นิยายเรื่อง "เสรีภาพ"
โดย สุรพศ ทวีศักดิ์
ในที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา
ม.112
แห่งหนึ่ง
(ขออภัยที่ไม่อาจระบุสถานที่ได้เนื่องจากเป็นการ
“จัดประชุมเป็นการภายใน”)
ผมแสดงความเห็นว่า
“หลายคนเข้าใจผิดว่าสังคมการเมืองบ้านเรามีเสรีภาพ
แต่จริงๆ แล้วภายใต้การบล็อกเสรีภาพในการแสดงออก
(freedom
of expressions)
ประชาชนไม่เคยมีเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนอยู่จริง”
ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ซึ่งมาจาก
“ระบบยุติธรรมไทย”
คนหนึ่งแสดงความเห็นว่า
“บางทีนักวิชาการก็พูดอะไรไปตามความรู้สึก
ความเชื่อของตัวเอง แล้วหลายๆ
ครั้งมันก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมได้เหมือนกัน
จริงๆ ถ้าพูดอย่างเป็นวิชาการ
เป็นความรู้
มันต้องไปดูข้อเท็จจริงว่ากฎหมายเขาบัญญัติไว้อย่างไร”
จากนั้นก็มีการโต้แย้งกันพอหอมปากหอมคอ
ฟังความเห็นของเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวแล้ว
ทำให้ผมนึกถึงที่อาจารย์สมภาร
พรมทา ตั้งข้อสังเกตไว้ในบทความเรื่อง
“นิติปรัชญา” (วารสารปัญญา
วารสารออนไลน์)
ประมาณว่า
“ผู้พิพากษาหรือคนที่อยู่ในระบบยุติธรรมบ้านเราส่วนมากอาจเก่งเรื่องตัวบทกฎหมาย
เทคนิคการใช้กฎหมาย
แต่อาจไม่ได้ศึกษาดีพอ
หรือไม่ค่อยได้อ่านงานประเภทนิติปรัชญาที่อภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับปัญหาเรื่องหลักความยุติธรรม
อันเป็นหลักการเบื้องหลังของการบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดความยุติธรรม”