วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555
80 ปี ประชาธิปไตยไทย ของคนรุ่นใหม่
80 ปี ประชาธิปไตยไทย ของคนรุ่นใหม่
Hot Topic ทาง VoiceTV
ประจำวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555
รายการ Hot Topic วันนี้ (22มิ.ย.55)
ประจำวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555
รายการ Hot Topic วันนี้ (22มิ.ย.55)
ร่วมพูดคุยกับนายนัทเดช และนายดิน บัวแดง สมาชิกคณะราษฎรที่ 2 ถึงการจัดกิจกรรมประกอบด้วยนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมตัวภายใต้ชื่อกลุ่ม "คณะราษฎร ชุดที่ 2 ต่อต้านอำนาจนอกระบบ" เพื่อแสดงเจตจำนงในการส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มาอำนาจประชาชนที่แท้จริง และแสดงเป็นคณะราษฎรเพื่อสะท้อนสิ่งที่คณะราษฎรคิด แล้วนำหลักการ
ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้สื่อสารผ่านทางกิจกรรมเชิง "สัญลักษณ์" เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความสนใจในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และส่งเสริมให้คนได้เข้าใจมุมมองของคณะราษฎรที่ถูกต้องตามประวัติศาสตร์มากขึ้น
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=ForcaLF9TTY&feature=youtu.be
ชมภาพชุด 24 มิ.ย.55 นปช.ชุมนุมคึกคัก “80 ปียังไม่มีประชาธิปไตย”
ชมภาพชุด 24 มิ.ย.55 นปช.ชุมนุมคึกคัก “80 ปียังไม่มีประชาธิปไตย”
เมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.วันที่ 24
มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.
ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิไตย ภายใต้ชื่อ งาน 80 ปียังไม่มีประชาธิปไตย
เนื่องในโอกาสครบรอบ 80
ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีมวลชนกลุ่ม นปช.
คนเสื้อแดงเดินทางเข้าร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก
ขณะที่แกนนำคนสำคัญของ นปช. อย่างนางธิดา ถาวรเศษฐ์ ประธาน นปช.
นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ โฆษก นปช. นายแพทย์เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว
พิกุลทอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย และนายวีระกานต์ มุสิกพงษ์ อดีตประธาน นปช.
ต่างทยอยเดินทางมาร่วมปราศรัย(ภาพ:ข่าวสดออนไลน์)
(ที่มา)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340550563&grpid=01&catid=&subcatid=
ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ 2
ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ 2
กองทัพต้องยุติบทบาททางการ
เมือง,ต้องดำเนินคดีแก่คนที่สั่งฆ่าประชาชน,ผลักดันรวมตัวและการเจรจาต่อรอง
ของคนงาน ความยุติธรรมต้องเสมอกัน,หยุดใช้ ม. 112
ปล่อยนักโทษการเมืองและให้เสรีภาพในทางวิชาการและให้การศึกษาอย่างเต็มที่
แก่ราษฎร
และหลังจากนั้น ได้มีการอ่านหลัก 6 ประการใหม่ของคณาราษฎรที่ 2 ที่มีการปรับเข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน ดังนี้
หลักประการที่ ๑ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักเอกราช
เอกราช หมายถึง ความเป็นอิสระแก่ตน ไม่ขึ้นต่อผู้อื่น
ในการอภิวัฒน์เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
คณะราษฎรได้ประกาศหลักประการแรกในการปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตยว่า
“จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล
ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง”
เมื่อพิจารณาจากสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น
ความเป็นเอกราชที่คณะราษฎรมุ่งหวังจะรักษาคงจะหมายถึงการที่ประเทศสยามต้อง
ไม่เป็นเมืองขึ้นต่อประเทศอื่นใด เช่น ไม่สูญเสียดินแดนของประเทศ
ไม่เป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ไม่เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
เป็นต้น เนื่องจากสยามนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางดินแดนของจักรวรรดิต่างๆ
ประกอบกับในเวลานั้นได้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ไปทั่วโลก
และรัฐบาลกษัตริย์ที่เคยใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยก็ไม่สามารถแก้ปัญหา
เศรษฐกิจได้
ทำให้ประเทศสุ่มเสี่ยงที่ล้มละลายและอาจตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติได้
ซึ่งหากสยามตกเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่น
การบริหารประเทศก็ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของชาตินั้น
ไม่อาจทำเพื่อประโยชน์ของราษฎรสยามได้เลย
