หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผู้บริหารไลน์ย้ำ จะขอข้อมูลผู้ใช้งานต้องมีคำสั่งศาลญี่ปุ่น

ผู้บริหารไลน์ย้ำ จะขอข้อมูลผู้ใช้งานต้องมีคำสั่งศาลญี่ปุ่น

 

 


(22 ส.ค.56) เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า วันนี้ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นายโมริคาว่า อาคิระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไลน์ คอเปอร์เรชั่น จำกัด เปิดเผยถึงกรณีตำรวจไทยจะขอเข้ามาตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและการสนทนาของผู้ ใช้งานไลน์ที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงและการก่ออาชญากรรมว่า ไลน์ยังไม่ได้รับการติดต่อขอรายละเอียดอย่างเป็นทางการจากทางตำรวจไทย รวมถึงในประเทศอื่นด้วย

โดยไลน์จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้งาน ยกเว้นแต่ทางตำรวจไทยประสานมายังตำรวจญี่ปุ่น เพื่อขอคำสั่งศาล ทางบริษัทก็พร้อมจะปฏิบัติตาม อย่างไรก็ตาม ทางไลน์ไม่มีนโยบายเข้าไปแทรกแซงการใช้งานของผู้ใช้บริการ ซึ่งการติดต่อสื่อสารสนทนาเป็นระบบปิดจะไม่สามารถนำข้อมูลส่วนนี้มาเปิดเผย หรือให้บุคคลอื่นได้ หากไม่มีคำสั่งจากศาล

ตัวเลขเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลังรุ่ง-ร่วง? โยงถึงการเมือง

ตัวเลขเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลังรุ่ง-ร่วง? โยงถึงการเมือง


Giles Ji Ungpakorn 
India's rupee hits another record low against US dollar


"ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทยลดลง 0.3% และ 1.7% ในรอบสามเดือนที่ผ่านมาและสามเดือนก่อนนั้น ซึ่งถือว่าเศรษฐกิจไทยเข้าสู่วิกฤต สาเหตุหลักคือการลดลงของ การส่งออก การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุน

การผลิตลดลงในสามภาคคือ อุตสาหกรรม ก่อสร้าง และเกษตร (3.6%, 1.4% และ 0.6%ตามลำดับ) ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจพึ่งพาการบริโภคภายในมากพอสมควรและระดับหนี้สินจึงเพิ่มขึ้น

ต้นเหตุเฉพาะหน้าของปัญหาในไทยคือ รัฐบาลสหรัฐประกาศว่าจะยุติการกระตุ้นเศรษฐกิจในสหรัฐด้วยวิธีการ “พิมพ์เงินเพิ่ม” ซึ่งเคยทำให้เงินทุนราคาถูกหลั่งไหลเข้าไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเซียเช่นอินเดีย นอกจากนี้วิกฤตเศรษฐกิจโลก มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย

เราคงต้องจับตาดูว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจนี้จะมีผลต่อชีวิตกรรมาชีพผู้ทำงานอย่างไร และจะมีผลกระทบต่อกาเมืองอย่างไร"


ตัวเลขเศรษฐกิจ ครึ่งปีหลังรุ่ง-ร่วง? โยงถึงการเมือง

วิกิลีกส์ออกแถลงการณ์กรณี 'แมนนิ่ง' ถูกตัดสินจำคุก 35 ปี

วิกิลีกส์ออกแถลงการณ์กรณี 'แมนนิ่ง' ถูกตัดสินจำคุก 35 ปี

 

 
ในระบบทุนนิยมเสรี มักจะมีการพูดถึง "ความโปร่งใส" แต่เป็นภาพลวงตา เพราะคนที่สร้างความโปร่งใสมัก ติดคุก Mainstream academics like to bang on about the need for "transparency", but under capitalism those who help create transparency go to jail.


