หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความน่าสมเพชของแนวการเมืองสังคมนิยมประชาธิปไตยในไทย

แดงสังคมนิยม 

ความน่าสมเพชของแนวการเมืองสังคมนิยมประชาธิปไตยในไทย

 

jifpp.jpg
โดยใจ อึ๊งภากรณ์  
ตีพิมพ์ใน นสพ เลี้ยวซ้าย มี.ค. ๒๕๕๖
 
"คนที่มักชอบพูดถึงแนวสังคมนิยมประชาธิปไตยในไทย เช่น เมธา มาสขาว หรือ YPD เป็นเรื่องตลกร้ายน่าสมเพช เมื่อเปรียบเทียบกับประวัติของสังคมนิยมประชาธิปไตยทั่วโลก"


แนว ความคิดที่นำไปสู่การก่อตั้งพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในเยอรมัน รัสเซีย ฝรั่งเศส และ อังกฤษ ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีรากฐานมาจากนักสังคมนิยมในยุคก่อนๆ เช่นคาร์ล มาร์คซ์ หรือ คาร์ล เคทสกี้ และพวกสังคมนิยมเพ้อฝันในฝรั่งเศส แต่ในที่สุดแนวนี้แตกเป็นสองส่วนท่ามกลางสงครามโลกคือเป็นแนวปฏิวัติ สังคมนิยม กับแนวปฏิรูปทุนนิยมให้เป็นสังคมนิยมอ่อนๆ

ฝ่าย ปฏิวัติเดินหน้าไปสร้างพรรคบอลเชวิคในรัสเซีย โดยมีแกนนำสำคัญคือ เลนิน กับ ตรอทสกี้ ส่วนในเยอรมันคนอย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ไลบนิค ก็ไปสร้างกลุ่มสปาร์ตาคัส ซึ่งนำร่องและกลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์

ตัวอย่างของฝ่ายปฏิรูป คือผู้ที่สร้างพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย SPD ในเยอรมัน และพรรคแรงงานในอังกฤษเป็นต้น รวมถึงพวกเมนเชวิคในรัสเซียด้วย

 

ทั้งๆ ที่สองซีกต่างอ้างเรื่อง “สากลนิยม” ที่สมานฉันท์ผลประโยชน์ชนชั้นกรรมาชีพทั่วโลก แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งระเบิดขึ้นในปี 1914 ฝ่าย ปฏิรูปกระโดดเข้าไปสนับสนุนสงครามและแนวชาตินิยมของชนชั้นปกครอง ซึ่งเท่ากับเป็นการสนับสนุนการฆ่ากันเองระหว่างคนงานรัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส กับคนงานเยอรมัน มีแต่พรรคปฏิวัติเท่านั้นที่ปกป้องแนวสากลนิยมของคาร์ล มาร์คซ์ และในที่สุดพรรคบอลเชวิคก็นำการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซียในปี 1917 ซึ่งมีผลในการยุติสงคราม ส่วนนักปฏิวัติอย่าง โรซา ลัคแซมเบอร์ค กับ คาร์ล ไลบนิค ในเยอรมัน ถูกรัฐบาลพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยฆ่าทิ้งเพื่อยั้บยั้งการปฏิวัติสังคมนิยม กองกำลังที่รัฐบาล SPD ใช้ในการปราบฝ่ายปฏิวัติครั้งนี้ ในที่สุดก็แปรตัวเป็นกองกำลังฟาสซิสต์ของฮิตเลอร์

“อาชญากรรม ทางการเมือง” ของแนวสังคมนิยมประชาธิปไตยในยุโรปมีเรื่อยมา ล่าสุดคือการก่อสงครามในตะวันออกกลางโดยนายกรัฐมนตรี โทนี่ แบลร์ จากพรรคแรงงานอังกฤษ และการหันหลังให้รัฐสวัสดิการ เพื่อรับกระแสคิดเสรีนิยมกลไกตลาด โดยพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและพรรคแรงงาน ในทุกประเทศของยุโรปรวมถึงสแกนดิเนเวีย พรรครูปแบบเดียวกันในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น หรือลาตินอเมริกาก็ไม่ต่างออกไป

