หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ทำไมต้องยกเลิก "องค์กรอิสระ"

ทำไมต้องยกเลิก "องค์กรอิสระ"


โดย  บทบรรณาธิการ นสพ เลี้ยวซ้าย


องค์กรอิสระในปัจจุบัน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. หรือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ล้วนแต่เป็นองค์กรเผด็จการ เพื่อลดพื้นที่ประชาธิปไตย


หลายคนคงแปลกใจที่เราฟันธงแบบนี้ เพราะในกระแสการปฏิรูปการเมืองที่นำไปสู่รัฐธรรมนูญปี 40 นักวิชาการและขบวนการ NGO พยายามสร้างภาพว่าองค์กรอิสระ มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและคานอำนาจทางการเมืองเพื่อทำให้ประชาธิปไตยดี ขึ้น อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ และ แนวคิดเกี่ยวกับการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ล้วนแต่เป็นลัทธิทางการเมืองของพวกเสรีนิยมฝ่ายขวา และ แนวเสรีนิยมนี้ เป็นแนวคิดของชนชั้นนายทุน

แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังผู้ที่ผลักดันเรื่ององค์กรอิสระ  เป็นแนวคิดที่ดูถูกประชาชนส่วนใหญ่ มองว่าเขาไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะเลือกผู้แทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อเขา นอกจากนี้มันเป็นแนวคิดที่มีอคติต่อกระบวนการประชาธิปไตย เพราะไม่ไว้ใจระบบการเลือกตั้ง

ตุลาการรัฐธรรมนูญ กกต. และ สว. ลากตั้ง ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากชนชั้นปกครองหรือทหาร พลเมืองธรรรมดาไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบ ถอดถอน หรือ ปลดพวกเผด็จการเหล่านี้ได้เลย  แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญ บังอาจมองว่าตนเองมีสิทธิที่จะห้ามไม่ให้รัฐบาลหรือรัฐสภาที่มาจากการเลือก ตั้งออกนโยบายเศรษฐกิจเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างต่างๆ ของสังคม พวกนี้บังอาจคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูง และ บังอาจบอกว่าเราไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ สว. ทุกคนมาจากการเลือกตั้งได้

ผู้ที่ถูกแต่งตั้งโดยชนชั้นปกครองเพื่อให้ดำรงตำแหน่งใน กกต. แทนที่จะมองว่าหน้าที่ของตนเอง คือ การจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศ ท่ามกลางความวุ่นวายที่มาจากการกระทำของอันธพาลที่ต่อต้านประชาธิปไตย กลับมองว่าหน้าที่ของตนเองคือการเลื่อนวันเลือกตั้ง เพื่อเปิดทางให้พวกที่ต้องการลดพื้นที่ประชาธิปไตยได้ประโยชน์

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ถูกแต่งตั้งมาโดยชนชั้นปกครอง พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคณะกรรมการสิทธิของอภิสิทธิชนเท่านั้น เข้าข้างม๊อบสุเทพ สนับสนุนการใช้กฎหมายเผด็จการ 112 และ เพิกเฉยต่อการเข่นฆ่าคนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตย

พวกนักเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยมขวาจัด ที่คลั่งระบบกลไกตลาดของนายทุน เช่น ในสถาบันวิจัย TDRI มองว่านักเศรษฐศาสตร์ผู้ที่ไม่เคยได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ควรมีสิทธิที่จะจำกัดนโยบายของรัฐบาลในแง่ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป พวกนี้มองว่าตัวเองควรมีอำนาจเหนือผู้แทนที่มาจาการเลือกตั้งโดยประชาชน เขาขยันด่าสิ่งที่เขาเรียกผิดๆ ว่า “ประชานิยม” แต่เงียบเฉยต่อการใช้งบประมาณรัฐมหาศาลเพื่อทหาร หรือ เพื่อพิธีกรรมฟุ่มเฟือย เขาอ้างประโยชน์ชาติเพราะเขาคิดว่าเขาเป็นตัวแทนของชาติและชาติของเขาไม่ใช่ ประชาชนส่วนใหญ่ ยิ่งกว่านั้นพวกนี้โกหกว่าเศรษฐศาสตร์มีแค่แนวเดียว แนวของเขา อ้างว่าเป็นแค่ “เทคนิค” เหมือนการซ่อมเครื่องจักร แทนที่จะเป็นเรื่องถกเถียงทางการเมือง

สังคมไทยมีพื้นที่ประชาธิปไตยน้อยเกินไป และ พื้นที่ประชาธิปไตยอันมีค่าที่เรามีอยู่ ถูกจำกัดโดยองค์กรอิสระที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง  ถ้าเราจะปฏิรูปการเมืองไทยให้มีประชาธิปไตยมากขึ้นเราต้องยกเลิกองค์กรอิสระ ทั้งหมดและเคารพวุฒิภาวะของประชาชนส่วนใหญ่

การตรวจสอบหรือคานอำนาจของรัฐบาลและรัฐสภา ถ้าจำเป็น ต้องมาจากการกระทำขององค์กรที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น  เช่น สภาที่เลือกมาจากท้องถิ่นพื้นที่ 4 ภาค หรือ ตุลาการที่ได้รับการเลือกตั้ง นอกจากนั้นควรมีการใช้ประชามติเพื่อให้ “มวลมหาประชาชน” ที่แท้จริง ตัดสินกรณีที่มีความขัดแย้งหรือเห็นต่าง

พวกที่สนับสนุนอำนาจขององค์กรที่อิสระจากกระบวนการประชาธิปไตย และพวกที่ต้องการให้ฝ่ายประชาธิปไตยประนีประนอมกับอันธพาลเผด็จการของสุเทพ เป็นเพียงคนที่ต้องการถ่มน้ำลายใส่พลเมืองส่วนใหญ่ และสร้างระบบกึ่งเผด็จการนั่นเอง เขาไม่ใช่นักปฏิรูปแต่อย่างใด

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/51385 

สรุปจากท่าทีและคำวินิจฉัยของศาลรธน.วันนี้ บอกได้คำเดียว "เอาอีกแล้ว!"

สรุปจากท่าทีและคำวินิจฉัยของศาลรธน.วันนี้ บอกได้คำเดียว "เอาอีกแล้ว!"




โดย อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์


วินิจฉัยว่า เลื่อนเลือกตั้งได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีกฎหมายอะไรรองรับเลย พวกเราอ่านรธน.จนกระดาษทะลุ-ลูกตาฉีก ก็หาไม่เจอ แม้แต่กม.ประกอบรธน.ว่าด้วยการเลือกตั้งสส. ที่อ้าง ก็ไม่มี หรือท่านไปเปิดพจนานุกรมเจอคำว่า "สส.ไม่ครบ = ภัยพิบัติ" ฉะนั้นเลื่อนเลือกตั้งได้???

แล้วก็มา "แนะนำ" ว่า รัฐบาลกับกกต.ไปปรึกษากันเลื่อนเลือกตั้ง ก็คุณเอากฎหมายฉบับไหนมาใช้ ที่ให้ท่านมีอำนาจ "แนะนำ" ได้มิทราบ?

สรุปอย่างที่ผมเคยเขียนไว้นานแล้ว ศาลรธน.ประเทศไทย "เขียนรัฐธรรมนูญใหม่" ทุกวัน เพิ่มคำ ตีความ ใส่เนื้อหาใหม่ทุกวัน แล้วแต่ "ธงการเมือง" จะพาไป

ถ้านายกฯยิ่งลักษณ์ "หลวมตัว" ทำตาม "คำแนะนำ" ที่ไม่มีกฎหมายรองรับของศาลรธน. ยอมเลื่อนเลือกตั้งออกไป นั่นคือจุดจบของนายกฯยิ่งลักษณ์ เพราะประชาชนทั่วประเทศที่เตรียมตัวเตรียมใจเต็มที่จะไปเลือกตั้ง 2 ก.พ. จะสูญสิ้นความเชื่อถือ ศรัทธาและความเชื่อมั่นในนายกฯยิ่งลักษณ์ทันที เพราะไปโอนอ่อนทำตามสิ่งที่ผิดกฎหมาย ผิดกติกา ขัดต่อความต้องการของประชาชน เพียงเพื่อเอาตัวรอดทางการเมืองไปวัน ๆ ขณะที่พวกที่เกลียดชังท่าน ก็จะขับไล่ท่านต่อไป ไม่หยุด

อย่าได้เชื่อ "สัญญาณ" ว่า ให้เลื่อนเลือกตั้ง แล้ว ปชป.จะเลิกบอยคอต กลับมาลงเลือกตั้ง ม็อบเทือกจะยอมยุติ

ถ้าท่านยอมเลื่อนเลือกตั้งออกไป ก็จะมีช่องว่างเวลา ยืดลมหายใจปชป.และม็อบเทือกออกไปอีกหลายเดือน ปชป.ก็จะไม่กลับมาลงเลือกตั้งอีก ม็อบเทือก ปปช. ศาลรธน. และทหาร ก็จะไม่หยุด แต่จะยังคงไล่กระทืบท่านต่อไปจนกว่าท่านจะแหลกราญเป็นผุยผง สูญไปจากแผ่นดินไทย!!!

คณะนิติราษฎร์ชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

คณะนิติราษฎร์ชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ





คณะนิติราษฎร์ชำแหละคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ (คลิปเต็ม)
http://www.youtube.com/watch?v=JvHvTNjJb3E


ชม คลิปคณะนิติราษฎร์ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ , อาจารย์ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล , อาจารย์ธีระ สุธีวรางกูร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทจิรา

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: คำวินิจฉัยศาล รธน. จะไม่มีผลให้เลื่อนการเลือกตั้ง

วรเจตน์ ภาคีรัตน์: คำวินิจฉัยศาล รธน. จะไม่มีผลให้เลื่อนการเลือกตั้ง



 
วรเจตน์ ภาคีรัตน์: คำวินิจฉัยศาล รธน. ไม่มีผลให้เลื่อนการเลือกตั้ง
http://www.youtube.com/watch?v=dPdufpGOcts 


วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิพากษ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีล่าสุดที่แนะนำให้นายกรัฐมนตรีเจรจากับ คณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยเขาชี้ว่านี่เป็นอีกครั้งที่คำวินิจฉัยของศาลขาดความชัดเจนแน่นอน ไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ และเงื่อนไขข้อเท็จจริงแล้ว การปฏิบัติตามคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นได้ภายใน เงื่อนเวลาที่จะต้องมีการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 ม.ค. และการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 ก.พ.ที่จะถึงนี้

เขาเห็นว่าคำวินิจฉัยนี้เป็นเพียงการโยนเผือกร้อนใส่มือนายกรัฐมนตรีให้ ต้องรับผิดชอบทั้งทางกฎหมายและทางการเมือง โดยที่ไม่มีอำนาจใดๆ รองรับ

สำหรับคำแนะนำต่อนายกรัฐมนตรีคือ ควรรอคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการแล้วถามกลับไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอคำแนะ นำในทางปฏิบัติ และสำหรับกกต. คำวินิจฉัยอันไม่ชัดเจนนี้ไม่อาจเป็นเกราะกำบังให้กกต. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามพะราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนั่นหมายความว่า การดำเนินการเลือกตั้งจะต้องดำเนินต่อไปโดยไม่มีข้อแม้เป็นอย่างอื่น

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/51394  

‘พอกันที’ ครั้งที่ 5 เสียงจากคนอยากเลือกตั้งถึงศาลรัฐธรรมนูญ

‘พอกันที’ ครั้งที่ 5 เสียงจากคนอยากเลือกตั้งถึงศาลรัฐธรรมนูญ 



 
เย็นวันที่ 24 ม.ค.2557 นักกิจกรรมทางสังคมกลุ่ม 'พอกันที' จัดกิจกรรม 'จุดเทียนเขียนสันติภาพ พอกันที หยุดการชุมนุมที่สร้างเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง' เป็นครั้งที่ 5 ที่บริเวณทางเดินเชื่อมรถไฟฟ้าสถานีช่องนนทรี มีประชาชนเข้าร่วมหลายร้อยคน

ประชาไทได้พูดคุยกับ กิตติชัย งามชัยพิสิฐ หนึ่งในนักกิจกรรมจากกลุ่มพอกันที และพูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมถึงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญ หลังจากช่วงบ่ายของวันเดียวกัน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.โดยมีมติเอกฉันท์ 8 ต่อ 0 ให้สามารถเลื่อนการเลือกตั้งซึ่งเดิมกำหนดไว้วันที่ 2 ก.พ.2557 ออกไปได้

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/51397 

ประมวลภาพจุดเทียนเขียนสันติภาพ หนุนเลือกตั้ง 24 ม.ค.

ประมวลภาพจุดเทียนเขียนสันติภาพ หนุนเลือกตั้ง 24 ม.ค.







กลุ่มพอกันทีฯ จุดเทียนเขียนสันติภาพ BTS ช่องนนทรี วอน ตลก.รธน.เห็นหัวประชาชน วอน กกต.จัด ลต.ให้ได้ ยันไม่เอาความรุนแรงทุกรูปแบบ ชี้การเคลื่อนของ กปปส.เป็นเงื่อนไขสู่ความรุนแรง


24 ม.ค.2557 ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ยังคงเดินหน้าจัดกิจกรรม "จุดเทียนเขียนสันติภาพ" เพื่อเรียกร้องให้ยุติการเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่ความรุนแรง ต่อต้านการรัฐประหารและสนับสนุนให้เคารพเสียงของคนทั้งประเทศเดินหน้าเลือก ตั้งวันที่ 2 ก.พ.นี้ โดยประชาไทได้รวบรวมภาพกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ ที่จัดกิจกรรมเมื่อเย็นจนถึงค่ำที่ผ่านมาดังนี้

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/51395 


เลื่อนเลือกตั้ง : ทางออก หรือ ทางตัน ?

เลื่อนเลือกตั้ง : ทางออก หรือ ทางตัน ?


 
โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

https://www.facebook.com/verapat


คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ชี้ช่องให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งได้นั้น มีประเด็นทางกฎหมายที่ต้องพิจารณาดังนี้

ประเด็นที่ 1 คำวินิจฉัยมีฐานทางรัฐธรรมนูญรองรับหรือไม่ ?

