23 ก.ย.55 เวลาประมาณ 13.00 น. มีงานเสวนา รัฐประหาร 19 กันยา
กับอาชญากรรมโดยรัฐ กรณีการสลายการชุมนุมเมษา-พฤษภา 53
จัดโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือน
เม.ย.-พ.ค.53 (ศปช.) และกลุ่มปฏิญญาหน้าศาล ที่ตึกเอนกประสงค์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมากจนล้นห้องประชุม
อ่านรายงานส่วนของ พวงทอง ภวัครพันธุ์
"ความจริงจากคลิป"
เวียง รัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ตัวแทน ศปช. กล่าวถึงเหตุการณ์บริเวณราชปรารภ ว่า ขณะที่รายงานของ คอป.ระบุว่าความรุนแรงเริ่มเมื่อมีเอ็ม 79 ลงในคืนวันที่ 14 พ.ค. ที่บริเวณราชปรารภ และจากรายงานข่าวของไทยพีบีเอสที่ระบุว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ค. เวลา 18.30 น. มีผู้ชุมนุมทุบกระจกรถบรรทุกทหาร ขณะขับผ่านบริเวณแยกดินแดง พร้อมบรรยายว่า เมื่อเสียงปืนดังขึ้นทำให้ทหารล้มลง แต่จากการตรวจสอบของ ศปช. พบว่า เป็นการยิงขึ้นฟ้าและแย่งปืนจากทหาร เพื่อมอบให้ตำรวจ แต่ไม่มีสื่อใดรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เกิดการตีความว่า คนเสื้อแดงยิงทหารล้มลงบาดเจ็บ ทั้งนี้ จากคำให้การในศาล ยืนยันตรงกันว่าทหารล้มเพราะถูกดึงลงมา และร่างกายไม่มีรอยกระสุน
นอก จากนี้จากการเก็บข้อมูลของ ศปช. พบว่า ก่อนเหตุการณ์ความวุ่นวายดังกล่าว มีผู้โดยสารรถแท็กซี่ในบริเวณนั้นถูกยิงและได้รับบาดเจ็บ 1 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือนายไชยันต์ วรรณจักร อายุ 21 ปี ซึ่งทำงานร้านอาหารญี่ปุ่นในสุขุมวิท ถูกยิงเสียชีวิตขณะขี่มอเตอร์ไซค์เพื่อกลับบ้านแถวอนุสาวรีย์ชัย นอกจากนี้ยังมีนายทิพเนตร ที่ใบมรณบัตร ระบุเวลาเสียชีวิต 23.00 น. แต่คาดว่าเสียชีวิตในเวลาไล่เลี่ยกันกับนายไชยันต์
นอกจากนี้ คืนวันที่ 14 พ.ค. ยังมีอาสาสมัครกู้ภัยและผู้ไม่เกี่ยวข้องถูกยิงเสียชีวิต อาทิ นายบุญทิ้ง ปานจิรา อาสาสมัครกู้ภัยวชิรพยาบาล ซึ่งถูกยิงบริเวณปั๊มเชลล์ จากการเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ ทั้งที่มีป้ายวชิรพยาบาลชัดเจน ไม่มีอาวุธ ขณะที่บริเวณใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ สื่อรายงานว่า มีรถตู้ นปช.ฝ่าด่านทหาร เข้ามา ถูกยิงกระจกแตกรอบด้าน จากข้อมูล ศปช. พบว่าสมร ผู้ขับรถตู้ เพิ่งส่งผู้โดยสารต่างชาติที่ร.ร.แกรนด์เชอราตัน แต่ถูกทหารยิงกระหน่ำ อาจด้วยความเข้าใจว่าเป็น นปช.บุกและเพิ่งมีเอ็ม 79 ลงเมื่อสองทุ่ม นอกจากนี้ยังมีนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ กับด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ อายุ 14 ปี ซึ่งออกมาดูเหตุการณ์ และถูกลูกหลงจนเสียชีวิต
โดยสรุปในวันที่ 14 พ.ค. ตั้งแต่ 17.30น. มีผู้เสียชีวิต 11 ศพ ทั้งนี้ ไม่รวมผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก
เช้า วันที่ 15 พ.ค. มีผู้เสียชีวิตอีก 3 ราย เช่น กรณีเฌอ สมาพันธ์ ศรีเทพ อายุ 17 ปี ซึ่งไม่มีอาวุธ มีพยานบอกว่า ถูกยิงที่ศีรษะ ตัวหมุนและล้มลง เข้าใจว่า ขณะเกิดเหตุสมาพันธ์ค่อยๆ เข้าไปทางทหารเพื่อดูเหตุการณ์ ถาม คอป.ว่า นี่คือการยั่วยุของคนเสื้อแดงหรือ
