หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ห้องเรียนประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ในสถานการณ์เฉพาะหน้า 16 11 2012

ห้องเรียนประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ในสถานการณ์เฉพาะหน้า 16 11 2012

 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=GhObH3g4Ugo

อนุสาวรีย์แห่งความเกลียดชังที่สร้างขึ้นจากก้อนอิฐของคนเคยรัก

อนุสาวรีย์แห่งความเกลียดชังที่สร้างขึ้นจากก้อนอิฐของคนเคยรัก



ภาพที่โพสต์ ภาพที่โพสต์

ภาพที่โพสต์
 

อนุสาวรีย์แห่งความเกลียดชังที่สร้างขึ้นจากก้อนอิฐของคนเคยรัก

เพียงคำ ประดับความ
งานกลับสู่แสงสว่าง 19 ม.ค. 2555
ณ อนุสรณ์สถาน14ตุลา แยกคอกวัว
  
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=p6d0bP1qjF0&feature=channel_video_title

Wake up Thailand ประจำวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555

Wake up Thailand ประจำวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 
  

สื่อไม่ได้ใหญ่ในแผ่นดิน 

สื่อไม่ได้ใหญ่ในแผ่นดิน

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xv4m1u 

The Daily Dose ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555


สหรัฐฯเอาจริงยื่น WTO เชือดไทยเรื่องข้าว

สหรัฐฯเอาจริงยื่น WTO เชือดไทยเรื่องข้าว

(คลิกฟัง)

Divas Cafe ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555


 
'โบโกต้า' เมืองจักรยาน ที่มาจากสำนึกความเท่าเทียม !!

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xv4vdu

20120130_อ.วรเจตน์-ทำไมต้องแก้ ม.112.mp4

20120130_อ.วรเจตน์-ทำไมต้องแก้ ม.112.mp4





(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=AfboBQ6NrJI

"แม้ว"ปาฐกที่อินเดีย ระบุเสียดายรัฐบาลกำลังไปได้ดี กลับถูกม็อบขับไล่ วอนอย่าเผชิญหน้า

"แม้ว"ปาฐกที่อินเดีย ระบุเสียดายรัฐบาลกำลังไปได้ดี กลับถูกม็อบขับไล่ วอนอย่าเผชิญหน้า




"ทั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณคิดว่าการชุมนุมครั้งนี้ รัฐบาลโดยน้องสาวของท่านคงเตรียมความพร้อมอยู่ พ.ต.ท.ทักษิณเสียดายประเทศไทยกำลังไปได้ดีไม่น่าจะมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล ท่านบอกว่าถ้าชุมนุมสงบตามรัฐธรรมนูญก็ไม่มีปัญหาเป็นสิทธิทำได้ แต่ไม่อยากให้พี่น้องคนไทยสร้างความรุนแรงสร้างเงื่อนไขการเผชิญหน้ากัน พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้ฝากรัฐบาลดูแลอะไรเป็นพิเศษ เพราะ ร.ต.อ.เฉลิมรองนายกฯ ผบช.น. สมช.ในส่วนของการข่าวคงดูแลได้อยู่ และเราไม่ประสงค์ให้คนเสื้อแดงมาเผชิญหน้ากับ อพส." นายนพดลกล่าว

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353057291&grpid=00&catid=&subcatid=

เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์"

เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" 


เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" 

(คลิกฟัง)

27 พ.ค. 2555 นักวิชาการผู้ร่วมรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และพวงทอง ภวัครพันธุ์ ร่วมเสวนาหัวข้อปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์ ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ในโอกาสปิดการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หลังจากดำเนินต่อเนื่องมาทั้งสิ้น 112 วัน โดยมีจำนวนประชาชนเข้าร่วมลงชื่อทั้งสิ้น 39,185 คน
 

พวกคุณนั่นแหละที่ไม่พร้อม

พวกคุณนั่นแหละที่ไม่พร้อม

 


การที่ประธานรัฐสภาปัดข้อเรียกร้องของประชาชนกว่า 3 หมื่นคน ที่นำโดยคณะนิติราษฎร์และคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้านหนึ่งนับเป็นความขลาดเขลาของประธานรัฐสภา ด้านหนึ่งสะท้อนความขลาดเขลาของพรรครัฐบาลที่บอกปัดข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ ครก.112 เริ่มรณรงค์

ขอถาม “ฝ่ายก้าวหน้า” ในพรรคเพื่อไทยว่า พวกคุณได้ตำแหน่งแหล่านี้มาได้อย่างไร ใน 6 ปีที่ผ่านมา คุณออกมาร่วมต่อสู้กับประชาชนเพื่ออะไร พวกคุณต่อสู้เพียงเพื่อให้เรากลับมาที่จุดเริ่มต้นก่อนรัฐประหาร 2549 เท่านั้นหรือ ยังมีคืนวันอันแสนหวานที่ชนชั้นนำ บรรดานายห้าง นายทหาร คณะราษฎรอาวุโส และนักวิชาการผู้อวดอ้างความทรงศีล สามารถเสวยสุขเสวยอำนาจบนกองเงินกองทองอยู่หลังฉากศีลธรรมพอเพียงที่ปวง ประชาราษฎร์กราบกรานแห่แหนอย่างงมงายอยู่อีกหรือ พวกคุณจะดูดายกับการที่ประชาชนที่ต่อสู้กับคุณมาและประชาชนผู้บริสุทธิ์ อื่นๆ อีกมาก จะต้องถูกจำคุกด้วยข้อหา “พูดไม่เข้าหูชนชั้นนำ” อย่างนั้นหรือ