ในการวินิจฉัยคดีนี้ ศาลได้อ้างอำนาจจาก รัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ซึ่งบัญญัติว่า

"ใน กรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป ให้ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี หรือองค์กรนั้น เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย"

ถ้อย คำใน มาตรา 214 บัญญัติชัดเจนว่าจะต้องมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ หมายความว่า จะต้องมีการโต้แย้งกันว่าอำนาจหน้าที่เป็นขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง

อย่าง ไรก็ดี ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายข้อใดที่ให้อำนาจ คณะรัฐมนตรี หรือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่จะเลื่อนวันเลือกตั้งโดยอ้าง "ความกังวล" ว่าจะจัดเลือกตั้งไม่สำเร็จ

ตรงกันข้าม รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้เล็งเห็นอยู่แล้วว่าการเลือกตั้งอาจมีปัญหาได้ จึงมีบทบัญญัติที่สามารถตีความต่อไปได้ว่า หากการเลือกตั้งมีปัญหาและส่งผลให้ได้ ส.ส. ไม่ครบ 95 % ก็ต้องเลือกตั้งใหม่ในเขตที่มีปัญหาให้ได้ครบจำนวนภายใน 180 วัน และหากเขตใดมีปัญหาสุดวิสัย ก็ดำเนินการแก้ไขเฉพาะในเขตนั้น

ดัง นั้น กฎหมายจึงได้กำหนดวิธีการแก้ไขปัญหาไว้อยู่แล้ว และไม่มีประเด็นความขัดแย้งของอำนาจหน้าที่ใดที่ต้องตีความ ประเด็นที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความสงสัยและนึกขึ้นเอาเองของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งแม้อาจจะหวังดีก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เหตุในการให้ศาลต้องชี้ขาด แต่หากกรณี 'นึกเอาเอง' แบบนี้ศาลรับมาชี้ขาดได้ ก็จะกลายเป็นบรรทัดฐาน 'เปิดประตูอภินิหาร' ให้ศาลกลายเป็นผู้เพิ่มและลดอำนาจองค์กรอื่นได้ตามใจปรารถนา

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand 


 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 24 มกราคม 2557 ตอนที่ 2
ต้องไม่คุกคามศาสนสถาน
http://www.dailymotion.com/video/x1a7h51_ต-องไม-ค-กคามศาสนสถา 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 24 มกราคม 2557 ตอนที่ 1
เรียนมากเดี๋ยวโง่(ปิดโรงเรียนดีกว่า) 
http://www.dailymotion.com/video/x1a7ggg_เร-ยนมากเด-ยวโง-ป-ดโรงเร-ยนด 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 23 มกราคม 2557 ตอนที่ 2
ปฏิรูปสู่สังคมใน 'รัฐสวัสดิการ' พรรคประชาธิปไตยใหม่เบอร์24
http://www.dailymotion.com/video/x1a5dgv_ปฏ-ร-ปส-ส-งคมใน-ร-ฐสว-สด-การ-พรรคประชาธ 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 23มกราคม 2557 ตอนที่ 1
จะ 'เลือกตั้ง' ถามศาลรัฐธรรมนูญหรือยัง 
http://www.dailymotion.com/video/x1a5b62_จะ-เล-อกต-ง-ถามศาลร-ฐธรรมน-ญหร-อย- 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 22 มกราคม 2557 ตอนที่ 2
พบ กับ ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย ที่แสดงทางออก มีแต่ทางหนีไฟ"   

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 22 มกราคม 2557 ตอนที่ 1 
กกต.+ไปรษณีย์ไทย + ศาลรธน. เดินหน้าปิดหีบเต็มที่
  

Divas Cafe

Divas Cafe  





Divas Cafe ประจำวันที่ 24 มกราคม 2557 
ประเทศไทยยกให้ใคร? 
http://www.dailymotion.com/video/x1a7lo4_ประเทศไทยยกให-ใค 

Divas Cafe ประจำวันที่ 23 มกราคม 2557
จับเข่าคุยกับชนชั้นสูง ม.ร.ว.มาลินี จักรพันธุ์ 
http://www.dailymotion.com/video/x1a5geg_จ-บเข-าค-ยก-บชนช-นส-ง-ม-ร-ว-

Divas Cafe ประจำวันที่ 22 มกราคม 2557
อัพเดทกฎหมายสิทธิสตรีสุดก้าวหน้าของฝรั่งเศส
http://www.dailymotion.com/video/x1a3eza_อ-พเดทกฎหมายส-ทธ-สตร-ส-ดก-าวหน-า 

เชิญเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง “นโยบายพรรคการเมืองในการเลือกตั้งและบทบาทสหภาพแรงงานในการกู้วิกฤตประชาธิปไตยของประเทศ”

เชิญเข้าร่วมสัมมนา เรื่อง “นโยบายพรรคการเมืองในการเลือกตั้งและบทบาทสหภาพแรงงานในการกู้วิกฤตประชาธิปไตยของประเทศ



 

กำหนดการโครงการสัมมนา
เรื่อง “นโยบายพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง
และบทบาทสหภาพแรงงานในการกู้วิกฤตประชาธิปไตยของประเทศ


จัดโดย

สมาพันธ์แรงงานปกป้องประชาธิ
ปไตย
มูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์ และ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร
วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2557
ณ ห้องประชุม อนุสรณ์สถาน14 ตุลา สี่แยกคอกวัว

12:30 – 13:00 น. ลงทะเบียน

13:00 – 13:15 น. กล่าวเปิดการสัมมนา โดย
นายบุญเทียน ค้ำชู ประธานมูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์

13:15 – 15:15 น. การนำเสนอนโยบายของพรรคการเ
มืองในการเลือกตั้ง โดย
• หัวหน้าพรรคพลังประชาธิปไตย
• หัวหน้าพรรคไทยมหารัฐพัฒนา
• หัวหน้าพรรคแทนคุณแผ่นดิน
• หัวหน้าพรรคพัฒนาประชาธิปไต

• หัวหน้าพรรครักประเทศไทย
• หัวหน้าพรรคอื่นๆ
ดร. โชคชัย สุทธาเวศ เลขาธิการ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร
ดำเนินการอภิปราย

15:15 – 15:45 น. รับประทานอาหารว่าง

15:45 – 17:45 น. อภิปรายเรื่อง “บทบาทสหภาพแรงงานในการกู้วิ
กฤตประชาธิปไตยของ
ประเทศ” โดย
นายไพบูลย์ แก้วเพทาย เลขานุการ มูลนิธิไพศาล ธวัชชัยนันท์
นายบรรจง บุญรัตน์ ประธาน สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์ก
ลางแรงงานแห่งประเทศไทย
นายปนิธิ ศิริเขต ผู้อำนวยการ สถาบันแรงงานศึกษา
ดร. โชคชัย สุทธาเวศ เลขาธิการ มูลนิธินิคม จันทรวิทุร ดำเนินการอภิปราย

17:45 – 18:15 น. ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิด
เห็น

18:15 – 18:30 น. กล่าวปิดการสัมมนา โดย
ตัวแทนมูลนิธินิคม จันทรวิทุร

18:30 – 19:00 น. รับประทานอาหารเย็น
19:00 – 19:30 น. ร่วมจุดเทียนสันติภาพเพื่อก
อบกู้ประชาธิปไตยบริเวณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

สอบถามโทร. 081 3475233
เว็บไซต์มูลนิธินิคม จันทรวิทุร

http://nikomfoundation.org/

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (3) ยกเลิกองค์กรอิสระ

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (3) ยกเลิกองค์กรอิสระ 


 
มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (2) ยกเลิกกฏหมาย 112 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2014/01/2-112.html 

มาคุย “ปฏิรูป” กันเถิด (1) แก้ความเหลื่อมล้ำ 
http://turnleftthai.blogspot.dk/2014/01/1_22.html 

  

องค์กรอิสระในปัจจุบัน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. หรือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ล้วนแต่เป็นองค์กรเผด็จการ เพื่อลดพื้นที่ประชาธิปไตย

หลายคนคงแปลกใจที่เราฟันธงแบบนี้ เพราะในกระแสการปฏิรูปการเมืองที่นำไปสู่รัฐธรรมนูญปี 40 นักวิชาการและขบวนการ NGO พยายามสร้างภาพว่าองค์กรอิสระ มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบและคานอำนาจทางการเมืองเพื่อทำให้ประชาธิปไตยดีขึ้น อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ และ แนวคิดเกี่ยวกับการแบ่งแยกอำนาจ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ล้วนแต่เป็นลัทธิทางการเมืองของพวกเสรีนิยมฝ่ายขวา และ แนวเสรีนิยมนี้ เป็นแนวคิดของชนชั้นนายทุน

แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังผู้ที่ผลักดันเรื่ององค์กรอิสระ  เป็นแนวคิดที่ดูถูกประชาชนส่วนใหญ่ มองว่าเขาไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะเลือกผู้แทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อเขา นอกจากนี้มันเป็นแนวคิดที่มีอคติต่อกระบวนการประชาธิปไตย เพราะไม่ไว้ใจระบบการเลือกตั้ง

ตุลาการ รัฐธรรมนูญ กกต. และ สว. ลากตั้ง ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากชนชั้นปกครองหรือทหาร พลเมืองธรรรมดาไม่สามารถเข้ามาตรวจสอบ ถอดถอน หรือ ปลดพวกเผด็จการเหล่านี้ได้เลย  แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญ บังอาจมองว่าตนเองมีสิทธิที่จะห้ามไม่ให้รัฐบาลหรือรัฐสภาที่มาจากการเลือก ตั้งออกนโยบายเศรษฐกิจเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างต่างๆ ของสังคม พวกนี้บังอาจคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูง และ บังอาจบอกว่าเราไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ สว. ทุกคนมาจากการเลือกตั้งได้ 

ผู้ ที่ถูกแต่งตั้งโดยชนชั้นปกครองเพื่อให้ดำรงตำแหน่งใน กกต. แทนที่จะมองว่าหน้าที่ของตนเอง คือ การจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศ ท่ามกลางความวุ่นวายที่มาจากการกระทำของอันธพาลที่ต่อต้านประชาธิปไตย กลับมองว่าหน้าที่ของตนเองคือการเลื่อนวันเลือกตั้ง เพื่อเปิดทางให้พวกที่ต้องการลดพื้นที่ประชาธิปไตยได้ประโยชน์

