หน้าเว็บ

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

น้ำท่วม ปัญหาของคนรวย ความซวยของคนจน

น้ำท่วม ปัญหาของคนรวย ความซวยของคนจน

 

 

พื้นที่น้ำท่วมกลายเป็นภาพสะท้อนความขัดแย้งทาง ชนชั้นอย่างชัดเจน ยังไม่นับจำนวนคนตกงาน การสูญเสียอาชีพอีกนับแสนๆราย ศักดิ์ศรีความเป็นคนผู้สร้างมูลค่าที่แท้ให้แก่สังคมไทย ในฐานะพลังผลิตที่ต้องสูญสลายหายไปกับสายน้ำ

น้ำท่วม ปัญหาของคนรวย ความซวยของคนจน
กรุงเทพฯ เมืองหลวงของไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร?? 


โดย ยังดี โดมพระจันทร์ 

เพลงเรือ เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันในฤดูน้ำหลาก ร้องเล่นกลางลำน้ำโดยพ่อเพลงและแม่เพลงอยู่คนละลำ จังหวัดที่เล่นเพลงเรือ ได้แก่ จังหวัดริมแม่น้ำภาคกลาง อย่าง อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี และพิษณุโลก เพลงเรือส่วนใหญ่จะถนัดร้องบทเชิงชู้

.......นี่คือตัวอย่างการร้องเล่นจากวิกิลีกส์.....

(ชาย) ลงเรือลอยล่องร้องทำนองเพลงเกริ่น
แสนเสนาะเพลิน (ฮ้าไฮ้) จับใจ ชะ

มาพบเรือสาวรุ่นราวสคราญ                
แสนที่จะเบิกบาน (ฮ้าไฮ้) หทัย ชะ

จึงโผเรือเทียบเข้าไปเลียบข้างลำ      
แล้วก็เอ่ยถ้อยคำ (ฮ้าไฮ้) ปราศรัย ชะ

แม่เพื่อนเรือลอยแม่อย่าน้อยน้ำจิต      
พี่ขอถามเจ้าสักนิด (ฮ้าไฮ้) เป็นไร ชะ

แม่พายเรือลัดแม่จะตัดทุ่งไกล          
แม่จะไปทางไหน (เอย) น้อยเอย

(ลูกคู่) เชียะ เชียะ นอระนอย ระนอย ระนอย  
เชียะ เชียะ ฮ้าไฮ้

.....ยังดี เลยเขียนคำร้องใหม่ตอบไปว่า....

(หญิง) ลงเรือลอยล่องร้องทำนองเพลงเพลิน
ยังขาดๆเกินๆ (ฮ้าไฮ้) หรือไร ชะ

พ่อน้ำท่วมทุ่ง มุ่งท่วมลาน        
ท่วมกันทุกบ้าน (ฮ้าไฮ้) มาแต่ไหน ชะ

คนจนหรือจะเทียบไม่กล้าเลียบข้างลำ      
พ่อสวมสร้อยทองร้องรำ (ฮ้าไฮ้) ปราศรัย ชะ

กระเบื้องจะลอยน้ำเต้าน้อยค่อยถอยจม      
เมื่อไรจะสุขสม (ฮ้าไฮ้) เป็นไท ชะ

ชนชั้นคือช่องว่างถ่างเรือไปไกล      
พ่ออย่ามาปลอบใจ (เอย) หน่อยเลย

(ลูกคู่) เชียะ เชียะ นอระนอย ระนอย ระนอย  
เชียะ เชียะ ฮ้าไฮ้

ชุมชนในฝัน มันไม่มีจริง                  

หลายคนเคยสงสัยว่าบ้านทรงไทยทำไมใต้ถุนสูงนัก โดยเฉพาะบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีเรือผูกไว้  พอใกล้ฤดูน้ำหลาก ก็เริ่มกักตุนอาหาร เตรียมเครื่องมือตะข่ายไว้หาปลา นำเรือมาซ่อมแซม น้ำสูงท่วมหัวเด็กๆ เล่นน้ำไปตามลำคลอง ในอดีตธรรมชาติเกิดขึ้นเช่นนี้ทุกปีสำหรับผู้มีชีวิตริมน้ำ แต่ในท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น ภาระหนักตกอยู่บนบ่าของทาสไพร่ที่ขวนขวาย จัดหา ข้าวของมาปรนเปรอเจ้านายในยามน้ำหลาก การร้องเพลงเรือจึงเป็นเพียงการปลอบประโลมใจ และความบันเทิงง่ายๆที่ไม่ต้องซื้อหา
                 
