ต่อต้านทักษิณ โดยไม่ต่อต้านประชาธิปไตย เป็นไปได้ไหม?และต้องทำอย่างไร?
โดย เกษียร เตชะพีระ
ส่วน
เรื่องที่ไม่เอานิรโทษกรรม ตนได้พูดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เพียงคำเดียวว่า ′ดิฉันไม่เอา นิรโทษกรรม′ เท่านั้น จากนั้นก็มีข่าว จาก
พ.ต.ท.ทักษิณออกมาบอกว่าให้ลืมๆ กันไป เดินหน้าปรองดอง
ตนไม่เชื่อคำพูดใครทั้งสิ้น..."
นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมนเกด อัคฮาด
พยาบาลอาสาที่ถูกยิงบริเวณวัดปทุมวนารามในการสลายการชุมนุมเมื่อ 19 พ.ค. 2555
(http://www.bangkokbiznews.com, 26 เม.ย.2555)
เมื่อ
เร็วๆ นี้
ผมตั้งคำถามเป็นการบ้านให้นักศึกษาโครงการปริญญาเอกวิชาสัมมนาการเมือง
การปกครองไทยที่รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ลองตอบดูว่า :
"จาก
บทอ่านเรื่อง Kasian Tejapira, "Toppling Thaksin" (๒๐๐๖,
www.newleftreview.org/?view=2615) และ Thongchai Winichakul, "Toppling
Democracy" (๒๐๐๘,
www.sameskybooks.org/wp-content/uploads/2008/02/j-of-contem-asia-2008-thongchai-winichakul-toppling-democracy.pdf)
ให้นักศึกษาลองวิเคราะห์วิจารณ์ว่า
การต่อต้านทักษิณโดยไม่ต่อต้านประชาธิปไตยไปด้วยนั้น เป็นไปได้หรือไม่?
และต้องทำอย่างไรบ้าง?"
คำ
ตอบของนักศึกษาเลขทะเบียน 5403300022 มีประเด็นแหลมคมชวนคิดน่าสนใจ
อีกทั้งสอดรับกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ผมขออนุญาตคัดบางตอนมานำเสนอโดยแก้ไขปรับแต่งถ้อยคำบ้างเล็กน้อย ดังนี้ :
"...พิจารณาจากหลักการพื้นฐานที่สำคัญของประชาธิปไตยดังนี้ :
1) รัฐบาลมาจากความยินยอมของประชาชน ประชาชนถืออำนาจอธิปไตย แต่งตั้งถอดถอน รัฐบาลได้ผ่านกระบวนการที่ตกลงไว้
2) ระบอบการปกครองฟังเสียงข้างมาก โดยมิได้ละเมิดล่วงเกินสิทธิขั้นมูลฐานของฝ่าย ข้างน้อย
3) ปกครองโดยหลักนิติธรรม ยุติธรรมเสมอหน้า
4) ค้ำประกันสิทธิมนุษยชนของประชาชน และ
5) มีการสืบทอดอำนาจโดยสันติ
จากหลักการทั้ง 5 ประการสามารถสรุปอำนาจประชาธิปไตยได้เป็นสองส่วนคือ ที่มาของ อำนาจ กับ กระบวนการใช้อำนาจ
ซึ่งกรณีทักษิณ เกษียรให้ความสำคัญกับกระบวนการใช้อำนาจของทักษิณ
ใน
ขณะที่ธงชัยให้ความสำคัญกับที่มาของอำนาจของทักษิณ
แต่เน้นความสนใจไปที่การใช้อำนาจของสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีเป็นเรื่องหลัก
อันแสดงให้เห็นว่าข้อถกเถียงระหว่างทั้งสองเป็นเรื่องอัตวิสัยในการพิจารณา
ความสำคัญของกระบวนการประชาธิปไตย
อย่าง
ไรก็ตาม
การต่อต้านทักษิณกับการพยายามไม่ให้สถาบันชนชั้นนำตามประเพณีแทรกแซงกระบวน
การประชาธิปไตยอาจเป็นเรื่องเดียวกัน
กล่าวคือเป็นเรื่องของประชาธิปไตยที่ก้าวข้าม
การพึ่งพิงตัวบุคคลผู้นำที่มีบุคลิกแบบอำนาจนิยมและต่อต้านอำนาจรวมศูนย์ทุน
นิยมพวกพ้อง
ควบคู่กับการหลีกเลี่ยงไม่นำสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีมาเป็นเครื่องมือทาง
การเมืองโดยอาศัยภาพผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย
พยายามแยกทั้งทักษิณและสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีออกจากภาพแทนประชาธิปไตย
อย่าง ไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าต้องมีพื้นที่ให้ทักษิณดำรงอยู่ ไม่ผลักออกไปจากการเมืองโดย อ้างเรื่องคุณธรรม แต่จะทำอย่างไรให้เขาอยู่ในสังคมการเมืองได้โดยไม่ฉกฉวยผลประโยชน์เฉพาะ กลุ่มหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าจะจัดการกับกลุ่มทุนอย่างไรไม่ให้ทำลาย ประชาธิปไตย การ ต้านทักษิณโดยไม่ต่อต้านประชาธิปไตยสามารถกระทำได้โดยสร้างระบบกลไกที่ไม่ ต้องพึ่งพิงตัวบุคคลสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีให้เข้ามามีอำนาจนำทางการเมือง ดังนี้ : 1) ต้องยอมรับว่าทักษิณและพวกพ้องที่ผ่านมาไม่ได้เท่ากับประชาธิปไตย หรือประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง ทว่ารัฐบาลทักษิณเป็นประชาธิปไตยเพียงครึ่งเดียวคือ ในแง่การได้มาซึ่ง อำนาจ แต่ในแง่การใช้อำนาจนั้น รัฐบาลทักษิณไม่สามารถรักษาความชอบธรรมไว้ได้ จนนำมาสู่ความขัดแย้งและทำลายรัฐบาลของตัวเอง ทั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าการทำลายประชาธิปไตยปรากฏได้เสมอ แม้ภายใต้รัฐบาลที่มาจากเสียงข้างมาก กระนั้น พึงตระหนักด้วยว่าการฟื้นฟูประชาธิปไตยมิใช่จะทำได้ด้วยการโค่นล้มรัฐบาลที่ ละเมิดสัญญาประชาคมโดยวิธีรัฐประหาร หรือดึงสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีมาใช้ แต่อยู่ที่การผลักดันของภาคสังคมผ่านกลไกที่เป็นทางการหรือผ่านขบวนการ เคลื่อนไหวอื่นๆ 2) ความเข้มแข็งของภาคประชาชนยังมีความจำเป็นในการเฝ้าระวังกลุ่มทุนต่างๆ รวมทั้ง อำนาจการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนก็จำเป็นเช่นกัน กล่าวคือการกระจายอำนาจยังเป็นสิ่งจำเป็น มิใช่การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ตัวนายกรัฐมนตรี อย่าง ไรก็ตาม ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าต้องทำให้ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาคที่ เคยเป็นแขนขาให้นักการเมืองระดับชาติมีอิสระในการทำงานและมีกลไกที่ภาค ประชาชนเข้าไปตรวจสอบการทำงานได้มากขึ้น นอก จากนี้ ปัญญาชนสาธารณะต้องมีบทบาทในการเฝ้าระวังตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลโดยกลุ่ม คนเหล่านี้ควรเป็นคนที่มีความคิดแนวขวากลางหรือซ้ายกลาง ไม่สุดโต่งไปทางใด ทางหนึ่ง เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มทุน นโยบายที่รุกรานทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สิทธิ มนุษยชน หรือสิทธิพื้นฐานของชุมชน รวมไปถึงการใช้งบประมาณรัฐ การใช้เงินของพรรคการเมือง อนึ่ง การแสดงความไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมิได้ หมายถึงการทำลายประชาธิปไตย ตรงกันข้าม การผลักไสคน/กลุ่มคนที่คัดค้านนโยบายบางประการของรัฐบาลออกไปโดยอ้างว่า เป็นพวกเสื้อสีตรงข้ามกับตน-นั่นต่างหากที่บ่อนทำลายประชาธิปไตย ดังที่เกิดขึ้นในกรณีคัดค้านการสร้างเขื่อน กรณีเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ เป็นต้น เพราะเท่ากับเป็นการลดพื้นที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐ เปิดโอกาสให้รัฐใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจโดยอ้างเสียงข้างมาก อย่าง ไรก็ดี การเคลื่อนไหวคัดค้านการตัดสินใจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็พึงระวัง ไม่ชักนำกองทัพหรือสถาบันชนชั้นนำตามประเพณีมาเป็นเครื่องมือในการต่อต้าน รัฐบาลเช่นกัน 3) การออกกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญเพื่อกีดกันบุคคลหรือกลุ่มการเมืองใดให้ออกไปจากเวทีการเมืองมิใช่ทางออกที่เหมาะสม เพราะ การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องให้ทุกกลุ่มมีพื้นที่มีส่วนในอำนาจ การป้องกันการผูกขาด อำนาจหรือใช้อำนาจโจมตีคู่แข่งอย่างผิดกติกาการเมืองต่างหากที่จำเป็น 4) การสกัดกั้นกลุ่มทุนทักษิณซึ่งเป็นภาพแทนทุนโลกาภิวัตน์โดยเปลี่ยนกระแส เสียงข้างมากนั้น ต้องใช้เวลา รอโอกาส เพราะที่จริงก็คือ ต้องสู้กับกระแสเศรษฐกิจระดับโลกไปพร้อมกัน อันมิใช่เรื่องง่าย (ที่มา) |
|