หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

วิกฤตเศรษฐกิจโลก กับการต่อสู้ทางชนชั้นในยุโรปและตะวันออกกลาง

กรรมาชีพอิตาลี่กว่าล้านคน นัดหยุดงานทั่วไป
เพื่อประท้วงแผนการตัดงบประมาณสังคมของรัฐบาล 6/9/11
วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี 2008 ไม่ใช่วิกฤติของระบบธนาคารเท่านั้น  ทั้งๆ ที่มันระเบิดขึ้นตรงนั้นก่อน แต่มันเป็นวิกฤติของกลไกตลาดทุนนิยมทั้งหมด รากฐานแท้ของวิกฤตเกิดจากสิ่งที่มาร์คซ์เรียกว่า “แนวโน้มการลดลงของอัตรากำไร” ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ 

โดย กองบรรณาธิการเลี้ยวซ้าย

การต่อสู้ที่กำลังเกิดขึ้น ทั่วโลกท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะในยุโรป ตะวันออกกลาง หรือแม้แต่ในไทย มีประเด็นข้อคิดสำคัญที่เราต้องนำมาใช้เพื่อกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวดังนี้ คือ

1. ความสำคัญ ในลักษณะการใช้ “พลังเศรษฐกิจ” ของขบวนการแรงงาน ผ่านการนัดหยุดงาน

2. การที่ฝ่ายก้าวหน้าต้องผลักดันการต่อสู้ ให้เกินแค่ขอบเขตของการเปลี่ยนรัฐบาล ไปสู่การล้มระบบ

3. การที่หลายกลุ่มหลายองค์กรนอกรัฐ (“ประชาสังคม”) ในประเทศประชาธิปไตยตะวันตก ช่วยปกป้องระบบ และพยายามควบคุมคน ไม่ให้การต่อสู้เกินเลยขอบเขตของระบบปัจจุบัน

4. ความสำคัญของการสร้างองค์กรสังคมนิยม เพื่อช่วงชิงการนำในขบวนการมวลชน และนำการปฏิวัติล้มระบบ
   
วิกฤต เศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปี 2008 ไม่ใช่วิกฤติของระบบธนาคารเท่านั้น  ทั้งๆ ที่มันระเบิดขึ้นตรงนั้นก่อน แต่มันเป็นวิกฤติของกลไกตลาดทุนนิยมทั้งหมด รากฐานแท้ของวิกฤตเกิดจากสิ่งที่มาร์คซ์เรียกว่า “แนวโน้มการลดลงของอัตรากำไร” ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ   
   
ปัญหาการลดลงของอัตรากำไรในสหรัฐในยุคนี้ ถูกปิดบังโดยการสร้างเศรษฐกิจ “ฟองสบู่” หลายรอบ ในที่นี้ "ฟองสบู่" หมายถึงการปั่นราคาหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ ให้สูงขึ้นเกินความจริง ในขาขึ้นที่มีการขยายฟองสบู่ พวกนายทุนและธนาคารจะกอบโกยกำไรสูง แต่พอ “ความมั่นใจ” ในฟองสบู่แตก ทุกอย่างก็พังลงมา 

รอบแรกมีการสร้างฟองสบู่ในภาคอินเตอร์เน็ด “Dot Com” และรอบล่าสุดมีการชักชวนให้คนจนกู้เงินซื้อบ้าน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยไม่ขึ้นค่าแรง แต่เมื่อฟองสบู่เริ่มแตก พวกนายทุนก็บีบบังคับให้คนจนจ่ายหนี้ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงที่เขาไม่สามารถ จ่ายได้  พอฟองสบู่ “Sub-Prime” นี้แตก หนี้เสียก็ลามไปทั่วระบบธนาคารของโลก
   