คนที่ไม่เจอเข้ากับตัวจะไม่รู้สึกว่า "น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติ"  เมืองใหญ่ๆ ที่มีการค้าขายตั้งอยู่ริมน้ำ หรือตามที่ราบลุ่ม มีเรือพายนำข้าวของจากเรือกสวนมาขายตามบ้านดูสงบร่มเย็นอย่างชีวิตชุมชน อัมพวาในอดีต แต่จะลงแรงกี่มากน้อยระหว่าง เจ้าของสวน เจ้าของโรงสี กับแม่ค้ารายย่อย และคนงานแบกหามตามท่าน้ำ กลับไม่มีใครพูดถึง...วนเวียนอยู่เช่นนี้ จนวันนี้มีโรงแรม รีสอร์ท ไปสร้างแทนที่ ความสนใจ คำถาม

จึงพรั่งพรูมาว่า ชุมชนในฝัน มันไม่มีจริง มีแต่กลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ และแรงงานที่ผู้คนหลงลืม 


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/10/blog-post_16.html

Wake up Thailand ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2555

Wake up Thailand ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2555


ภตช. สาวได้สาวเอา 

ภตช. สาวได้สาวเอา


(อ่านต่อ)
http://www.dailymotion.com/video/xudvqo

นักการเมืองสหรัฐฯใช้ Twitter ระดมทุน

นักการเมืองสหรัฐฯใช้ Twitter ระดมทุน

 


นักการเมืองสหรัฐฯใช้ Twitter ระดมทุน

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xued7c_

Divas Cafe ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2555 

 

เจแปรรูปเสมือน..กินเปลือก หรือ แก่น !!

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xue5rh

รำลึก 82 ปี "จิตร ภูมิศักดิ์" นักปฏิวัติสามัญชน

รำลึก 82 ปี "จิตร ภูมิศักดิ์" นักปฏิวัติสามัญชน


เพื่อลบรอยคราบน้ำตาประชาราษฎร์
สักพันชาติจักสู้ม้วยด้วยหฤหรรษ์
แม้นชีพใหม่มีเหมือนหวังอีกครั้งครัน
จักน้อมพลีชีพนั้นเพื่อมวลชน

 

บทกวีข้างต้นเป็นของ อาเวตีก อีสากยัน (Awetik Issaakjan) กวีชาวอาร์เมเนีย เป็นหนึ่งในบทกวียอดนิยมที่ถูกนำไปสกรีนบนเสื้อยืดเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองมานักต่อนัก

จนกล่าวได้ว่าหากเป็นคอการเมือง คงไม่มีใครไม่เคยผ่านตา หรือรับรู้เรื่องราวของผู้แปลกวีบทนี้ ที่ชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์


อย่างไรก็ดี เรื่องราวและผลงานของจิตรยังคงเป็นที่รับรู้กันในวงจำกัด และบางช่วงบางตอนถูกบิดเบือน กระทั่งกลบฝังให้ตายไปจากสังคมอย่างจงใจ

ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะเขาเปรียบเป็นภาพแทนของนักสู้เพื่อประชาชน ทว่าเป็นปีศาจที่หลอกหลอนบรรดาชนชั้นนำผู้มีอำนาจ
 


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1350348102&grpid=&catid=02&subcatid=0200

ทำไมการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ จึงจะเป็นผลดีแก่เศรษฐกิจไทย

ทำไมการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ จึงจะเป็นผลดีแก่เศรษฐกิจไทย


โดย  อ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร

 
กระแส ต้านนโยบายเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท จากฝ่ายธนาคาร นายจ้าง และนักเศรษฐศาสตร์บางคน ให้เหตุผลว่าจะเป็นผลเสียกับเศรษฐกิจไทย โดยจะลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะค่าจ้างที่สูงขึ้นจะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กล่มสลาย และนักลงทุนทั้งต่างชาติและไทยจะย้ายโรงงานไปยังประเทศที่ค่าจ้างต่ำกว่า เช่น ลาว พม่า เขมร ฯลฯ

ความเชื่อนี้เป็นไปตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ที่ว่าค่าจ้างต่ำจะลดต้นทุนของค่าแรงทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการลงทุนเพิ่ม และทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต

แต่นัก เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า วิธีคิดแบบนี้ล้าสมัย และความเชื่อเช่นนี้อันที่จริงจะปิดกั้นไม่ให้ประเทศที่ตกอยู่ในกับดักราย ได้ปานกลาง เช่น ไทย ได้มีโอกาสก้าวพ้นกับดักนี้ไป และจะไม่สามารถถีบตัวให้ก้าวเป็นประเทศที่มีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น จนเป็นสังคมที่มีการกระจายรายได้ที่เสมอภาคกันได้