ตอนบ่ายมีอีก 3 ศพ จากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น กรณีชาญณรงค์ พลศรีลา ซึ่งถูกยิงเสียชีวิต โดยมีภาพว่า มีเพียงยางรถยนต์กับหนังสติ๊ก ถามว่าในช่วงกลางวันแสกๆ ทหารที่มีกล้องติดปืนจะไม่เห็นหรือว่าเขาถืออะไร น่าประหลาดใจว่า ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสรายงานว่า ทหารใช้อาวุธผลักดันผู้ชุมนุม ผู้สื่อข่าว ออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย
บ่าย วันเดียวกันยังมีนายธนากร ญาติของกำปั้น บาซู ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตขณะอยู่ในคอนโดเดอะคอมพลีท ชั้นที่ 24 เข้าใจว่า ยื่นหน้าออกมาดูเหตุการณ์ วิถีกระสุนเข้าทางขวา ออกทางซ้าย แปลว่ายิงมาจากทางทหาร ส่วนกำปั้นซึ่งจะเข้าไปช่วยเหลือก็ถูกกระสุนยิงเข้าไปแขน
ดังนั้นจะ เห็นว่า ศอฉ.บิดเบือนความจริง สร้างข้อมูลเท็จ โดยอ้างว่า มีการยิงเอ็ม 79 ทหารจึงต้องใช้อาวุธ ทั้งที่ ศปช. พบว่ามีผู้เสียชีวิตก่อนหน้านั้น ขณะที่สื่อก็รายงานบิดเบือนหรือผิดพลาดโดยเจตนา โดยรายงานว่าเป็นการปะทะระหว่าง นปช. กับทหาร ทั้งที่อาวุธที่ นปช. คือ หนังยาง ระเบิดเพลิง เมื่อทหารยิงมาก็ระบุว่า "กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" มีคนใส่ชุดทหาร ก็รายงานว่า "แต่งกายคล้ายทหาร" ใช้คำว่า "ก่อความรุนแรง" "แดงเหิมบุกหนัก" และจากการที่ 19 คนที่เสียชีวิตบริเวณราชปรารภ ไม่มีอาวุธแม้แต่คนเดียว ยกเว้นชาญณรงค์ที่มีหนังสติ๊ก ถามว่าใครรับผิดชอบต่อการตายของคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่เหล่านี้
อ่านรายงานส่วนของ พวงทอง ภวัครพันธุ์
"ความจริงจากคลิป"
เวียง รัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ตัวแทน ศปช. กล่าวถึงเหตุการณ์บริเวณราชปรารภ ว่า ขณะที่รายงานของ คอป.ระบุว่าความรุนแรงเริ่มเมื่อมีเอ็ม 79 ลงในคืนวันที่ 14 พ.ค. ที่บริเวณราชปรารภ และจากรายงานข่าวของไทยพีบีเอสที่ระบุว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ค. เวลา 18.30 น. มีผู้ชุมนุมทุบกระจกรถบรรทุกทหาร ขณะขับผ่านบริเวณแยกดินแดง พร้อมบรรยายว่า เมื่อเสียงปืนดังขึ้นทำให้ทหารล้มลง แต่จากการตรวจสอบของ ศปช. พบว่า เป็นการยิงขึ้นฟ้าและแย่งปืนจากทหาร เพื่อมอบให้ตำรวจ แต่ไม่มีสื่อใดรายงานข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เกิดการตีความว่า คนเสื้อแดงยิงทหารล้มลงบาดเจ็บ ทั้งนี้ จากคำให้การในศาล ยืนยันตรงกันว่าทหารล้มเพราะถูกดึงลงมา และร่างกายไม่มีรอยกระสุน
นอก จากนี้จากการเก็บข้อมูลของ ศปช. พบว่า ก่อนเหตุการณ์ความวุ่นวายดังกล่าว มีผู้โดยสารรถแท็กซี่ในบริเวณนั้นถูกยิงและได้รับบาดเจ็บ 1 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือนายไชยันต์ วรรณจักร อายุ 21 ปี ซึ่งทำงานร้านอาหารญี่ปุ่นในสุขุมวิท ถูกยิงเสียชีวิตขณะขี่มอเตอร์ไซค์เพื่อกลับบ้านแถวอนุสาวรีย์ชัย นอกจากนี้ยังมีนายทิพเนตร ที่ใบมรณบัตร ระบุเวลาเสียชีวิต 23.00 น. แต่คาดว่าเสียชีวิตในเวลาไล่เลี่ยกันกับนายไชยันต์
