หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ข้อเท็จจริงที่ต้องรู้ก่อนออกไป “ต่อสู้กับอเมริกาและองค์กรสหประชาชาติ”

 





















โดยปกป้อง เลาวัณย์ศิริ


ผมได้อ่านบทความ “ต้องต่อสู้แม้กับอเมริกาและองค์กรสหประชาชาติ" ที่คุณวสิษฐ เดชกุญชร เขียนลงมติชนออนไลน์ ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2544 และเห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนหลายส่วน ทั้งในส่วนของข้อเท็จจริงและประเด็นอื่นๆ ในบทความ จึงขอแลกเปลี่ยนมาเป็นประเด็นเหล่านี้

ประเด็นที่หนึ่ง นางคริสตี้ เคนนีย์ (Kristie Kenney) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและนางสาวราวีนา ชัมดาซานี (Ravina Shamdasani) รักษาการโฆษกข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ไม่ได้แสดงความเห็นในกรณีของนายอำพล ตั้งนพคุณ (หรือที่รู้จักกันว่าอากง) ที่ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี ตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ตามที่คุณวสิษฐเขียนไว้ในบทความ

นาง คริสตี้ เคนนีย์ให้ความเห็นใน Twitter เกี่ยวกับกรณีการตัดสินคดีของนายโจ กอร์ดอน ซึ่งเป็นพลเมืองสัญชาติไทย-อเมริกา ส่วนนางสาวราวีนาได้พูดถึงปัญหาของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในภาพรวม 

การ แสดงความคิดเห็นของนางคริสตี้เป็นไปอย่างสั้นๆ ตามข้อจำกัดของ Twitter ที่สามารถพิมพ์ได้แค่ 140 คำ โดยมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษโดยสามารถแปลเป็นภาษาไทยคร่าวๆ ได้ว่า “สถานฑูตอเมริกามีความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเป็นอย่างสูงสุด แต่รู้สึกเป็นกังวลต่อการตัดสินที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในด้านเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็น” และ “กรณีคดีนายโจ กอร์ดอน สหรัฐฯ จะสนับสนุนเขาต่อไป โดยจะไปเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือ”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38417
ผู้ลี้ภัย"เกาหลีเหนือ"แสดงความยินดีต่อการเสียชีวิต"คิม จอง อิล" เผย"ไม่ใช่ทุกคนที่ร้องไห้"



นัม ยู ซัน ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีรายงานไว้ในรายงานข่าวที่ชื่อ "Korean defectors joyful at Kim Jong-Il′s death" ว่า ชาวเกาหลีเหนือซึ่งลี้ภัยมาอยู่ที่ประเทศเกาหลีใต้จำนวนหลายคนได้ออกมาแสดง ความดีใจต่อการเสียชีวิตของนายคิม จอง อิล อดีตผู้นำเกาหลีเหนือที่ถึงแก่อสัญกรรมไปเมื่อวันเสาร์(17 ธ.ค.) ที่ผ่านมา โดยกลุ่มผู้ลี้ภัยให้สัมภาษณ์กับนักข่าวเอเอฟพีว่า การเสียชีวิตของนายคิมเป็นความหวังที่หาได้ยากยิ่งสำหรับประเทศที่กำลังอด อยากอย่างเกาหลีเหนือ

"จะไม่ให้เราดีใจได้อย่างไรกัน ในเมื่อ ′ฆาตกรแห่งศตวรรษ′ เพิ่งจากไป" นายปาร์ก ซัง ฮัก ผู้นำกลุ่มต่อสู้เพื่อปลดปล่อยเกาหลีเหนือ หรือ Fighters for Free North Korea กล่าวกับผู้สื่อข่าวเอเอฟพี

ทั้งนี้ นายปาร์กได้ตกเป็นเป้าหมายของการลอบสังหารหลังจากเขาแจกจ่ายไปปลิวต่อต้าน รัฐบาลเกาหลีเหนือบริเวณชายแดนของประเทศ นอกจากนี้ นายปาร์กและนักกิจกรรมคนอื่นๆยังได้วางแผนที่จะแจกใบปลิวจำนวน 2 แสนใบเพื่อป่าวประกาศข่าวการเสียชีวิตของนายคิม จอง อิล