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่ถูกแต่งตั้งมาโดยชนชั้นปกครอง พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคณะกรรมการสิทธิของอภิสิทธิชนเท่านั้น เข้าข้างม๊อบสุเทพ สนับสนุนการใช้กฎหมายเผด็จการ 112 และ เพิกเฉยต่อการเข่นฆ่าคนเสื้อแดงที่เรียกร้องประชาธิปไตย 

พวกนักเศรษฐศาสตร์แนวเสรีนิยมขวาจัด ที่คลั่งระบบกลไกตลาดของนายทุน เช่น ในสถาบันวิจัย TDRI มองว่า นักเศรษฐศาสตร์ผู้ที่ไม่เคยได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน ควรมีสิทธิที่จะจำกัดนโยบายของรัฐบาลในแง่ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป พวกนี้มองว่าตัวเองควรมีอำนาจเหนือผู้แทนที่มาจาการเลือกตั้งโดยประชาชน เขาขยันด่าสิ่งที่เขาเรียกผิดๆ ว่า “ประชานิยม” แต่เงียบเฉยต่อการใช้งบประมาณรัฐมหาศาลเพื่อทหาร หรือ เพื่อพิธีกรรมฟุ่มเฟือย เขาอ้างประโยชน์ชาติเพราะเขาคิดว่าเขาเป็นตัวแทนของชาติและชาติของเขาไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ ยิ่งกว่านั้นพวกนี้โกหกว่าเศรษฐศาสตร์มีแค่แนวเดียว แนวของเขา อ้างว่าเป็นแค่ “เทคนิค” เหมือนการซ่อมเครื่องจักร แทนที่จะเป็นเรื่องถกเถียงทางการเมือง

สังคมไทยมีพื้นที่ประชาธิปไตยน้อยเกินไป และ พื้นที่ประชาธิปไตยอันมีค่าที่เรามีอยู่ ถูกจำกัดโดยองค์กรอิสระที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง  ถ้าเราจะปฏิรูปการเมืองไทยให้มีประชาธิปไตยมากขึ้นเราต้องยกเลิกองค์กรอิสระทั้งหมดและเคารพวุฒิภาวะของประชาชนส่วนใหญ่

การตรวจสอบหรือคานอำนาจของรัฐบาลและรัฐสภา ถ้าจำเป็น ต้องมาจากการกระทำขององค์กรที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น  เช่น สภาที่เลือกมาจากท้องถิ่นพื้นที่ 4 ภาค หรือ ตุลาการที่ได้รับการเลือกตั้ง นอกจากนั้นควรมีการใช้ประชามติเพื่อให้ “มวลมหาประชาชน” ที่แท้จริง ตัดสินกรณีที่มีความขัดแย้งหรือเห็นต่าง 

พวก ที่สนับสนุนอำนาจขององค์กรที่อิสระจากกระบวนการประชาธิปไตย และพวกที่ต้องการให้ฝ่ายประชาธิปไตยประนีประนอมกับอันธพาลเผด็จการของสุเทพ เป็นเพียงคนที่ต้องการถ่มน้ำลายใส่พลเมืองส่วนใหญ่ และสร้างระบบกึ่งเผด็จการนั่นเอง เขาไม่ใช่นักปฏิรูปแต่อย่างใด

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2014/01/3.html          

คำพิพากษาที่ไม่เห็นคนเป็นคน ผลคือสงครามกลางเมือง

คำพิพากษาที่ไม่เห็นคนเป็นคน ผลคือสงครามกลางเมือง



โดย Dred Scott v. Sandford


คดี Dred Scott v. Sandford, 60 U.S. 393 (1857) เป็นคดีที่ถือได้ว่าเป็นหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐอเมริกา เมื่อเดร็ด สก็อต ทาสผิวดำชาวเวอร์จิเนีย ได้เดินทางร่วมกับศัลยแพทย์จอห์น เอเมอร์สันไปยังรัฐอิลลินอยส์ และต่อมายังวิสคอนซิน ซึ่งเป็นรัฐที่ห้ามมีทาสตามรัฐธรรมนูญของมลรัฐและสนธิสัญญาระหว่างรัฐ

ต่อมา เดร็ด สก็อต ได้แต่งงานกับแฮเรียต โรบินสัน ซึ่งเป็นทาสที่นพ.เอเมอร์สันซื้อมาขณะปฏิบัติหน้าที่เช่นกัน ทั้งคู่มีลูกซึ่งตามกฎหมายมลรัฐต้องเป็นอิสรชน แต่ครอบครัวเอเมอร์สันรวมถึงภริยา ปฏิเสธจะไถ่อิสรภาพของครอบครัวสก็อตให้เป็นไท รวมถึงการกระทำของ นพ.เอเมอร์สันได้ละเมิดรัฐธรรมนูญ กฎบัตร และสนธิสัญญาหลายฉบับที่ห้ามมีทาสในรัฐเขตเหนือ

เดร็ด สก็อต จึงฟ้องต่อคุณนายเอลิซ่า แซนด์ฟอร์ด ภริยาของ นพ.เอเมอร์สัน ภายหลังนพ.เอเมอร์สันตายที่ไอโอวา เพื่อเรียกร้องอิสรภาพของพวกเขา