วิกิลีกส์ชี้ คำตัดสินจำคุก 35 ปี สิบตรี แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง  ฐานเปิดโปงเอกสารของรัฐบาล ก็จะยิ่งทำให้เกิด  "แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง" เพิ่มขึ้นอีกพันคน ส่วนเจ้าตัวประกาศอยากให้โลกรู้จักตัวตนที่แท้จริงในฐานะผู้หญิงชื่อ "เชลซี แมนนิง"

เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่ผ่านมาศาลสหรัฐฯ ได้ตัดสินลงโทษสิบตรีประจำการแบรดลี่ย์ แมนนิง ให้จำคุกเป็นเวลา 35 ปีจากการที่เขาส่งข้อมูลทางทหารของสหรัฐฯ ให้กับเว็บไซต์วิกิลีคส์ ซึ่งถือว่าเป็นการต้องโทษจำคุกยาวนานที่สุดเมื่อเทียบกับผู้เปิดโปงความลับ ของสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้

แบรดลี่ย์ แมนนิ่ง อายุ 25 ปี ถูกดำเนินคดีตั้งแต่เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาจากการที่เขาทำให้ข้อมูลเอกสาร และวีดิโอของทางการสหรัฐฯ จำนวนมากกว่า 700,000 ชิ้นรั่วไหลออกไปสู่สาธารณชน ซึ่งนับว่าเป็นการรั่วไหลของข้อมูลทางการทหารของสหรัฐฯ ที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์

แมนนิ่งถูกตัดสินให้มีความผิด 20 ข้อหา ซึ่งหกข้อหาอ้างตามกฎหมายการจารกรรม โดยแมนนิ่งพ้นจากข้อกล่าวหาเรื่องการให้ความช่วยเหลือศัตรูมาได้

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/08/48355 

'ขุนค้อน' เผยถกแก้รัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.หากไม่เสร็จต่อสัปดาห์หน้าได้

'ขุนค้อน' เผยถกแก้รัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.หากไม่เสร็จต่อสัปดาห์หน้าได้

 

 
 
'ขุนค้อน' ระบุดูที่บรรยากาศการประชุมไม่ยึดหลักการอะไรพิเศษ หากวันนี้ไม่พิจารณาไม่เสร็จก็ต่อในสัปดาห์หน้าได้ ส่วน พ.ร.บ.งบฯ ประชุม 23 ส.ค. หากไม่เสร็จต่อวันที่ 24-25 ต้องเสร็จภายในกรอบ 105 วัน ด้าน 'วราเทพ' ชี้หากถก พ.ร.บ.งบฯ ไม่ทันต้องย้อนไปยึดร่างวาระ 1 แทน

 
22 ส.ค. 56 - มติชนออนไลน์รายงาน ว่าเมื่อเวลา 09.49 น. วันที่ 22 สิงหาคม ที่รัฐสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวก่อนการประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของที่มาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระที่ 2 ว่า ในการประชุมพิจารณาแก้ไขมาตรา 3 ก็ว่ากันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบ ไม่จำเป็นต้องจบในวันนี้ ต้องดูที่บรรยากาศการประชุม ไม่ได้ยึดหลักการอะไรพิเศษ หากวันนี้ไม่พิจารณาไม่เสร็จ ก็สามารถพิจารณาต่อในสัปดาห์ได้

(อ่านต่อ)

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ร่อนจม.เปิดผนึกถึงชวน หลีกภัย - เตือนปลุกอนาธิปไตย มุ่งสู่รัฐประหาร กาลียุค!

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ร่อนจม.เปิดผนึกถึงชวน หลีกภัย - เตือนปลุกอนาธิปไตย มุ่งสู่รัฐประหาร กาลียุค!






เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา   เฟซบุ๊กของ Charnvit Ks ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการประวัติศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีข้อความดังนี้

An Open Letter to Chuan Leekphai   /   On Anarchy and Democracy
เรื่อง ประชาธิปไตย กับ อนาธิปไตย


เรียน ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ และ กก. สภา มธ  , และอดีต นรม อดีต หัวหน้าพรรคฯ
  
สืบเนื่องจากสถานการณ์ ป่วนสภา ป่วนถนน และการป่วนอื่นๆ  ซึ่งน่าจะเป็นส่วนหนึ่ง ที่สร้างสถานการณ์ อนาธิปไตย anarchy  อันจะนำไปสู่ การรัฐประหาร ยึดอำนาจ โดย นายทหาร และ/หรือ นายศาล...
  