อนึ่ง ตั้งแต่สงครามในปี ค.ศ. 1950-1953 ชาวเกาหลีเหนือกว่า 21,700 คนได้อพยพลี้ภัยออกนอกประเทศ โดยผู้ลี้ภัยบางคนได้เข้าร่วมกับกลุ่มกิจกรรมรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยและ สิทธิมนุษย์ชนในเกาหลีเหนือ


(อ่านต่อ)
จดหมายเปิดผนึกจากชาญวิทย์ เกษตรศิริ ถึง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
   


จดหมายจากอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงนายกรัฐมนตรีเนื่องในวันปีใหม่ และคริสตมาส พร้อมข้อเสนอ 5 ประการ รวมถึงการเกี๊ยเซี๊ยะที่อยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม นิติรัฐ เสรีภาพ เสมอภาค การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีหลักสากล เป็นอารยะ และเป็นประชาธิปไตย และยึดมั่นในเสรีภาพ และความเสมอภาค และการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112

0000
Open Letter to Premier Ms. Yingluck Shinnawatra and Foreign Minister
จดหมาย (ใหม่) ฉบับที่ 4
(25 ธันวาคม 2554/2011)



เรื่อง ขอเสนอแนะวาระสำคัญ 5 ประการ 
 
เรียน นรม. (หญิง) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รมต. กต. (ผ่านมิตร และสื่อมวลชนกระแสหลัก และกระแสรอง) 

เนื่องในวารดิถีวันขึ้นปีใหม่ และวันคริสตมาส ขอส่งความปรารถนาดีมายัง ฯพณฯ นรม. (หญิง) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รมต. กต. สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล กับคณะ ครม. ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ เพื่อปฏิบัติงานให้กับ “ชาติและราษฎรไทย” ของเรา และขอเสนอแนะวาระสำคัญ 5 ประการ ที่สมควรจะได้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ 

(1) ขอให้เพิ่มวันหยุดราชการ เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางศาสนาและลัทธิความเชื่อหลัก ของประชาชนของประเทศของเรา คือ วันคริสตมาส วันฮารีรายา วันฮินดู และวันตรุษจีน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นอารยะในสากลโลก และประเทศอาเซียนของเรา เช่นเดียวกับ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ที่กำหนดให้มีวันหยุดครบทุกศาสนาและความเชื่อหลัก (รวมทั้งวันวิสาขะบูชา)

(2) ขอให้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีหลักสากล เป็นอารยะ และเป็นประชาธิปไตย และยึดมั่นในเสรีภาพ และความเสมอภาค กับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดำเนินการแก้ไขบทบัญญัติ ที่เกี่ยวกับเรื่องของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112


(3) ขอให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อของประเทศ จาก “ราชอาณาจักรไทย” เป็น “ราชอาณาจักรสยาม” (Kingdom of Thailand – Kingdom of Siam) เพื่อให้ “สยาม” นั้นเป็นนามของประเทศหรือดินแดน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และลักษณะของความหลากหลายของประชาชนหรือคน ที่มีชาติพันธุ์ กับภาษาและวัฒนธรรม ที่เป็นทั้ง “ไทย ไท/ไต ลาว เขมร มลายู คนอีสาน คนเมือง พวน ผู้ไท ขึน ยวน ยอง ลื้อ มอญ กูย ลั๊วะ/ละว้า เวียด ฮ่อ จีน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ แคะ จาม ชวา ซาไก มอแกน ทมิฬ ปาทาน เปอร์เซีย อาหรับ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ปะหล่อง มูเซอร์ อะข่า กำหมุ มลาบรี ชอง ญากูร์ บรู โอรังลาอุต ฝรั่ง (ชาติต่างๆ) แขก (ชาติต่างๆ) ลูกครึ่ง ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ” กว่า 50 ชนชาติและภาษา 

(4) ขอให้ดำเนินนโยบายการต่างประเทศ ที่ให้ความสำคัญต่อประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิด และองค์กรอาเซียน สร้างความสัมพันธ์อันดีเป็นพิเศษกับลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย และเน้นวาระทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญต่อสตรีเพศ (women’s agenda) พร้อมทั้งดำเนินการวิ่งเต้น เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ จากพระมหากษัตริย์กัมพูชา หรือขอนิรโทษกรรมจากรัฐสภากัมพูชา ให้กับนายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในกรุงพนมเปญมาเกือบจะครบ 1 ปีแล้ว 