คดีนี้สู้กันยาว จนเรื่องส่งไปถึงศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา เนื่องจากคุณนายแซนด์ฟอร์ดเป็นประชากรรัฐนิวยอร์ค จึงเกิดปัญหากฎหมายขัดกันของมลรัฐ

ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐวินิจฉัยด้วยมติ 7-2 เสียงว่า ทาสไม่มีสิทธิเป็นพลเมือง จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องในศาล

ในคำวินิจฉัยของศาลยังให้ความเห็นต่อว่า หากทาสมีสิทธิเป็นพลเมืองแล้ว ชนเผ่านิโกรย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง การประกอบอาชีพ ไปจนถึงการถือครองอาวุธ จึงเป็นอันตราย จะให้มีสิทธิไม่ได้

ในคำวินิจฉัย สะกดชื่อคุณนายแซนด์ฟอร์ดผิดด้วยความเร่งรีบทำคำวินิจฉัย ภายใต้การกดดันของประธานาธิบดี เจมส์ บูคานัน ที่ต้องการให้ปัญหาทาสจบลงเร็วที่สุด เพื่อผลทางการเมืองของตน

คำวินิจฉัยดังกล่าวยังล่วงละเมิดอำนาจของรัฐสภาคองเกรสตามรัฐบัญญัติปรองดองแห่งมิสซูรี (Missouri Compromise Act) ที่ห้ามการมีทาสในรัฐตอนเหนืออีกด้วย โดยการประกาศว่ารัฐบัญญัติดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ

:: ผลกระทบของคำวินิจฉัยนี้ ::

สถาบันศาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ทั้งละเมิดสิทธิ ความเป็นคน และละเมิดอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภา ละเมิดรัฐธรรมนูญของมลรัฐ สื่อมวลชนและนักวิชาการไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยนี้อย่างกว้างขวาง ประชาชนถึงขั้นไม่เชื่อถือในความยุติธรรม และสุดท้าย เมื่อความยุติธรรมหาไม่ได้จากระบบตุลาการอันควรเป็นที่พึ่งสุดท้าย สหรัฐอเมริกาก็ก้าวสู่สงครามกลางเมือง

ทหารและพลเรือนทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้เสียชีวิตราวหกแสนคน

เดร็ด สก็อต เจ้าของคดี หลังจากแพ้คดีก็ต้องกลับไปเป็นทาส และตายด้วยวัณโรค ใน 17 เดือนต่อมาก่อนจะได้เห็นสหรัฐอเมริกาในสงครามกลางเมืองและการเลิกทาส

ส่วนตุลาการคนเขียนคำวินิจฉัย ประธานศาลสูงสุด ผู้พิพากษาโรเจอร์บี ทานีย์ ก็ถึงแก่อนิจกรรมอย่างยากจนและอดอยากเพราะที่ดินถูกภัยสงครามเผาผลาญและยึดครองในวัย 84 ปี วันเดียวกับที่รัฐแมรีแลนด์บ้านเกิดของเขา ประกาศปลดปล่อยทาส

คำวินิจฉัยนี้เป็นบทเรียนและนำมาสู่การปฏิรูประบอบตุลาการในภายหลัง และในที่สุดคำวินิจฉัยนี้ก็ถูกลบล้างไป ด้วยรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 14 และ 15 หลังสงครามกลางเมือง


ธีรภัทร เจริญสุข
-----------------------
สนใจอ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์หอสมุดรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา http://www.loc.gov/rr/program/bib/ourdocs/DredScott.html

′พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย′ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ โต้กกต. ใช้ม.214 เลื่อนเลือกตั้งไม่ได้

′พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย′ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ โต้กกต. ใช้ม.214 เลื่อนเลือกตั้งไม่ได้


 

จากกรณีที่ คณกรรมการการเลือกตั้ง (กกต. ) พยายามใช้ช่องทางตาม  มาตรา 214  ของรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การเลื่อนการเลือกตั้งโดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ ชี้ขาดว่าใครมีอำนาจดังกล่าวโดยอ้างอิงประเด็นว่าด้วย "ความขัดแย้งกันในเรื่องอำนาจหน้าที่" ระหว่าง กกต. และ คณะรัฐมนตรี ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแล้วนั้น

ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 มกราคม  โดยยืนยันว่าไม่สามารถทำได้  การใช้ ม.214  ทำนองดังกล่าวเป็นการใช้ที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากหลักการและเจตจำนงของบท บัญญัตินี้  ซึ่ง ม.214  จะถูกนำมาบังคับใช้ก็ต่อเมื่อเกิดกรณีความขัดแย้งกันขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ อย่างน้อย 2 องค์กรในการใช้ "อำนาจตามรัฐธรรมนูญ" (Conflict of Constitutional Power/Competence) โดยอำนาจที่กำลังขัดแย้งกันนี้ต้องเป็น "อำนาจที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรอง" ให้ไว้เท่านั้น  อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากกรณีปัจจุบัน สิ่งที่ กกต. ได้พยายามให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดคือ "อำนาจในการเลื่อนการเลือกตั้ง" ว่าเป็นอำนาจใคร คำถามคือ อำนาจในการเลื่อนการเลือกตั้งเป็นอำนาจตามรัฐธรรมนูญหรือไม่? นี่เป็นประเด็น หรือองค์ประกอบสำคัญของ ม.214