มาถึงวันนี้ ๘๐ ปีผ่านไป สถานการณ์โลกดำเนินไปสู่การแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี มีกฎกติกาสากลที่จะคอยป้องกันมิให้ประเทศใดรุกรานประเทศอื่น อีกทั้งประเทศไทยยังมีเศรษฐกิจที่มั่นคง ยังมีทุนสำรองอยู่เป็นจำนวนมาก มิได้ประสบปัญหาถึงขนาดที่จะเอาตัวไม่รอด สิ่งเหล่านี้จึงเป็นหลักประกันในความเป็นเอกราชของประเทศไทย แต่ในขณะที่ประเทศเป็นเอกราชนั้น ยังมีสิ่งซึ่งเป็นเสาหลักของระบอบประชาธิปไตยที่ตลอด ๘๐ ปีที่ผ่านมาถูกแทรกแซงอยู่เสมอ ไม่ได้มีเอกราชไปด้วย นั่นคือองค์กรที่มีหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตย และองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ เปรียบเสมือนผลไม้ที่เปลือกนอกสวยงามแต่มีเนื้อในที่เน่าเฟะ ระบอบประชาธิปไตยได้กำหนดอำนาจอธิปไตยไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งการใช้อำนาจเป็นสามส่วน ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจ อำนาจบริหารมีรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจ และอำนาจตุลาการมีศาลเป็นผู้ใช้อำนาจ อำนาจทั้งสามนี้จะทำหน้าที่ของตัวเองและคอยถ่วงดุลมิให้อำนาจอื่นมีมากเกิน ไปตามที่กฎหมายกำหนด และเนื่องจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่อำนาจเป็นของราษฎร อำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตยจึงต้องใช้เพื่อประโยชน์ของราษฏร แต่ในความเป็นจริงกลับมีการแทรกแซงและขัดขวางมิให้เป็นไปตามนั้น การแทรกแซงนี้เกิดโดยการที่กลุ่มคนที่คิดว่าตนเหนือกว่าผู้อื่น และต้องการมีอำนาจในสังคม เช่น ทหาร นายทุนนักธุรกิจ หรือผู้มีสถานะทางสังคมสูงส่ง เป็นต้น ได้บงการบุคลากรขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตย และองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ให้ใช้อำนาจสนองความต้องการของพวกตน และบุคลากรผู้ไม่มีใจเป็นประชาธิปไตยก็ได้ศิโรราบยอมเป็นเครื่องมือของอำนาจ นอกระบบเหล่านั้น มีทั้งการดำเนินนโยบายที่เป็นประโยชน์แก่อำนาจนอกระบบ การไม่เข้าร่วมประชุมสภา หรือการถ่วงดุลการใช้อำนาจอื่นอย่างเกินขอบเขตที่จะกระทำได้ มีการอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายและการตีความกฎหมายเข้าข้างตนเองเพื่อสร้างความ ชอบธรรมแก่การกระทำเหล่านั้น นอกจากนี้อำนาจนอกระบบยังใช้วิธีการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาขัดขวางการ ใช้อำนาจอธิปไตย เช่น การรัฐประหาร การชุมนุมประท้วงโดยผิดกฎหมายเพื่อขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรผู้ใช้ อำนาจอธิปไตย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้อำนาจอธิปไตยขาดเอกราช ต้องไปรับใช้อำนาจนอกระบบ ไม่อาจสร้างประโยชน์สุขแก่ราษฏรได้ ด้วยเหตุนี้ คณะราษฎรที่สอง ต่อต้านอำนาจนอกระบบ จึงมีข้อเรียกร้องเพื่อให้เกิดเอกราชดังนี้
๑.
บุคลากรขององค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยและองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ
จักต้องหยุดทำตัวเป็นขี้ข้ารับใช้อำนาจนอกระบบ
และใช้อำนาจของท่านโดยยึดหลักประชาธิปไตย
ท่านเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดของประเทศ ไม่มีอำนาจใดที่เหนือไปกว่านี้
๒.
กต้องปลูกฝังค่านิยมในการใช้อำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตยเป็นวิธีการ
ปกครองและแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศ
และกำจัดค่านิยมในการใช้วิธีการอื่นหรือการขัดขวางการใช้อำนาจอธิปไตยทุกรูป
แบบ
๓. กองทัพจักต้องยุติบทบาททางการเมือง เนื่องจากตลอด ๘๐
ปีที่ผ่านมา
กองทัพเป็นเครื่องมือที่สำคัญของอำนาจนอกระบบในการทำลายความเป็นเอกราชของ
อำนาจอธิปไตยแห่งระบอบประชาธิปไตย
๔. การถ่วงดุลกันระหว่างอำนาจอธิปไตยจักต้องไม่มากเกินส่วนที่กฎหมายกำหนด โดยการตีความกฎหมายต้องเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง
๕.
สื่อจักต้องนำเสนอข่าวการกระทำที่เป็นการทำให้เอกราชของอำนาจอธิปไตยและ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องเสื่อมเสียไป โดยให้ข้อมูลละเอียดครบถ้วน
และแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านการกระทำเหล่านั้น
ราษฎรทั้งหลายจงร่วมกันรักษาเอกราชของอำนาจอธิปไตยแห่งระบอบ
ประชาธิปไตย
เพื่อให้เป็นอำนาจที่บริสุทธิ์ที่มุ่งใช้เพื่อประโยชน์สุขแก่ราษฎรเอง
ให้ประเทศไทยได้มีเอกราชอย่างแท้จริง
|
หลักประการที่ ๒ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักความปลอดภัย
“จงพึงระลึกไว้ว่าประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของพวกเจ้าอย่างที่หลอกลวงกัน”
เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความยุติธรรมและประชาธิปไตย
คือหลักความมั่นคงและความปลอดภัยของพลเมืองชาวสยาม
ราษฎรทั้งหลาย คนเรานั้นเกิดมาใยแตกต่างกัน?