เรื่องทำนองนี้ ได้เกิดมาแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2490 แล้วก็เกิดอีก เมื่อ พ.ศ. 2549 ปวศ. อาจซ้ำรอยอีก และเมื่อถึงตอนนั้น กาลียุค ก็จะบังเกิดในสยามประเทศไทย
  
ครั้งหนึ่ง ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ อดีตผู้นำปฎิวัติสยาม ผู้ประศาสน์การ มธก. รัฐบุรุษอาวุโส และ อดีต นรม .ได้เตือนเราไว้ และน่าที่ เราๆ ท่านๆ ในยุคสมัยอันสับสน เช่นนี้ จักได้สำเนียก เรียนรู้ และสร้าง "การเมืองดี" ให้กับชาติบ้านเมือง
  
เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2489 กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว ในขณะที่สังคมไทยกำลังค้นหาให้ได้มาซึ่งระบอบ "ประชาธิปไตย" ฯพณฯ ปรีดี ซึ่งในตอนนั้นดำรงตำแหน่ง นรม ได้กล่าวปิดประชุมสภาเมื่อ 7 พฤษภา ด้วยคำเตือนเรื่อง "ประชาธิปไตย" กับ "อนาธิปไตย" ดังนี้

นักวิชาการไทยวิเคราะห์อียิปต์บกพร่อง

นักวิชาการไทยวิเคราะห์อียิปต์บกพร่อง!!??
 

 
โดย นุ่มนวล ยัพราช

การวิเคราะห์เรื่องอียิปต์ ไม่ว่าจะเป็น เกษียร เตชะพีระ หรือ ‘จรัญ มะลูลีม ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ประวิตร โรจนพฤกษ์ จรัล ดิษฐาอภิชัย’ มีจุดร่วมคือ ลดรูปเรื่องการปฏิวัติให้เป็นเพียงแค่การเรียกร้องประชาธิปไตยในกรอบเสรีนิยม

ความขัดแย้งในอียิปต์กลายเป็นเรื่องของความขัดแย้งข้างบนล้วนๆ ไม่มองว่า Arab Spring คือ การปฏิวัติของมวลชน , ไม่พูดถึงการทรยศของพรรคมุสลิมบราเธอฮูดที่จับมือกับทหารเพื่อทำลายการ ปฏิวัติ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่มวลชนไม่พอใจ มูรซี่, ไม่พูดถึงการที่พรรคมุสลิมฯ ปลุกระดมความเกลียดชังทางศาสนาต่อชาวคริสต์และปราบปรามสหภาพแรงงานที่นัด หยุดงาน, ไม่พูดถึงการเน้นนโยบายแบบกลไกตลาดเสรีนิยมใหม่ของพรรคที่เดินตามรอยมูบารัค

ไม่มีการพูดถึงบทบาทมวลชนที่ออกมา 17 ล้านคนในวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่าน มองไม่เห็นการนัดหยุดงานที่เกิดขึ้นสมัยบูบารักถูกล้ม และหลังจากที่มูรซี่ขึ้นมา ไม่ตั้งคำถามว่าทำไมทหารจึงทำรัฐประหาร แล้วขึ้นมาปราบมวลชนอย่างเป็นระบบ แค่มองว่าเป็นรัฐทรราช ไม่มองว่าฝ่ายอำนาจเก่า ทหาร-มูบารัก กำลังดิ้นเฮือกสุดท้ายเพื่อทำลายการปฏิวัติอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ที่ละเลยประเด็นหลักๆแบบนี้ ก็ออกป่าออกเขาไปเรื่อยเปื่อย ไม่น่าจะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิวัติอียิปต์ แล้วเราจะเรียนบทเรียนจากเขาอย่างไร?

นักวิชาการและนักเขียนจำนวนมากเวลาพูดถึงอียิปต์ มีแค่ความสามารถที่จะเข้าใจอะไรแบบพื้นฐานง่ายๆ เท่านั้น คือมองว่ามีแค่ทางเลือกสองทางระหว่าง

(1) “ประชาธิปไตยรัฐสภา” ซึ่งหมายความว่าต้องยอมรับพรรคมุสลิมบราเธอฮูดของประธานาธิบดีมูรซี่ หรือหาทางปรองดองของฝ่ายปกครองเพื่อเลือกตั้งใหม่

(2) “เผด็จการทหาร”
ซึ่งทั้งสองทางเลือกข้างบนเป็นทางเลือกของชนชั้นนำอียิปต์ที่จะทำลายการปฏิวัติ Arab Springและปกป้องผลประโยชน์ตนเอง

แต่ทางเลือกที่สาม คือการต่อยอดและขยายกระบวนการปฏิวัติ โดยอาศัยพลังมวลชน คนหนุ่มสาว และกรรมาชีพ พวกนี้มองไม่เห็น เพราะอยู่นอกกรอบความคิดแคบๆ ของเขาที่เห็นแต่ชนชั้นบนและกรอบทุนนิยมกระแสหลัก

(ที่มา)