วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
ระบบทุนนิยมเสรี เสรีของใครกัน ? : กรณีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 แห่ง AGC, Ricoh, Hoya และ MMI
ระบบทุนนิยมเสรี เสรีของใครกัน ? : กรณีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงาน 4 แห่ง AGC, Ricoh, Hoya และ MMI
พัชณีย์ คำหนัก
นักรณรงค์สิทธิมนุษยชน
โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
กรณีที่นายทุนข้ามชาติภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เลิกจ้างพนักงาน 4 แห่งเกิดขึ้นในช่วงภาวะปกติและไม่ปกติ คือ ทั้งก่อนและหลังอุทกภัย ปีพ.ศ. 2554 อีกทั้งสาเหตุของการเลิกจ้างเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับอุทกภัย ประเด็นหลักที่จะนำเสนอคือ เมื่อแรงงานรวมตัวกันเรียกร้องผลประโยชน์จากนายจ้าง และมีสหภาพแรงงานในการเจรจาต่อรอง เสรีภาพในการแสดงออกของพวกเขาก็ถูกละเมิด ถูกขัดขวางเพราะถูกเลิกจ้างอย่างเสรีโดยฝ่ายทุน ซึ่งนำไปสู่การไร้เสถียรภาพของระบบประชาธิปไตย
ผู้เขียนต้องการรณรงค์ปัญหาการเลิกจ้างที่นำไปสู่ภาวะสั่นคลอน/ไร้ เสถียรภาพของสหภาพแรงงาน 4 แห่ง ได้แก่ 1) สหภาพแรงงานเอจีซีสัมพันธ์แห่งประเทศไทย 2) สหภาพแรงงานริโก้ประเทศไทย 3) สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิคส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสัมพันธ์ (Hoya) และ 4) สหภาพแรงงานอิเลคทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ (MMI) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ให้รัฐแก้ไขปัญหาแรงงาน 4 กรณีอย่างเร่งด่วน
2. ให้สื่อ สาธารณชน ขบวนการแรงงาน นักศึกษาเข้าใจและตระหนักถึงการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การรวมตัวเจรจาต่อรองผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานมากขึ้น
3. ตั้งคำถามต่อนายทุนเอกชนถึงความรับผิดชอบต่อชีวิตผู้ใช้
แรงงานซึ่งเป็นคน ส่วนใหญ่ของสังคม การใช้กลไก CSR (Corporate Social Responsibility) จรรยาบรรณทางการค้าของบรรษัทข้ามชาติ รวมถึงกลไกรัฐในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนว่า ทำไมไม่สามารถรองรับปัญหาความไม่เป็นธรรมต่อแรงงานในภาวะปกติและไม่ปกติ
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38792
ช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่
ช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญใหม่
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
รัฐธรรมนูญใหม่จะเกี่ยวกับความปรองดองโดยตรงทีเดียว
ปรองดอง ตามความเป็นจริงในโลกนี้ ไม่ได้หมายถึงปราศจากความขัดแย้ง เพราะเป็นไปไม่ได้ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ที่จะไม่มีความขัดแย้งเสียเลย แท้จริงแล้วระบอบประชาธิปไตยมีขึ้นก็เพื่อให้ความขัดแย้งในสังคมลอยตัวขึ้น อย่างอิสระ โดยไม่ถูกขวางกั้นจากกำเนิด, สถานะ, หรือช่วงชั้นแห่งอำนาจและเกียรติยศ เพียงแต่ว่าต้องขัดแย้งกันภายใต้กติกาที่เป็นธรรม และอย่างเท่าเทียมกัน ฉะนั้น กติกาซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุด อันจะนำไปสู่ความปรองดอง
รัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นกติกาซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของหลายฝ่าย จึงเป็นกติกาที่ขัดขวางความปรองดองตัวจริงทีเดียว หากไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญก็ยากที่จะนำสังคมไปสู่ความปรองดองที่แท้จริงได้
มิติ หนึ่งของความขัดแย้งในสังคมไทยที่ผ่านมา คือความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำสองกลุ่ม หรือมากกว่านั้น การผลัดกันเกาหลังของชนชั้นนำ อันเป็นวิธีระงับความขัดแย้งที่เคยได้ผลในการเมืองไทยตลอดมา ไม่อาจนำไปสู่ความปรองดองได้อย่างแน่นอน เพราะในความขัดแย้งของสังคมที่เราเผชิญอยู่ มีมิติอื่นๆ นอกเหนือไปจากความขัดแย้งแก่งแย่งอำนาจและผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำอีกมาก นัก
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326720877&grpid=&catid=02&subcatid=0207
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)