"ตรงนี้เราจะเห็นได้ว่า "อำนาจในการเลื่อนการเลือกตั้ง" นั้นหาใช่อำนาจที่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรองรับไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง อำนาจในการเลื่อนการเลือกตั้ง "ไม่ใช่อำนาจตามรัฐธรรมนูญ" (ไม่ใช่อำนาจที่ระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญ(ไทย)ยอมรับนับถือว่าสามารถกระทำได้) ไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญใดๆ มีอำนาจในการเลื่อนการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงไม่อาจที่จะใช้ ม.214 โดยอ้างว่ามีความขัดแย้งในเรื่องอำนาจ เพราะ "ไม่มีอำนาจ" ที่จะขัดแย้งกันตามนัยของรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญทำการวินิจฉัยชี้ ขาดนั่นเองครับ"

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1390549614&grpid=03&catid&subcatid 

ศาลรัฐประหาร

ศาลรัฐประหาร

 


 

มติศาล รธน. เลื่อนเลือกตั้งสามารถทำได้ ให้ 'นายกฯ-ประธาน กกต.' หารือกัน


มติเป็นเอกฉันท์ 8 เสียงว่า สามารถเลื่อนการเลือกตั้งได้ ส่วนอำนาจหน้าที่ในการเลื่อนเลือกตั้งนั้น ตุลาการมีมติด้วยคะแนน 7 ต่อ 1 เสียง เห็นว่า ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี และ กกต. โดยประธาน กกต.ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในการหารือ เพื่อออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่

(อ่านต่อ)


Phuttipong Ponganekgul 
Phuttipong Ponganekgul


1.


นี่มันระบอบส้นตีนอะไรกัน คนเรามันหน้าด้านอะไรขนาดนี้
ตุลาการอะไรจะไร้ยางอายแบบนี้ ไม่ละอายแก่ใจล่ะครับ ชวนอาเจียนเสียจริง ไอ้พวกตุลาการชั่วเหล่านี้ จะวินิจฉัยอะไรออกมา จงอายตัวเองบ้าง เตี๊ยมกันมาหมด ทุเรศบัดซบ ไอ้คำร้องของ กกต. มันคือ คำหารือ ไม่ใช่ข้อพิพาท ไม่ใช่เรื่องอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ถ้าตุลาการไปให้คำปรึกษาหารือ แสดงว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ไปทำตัวเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้ กกต. มันระยำตำบอนจนเละไม่มีชิ้นดีแล้ว

2.

[เข้าสู่โหมดงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ตามคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐประหาร] 'คณะตุลาการศาลรัฐประหาร' มีมติ ๘ ต่อ ๐ ให้คณะรัฐมนตรีปรึกษาคณะกรรมการคัดค้านการเลือกตั้ง เพื่อเลื่อนวันเลือกตั้งได้ นี่คือคำวินิจฉัยที่สะท้อนให้เห็นว่า 'ศาลรัฐประหาร' มันมีตุลาการชั่ว ที่ไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง และตุลาการชั่วเหล่านี้จะให้ขยายวันเลือกตั้งไปโดยไม่มีวันสิ้นสุด และต่อไปนี้ใครเป็นรัฐบาลยุบสภาแล้วไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง เขาก็จะเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปได้เรื่อย ๆ ตุลาการชั่วเหล่านี้วินิจฉัยโดยไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้อำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย

แต่ตุลาการชั่วสร้างบทยกเว้นรัฐธรรมนูญบางมาตรา ผ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐประหาร
 

หวังว่า พรรคเพื่อไทย คงไม่เกี้ยเซี้ยยอมถอย ยอมเลื่อนวันเลือกตั้งตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนะครับ  

 


     
 อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล 

ศาล รัฐธรรมนูญชุดนี้ ชอบทิ้ง "เชื้อ" ไว้ ไม่ยอมวินิจฉัย ไม่กำหนดคำบังคับ ไม่สั่ง แต่ทำทีเป็น "แนะนำ" ประจำ ก่อนหน้านั้น ก็เรื่องแก้ รธน วันนี้ ก็มาฟอร์มนี้อีกแล้ว

กปปส คงนำ "คำวินิจฉัย" นี้ไปขับเคลื่อนอย่างสนุกสนานอีกตามเคย
 

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องยืนกรานไม่เลื่อนเลือกตั้ง นะครับ ศาลรัฐธรรมนูญ กับ กกต อยากเลื่อนให้ไปหาวิธีเลื่อนกันเอง เพราะ นายกฯไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะเลื่อนได้ ที่ศาล รธน บอกว่าเลื่อนได้ในประเด็นแรกนั้น ศาล รธน ก็ไม่ได้บอกว่า รธน มาตราไหน และตัวอย่างที่ศาล รธน ยกมา ก็ผิดด้วย