Measuring National Wellbeing ความอยู่ดีมีสุขมวลรวมประชาชาติ

Measuring National Wellbeing ความอยู่ดีมีสุขมวลรวมประชาชาติ

 


 
โดย ประกาย ธีระวัฒนากุล 
ดูรายละเอียดได้ใน >> National Wellbeing.pdf

 
ตัว ชี้วัดหลักในการวัดความก้าวหน้าของระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ถือเป็นเครื่องมือชี้วัดมูลค่าทางตัวเงินของสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศ ผู้ดำเนินนโยบายประเทศต่างๆ จะให้ความสำคัญกับขนาดและการเจริญเติบโตของ GDP เพราะเชื่อว่าเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ และอนุมานว่าสามารถบ่งชี้ความสำเร็จของสังคมและความก้าวหน้าของการพัฒนา ประเทศได้ ทั้งนี้ ข้อจำกัดของ GDP ที่เป็นที่รับรู้ทั่วไปในวงวิชาการว่าไม่ได้เป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิต ส่วนบุคคลที่ดีหรือไม่สามารถชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของประเทศได้

เหตุผลสำคัญก็คือ การมุ่งเน้นที่การผลิตหรือการบริโภคหรือรายได้เพียงอย่างเดียว ที่แต่ละประเทศมุ่งหวังจะให้ประเทศมีเศรษฐกิจขยายตัว มี GDP สูงนั้น ในบางครั้ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมได้สร้างความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ให้เกิดขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกทางสังคม GDP มักไม่ได้รวมต้นทุนทางสังคมและต้นทุนทางธรรมชาติเข้าไปในการคำนวณ การที่เหล้าบุหรี่ขายได้มากขึ้นช่วยให้ GDP เพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่าประเทศจะดีขึ้น การที่ผู้คนในประเทศตัดไม้ทำลายป่านำออกขายก็ช่วยให้ GDP เพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศจะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ อีกทั้งการที่ GDP เพิ่มก็ไม่ได้หมายความว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศจะมีรายได้ที่ดีขึ้น หรือการที่คนส่วนใหญ่มีรายได้ดีขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่จะมีความ สุขมากขึ้น ตัวอย่างต่างๆ ข้างต้นเป็นที่มาที่ทำให้หลายๆ ประเทศเริ่มหันมาสนใจการสร้างความอยู่ดีมีสุขให้เกิดขึ้นแทนที่จะพัฒนาแต่ การเพิ่ม GDP เพียงด้านเดียว

จากการทบทวนเอกสารต่างๆ จะพบว่าในปัจจุบันรัฐบาลและสถาบันต่างๆ ทั่วโลกให้ได้ให้ความสนใจกับการติดตามและประเมินความอยู่ดีมีสุข (Wellbeing) กันมากขึ้น ทั้งความอยู่ดีมีสุขในระดับบุคคล ระดับสังคม และระดับประเทศ โดยความอยู่ดีมีสุข หรือ Wellbeing ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของวาระการประชุมเชิงนโยบายหลากหลายวาระ ตั้งแต่เรื่องการผนึกรวมทางสังคมไปจนถึงเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม การวัดความอยู่ดีมีสุขประชาชาติ (National wellbeing) กำลังจะกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย (policymakers) และพลเมืองในการวัดความก้าวหน้าของสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ อาจจะเสริมหรือทดแทน GDP

สำหรับมาตรวัดความอยู่ดีมีสุขนี้จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามที่จะ เปลี่ยนจากการมุ่งเน้น GDP ตามบัญชีประชาชาติ มาให้ความสำคัญกับการพิจารณาคุณภาพชีวิตของประชาชนเข้าไปด้วย ประเด็นคำถามที่สำคัญ คือ เราจะวัดความอยู่ดีมีสุขของประเทศได้อย่างไร และเราจะนำผลจากการประเมินความอยู่ดีมีสุขนั้นมาออกแบบและประยุกต์ใช้ใน นโยบายสาธารณะได้อย่างไร

ข่าวเจาะอังกฤษเผย กรณีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เกี่ยวโยงกับการทารุณกรรมผู้ต้องขังในอิรัก