เหตุผลที่สำคัญ อธิบายได้ว่า นโยบายเก็บค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับคนงานระดับโรงงานให้ต่ำเอาไว้นั้น กลับยอมให้ค่าจ้างของพวกนักวิชาชีพ ผู้บริหารระดับสูงและบรรดาฝ่ายผู้จัดการทั้งหลายสามารถเพิ่มค่าตอบแทนได้ อย่างเสรีกว่ามากจนถูกวิจารณ์ (โดยเฉพาะในกรณีของภาคการเงิน) ว่า พวกเขาได้ค่าตอบแทนเกินกว่าความสามารถ เพราะว่าพวกเขาเป็นผู้กำหนดค่าตอบแทนเหล่านั้นเอง และยังเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการลดทอนบทบาทของสหภาพแรงงานของคนงานโรงงาน

ผล ที่ตามมา คือ ช่องว่างของค่าจ้างระหว่างคนงานโรงงานกับพวกนักวิชาชีพทั้งหลายจะถ่างสูง ขึ้นมากๆ จนเกินกว่าที่จะอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผล เมืองไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ยอมให้มีโครงสร้างค่าจ้างที่เหลื่อมล้ำสูง เช่นนั้น

นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ถึงผลเสียของความเหลื่อมล้ำด้าน ค่าจ้างแรงงานที่สูง ตามทฤษฎีเรียกว่า Meidnes-Renh โมเดล ตามชื่อของนักเศรษฐศาสตร์ชาวสวีเดนที่คิดทฤษฎีนี้ เขาเสนอว่าเศรษฐกิจที่ค่าจ้างมีความเหลื่อมล้ำสูง ส่งผลให้ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำยังอยู่ได้ ด้วยการจ้างคนงานทักษะน้อยแล้วให้ค่าจ้างน้อยกว่าธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสูงก ว่า เมื่อสามารถทำเช่นนั้นได้ ก็จะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำคงอยู่ต่อไป

ผล ที่ตามมาก็คือ ธุรกิจใช้เทคโนโลยีต่ำจะยังคงสามารถอยู่ได้ โดยไม่ปรับปรุงเทคโนโลยี เมื่อเวลาผ่านไป เศรษฐกิจนั้นก็จะเข้าสู่ภาวะที่มีผลิตภาพคนงานต่ำ (low productivity) และมาตรฐานการครองชีพจะลดต่ำลงในที่สุด

ร่วมรณรงค์กดดัน ‘กาตาร์’ เคารพสิทธิแรงงานสร้างสนาม ‘ฟุตบอลโลก 2022’

ร่วมรณรงค์กดดัน ‘กาตาร์’ เคารพสิทธิแรงงานสร้างสนาม ‘ฟุตบอลโลก 2022’

 


 
แรงงานข้ามชาติอันเป็นกำลังหลักในการก่อสร้าง สนามการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่กาตาร์ กำลังประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานเพื่อทำ การเจรจาต่อรอง รวมถึงความเสี่ยงอันตรายในการทำงาน (ที่มาภาพ: ITUC)



16 ต.ค. 55 – ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาเว็บไซต์ equaltimes.org เปิดการรณรงค์ ‘No Workers Rights, No World Cup‘ ให้ผู้ท่องอินเตอร์เน็ตสามารถลงชื่อเพื่อร่วมกันกดดันให้รัฐบาลกาตาร์ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี ค.ศ.2022 คำนึงถึงสิทธิคนงานก่อสร้างสนามฟุตบอล

equaltimes.org ระบุว่ากาตาร์ทุ่มงบประมาณในการสร้างสนามและสาธรณูปโภคในการรองรับการแข่ง ขันฟุตบอลโลกถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่แรงงานกว่า 1.2 ล้านคนในประเทศกลับยังมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานเพื่อทำการเจรจาต่อรอง และแรงงานกว่า 94% ในกาตาร์ ยังเป็นแรงงานข้ามชาติที่มักถูกละเมิดสิทธิในที่ทำงาน รวมถึงต้องเผชิญกับปัญหาด้านความปลอดภัยในการทำงาน

โดยเฉพาะแรงงานชาวเนปาลที่มีรายงานข่าวว่าเสียชีวิตเกือบ 200 คนทุกปีที่กาตาร์ นอกจากนี้ยังมีแรงงานข้ามชาติจากย่านเอเชียใต้ อย่าง อินเดีย, ศรีลังกา, ปากีสถาน และบังกลาเทศ ที่มักจะประสบอุบัติเหตุจากการทำงานในกาตาร์อยู่เนืองๆ

(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43199

มติศาล รธน.และการหลอกตัวเองว่า ‘ประชาชนมีเสรีภาพตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมา

มติศาล รธน.และการหลอกตัวเองว่า ‘ประชาชนมีเสรีภาพตรวจสอบบุคคลสาธารณะระดับรัฐบาลลงมา

 


Photo
โดย นักปรัชญาชายขอบ



คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เผยแพร่เมื่อ 10 ตุลาคมที่ผ่านมาโดยฝ่ายประชาสัมพันธ์ศาลรัฐธรรมนูญ ความตอนหนึ่งว่า

“...อีกทั้งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เป็นการทั่วไป ไม่ได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็น การเจาะจง และไม่ได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรคหนึ่งแต่ประการใด เพราะบุคคลทุกคนยังมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในขอบเขตที่ไม่เป็นความ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 และมาตรา 45 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 29 และมาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสอง” (http://www.prachatai.com/journal/2012/1043096)

คำวินิจฉัยดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ‘ม.112 คืออภิรัฐธรรมนูญ’ เพราะความหมายและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ของประชาชน ย่อมหมายถึงการรับรองสิทธิเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน แต่คำวินิจฉัยที่ว่า “...เพราะบุคคลทุกคนยังมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในขอบเขตที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้” ทำให้สิทธิเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน ‘ถูกจำกัด’ ด้วย ม.112 ฉะนั้น ม.112 จึงเหนือกว่ารัฐธรรมนูญ

การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “(ม.112) ไม่ได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งเสรีภาพใน การแสดงความคิดเห็นของบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 วรรคหนึ่งแต่ประการใด เพราะบุคคลทุกคนยังมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายในขอบเขตที่ไม่เป็นความ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นี้” คำวินิจฉัยนี้สามารถตีความได้ว่า “ประชาชน มีเสรีภาพวิจารณ์ตรวจสอบบุคคลสาธารณะตั้งแต่ระดับรัฐบาลลงมาได้อย่างเต็มที่ ตามหลักประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน ยกเว้นสถาบันกษัตริย์”

แต่เป็นเช่นนั้นจริงหรือ? สมมติว่าประชาชนต้องการตรวจสอบ ‘ความจริงว่า’ ว่า พลเอกสนธิตัดสินใจทำรัฐประหารด้วยตนเองหรือมีเบื้องหลังหรือไม่ อย่างไร พลเอกเปรมเกี่ยวข้องกับรัฐประหารหรือไม่ อย่างไร ทำไมอภิสิทธิ์ สุเทพ พลเอกประยุทธ์จึงกล้าสั่งใช้กำลังพล อาวุธจริง กระสุนจริงจำนวนมากขนาดนั้น พร้อมๆ กับมีการอ้าง ‘ผังล้มเจ้าปลอม’ สลายการชุมนุมของประชาชน ความกล้าใช้อำนาจเช่นนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังอะไรหรือไม่ อย่างไร หรือแม้กระทั่งประชาชนต้องการสรุปความจริงให้ชัดแจ้งว่า ‘ทักษิณคือต้นตอของปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดจริงหรือไม่?’ ฯลฯ

แน่นอนว่า ในทางหลักวิชาการนั้น การที่เราจะ ‘รู้’ ความจริงต่างๆ ดังกล่าวนั้น จำเป็นต้องพูดถึง อภิปราย แสดงพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริงทุกด้านให้สมบูรณ์ที่สุด และตรวจสอบความเชื่อมโยงกับ ‘บริบทที่เกี่ยวข้อง’ ทั้งหมด เช่น ความเคลื่อนไหวของ พธม.คนเสื้อเหลือง นปช.คนเสื้อแดง ฯลฯ และเป็นความจริงว่าในบรรดาบริบทที่เกี่ยวข้องต่างๆ นั้น มีความเกี่ยวข้องกับ ‘บริบทสถาบัน’ ในแง่ใดแง่หนึ่งอยู่ด้วยในระดับที่แน่นอนหนึ่ง (เพราะต่างฝ่ายต่างอ้างถึง/พาดพิงสถาบัน เช่น เราจะสู้เพื่อในหลวง หรืออ้างว่าต้องทำรัฐประหารเพื่อปกป้องสถาบัน สลายการชุมนุมเพื่อปกป้องสถาบันหลักของชาติ ฯลฯ)