ทำไมคนเราถึงได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยที่ไม่เท่ากัน?
ทั้งๆที่คนเรานั้นเป็นมนุษย์เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็นชาติเดียวกัน
อาจแตกต่างกันบ้างในด้านความร่ำรวย หรือชื่อเสียงเกียรติยศ
แต่นั่นทำให้เขาได้รับความปลอดภัยแตกต่างกันหรือ?
ราษฎรทั้งหลาย เราต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ อุดมการณ์ที่เราหวังว่าสักวันหนึ่งชีวิตของเราจะดีขึ้น ผิดหรือที่เราต้องการประชาธิปไตย ผิดหรือที่เราเกิดมาเป็นคนไทย และเราเป็นกบฎหรือที่เราเรียกร้องในสิ่งที่เราควรได้ เราทำสิ่งต่างๆเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เจริญงอกงาม แต่คนบางกลุ่มซึ่งได้รับผลต่างๆจากสิ่งที่เราทำ ทั้งๆที่เราทำประโยชน์ต่อพวกเขา แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับฆ่าพวกเรา ฆ่าพวกเราดั่งผักปลา พวกเขาคือทรราชย์ของแผ่นดิน ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐต้องให้ความคุ้มครองต่อราษฎร แต่เขาเหล่านั้นกลับมองมาและฆ่าพวกเราดั่งไม่ใช่คนชาติเดียวกัน ราษฎรทั้งหลาย พี่น้องเรานั้นต่อสู้เพื่ออนาคตของประเทศที่จะเบ่งบานในวันข้างหน้า เราเรียกร้องสิทธิของเราที่ควรจะได้รับความความคุ้มครองมาตั้งแต่กำเนิด สิทธิที่ว่านั้นคือ สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองความปลอดภัย ความปลอดภัยที่ไม่ใช่ลูกปืน ไม่มีประเทศใดที่ผู้มีอำนาจจะสั่งฆ่าประชาชนแล้วยังดำรงอยู่ในอำนาจต่อไปได้ เป็นเวลานานเช่นนี้ แม้กระทั่งพระเจ้าซาร์รัสเซียเองที่สั่งฆ่าประชาชนก็มิอาจจะดำรงอยู่ในอำนาจ ได้ แต่เพราะเหตุใดเล่า บุคคลที่สั่งฆ่าประชาชนทั้งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 6ตุลา หรือเมษาเลือด ถึงยังดำรงอยู่ในอำนาจได้
คณะราษฎรที่ 2 ไม่ได้มาที่นี่เพื่อแย่งอำนาจจากผู้ใด คณะราษฎรที่ 2
มาที่นี้เพื่อเรียกร้อง เรียกร้องความปลอดภัย
ความปลอดภัยที่ราษฎรจักต้องได้
ไม่ใช่คำหลอกลวงและการโฆษณาว่าราษฎรจักได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
จักได้รับการดูแลให้ชีวิตดีขึ้น
แต่ชีวิตของราษฎรจะได้รับความปลอดภัยไม่ได้หากยังมีอำนาจนอกระบบที่คอยสั่ง
ฆ่าประชาชน
คณะราษฎรที่ 2 จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้
1. ปกป้องประเทศโดยการปกป้องชีวิต อิสรภาพและรัฐธรรมนูญของพลเมืองทุกท่าน ให้ปลอดภัย
2.
ต้องมีหลักประกันที่ทำให้พลเมืองทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีและเป็นธรรมทุก
ด้าน ไม่มีอภิสิทธิ์ให้กับคนหนึ่งคนใดหรือกลุ่มคนใดโดยเฉพาะ
ไม่ว่าจะมียศถาบรรดาศักดิ์ มีฐานะชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมมากมายเพียงใด
ไม่เว้นแม้แต่พวกเจ้าและโครงข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
3. ต้องเคารพหลักการสากลที่ส่งเสริมนิติรัฐ
ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง
ซึ่งนานาอารยประเทศยึดถือปฏิบัติทุกข้อ
4.
จะต้องสร้างความเป็นธรรมแก่ราษฎรที่สูญเสียต่อการกระทำของผู้มีอำนาจนอกระบบ
ที่สั่งฆ่าประชาชน
เพราะรัฐบาลไม่ได้ให้ความคุ้มครองความปลอดภัยแก่ประชาชนเท่าที่ควร
5.
จักต้องมีการดำเนินคดีแก่คนที่สั่งฆ่าประชาชนตลอดจนทำลายอำนาจนอกระบบที่
เป็นสาเหตุของการที่ประชาชนไม่ได้รับความปลอดภัย
ขอให้รัฐบาลรู้เถิดว่า ท่านจงอย่ากลัว
อย่ากลัวที่จะอยู่เคียงข้างประชาชน อย่ากลัวที่จะทำลายอำนาจนอกระบบ
เพราะประชาชนอยู่เคียงข้างท่านแล้ว
แต่หากท่านหาได้ดำเนินการเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับ
ความอยุติธรรมแล้วไซร้ รัฐบาลก็หามีความชอบธรรมที่จะดำรงอยู่ต่อไปไม่
|
หลักประการที่ ๓ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักเศรษฐกิจ
ราษฏรทั้งหลาย
เมื่อรัฐบาลชุดนี้ได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาลในสภา ราษฎรบางคนได้มีความหวังว่านโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ ที่ได้ให้คำมั่นเอาไว้ก่อนเลือกตั้งจะช่วยให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังไม่ ราคาสินค้าเกษตรยังคงตกต่ำ ข้าวของราคาแพง ค่าแรงยังคงน้อย ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ รัฐบาลอันมาจากการเลือกตั้งของราษฎรยังคงไม่ฟังเสียงของราษฎร แต่กลับยกพวกพ่อค้าวานิช นายทุนผู้มีอันจะกินให้มีสิทธิ์พิเศษมากกว่าราษฎร ปล่อยให้เกษตรกร และแรงงานถูกกดขี่ข่มเหงตามยถากรรม
การที่แก้ไขไม่ได้
ก็เพราะนโยบายเศรษฐกิจทั้งปวงนั้นมิได้เป็นไปเพื่อราษฎรแต่เป็นไปเพื่ออุ้ม
ชูเหล่าคหบดีนายจ้าง และเพื่อประโยชน์แห่งชนชั้นนำผู้ถือหุ้น
เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับปล่อยให้นายทุนทำนาบนหลังราษฎร
จะเห็นได้ว่าน้ำมันซึ่งสมควรจะเป็นสมบัติสาธารณะอันราษฎรพึงมีสิทธิ์ที่จะ
ได้ใช้ในราคาถูกอีกทั้งยังเป็นต้นทุนของสินค้าทั้งปวงกลับถูกผูกขาดจนน้ำมัน
มีราคาแพงเกินจริง
ทั้งบรรษัทที่กุมท่อส่งและโรงกลั่นก็ยังไปเข้ากับเชฟรอนอันเป็นบรรษัทต่าง
ชาติเสีย
ไม่มีชนชาติใดที่ผลิตน้ำมันเองได้กว่ากึ่งหนึ่งจะต้องทนใช้น้ำมันราคาแพง
ฉะนี้ นอกจากอาร์เจนตินา
ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้ผ่านร่างกฎหมายยึดคืนบรรษัทน้ำมันจากบรรษัทต่างชาติเสีย
แล้ว
รัฐบาลให้คำมั่นอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า
หลอกว่าจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอย ๆ
ก็เหลวไป หาได้เป็นจริงดังคำสัญญาไม่ เมื่อปรับขึ้นค่าแรงนำร่องใน 7
จังหวัดก็ปรากฎให้เป็นที่ประจักษ์ว่าสินค้าต่างพากันขึ้นราคาแพง
เพราะต้นทุนสูงขึ้น แต่ผลิตได้เท่าเดิม ทั้งนี้มิใช่เพราะราษฎรนั้นโง่
หรือเกียจคร้าน หากขาดโอกาส
และรัฐบาลทุกสมัยก็หาได้มีเจตนาพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างจริงใจไม่
เมื่อแรงงานด้อยทักษะฉะนี้แล้ว ค่าแรง 300
บาททั่วประเทศจึงเป็นเรื่องอันฟุ้งฝัน
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของคหบดีนายทุน
ไม่ใช่ของราษฎรตามที่เขาหลอกลวง
คณะราษฎรที่หนึ่งอันเป็นคณะราษฎรของแท้นั่นแหละ
ได้ตั้งมั่นว่า “จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ
โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ
ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก” สุดท้ายมีแต่พวกเจ้าที่ชุบมือเปิบ
คอยอุปถัมภ์ค้ำจุนนายทุน
ถือหุ้นบรรษัทใหญ่กวาดเอาทรัพย์สินเอาไว้หลายแสนล้านบาท
หุ้นเหล่านี้ได้มาจากไหน ก็ล้วนมาจากผลพวงของการอภิวัฒน์สยาม พุทธศักราช
2475 ทั้งสิ้น คณะราษฎรมุ่งหวังจะไม่ให้ราษฎรต้องอดอยาก ผ่านไปแล้ว 80
ปีแรงงานสยามยังคงตกอยู่ใต้เงื้อมมือของนายทุนใต้เงาเจ้า
รัฐบาลรีรอไม่ลงนามรับรองอนุสัญญา ILO 87/98
ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศที่จะคุ้มครองส่งเสริมการรวมตัวกันเป็นสหภาพ
และสร้างอำนาจต่อรองให้กับราษฎร ก็เพราะเกรงจะขัดแข้งขาคหบดีนายทุน
แทนที่จะยึดเอาประโยชน์แห่งราษฎรเป็นที่ตั้ง
รัฐบาลกลับฟังแต่เสียงของคหบดีนายทุนเรื่อยมา
เหตุฉะนั้น ราษฎร
นิสิตและนักศึกษาที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายดังกล่าวแล้ว
จึ่งรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรที่สองขึ้น คณะราษฎรที่สองเห็นว่า
การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ ก็โดยที่จะต้องยุติการผูกขาดธุรกิจพลังงาน
คืนสมบัติธรรมชาติแก่ราษฎร
เร่งฝึกอาชีพพัฒนาฝีมือแรงงานอย่างจริงจังเพื่อให้นโยบายค่าแรง 300
ทั่วประเทศสัมฤทธิ์ผลในเร็ววัน โดยจะต้องมิใช่เพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง
แต่ต้องมุ่งเอาประโยชน์ของราษฎรเป็นสำคัญ ลงนามในอนุสัญญา ILO87/98
เพื่อผลักดันให้แรงงานมีสหภาพที่เข้มแข็งและสามารถต่อร่องกับคหบดีนายทุนได้
อย่างทัดเทียม
ขยายความคุ้มครองของประกันสังคมมิให้จำกัดแต่ในเพียงแรงงานในระบบแต่จะต้อง
คุ้มครองราษฎรที่ประกอบกิจการร้านค้า ขับขี่ยวดยานรับจ้าง
แลกรรมกรทั้งหลายให้มีหลักประกันอันมั่นคงไม่ต่างกัน
อีกทั้งจะต้องเข้มงวดกวดขันมาตรการรับจำนำข้าวให้โปร่งใสไร้การคอรัปชั่น
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างเต็มกำลัง
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรที่สองให้ทำกิจอันจะคงอยู่อย่าง
สถิตสมบูรณ์สถาพร เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
เพื่อความบริบูรณ์ของปากท้องของพี่น้องเกษตรกร แรงงาน
ให้ราษฎรผู้กรำงานหนักตลอดชีวิตได้รับผลตอบแทนที่พึงได้เอง
มิใช่เป็นข้าทาสผู้ทำงานรับใช้คหบดีนายทุนผู้อาศัยร่มบารมีเจ้าทำนาบนหลัง
ราษฎร อันจะสืบสานเจตนารมณ์แห่งคณะราษฎรที่ได้เคยประกาศไว้ ณ
ที่แห่งนี้ให้วิวัฒน์พัฒนา
เพื่อความสุขประเสริฐจะได้บังเกิดแก่ราษฎรโดยถ้วนหน้า
|
หลักประการที่ ๔ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักเสมอภาค
เพราะเป็นที่ประจักษ์แจ้งและเป็นความจริงแท้ว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน
ไม่มีใครเกิดมาเพื่อเป็นนาย และไม่มีมนุษย์ที่เกิดมาเพื่อเป็นทาส
ในแผ่นดินนี้มีเพียงมนุษย์ที่ยืนอยู่บนผืนธรณีเดียวกัน
ไม่มีอำนาจจากสรวงสรรค์ที่จะรังสรรค์ชอบความธรรมแห่งการกดขี่ด้วยชั้นชน
มีเพียงคุณค่าแห่งความเป็นคนและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์คือที่สุดแห่ง
อำนาจและความชอบธรรมทั้งปวง
และเพราะความสำเร็จแห่งการอภิวัฒน์โดยคณะราษฎรชุดก่อนนั้นเอง
ที่ได้ทำลายการปกครองอันกดขี่
ไม่ชอบธรรมและได้สถาปนารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อมอบสิทธิและความ
เสมอภาคให้ทั่วถึงกันแก่ราษฎรทั้งหลาย
อันเป็นที่มาแห่งหลักประการที่ ๔ ของเราคณะราษฎรที่ ๒ ว่าจะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน
สิทธินั้นคืออะไร เรื่องนี้เราอาจตอบได้ว่า สิทธิ คือ
อำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและบังคับบัญชาให้ราษฎรทั้งหลายพึงมีสิทธิ
และใช้สิทธิได้โดยชอบ
แต่สำหรับความเสมอภาคนั้นคืออะไร ? ต่อคำถามนี้
จะมีอะไรดีกว่าการถามราษฎรทั้งหลายก่อนว่าพวกเขามาอยู่รวมกันเป็นรัฐเพื่อ
อะไร ถ้ามิใช่เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดี
และต้องเป็นที่แน่นอนว่าชีวิตที่ดีและอุดมสมบูรณ์พูนสุขนั้นจะต้องไม่ตกเป็น
ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือหมู่คณะใดหมู่คณะหนึ่งโดยอาศัยความทุกข์ยากตรากตรำ
ของราษฎรส่วนใหญ่เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในความอุดมสมบูรณ์พูนสุขของบุคคลเหล่า
นั้น เช่น
ผู้ที่ปลูกข้าวทำนาพวกเขาก็ย่อมมีสิทธิในข้าวนานั้นยิ่งกว่าผู้ที่มิได้ออก
แรงไถหว่าน หลักการนี้ก็เป็นหลักการของความยุติธรรมนี่เอง
เพราะผู้ที่มิได้ออกแรงหว่านไถ
ไฉนเลยเล่าจะมีสิทธิในนาข้าวที่ผู้อื่นปลูกได้
โดยนัยนี้เองความเสมอภาคจึงเป็นฐานรากและเสาหลักแห่งความยุติธรรมทั้งปวงใน
หมู่ราษฎร
หรืออาจกล่าวได้ว่าความเสมอภาคมิได้หมายถึงการที่ราษฎรทุกคนมีสิทธิเท่ากัน
แต่หมายถึงราษฎรทุกคนมีโอกาสที่จะได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคนี้
ยังเป็นองค์ประกอบแห่งความสมบูรณ์ของหลักประการอื่นๆทั้งก่อนนี้และที่จะ
กล่าวถึงหลังจากนี้
เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะความปลอดภัยที่มีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่
ได้รับ ในขณะที่ราษฎรส่วนใหญ่อยู่ท่ามกลางความเสี่ยงและอาชญากรรม
ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่าความปลอดภัย
ความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจที่มีเพียงคนบางกลุ่มได้ประโยชน์
ในขณะที่ราษฎรส่วนใหญ่ล้วนอดอยากโดยเฉพาะเมื่อมันเกิดจากการทำนาบนหลังคน
ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่าความสุขสมบูรณ์
และเป็นที่แน่นอนว่าเสรีภาพที่มีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่มีสิทธิใช้ได้ ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นเสรีภาพ
ดังนั้นเราคณะราษฎรที่ ๒
จักขอเรียกร้องให้รัฐไทยส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคให้สมดังเจตนารมณ์ของคณะ
ราษฎรผู้ทำการอภิวัฒน์ในกาลก่อน โดยมีข้อเรียกร้องที่สำคัญ คือ
๑. ราษฎรทุกคนต้องได้รับความยุติธรรมเสมอกันต่อหน้ากฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมายในข้อเท็จจริงที่มีสาระสำคัญเหมือนกัน
ต้องได้รับคำสั่งและคำพิพากษาเป็นอย่างเดียวกัน
๒.
รัฐต้องส่งเสริมและพัฒนากระบวนการที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการใช้อำนาจ
ต่างๆของรัฐเพื่อจักการบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้นว่า
ประชาชนจักต้องได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่เท่าเทียมกัน อาทิ
สิทธิประกัน ประชาชนไม่ว่ายากดี
มีจนจักต้องได้รับการส่งเสริมที่เท่าเทียมกัน
มิใช่ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
และรัฐจักต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เข้าถึงง่าย ราคาถูก และรวดเร็ว
และนอกจากนี้ในบริการอื่นๆของรัฐที่สำคัญ
รัฐต้องคำนึงถึงการเข้าถึงอย่างเสมอภาคของประชาชน ด้วย นอกเหนือจากคุณภาพ
๓.
รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรชายขอบของรัฐได้เข้าถึงอำนาจรัฐได้อย่างเท่าเทียม
เพื่อให้เขามีความเสมอภาคที่แท้จริงทางการเมือง เป็นต้นว่า
รัฐจักต้องให้สิทธิพลเมืองกล่าวคือ
สัญชาติไทยแก่คนชายขอบของรัฐอย่างเสมอภาค เช่น ชาวกระเหรี่ยง โรฮิงยา
เป็นต้น หรือ รัฐจักต้องบรรจุภาษามลายูเป็นภาษาราชการที่สอง
ในจังหวัดที่มีประชากรมุสลิมที่ใช้ภาษามลายู จำนวนมาก
|
หลักประการที่ ๕ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักเสรีภาพ
จะต้องให้ราษฎรมีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
มนุษย์เกิดมาเสรี
มีเพียงเจตจำนงของเขาเท่านั้นที่จะกักขังเขาไว้ในพันธนาการแห่งความเป็นทาส
แต่นั่นย่อมหมายความว่าเมื่อเขาได้พยายามกอบกู้เจตจำนงแห่งอิสระกลับคืนมา
เขาย่อมมีสิทธิที่จะไม่เชื่อฟังใคร นอกจากตัวเขาเองเท่านั้น
สิทธิที่จะมีเสรีภาพนี้เป็นสิทธิอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นคุณค่าอันสูงสุด
อันมิอาจจะล่วงละเมิด
การใช้กำลังบังคับและคำหลอกลวงโป้ปดของผู้ปกครองให้เชื่อฟังต่อให้มีมากสัก
เพียงใด ก็ไม่เคยเพียงพอที่จะพรากเสรีภาพไปจากเขาได้
หนึ่งในสิ่งที่คณะราษฎรผู้ก่อการอภิวัฒน์เมื่อ ๒๔๗๕
ได้มอบไว้แก่ราษฎรชาวไทย คืออำนาจอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ราษฎรทั้งหลาย
ตื่นขึ้นมาจากความฝันเฟี่องแลโป้ปดในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่ผู้ปกครองล้วนบังอาจสถาปนาตนเป็นเจ้าชีวิตของราษฎรทั้งหลาย
สามารถชี้เป็นตายได้เพียงอาศัยความพึงพอใจของตน
ให้ราษฎรทั้งหลายกลายเป็นผู้ทรงสิทธิอำนาจที่จะลุกขึ้นมากำหนดชะตาชีวิตของ
ตนเองได้ โดยมิตกอยู่ภายใต้อาณัติครอบงำอย่างเก่าก่อน อำนาจนี้เรียกว่า
เสรีภาพ
เสรีภาพ เป็นอำนาจที่เกิดจากจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์
เสรีภาพจึงมีคุณค่าอันสูงสุด มิอาจถูกจำกัดได้โดยอำนาจใด
มีเพียงกฎหมายที่มาจากผู้แทนปวงชนเท่านั้นที่จะจำกัดอำนาจแห่งเสรีภาพนี้ได้
ในปัจจุบันเสรีภาพของราษฎรชาวไทยถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนมาก
ทว่าสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ
เสรีภาพในการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นซึ่งควรจะเป็นเหมือนลมหายใจของระบอบ
ประชาธิปไตยกำลังถูกลิดรอนและทำให้ตกอยู่ภายใต้อาณัติครอบงำแห่งความหวาด
กลัวโดยการใช้อำนาจรัฐ ดังนั้นเพื่อกอบกู้เจตนารมณ์แห่งการอภิวัฒน์เมื่อ
๒๔๗๕ กลับคืนมา คณะราษฎรที่ ๒
จึงมีข้อเรียกร้องตามหลักเสรีภาพและอิสรภาพ ดังนี้
๑.
ทุกฝ่ายไม่ว่ารัฐหรือราษฎรจักต้องหยุดการใช้บังคับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุ
ภาพหรือกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง
๒. การตีความกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒
ไม่ว่าจะโดยพนักงานอัยการหรือศาลต้องวางอยู่บนพื้นฐานของหลักเสรีภาพในการ
แสดงความคิดเห็นตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้
และต้องสอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยมิใช่อุดมการณ์ราชาธิปไตย
๓. รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหลายให้ได้รับอิสรภาพ
|
หลักประการที่ ๖ ในการปกครองประเทศของคณะราษฎร : หลักการศึกษา
ราษฎรทั้งหลาย
เมื่อรัฐมนตรีคนนี้ได้ดำรงตำแหน่งต่อจากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคน
ก่อนนั้น ในชั้นต้น ราษฎรบางคนได้หวังกันว่า การศึกษาไทยจะดีขึ้น
แต่การก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังไม่
รัฐมนตรีคนใหม่กลับสนับสนุนการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ
ปล่อยให้มีการเก็บค่าเทอมเหมาจ่าย
ข้าราชการและสภามหาวิทยาลัยใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต
เกิดเผด็จการในมหาวิทยาลัย
ยกพวกราษฎรร่ำรวยขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎรอื่น
กดขี่ข่มเหงราษฎรที่ยากจน เปิดโครงการพิเศษที่มีค่าเทอมแสนแพงขึ้นมากกมาย
ปล่อยให้การศึกษาเป็นไปตามยถากรรม
ดั่งที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางวิชาการและความฝืดเคืองในการหางานทำ
ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว
การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้
การที่แก้ไขไม่ได้
ก็เพราะม.นอกระบบและค่าเทอมเหมาจ่ายมิได้เพื่อราษฎร
มหาวิทยาลัยได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่ บ้าง ข้า บ้าง)
เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร
กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ค่าเทอมที่บีบคั้นเอามาจากราษฎรนั้น
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน
ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น
ถึงคราวเสียเงินราชการหรือค่าเทอม ถ้าไม่มีเงิน
มหาวิทยาลัยก็ไม่ให้ลงทะเบียนเรียนหรือไม่ให้จบการศึกษา
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร
มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะบำรุงการศึกษาอย่างโน้นอย่างนี้
หอพักใหม่จะเสร็จตอนนั้นตอนนี้ แต่ครั้นคอย ๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่
มิหนำซ้ำ กล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียค่าเทอมให้มหาวิทยาลัยว่า
ราษฎรยังไม่มีค่าเทอมก็ให้ไปกู้ยืมมาจ่าย
คำพูดของมหาวิทยาลัยเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงนั้น
ไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่มีค่าเทอมราคาแพง
ไม่ได้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา
ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ใครทำนาบนหลังคน
ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า มหาวิทยาลัยนี้เป็นของราษฎร
ไม่ใช่ของอธิการบดีหรือสภามหาวิทยาลัยตามที่เขาหลอกลวง
บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้มหาวิทยาลัยมีอิสรภาพพ้นมือจากเผด็จ
การทหาร พวกผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัยมีแต่ชุบมือเปิบ
และกวาดรวบทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน?