แต่ในอีกด้านหนึ่ง พึงบันทึกไว้ว่า นี่คือความไม่พร้อมอีกครั้งหนึ่งของชนชั้นนำไทย

ความ ไม่พร้อมของชนชั้นนำไทยเริ่มมาตั้งแต่การบอกปัดข้อเสนอของคณะ รศ.130 การอภิวัฒน์ 2475 ของคณะราษฎร ก็ถูกชนชั้นนำมองว่าเป็นการ “ชิงสุกก่อนห่าม” ทั้งที่อันที่จริงชนชั้นนำเองต่างหากที่ไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลัง เกิดขึ้นแล้วในสยาม 

การ บอกปัดข้อเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนักศึกษา 14 ตค. 2516 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิของคนงานที่ถูกแขวนคอ และประท้วงการกลับมาของเผด็จการของนักศึกษา 6 ตค. 2519 การบอกปัดข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาจาการเลือกตั้งในปี 2535 และการบอกปัดข้อเรียกร้องให้ยุบสภาในปี 2553 นำมาซึ่งการปราบปรามประชาชนอย่างโหดเหี้ยม แล้วผู้ก่อการอันโหดเหี้ยมเหล่านั้นก็กลับลอยนวล เหล่านี้คือความไม่พร้อมของประชาชนหรือความไม่พร้อมของชนชั้นนำกันแน่

การบอกปัดข้อเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งของความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น 

ข้อ เสนอของประชาชนแต่ละครั้งนั้นเรียบง่าย ไร้การต่อรองผลประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะหน้า เป็นการเรียกร้องเพื่อสิทธิพื้นฐานของประชาชนในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการปกครองตนเอง สิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในร่างกาย 

ข้อ เสนอของประชาชนจึงไม่ได้ต้องการการศึกษาระดับสูงอะไรเลยก็เข้าใจได้ ตาสีตาสาตามีตามา ใครที่ไหนก็เข้าใจได้ว่า สิทธิในเนื้อตัวร่างกายตนเองสำคัญอย่างไร เสรีภาพในการแสดงคำพูดคำจาและความคิดความอ่านของตนเองสำคัญอย่างไร อำนาจในการปกครองตนเองนั้นสำคัญอย่างไร 

แต่ ก็เพราะข้อเรียกร้องต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเรียบง่ายอย่างนี้นี่แหละ ที่นำมาซึ่งการบอกปัดของชนชั้นนำ การบอกบัดนี้ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการหวงอำนาจที่มีมาแต่เดิมของตน การบอกปัดนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของชนชั้นนำ ในขณะที่ประชาชนนั้นพร้อมมาเป็นร้อยปีแล้ว

จะ มีใครเล่าไม่พร้อมที่จะได้รับสิทธิเสรีภาพของตนเอง จะมีก็แต่กลุ่มคนที่หวงอำนาจอยู่เท่านั้นที่ไม่พร้อมที่จะสละอำนาจของตนให้ กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

(ที่มา)

อีพวกสลิ่มคลั่ง ควรฟังเกี่ยวกับมาตรา 112 กร๊ากกกกกก

อีพวกสลิ่มคลั่ง ควรฟังเกี่ยวกับมาตรา 112 กร๊ากกกกกก

 

 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=9YtOcWUsxNs&feature=share

การรัฐประหารในประเทศไทย

การรัฐประหารในประเทศไทย






รัฐประหารในสังคมไทยมักใช้ปะปน และสับสนกับคำว่า ยึดอำนาจ หรือ การปฏิวัติ หรือ ปฏิวัติรัฐประหาร ในวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์ จะถือว่าการรัฐประหารไม่ใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมือง แบบ ประชาธิปไตย และถือเป็นความผุพังทางการเมือง (political decay)แบบหนึ่ง รัฐประหารหมายถึงการล้มล้าง รัฐบาล ที่บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองของทั้งรัฐ และมิจำเป็นต้องมีกาใช้ความรุนแรงหรือนองเลือดเสมอไป เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่งและประกาศรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ทันที แบบนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการก่อรัฐประหาร ความพยามในการก่อรัฐประหารที่ไม่ประสบความสำเร็จมักถูกดำเนินคดีในข้อหา กบฏ รัฐประหารในประเทศไทย คณะรัฐประหารในประเทศไทยที่ก่อการสำเร็จมักจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า "คณะปฏิรูป" หรือ "คณะปฏิวัติ" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวกอย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่การ "ปฏิวัติ" หรือ "อภิวัฒน์" (revolution) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองนั้นเกิดขึ้นใน ประเทศไทยเพียงครั้งเดียวคือเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 

ที่ผ่านมาผู้ที่ก่อการรัฐประหารได้สำเร็จในประเทศไทยมาจากฝ่าย ทหารบก ทั้งสิ้น ส่วน ทหารเรือ ได้มีความพยายามในการก่อรัฐประหารแล้วแต่ก็ไม่สำเร็จคือกบฏวังหลวง ใน พ.ศ. 2492 และ กบฏแมนฮัตตันใน พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นทหารเรือก็เสียอนาจในแวดวงการเมืองไทยไป

1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกา ปิด สภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดยพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี

3. รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นำโดย พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี

4. รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการ รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จี้บังคับให้ นาย ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

5. รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง