รัฐไทยกับความรุนแรง (2)
กอง
ทัพ - ทั้งหมดหรือบางส่วน - มีบทบาทในความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกครั้ง
ดูเหมือนกองทัพเป็นเพียงเครื่องมือเซื่องๆ ของบางกลุ่มในชนชั้นนำ
แล้วแต่จะถูกสั่งให้ใช้ความรุนแรงเมื่อไร และอย่างไร เท่านั้น
แต่ใน โลกนี้ไม่มีใครเป็นไขควงให้ใครได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมนุษย์มีความต้องการส่วนตนซึ่งอาจไม่ได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ ใช้เสมอไป ฉะนั้นการไม่ทำตามคำสั่ง หรือทำตามคำสั่งด้วยจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา
กอง ทัพไม่เคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจริงมาแต่แรก เส้นที่แบ่งพรรคแบ่งพวกในกองทัพอาจมาจากยศ เช่นในช่วง 2475 การยึดอำนาจเกิดจากกลุ่มนายทหารระดับนายพัน ในขณะที่ทหารยศสูงกว่านั้นไม่ได้ร่วมด้วย เส้นดังกล่าวอาจมาจากกองทัพเอง เช่นระหว่างกองทัพบกและกองทัพเรือ อาจมาจากแก๊งผลประโยชน์เช่นค้าฝิ่น, ค้าอาวุธ หรือธุรกิจมืดอื่นๆ หรืออาจมาจากสังกัด เช่น ทหารม้า, ทหารราบ, ทหารปืนใหญ่, เสธฯ ฯลฯ ในแต่ละช่วงเวลา เส้นดังกล่าวจะมาจากอะไร ก็ขึ้นกับเงื่อนไขในการเกาะกลุ่มในช่วงนั้นๆ
กลุ่มต่างๆ ในกองทัพเหล่านี้ช่วงชิงอำนาจกัน โดยสนับสนุนให้คนในกลุ่มของตน (หรือตนมีเส้นสาย) ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับล่างขึ้นไปจนถึงระดับผู้บัญชาการ อย่างน้อยก็เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพราชการของตนเอง (ยังไม่พูดถึงผลประโยชน์ติดไม้ติดมืออื่นๆ) แต่มีประเพณีปฏิบัติอย่างหนึ่งซึ่งทำให้กองทัพไม่กลายเป็นกองโจรที่จับอาวุธ ขึ้นต่อสู้กันเอง นั่นก็คือหากไม่ใช่การยึดอำนาจรัฐแล้ว การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจในกองทัพมักไม่ทำโดยการรบ แต่ทำโดยการวิ่งเต้นและต่อรองในระบบ
แต่ใน โลกนี้ไม่มีใครเป็นไขควงให้ใครได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมนุษย์มีความต้องการส่วนตนซึ่งอาจไม่ได้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ ใช้เสมอไป ฉะนั้นการไม่ทำตามคำสั่ง หรือทำตามคำสั่งด้วยจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา
กอง ทัพไม่เคยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจริงมาแต่แรก เส้นที่แบ่งพรรคแบ่งพวกในกองทัพอาจมาจากยศ เช่นในช่วง 2475 การยึดอำนาจเกิดจากกลุ่มนายทหารระดับนายพัน ในขณะที่ทหารยศสูงกว่านั้นไม่ได้ร่วมด้วย เส้นดังกล่าวอาจมาจากกองทัพเอง เช่นระหว่างกองทัพบกและกองทัพเรือ อาจมาจากแก๊งผลประโยชน์เช่นค้าฝิ่น, ค้าอาวุธ หรือธุรกิจมืดอื่นๆ หรืออาจมาจากสังกัด เช่น ทหารม้า, ทหารราบ, ทหารปืนใหญ่, เสธฯ ฯลฯ ในแต่ละช่วงเวลา เส้นดังกล่าวจะมาจากอะไร ก็ขึ้นกับเงื่อนไขในการเกาะกลุ่มในช่วงนั้นๆ
กลุ่มต่างๆ ในกองทัพเหล่านี้ช่วงชิงอำนาจกัน โดยสนับสนุนให้คนในกลุ่มของตน (หรือตนมีเส้นสาย) ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับล่างขึ้นไปจนถึงระดับผู้บัญชาการ อย่างน้อยก็เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพราชการของตนเอง (ยังไม่พูดถึงผลประโยชน์ติดไม้ติดมืออื่นๆ) แต่มีประเพณีปฏิบัติอย่างหนึ่งซึ่งทำให้กองทัพไม่กลายเป็นกองโจรที่จับอาวุธ ขึ้นต่อสู้กันเอง นั่นก็คือหากไม่ใช่การยึดอำนาจรัฐแล้ว การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจในกองทัพมักไม่ทำโดยการรบ แต่ทำโดยการวิ่งเต้นและต่อรองในระบบ