ก็เอามาจากค่าเทอมของราษฎร เพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง
บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา
เพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด
นักเรียนเรียนเสร็จแล้วและทหารปลดกองหนุนแล้วไม่มีงานทำ
จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย
เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการทหารและพลเรือน
ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของมหาวิทยาลัยดังกล่าวแล้ว
จึ่งรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรที่ ๒ ขึ้น
และได้ยึดอำนาจของสภามหาวิทยาลัยไว้ได้แล้ว คณะราษฎรที่๒เห็นว่า
การที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้
ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีพรบ.มหาวิทยาลัยที่มาจากประชาชน
จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลาย ๆ ความคิด ดีกว่าความคิดเดียว
ส่วนผู้เป็นรัฐมนตรีของกระทรวงศึกษาธิการนั้น
คณะราษฎรที่๒ไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงตำแหน่ง ฉะนั้น
จึ่งได้ขอให้รัฐมนตรีคนนี้ดำรงตำแหน่งต่อไป
แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายมหาวิทยาลัยฉบับประชาชน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้
นอกจากด้วยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและประชาชน
คณะราษฎรที่๒ได้แจ้งความประสงค์นี้ให้รัฐมนตรีทราบแล้ว
เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ารัฐมนตรีตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด
โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ
และก็เป็นการจำเป็นที่มหาวิทยาลัยจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย
กล่าวคือ พรบ.มหาวิทยาลัยต้องมาจากประชาชน ตามวิธีนี้
ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุก ๆ
คนจะมีที่เรียน เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้ว-ตามสภาพ
เมื่อเราได้ยึดเงินเดือนที่พวกผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัยรวบรวมไว้จากการทำ
นาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงมหาวิทยาลัยขึ้นแล้ว
การศึกษาจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น
การพัฒนาการศึกษาซึ่งคณะราษฎรที่๒จะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการ
อาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เป็นหลักใหญ่ ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้
มีอยู่ว่า
๑. จะต้องรักษาเสรีภาพทั้งหลาย เช่น เสรีภาพในทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัยไว้ให้มั่นคง
๒. จะต้องรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัย ให้การประทุษร้ายต่อราษฎรต่างมหาวิทยาลัยกันลดน้อยลงให้มาก
๓. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางสวัสดิการ
โดยมหาวิทยาลัยจะจัดหาหอพัก ห้องสมุด รถรับส่ง และโรงอาหารให้เพียงพอ
ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
๔. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ราษฎรร่ำรวยมีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรยากจนเช่นที่เป็นอยู่)
๕. จะต้องให้อาจารย์ได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
๖. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรที่๒
ให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรที่๒
ขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากผู้บริหารและสภามหาวิทยาลัยพึง
ตั้งตนอยู่ในความสงบ และตั้งหน้าเรียนหนังสือ อย่าทำการใด ๆ
อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎรที่๒ การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรที่๒นี้
เท่ากับราษฎรช่วยการศึกษาชาติ และช่วยตัวราษฎร บุตรหลานเหลนของตนเอง
ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้การศึกษาที่ดี
ทุกคนจะต้องมีที่เรียน ไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน
หมดสมัยที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะทำนาบนหลังราษฎร
สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ
ซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น
ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า
|
ภาพบรรยากาศกิจกรรม:
(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41243
หลากทัศนะ ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2555 เวลาย่ำรุ่ง ครบรอบ 80 ปีแห่งการอภิวัฒน์
หลากทัศนะ ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2555 เวลาย่ำรุ่ง ครบรอบ 80 ปีแห่งการอภิวัฒน์
หลายทัศนะหลากมุมมองจากองค์กรร่วม รำลึก 80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
5.00 น. วันนี้(24 มิ.ย.2555) ณ บริเวณหมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า มีประชาชนจากกลุ่มต่างๆเดินทางมาร่วมรำลึก 80 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
นอกจากคณะราษฎร ที่ 2 (ดู ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรที่ 2 ) แล้วยังมีอีกหลายกลุ่มที่รวมกิจกรรมรำลึก เช่น กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) กลุ่มประกายไฟการละคร กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน ( CCP ), กลุ่มลูกชาวบ้าน ม.บูรพาและกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย เป็นต้น พร้อมทั้งได้มีการกล่าวรำลึกดังนี้
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41245
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)