(5) ขอให้ดำเนินการ “เกี้ยเซี้ย” สมานฉันท์ สามัคคี ปรองดอง ขึ้นในชาติ ระหว่างคนเสื้อสีต่างๆ (เหลือง-ชมพู แดง ฟ้า เขียว หลากสี) โดยคำนึงถึงหลักของความยุติธรรม นิติรัฐ เสรีภาพ เสมอภาค โดยมีกระบวนการที่เป็นสันติวิธี เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง การใช้อาวุธ อันจะนำไปสู่การนองเลือด และ/หรือ “กาลียุค” 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง
นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ข้าราชการบำนาญ
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย (วิชา) ธรรมศาสตร์ (และการเมือง)


หมายเหตุ 
 
ถ้าท่านไม่เป็น ส่วนหนึ่ง ของการแก้ปัญหา
ท่านก็เป็น ส่วนหนึ่ง ของปัญหา
IF YOU ARE NOT PART OF THE SOLUTION
YOU ARE PART OF THE PROBLEM

ถ้าท่านต้องการรักษา สถาบันกษัตริย์ คู่กับประชาธิปไตย และสันติสุข
เพื่อชาติ และราษฏรไทย เจ้าของแผ่นดินนี้
ท่านต้องปฏิรูปกฏหมายหมิ่นฯ มาตรา 112
IF YOU WANT TO PRESERVE THE MONARCHY, DEMOCRACY, AND PEACE
FOR THE NATION AND THE PEOPLES OF THIS LAND
YOU MUST REFORM THE LESE MAJESTE LAW: ARTICLE 112

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2011/12/38408
เอเชียวิตกโสมแดงหลัง"คิมจองอิล" สิ้นชีพ หวั่นผู้นำใหม่ประกาศท่าทีแข็งกร้าวด้านอาวุธนุค



สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 20 ธ.ค.ว่า บรรดาเพื่อนบ้านของเกาหลีเหนือต่างมีปฎิกิริยากังวลต่อข่าวการเสียชีวิตของ นายคิม จอง อิล ผู้นำเกาหลีเหนือ เนื่องจากการถ่ายโอนอำนาจผู้นำของเกาหลีเหนือกลายเป็นความคลุมเครืออีก ปัจจัยหนึ่งต่อการวิตกต่อสถานการณ์ของเกาหลีเหนือที่ครอบครองอาวุธ นิวเคลียร์

รายงานระบุว่า เกาหลีใต้ ได้มีคำสั่งให้กองทัพอยู่ในภาวะเตรียมพร้อมเต็มที่หลังเกิดเหตุผู้นำเกาหลี เหนือ ขณะที่ญี่ปุ่นซึ่งที่ผ่านมาเคยคุกคามจากการยิงขีปนาวุธขู่ของเกาหลีเหนือ ได้จัดการประชุมด่วนครม.ด้านความมั่นคง และเกาหลีใต้ได้รีบติดต่อรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งมีกำลังทหาร 25,000 นาย ประจำในเกาหลีใต้ โดยโฆษกทำเนียบขาวออกแถลงการณ์ระบุว่า สองผู้นำเกาหลีใต้และสหรัฐ ได้ตกลงที่จะติดต่อกันอย่างใกล้ชิดกับสถานการณ์ของเกาหลีเหนือ และเห็นพ้องว่า จะสั่งการให้ทีมด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศร่วมมือกัน

ส่วนรัฐบาลจีน พันธมิตรของเกาหลีเหนือ ยังได้วิตกว่า การล่มสลายของเกาหลีเหนือ อาจผลักดันเกิดวิกฤตการลี้ภัยของนอกประเทศของประชาชนเกาหลีเหนือ โดยนักวิเคราะห์เชื่อว่า เกาหลีเหนือได้มีการเตรียมการวางตัวทายาทผู้นำฯมาอย่างดี และจะไม่มีปัญหาการแย่งชิงอำนาจ แต่หลายฝ่ายวิตกว่า นายคิม จอง อุน จะประกาศท้าทีแข็งกร้าวด้านอาวุธนิวเคลียร์

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังมองว่า การเสียชีวิตของคิม จอง อิล จะเป็นแหล่งก่อให้เกิดความวิตกให้แก่เหล่าผู้นำจีน ที่มองว่า ทายาทผู้นำคนใหม่เกาหลีเหนือ จะไม่มีเวลาพอที่จะควบคุมรัฐบาลและกองทัพ เนื่องจากบิดาของเขาได้เสียชีวิตอย่างไม่คาด

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1324356459&grpid=&catid=06&subcatid=0600