นอกจากนี้ คืนวันที่ 14 พ.ค. ยังมีอาสาสมัครกู้ภัยและผู้ไม่เกี่ยวข้องถูกยิงเสียชีวิต อาทิ นายบุญทิ้ง ปานจิรา อาสาสมัครกู้ภัยวชิรพยาบาล ซึ่งถูกยิงบริเวณปั๊มเชลล์ จากการเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บ ทั้งที่มีป้ายวชิรพยาบาลชัดเจน ไม่มีอาวุธ ขณะที่บริเวณใกล้แอร์พอร์ตลิงก์ สื่อรายงานว่า มีรถตู้ นปช.ฝ่าด่านทหาร เข้ามา ถูกยิงกระจกแตกรอบด้าน จากข้อมูล ศปช. พบว่าสมร ผู้ขับรถตู้ เพิ่งส่งผู้โดยสารต่างชาติที่ร.ร.แกรนด์เชอราตัน แต่ถูกทหารยิงกระหน่ำ อาจด้วยความเข้าใจว่าเป็น นปช.บุกและเพิ่งมีเอ็ม 79 ลงเมื่อสองทุ่ม นอกจากนี้ยังมีนายพัน คำกอง คนขับแท็กซี่ กับด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ อายุ 14 ปี ซึ่งออกมาดูเหตุการณ์ และถูกลูกหลงจนเสียชีวิต
โดยสรุปในวันที่ 14 พ.ค. ตั้งแต่ 17.30น. มีผู้เสียชีวิต 11 ศพ ทั้งนี้ ไม่รวมผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก
เช้า วันที่ 15 พ.ค. มีผู้เสียชีวิตอีก 3 ราย เช่น กรณีเฌอ สมาพันธ์ ศรีเทพ อายุ 17 ปี ซึ่งไม่มีอาวุธ มีพยานบอกว่า ถูกยิงที่ศีรษะ ตัวหมุนและล้มลง เข้าใจว่า ขณะเกิดเหตุสมาพันธ์ค่อยๆ เข้าไปทางทหารเพื่อดูเหตุการณ์ ถาม คอป.ว่า นี่คือการยั่วยุของคนเสื้อแดงหรือ
ตอนบ่ายมีอีก 3 ศพ จากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหาร เช่น กรณีชาญณรงค์ พลศรีลา ซึ่งถูกยิงเสียชีวิต โดยมีภาพว่า มีเพียงยางรถยนต์กับหนังสติ๊ก ถามว่าในช่วงกลางวันแสกๆ ทหารที่มีกล้องติดปืนจะไม่เห็นหรือว่าเขาถืออะไร น่าประหลาดใจว่า ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสรายงานว่า ทหารใช้อาวุธผลักดันผู้ชุมนุม ผู้สื่อข่าว ออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย
บ่าย วันเดียวกันยังมีนายธนากร ญาติของกำปั้น บาซู ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตขณะอยู่ในคอนโดเดอะคอมพลีท ชั้นที่ 24 เข้าใจว่า ยื่นหน้าออกมาดูเหตุการณ์ วิถีกระสุนเข้าทางขวา ออกทางซ้าย แปลว่ายิงมาจากทางทหาร ส่วนกำปั้นซึ่งจะเข้าไปช่วยเหลือก็ถูกกระสุนยิงเข้าไปแขน
ดังนั้นจะ เห็นว่า ศอฉ.บิดเบือนความจริง สร้างข้อมูลเท็จ โดยอ้างว่า มีการยิงเอ็ม 79 ทหารจึงต้องใช้อาวุธ ทั้งที่ ศปช. พบว่ามีผู้เสียชีวิตก่อนหน้านั้น ขณะที่สื่อก็รายงานบิดเบือนหรือผิดพลาดโดยเจตนา โดยรายงานว่าเป็นการปะทะระหว่าง นปช. กับทหาร ทั้งที่อาวุธที่ นปช. คือ หนังยาง ระเบิดเพลิง เมื่อทหารยิงมาก็ระบุว่า "กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" มีคนใส่ชุดทหาร ก็รายงานว่า "แต่งกายคล้ายทหาร" ใช้คำว่า "ก่อความรุนแรง" "แดงเหิมบุกหนัก" และจากการที่ 19 คนที่เสียชีวิตบริเวณราชปรารภ ไม่มีอาวุธแม้แต่คนเดียว ยกเว้นชาญณรงค์ที่มีหนังสติ๊ก ถามว่าใครรับผิดชอบต่อการตายของคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่เหล่านี้