สภาพ นี้เกิดขึ้นทั่วโลก ในสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน แต่ในกรณีจีนมีการทุ่มเทงบประมาณรัฐมหาศาลเพื่อพยุงเศรษฐกิจ และมีการปกปิดปัญหาธนาคารซึ่งล้วนแต่เป็นของรัฐ การที่จีนยังขยายตัวได้ ช่วยเศรษฐกิจของบางประเทศ เช่นไทย เยอรมัน และออสเตรเลีย แต่มันเป็นสภาพชั่วคราว เพราะจีนขาดความสมดุลย์ทางเศรษฐกิจ มีความเหลื่อมล้ำสูงระหว่างคนจนและคนรวย และตลาดภายในจีนเล็กเกินไปที่จะนำมาใช้แทนการส่งออกสู่ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพวิกฤตได้
   
ในกรณีกรีซ ประเทศนี้เคยกู้เงินจากธนาคารเยอรมันและฝรั่งเศส ผ่านธนาคารในกรีซ เพื่อขยายการลงทุนและพัฒนาประเทศ เพราะกรีซยากจนเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันตก แต่พอวิกฤตเกิดขึ้นทั่วโลก และธนาคารต่างๆ เริ่มใกล้จะล้มละลาย รัฐต้องเข้ามาช่วยจ่ายหนี้เสีย จนมีหนี้สาธารณะสูง กรณีประเทศปอร์ตุเกส สเปน และไอร์แลนด์ ก็คล้ายกัน
   
การที่รัฐ ต่างๆ ในยุโรปและอเมริกา ต้องเข้ามาอุ้มธนาคารและบริษัทเอกชน และการที่คนจำนวนมากตกงานและจ่ายภาษีน้อยลง มีผลทำให้รัฐติดหนี้สูงขึ้น ซึ่งถ้าสามารถพยุงและกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ก็ไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงเท่าไร
   
แต่ปรากฏว่าปัญหาเริ่มร้ายแรงมากขึ้นจากสองเหตุการณ์คือ

1. นักการเมืองเสรีนิยมและนายธนาคารใหญ่ ไม่อยากให้รัฐต่างๆ กู้เงินเพิ่ม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป เพราะกลัวว่าการกู้เงินเพิ่มของรัฐ จะไปตัดส่วนแบ่งของทุนทั่วไป ที่ภาคเอกชนจะใช้ในการสร้างกำไร

2. เกิดการพนันในตลาดการเงินโดยนายทุนรอบใหม่ เพราะเมื่อมีการเพิ่มหนี้สาธารณะของหลายประเทศ พวกนักลงทุนก็จะพนันในความอ่อนแอของเศรษฐกิจประเทศเหล่านั้น เพื่อกินกำไรเฉพาะหน้า เช่นในเรื่องการซื้อขายเงินตราล่วงหน้า หรือการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล ที่รัฐต้องขาย เพื่อกู้เงิน ผลคือรัฐบาลในเศรษฐกิจเล็กๆ ที่อ่อนแอ อย่างรัฐบาลประเทศกรีซ ปอร์ตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน หรือไอสแลนด์ ถูกกดดันมากจากนายทุน และเวลารัฐบาลประเทศเหล่านี้จะกู้เงินเพิ่ม ก็พบว่าอัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้นสูง ซึ่งยิ่งทำให้หนี้สาธารณะใหญ่ขึ้นอีก
   
ใน ที่สุดพวกนายทุนสากลก็กดดันให้รัฐบาลเหล่านี้ตัดสวัสดิการ ตัดการจ้างงานโดยรัฐ และทำลายมาตรฐานการจ้างงานทั่วไป เพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้นคือ เพื่อจ่ายหนี้คืนธนาคาร โดยไม่สนใจว่าจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจหดตัว และวิกฤตหนักขึ้น พฤติกรรมแบบนี้สร้างความไม่พอใจในสังคมเป็นอย่างมาก เพราะในยามที่เศรษฐกิจขยายตัว คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือนักธุรกิจ นายธนาคาร และคนรวย แต่พอเศรษฐกิจเกิดวิกฤต มีการกดดันให้คนส่วนใหญ่รับภาระแทน ในขณะที่คนธรรมดาไม่ได้สร้างปัญหาแต่แรก

รัฐบาลกรีซ ไอร์แลนด์ และปอร์ตุเกส แพ้การเลือกตั้ง แต่รัฐบาลใหม่ที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นพรรคฝ่ายขวาหรือพรรคสังคมนิยมก็ทำตามนโยบายเดิมต่อไป ซึ่งทำให้คนมองว่าการแก้ปัญหาผ่านระบบการเลือกตั้งและรัฐสภา ไม่ใช่ทางออก มีกระแสปฏิเสธ “พรรคการเมือง” และบางส่วนไปเน้นการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน
   
ใน กรณีอังกฤษ พรรคแรงงานแพ้การเลือกตั้ง และพรรคอนุรักษ์นิยมของนายทุนขึ้นมาเป็นรัฐบาลใหม่ร่วมกับพรรคเสรีนิยม มีการประกาศนโยบายเข้มงวดในค่าใช้จ่าย ซึ่งหมายถึงการทำลายมาตรฐานชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่เป็นกรรมาชีพ

นอก จากจะเป็นการบังคับให้ประชาชนจ่ายหนี้แทนนายธนาคารแล้ว มันกลายเป็นโอกาสทองสำหรับพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคเสรีนิยม ที่จะตัดและทำลายรัฐสวัสดิการ และมาตรฐานการจ้างงานเกินความจำเป็น เพราะรัฐบาลมีอคติอยู่แล้วกับระบบรัฐสวัสดิการ และอยากเปลี่ยนวัฒนธรรมของสังคมที่เคยสนับสนุนรัฐสวัสดิการและความสมานฉันท์ ทางสังคม ไปสู่วัฒนธรรม “ตัวใครตัวมัน”  
   
ในวิกฤตลึกๆ ทั่วโลกของทุนนิยมแบบนี้ ซึ่งเคยเกิดก่อนหน้านี้ในช่วง คริสต์ทศวรรษ 1930 อันโตนิโอ กรัมชี่ มองว่า เราไม่สามารถแน่ใจว่ามันจะออกมาในรูปแบบวิกฤตการเมืองอย่างไร และเมื่อไร กรัมชี่ อธิบายว่าเงื่อนไขที่สำคัญในการลุกขึ้นสู้ของชนชั้นกรรมาชีพและคนจน คือความเปราะบางของรัฐที่เป็นเผด็จการ การปกป้องรัฐโดย “ประชาสังคม” ในประเทศประชาธิปไตย และการวางแผนเตรียมพร้อมขององค์กรฝ่ายซ้ายที่มีรากฐานในชนชั้นกรรมาชีพ
   
ตั้งแต่ ปี 2010 การที่รัฐบาลทั่วยุโรปเปิดศึกด้านกว้างกับประชาชนทุกคน ไม่ใช่แค่คนงานกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และไม่ใช่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง เอื้อกับการที่สหภาพแรงงานต่างๆ จะจับมือร่วมกันต่อสู้ในรูปแบบการนัดหยุดงานทั่วไป และสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ ฝรั่งเศส อิตาลี และไอร์แลนด์

ยิ่ง กว่านั้น วิกฤตโลกเป็นสาเหตุสำคัญในการกระตุ้นการต่อสู้กับรัฐเผด็จการในอัฟริกาเหนือ หรือตะวันออกกลาง เช่นในตูนีเซีย และอียิปต์ เพราะรัฐบาลเผด็จการใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดมาเกือบ 30 ปี จนประชาชนส่วนใหญ่ยากจน และระดับการตกงานในหมู่เยาวชนสูงขึ้นจนทนไม่ได้ สถานการณ์แหลมคมขึ้นเป็นอย่างมากหลังวิกฤตเศรษฐกิจ
   
ในประเทศเผด็จการ การที่ประชาชนทนไม่ได้ และลุกขึ้นสู้ ทำให้ล้มเผด็จการได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ขบวนการแรงงานออกมาสู้ เช่นกรณีตูนีเซีย และอียิปต์ และจุดอ่อนของขบวนการเสื้อแดงในไทย คือการที่ไม่ค่อยมีใครในขบวนการเสื้อแดง ที่สนใจทำงานการเมืองในขบวนการแรงงาน
   
ในกรณีไทย วิกฤตเศรษฐกิจรอบแรกเกิดขึ้นก่อนประเทศตะวันตก คือในช่วงวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ปี ๒๕๓๙ และความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างเสื้อแดงกับเสื้อเหลืองมีจุดกำเนิดตรงนี้ เพราะฝ่ายอนุรักษ์นิยมเสื้อเหลือง ไม่พอใจกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยรักไทย ที่ครองใจคนจนจำนวนมาก
   
ความ เปราะบางของระบบเผด็จการ อย่างในอียิปต์ ทำให้กองทัพต้องรีบเขี่ยมูบารักออกจากตำแหน่ง ก่อนที่การต่อสู้จะลามไปสู่การล้มระบบทั้งหมด

ดังนั้นภาระสำคัญของ นักสังคมนิยมในอียิปต์ คือการปลุกระดมเคลื่อนไหวให้มวลชนสู้ต่อไป เพื่อปฏิวัติล้มระบบ ไม่ใช่หยุดแค่ในขั้นตอนการล้มประธานาธิปดี ในไทยก็คล้ายกัน ทั้งๆ ที่สถานการณ์ต่างกัน นักสังคมนิยมในขบวนการเสื้อแดง ต้องปลุกระดมให้เสื้อแดงสู้ต่อไปเพื่อล้มอำมาตย์ ทั้งๆ ที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลไปสู่พรรคเพื่อไทย
   
ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมานาน เช่นอังกฤษ หรือกรีซ ชนชั้นปกครองมีเกราะป้องกันตัวที่เรียกว่า “ประชาสังคม” ส่วนสำคัญของประชาสังคมนี้ คือพวกพรรคสังคมนิยมหรือพรรคแรงงานในรัฐสภา บวกกับผู้นำแรงงานอาชีพระดับชาติ เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีอิทธิพลในขบวนการแรงงานและขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ และเขาจะพยายามใช้อิทธิพลอันนี้ ในการควบคุมไม่ให้การต่อสู้ออกจากขอบเขตของระบบปัจจุบัน จึงมีความพยายามที่จะยับยั้งการต่อสู้เสมอ
   
ในกรณีอังกฤษ นักต่อสู้ฝ่ายซ้ายในขบวนการแรงงาน ต้องเคลื่อนไหวกดดันผู้นำแรงงานอาชีพระดับชาติ เพื่อให้ออกมาจัดการประท้วงยักษ์ใหญ่ในเดือนมีนาคม และล่าสุดเพื่อประกาศนัดหยุดงานทั่วไปหนึ่งวันในภาครัฐ เพื่อประท้วงการตัดบำเน็จบำนาญ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน แต่มันเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและยังไม่จบ
   
ในกรณีกรีซ รัฐบาลปัจจุบันที่ต้องการตัดคุณภาพชีวิตทุกอย่างของประชาชน เป็นรัฐบาลพรรคสังคมนิยม ซึ่งใกล้ชิดกับผู้นำแรงงานอาชีพระดับชาติ นักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้าย ต้องกดดันพวกผู้นำแรงงานอย่างต่อเนื่อง ตอนแรกมีการนัดหยุดงานทั่วไปหนึ่งวัน ซึ่งจัดหลายครั้ง ต่อมากมีการหยุดงานทั่วไปสองวันและล้อมรัฐสภา เพื่อกดดันนักการเมือง
   
