325 เสียง จึงสั่งปิดประชุมในเวลา 23.27น.และนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 25 สิงหาคม

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้รัฐ ธรรมนูญ 2550 แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องอย่างร้ายแรงของฝ่ายนิติบัญญัติ เนื่องจากการแถลงนโยบายต่อรัฐสภามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะก่อนที่รัฐบาลจะสามารถบริหารราชการแผ่นดินได้โดยสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ต้องผ่านการแถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภาก่อน อีกทั้งพรรคร่วมรัฐบาลมีเสียงในรัฐสภามากถึง 300 เสียง แต่กลับไม่สามารถควบคุมองค์ประชุมได้

 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324801975&grpid=00&catid=&subcatid