ทว่าเมื่อพูดถึง อภิปราย หรือจะแสวงหาข้อเท็จจริง หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับบริบทสถาบันก็ย่อม ‘ถูกบล็อก’ โดย ม.112 ให้สามารถสรุปได้เพียงว่า “มีการอ้างสถาบัน พาดพิงสถาบันในการต่อสู้ทางการเมือง ทำรัฐประหารจริง แต่สถาบันไม่เกี่ยวอะไรด้วย” ใน ทางวิชาการข้อสรุปเช่นนี้จึงมีความหมายเป็นเพียง ‘ความเชื่อ’ ไม่ใช่ ‘ความจริง’ หรือข้อเท็จจริงที่ผ่านการพิสูจน์อย่างเป็นสาธารณะ มันจึงกลายเป็นปัญหาตามมาว่า มี ‘ฝ่ายที่เชื่อ’ กับ ‘ฝ่ายที่ไม่เชื่อ’ แต่ละฝ่ายต่างก็ไม่สามารถแสดงหลักฐาน ข้อเท็จจริง มายืนยันความเชื่อของตนได้อย่างเป็นสาธารณะ

ที่นี่ความจริง ศาลปกครองในระยะเปลี่ยนผ่าน 16 10 2012

ที่นี่ความจริง ศาลปกครองในระยะเปลี่ยนผ่าน 16 10 2012

 

 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=BA6Y36yngxU

เทศกาลกินเจในฐานะการอุปโลกน์ความดีของมนุษย์

เทศกาลกินเจในฐานะการอุปโลกน์ความดีของมนุษย์

 



















โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์
@PravitR



ผู้เขียนไม่อยากขัดจังหวะขบวนการเทศกาลกินเจ แบบ 10 วันทำได้ แต่อยากถามว่า คุณได้ยินเสียงพืชผักกรีดร้องขอชีวิตดังมากขึ้นในช่วงนี้หรือเปล่า? และก็สงสัยว่าคนจำนวนมากที่ต้องการอิ่มบุญ ชำระใจหรือทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์โดยการกินเจ ตระหนักหรือไม่ว่าเทศกาลกินเจก็คือเทศกาลสังหารหมู่พืชผัก?

การกินเจในฐานะการ ‘ละบาป’ นั้น แท้จริงแล้วเป็นการละบาปจากมุมมองที่มีมนุษย์เป็นที่ตั้งในฐานะศูนย์กลางจักรวาล (homo-centric view)

การให้ค่าสัตว์สูงกว่าสิ่งมีชีวิตอย่างพืชผักหรือแม้กระทั่งสิ่งมีชีวิต แบบเซลล์เดี่ยว เป็นการจัดลำดับให้คุณค่าจากมุมมองมนุษย์ และสะท้อนความรู้สึกเอื้ออาทรห่วงใยต่อสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะใกล้เคียง มนุษย์ ซึ่งในแง่นี้ สัตว์ย่อมใกล้เคียงและละม้ายคล้ายมนุษย์มากกว่าพืชอย่างปฏิเสธมิได้ และหากพืชผักกรีดร้องอย่างโหยหวนได้ เทศกาลกินเจคงไม่สามารถถือเป็นเทศกาลบุญได้อย่างแน่แท้

หากมองให้กว้างไปกว่าเรื่องการกินเจ ก็จะเห็นได้ว่ามนุษย์มักห่วงใยผูกพันธ์กับผู้คนที่มีลักษณะทางชนชั้น ความคิดอุดมการณ์  เพศภาพ เชื้อชาติ ภูมิภาค ภาษา ฯลฯ ที่เหมือนตนมากกว่าคนที่แตกต่างจากตน

คนหรือสิ่งมีชีวิตยิ่งต่างจากเราเท่าไหร่ เราก็มักยอมรับได้หากจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบหรือแม้กระทั่งฆ่าแกงสิ่งมี ชีวิตเหล่านั้น อย่างที่ทำกับสัตว์และพืชผักเป็นประจำ หรือแม้กระทั่งอย่างที่คนสะใจกับความบาดเจ็บล้มตายของคนต่างอุดมการณ์ต่างสี เสื้อในยุคปัจจุบัน หรือพอใจกับการบาดเจ็บและล้มตายของ ‘ศัตรูคู่อริของชาติ’ อย่าง ‘โจรใต้’ หรือเห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต เพราะเชื่อว่าคนที่ถูกประหารนั้นเลว และต่างจากเรา