ใน กรีซกระแสการเมืองเปลี่ยนไปมาก เพราะเมื่อปีที่แล้วมีการตัดงบประมาณรัฐและสภาพการจ้างงานมารอบหนึ่งแล้ว แต่ทุกคนเห็นว่ามันไม่แก้อะไรเลย มันยิ่งทำให้เศรษฐกิจหดตัว รอบนี้ประชาชนเห็นชัดอีกด้วยว่า สามองค์กร “เจ้าพ่อ” คือ ไอเอ็มเอฟ สหภาพยุโรป และธนาคารกลางยุโรป มองกรีซเหมือนเป็นเมืองขึ้น มีการส่งตัวแทนมา “สั่ง” ให้รัฐสภาผ่านกฏหมายตัดงบประมาณ และประกาศว่ากรีซ “ไม่มีทางเลือกนอกจากจะยอม” สิ่ง เหล่านี้ทำให้ประชาชนเกิน 80% หันมาคัดค้านการตัดคุณภาพชีวิตเพื่อจ่ายหนี้ให้ธนาคารใหญ่ และทำให้สมาชิกในสหภาพแรงงานเริ่มสนับสนุนผู้แทนของฝ่ายซ้ายมากขึ้น
   
กลุ่มฝ่ายซ้ายในกรีซ มีสามกลุ่มคือ พรรคคอมมิวนิสต์ (KKK), พรรค Synaspismos (ซึ่งเป็นอดีตคอมมิวนิสต์) และ Antarsya “แนวร่วมต้านทุนนิยม” สององค์กรแรกให้ความสำคัญกับรัฐสภามากเกินไป แต่ “แนวร่วมต้านทุนนิยม” เน้นการปลุกระดมแรงงาน และที่สำคัญคือมีข้อเสนอรูปธรรมในการแก้ปัญหา

Antarsya เสนอว่ารัฐกรีซต้องประกาศงดจ่ายหนี้ถาวร ต้องถอนตัวออกจากระบบเงินยูโร และต้องมีการนำธนาคารมาเป็นของรัฐภายใต้การบริหารของสหภาพแรงงาน เพื่อใช้เงินในธนาคารในการจ่ายเงินเดือน บำเน็จบำนาญ และเพื่อสร้างงาน และข้อเสนอนี้เริ่มได้รับการนิยมจากประชาชนระดับหนึ่ง
   
การต่อสู้ในประเทศหนึ่ง ส่งกำลังใจให้คนในประเทศอื่นๆ เป็นลูกโซ่ และมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย การที่มีการปฏิวัติในตูนีเซีย และอียิปต์ เพิ่มกำลังใจในการต่อสู้ของคนงานยุโรป และคนเสื้อแดงที่เปิดหูเปิดตา ไม่จมในความคิดคับแคบเกี่ยวกับ “ลักษณะพิเศษของไทย” ก็เริ่มพูดถึงอียิปต์มากขึ้น
   
ในการต่อสู้ของคนหนุ่มสาวในอียปิต์ หรือสเปน สื่อกระแสหลักชอบพูดเกินเหตุว่ามันเป็นการลุกฮือโดย “ไร้แกนนำ” ผ่านการใช้ทวิตเตอร์กับแฟสบุ๊ก