ข่าวเจาะอังกฤษเผย กรณีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เกี่ยวโยงกับการทารุณกรรมผู้ต้องขังในอิรัก

 

 
 




เดอะ การ์เดียน และ บีบีซี รายงานเชิงเจาะลึกกรณีที่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ได้ส่งทหารเกษียณระดับสูงซึ่งเคยผ่านประสบการณ์ช่วยติดอาวุธให้ฝ่ายขวาใน อเมริกากลาง เข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันกับการทรมานนักโทษในเรือนจำอิรักและแต่งตั้งคนที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มติดอาวุธแบ่งแยกนิกายเป็นรมต. หลังสหรัฐฯ เข้ายึดอิรักแล้ว

เมื่อวันที่ 6 มี.ค 2013 สำนักข่าว เดอะ การ์เดียน และบีบีซีของอังกฤษรายงานข่าวเชิงเจาะลึกกรณีที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับคุกทรมานนักโทษในอิรัก

เดอะ การ์เดียน เปิดเผยว่ากระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ส่งทหารผ่านศึกที่เคยทำ 'สงครามสกปรก' ในอเมริกากลางเข้าไปตรวจตราการทำงานในเรือนจำและคุกทรมานนักโทษของหน่วย ตำรวจคอมมานโดผู้ทำสงครามแบ่งแยกนิกายในอิรัก โดยเรือนจำดังกล่าวมีการทรมานนักโทษกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเพื่อเค้นเอา ข้อมูลออกมา

เดอะการ์เดียนเปิดเผยอีกว่า หน่วยดำรวจคอมมานโดของอิรักหน่วยนี้เป็นกลุ่มที่มีการทรมานนักโทษอย่าง รุนแรงที่สุดในช่วงที่าสหรัฐฯ ยึดครองและเร่งให้ประเทศเข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบ

จากการสืบสวนของผู้สื่อข่าวเดอะ การ์เดียน และ บีบีซีอาร์บิคโชว์ ทำให้ทราบว่า พันเอก เจมส์ สตีลล์* เป็นทหารผ่านศึกหน่วยรบพิเศษอายุ 58 ปี ที่ปัจจุบันเกษียณอายุแล้ว ได้รับการแต่งตั้งจากโดนัลด์ รัมเฟลด์ ให้เป็นผู้จัดตั้งกองกำลังผสมเพื่อปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบนิกายซุนนี โดยหลังจากที่กลาโหมสหรัฐฯ ยกเลิกคำสั่งห้ามการให้กลุ่มติดอาวุธนิกายชีอะฮ์เข้าร่วมกับกองกำลังของเจ้า หน้าที่รัฐ หน่วยตำรวจคอมมานโดพิเศษ (SPC) ก็มีสมาชิกจากกลุ่มหัวรุนแรงนิกายชีอะฮ์เพิ่มมากขึ้นเช่น กลุ่มกองพันบัดร (Badr Brigades)

มีที่ปรึกษาพิเศษอีกรายคือพันเอก เจมส์ เอช คอฟแมน ผู้ทำงานร่วมกับสตีลในเรือนจำ ที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยเงินทุนสหรัฐฯ หลายล้านดอลลาร์

คอฟแมน รับคำสั่งโดยตรงจากนายพลเดวิด เพเทรอุส เขาถูกส่งไปยังอิรักเมื่อเดือน มิ.ย. 2004 เพื่อจัดตั้งและฝึกฝนกองกำลังความมั่นคงของอิรักชุดใหม่ ขณะที่สตีลผู้ที่อยู่ในอิรักตั้งแต่ปี 2003 ถึง 2005 และกลับประเทศในปี 2006 ได้รับคำสั่งโดยตรงจากรัมเฟลด์

พยานชาวอิรักและสหรัฐฯ ในสารคดีของเดอะ การ์เดียน และบีบีซีให้การซัดทอดที่ปรึกษาสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกถึงเรื่องการกระทำละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยหน่วยคอมมานโด นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่เพเทรอุสผู้เคยถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งผู้ อำนวยการซีไอเอจากเรื่องอื้อฉาวทางเพศยังถูกโยงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการ ละเมิดสิทธิโดยผ่านทางที่ปรึกษาอีกด้วย