แต่อันโตนีโอ กรัมชี่ เคยเสนอว่า “ผู้ที่คิดว่าการลุกฮือในที่ใดที่หนึ่ง เป็นไปตามธรรมชาติโดยไร้แกนนำ เป็นคนที่ไม่รู้จักขบวนการนี้ดีพอ” ทุกครั้งที่มีคนลุกขึ้นสู้ มีคนเตรียมตัว วางแผน และเสนอแนวสู้เสมอ แน่นอนเราไม่ต้องการให้ผู้นำพรรคสังคมนิยมกระแสหลัก หรือหัวหน้าสหภาพแรงงานมืออาชีพ มาควบคุมการต่อสู้ให้มันเบาลง หรือนำในรูปแบบเผด็จการ เราต้องการให้การต่อสู้มีแกนนอนและความสร้างสรรค์ แต่ในขณะเดียวกันเราไม่สามารถปฏิเสธการสร้างองค์กรปฏิวัติและการช่วงชิงการ นำในขบวนการเคลื่อนไหวได้ เพราะถ้าไม่มีองค์กรดังกล่าว ที่พยายามวิเคราะห์สถานการณ์และชี้นำการต่อสู้ มวลชนจะสับสน ขาดความมั่นใจ หรือคล้อยตามพวกที่ชวนให้เลิกสู้
สมศักดิ์ เจียมฯ:อย่าดำเนินการเรื่องอภัยโทษเลยครับ จะทำให้ระบบกฎหมายเสียหายในระยะยาว
ถ้า คิดจะช่วยคุณทักษิณนะครับ ไม่ต้องอ้าง 3 ล้านชื่อ(ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ)หรอกครับ อ้างนี่เลย อ้่่างได้ 15 ล้านเสียงที่ลงคะแนนให้ เพื่อไทย ออกเป็น พรบ.นิรโทษกรรมเลยครับ ดีกว่าทำให้ระบบเสียแบบนี้..ในความเห็นของผม คดีต่างๆที่ดำเนินการกับคุณทักษิณ ไม่ว่ากรณีที่ดินรัชดา กรณียึดทรัพย์ ฯลฯ ล้วนเป็นโมฆะทั้งสิ้น เพราะผิดกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง (due process).....
 http://thaienews.blogspot.com/2011/09/blog-post_2747.html

มา..มาถือคบเพลิงคนละอัน..ไล่จี้ก้น รมต.คุมสื่อกัน!!!


รูปภาพ

ฮู้ว..รัฐมนตรี..อยู่ไหน..ใยเงียบกริบ
ทำมุบมิบ..ฉุยฉาย..เล่นหายหัว
อย่าลืมล่ะ..อย่าลืมนะ..ธุระตัว
หรือแอบมั่ว..หลบฉาก..ไม่อยากทำ....

ร้อยปัญหา..หมักหมม..ทับถมแน่น
มันง่อนแง่น..เกินเสาะหา..คำว่า "ขำ"
หรือปล่อยพวก..ผีห่า..บ้าระยำ
พูดตอกย้ำ..ก่นด่า..ว่ารัฐบาล....

ก๊อกๆ ..รมต..คุมสื่อ..อยู่หรือเปล่า?
กี่เรื่องราว..มากมี..ที่กล่าวขาน
ปล่อยสื่อชั่ว..มั่วตีไข่..ในสันดาน
ยังงุ่นง่าน..เรื่องอะไร..ใยเงียบจัง....

เดี๋ยวจะเอา..คบเพลิงไฟ..ไปลนก้น
เลิกสับสน..เสียบ้าง. สร้างความหวัง
หากยังคิด..เงียบฉี่..ไม่อีนัง
พังกับพัง..หากเก็บตัว..มัวเฉื่อยชา....

๓ บลา / บ่าย ๙ ก.ย.๕๔

 
คุณแม่พะเยาว์นำทัพ "เผาหีบศพ" ประท้วงสุเทพ







 

นักข่าวพลเมือง: ญาติเหยื่อสลายการชุมนุม เผาโลง “สุเทพ” หน้ารัฐสภา

 
วานนี้ (8 ก.ย.54) เวลาประมาณ 11.00 น.ที่หน้ารัฐสภา กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อ เดือน เม.ย.-พ.ค.53 ประมาณ 30 คน สวมชุดดำร่วมพิธีเผาศพนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง แสดงความไม่พอใจกรณีให้สัมภาษณ์สื่อระบุกลุ่มคนเสื้อแดงไม่มีสิทธิ์กดดันการ จัดทำโผทหาร พร้อมเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้น

http://www.youtube.com/watch?v=0tsmmLkBcjY&feature=player_embedded