หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ตามรอยคดีปราสาทพระวิหาร ระเบิดเวลาลูกใหม่"รบ.ปู"

ตามรอยคดีปราสาทพระวิหาร ระเบิดเวลาลูกใหม่"รบ.ปู"




 
มติชนวิเคราะห์ : คดีปราสาทพระวิหาร 
 
หมายเหตุ - ขณะ นี้เริ่มมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับท่าทีของรัฐบาลไทยต่อข้อพิพาทคดี ปราสาทพระวิหาร ระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา "มติชน" จึงย้อนรอยลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมท่าทีที่ผ่านมาทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชา ก่อนที่ศาลโลกจะพิจารณาคดีในเดือนเมษายน และคาดว่าจะมีคำพิพากษาปลายปีนี้
 

ลำดับเหตุการณ์
คดีปราสาทพระวิหาร

15มิถุนายน 2505 ศาลโลกมีคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา พร้อมสั่งให้ไทยถอนทหารและตำรวจออกจากปราสาทและบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระ วิหาร รวมถึงให้คืนวัตถุโบราณที่ไทยนำออกจากตัวปราสาท

10 กรกฎาคม 2505 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดเส้นขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร

15 กรกฎาคม 2505 ไทยถอนกำลังทหารและตำรวจออกจากปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้เคียง

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

28 เมษายน 2554 กัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 และขอให้ศาลโลกออกคำสั่งมาตรการชั่วคราวให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ ปราสาทพระวิหาร

3 พฤษภาคม 2554 คณะรัฐมนตรีอนุมัติการจัดตั้งคณะดำเนินคดีปราสาทพระวิหารของไทย และแต่งตั้งทนายความของไทยในการสู้คดี

30-31 พฤษภาคม 2554 องค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกนั่งพิจารณาคดี (oral hearings) ตามคำขอของกัมพูชาเรื่องมาตรการชั่วคราว

18 กรกฎาคม 2554 ศาลโลกมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว 4 ข้อ

1.ให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราวตามพื้นที่ซึ่งศาลกำหนดให้ทันที

2.ไม่ ให้ไทยขัดขวางกัมพูชาในการเข้าถึงปราสาทพระวิหารอย่างอิสระ รวมถึงการส่งเสบียงที่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของกัมพูชาใน ปราสาทพระวิหาร

3.ให้ไทยและกัมพูชาร่วมมือกับอาเซียน และอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์จากอาเซียนเข้าไปในพื้นที่เขตปลอดทหารชั่วคราว

4.ให้ไทยและกัมพูชาละเว้นการดำเนินการใดๆ ที่จะทำให้สถานการณ์หรือข้อพิพาทมีความรุนแรงมากขึ้น  


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357268454&grpid=01&catid=&subcatid=

จาก วรเจตน์ ถึงรัฐบาล: เลิกคิดเรื่องลงประชามติ-ปลดล็อกศาล รธน. ก่อน

จาก วรเจตน์ ถึงรัฐบาล: เลิกคิดเรื่องลงประชามติ-ปลดล็อกศาล รธน. ก่อน

 

 
วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ประชามติ รธน.วาระ 3


บทสนทนาส่งท้ายปีเก่าและรับกระแสลงประชามติในปีใหม่ กับ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ โดยใบตองแห้ง, บ.ก.ฟ้าเดียวกัน และบ.ก.ข่าวประชาไท ชี้ข้อจำกัดทางกฎหมายของการลงประชามติแก้ รธน. พร้อมตั้งคำถามสำคัญถึงรัฐบาล เป้าหมายเชิงโครงสร้างของรัฐบาลคืออะไร

เหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญของปี 2555 ก็คือการยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเข้าสู่สภา โดยพรรคร่วมรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ แต่ก็ต้องสะดุดลงเมื่อเดินมาถึงการโหวตวาระสาม เมื่อมีผู้นำเรื่องไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่า การกระทำของพรรคร่วมรัฐบาลนั้นเป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตาม วิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่

แม้นักกฎหมายมหาชนจำนวนไม่น้อยออกมาแย้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจในการวินิจฉัยคำร้อง แต่ศาลก็รับคำร้องไว้พิจารณา และมีคำวินิจฉัยที่ชวนสงสัยออกมาเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555 โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ามีอำนาจวินิจฉัยคำร้อง ตามมาตรา 68 วรรค 2  และวินิจฉัยว่าการกระทำของพรรคร่วมรัฐบาลไม่เป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้ม ล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ห้ามแก้ รธน. ทั้งฉบับ ต้องประชามติก่อน พร้อมเสนอว่า “ควร” จะให้มีการลงประชามติ

ถ้าจำกันได้ ในช่วงเวลานั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชัดเจนถึงผลบังคับ แต่ที่แน่ๆ ในทางการเมือง ชี้ให้เห็นว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่พรรคไทยรักไทยใช้หาเสียงเลือกตั้งกับประชาชนไว้ นั้น ส่อแววว่าจะพบกับอุปสรรคขวากหนามโดยมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นก้างชิ้นใหญ่

ปลายปี กระแสการลงประชามติแก้รัฐธรรมนูญกระหึ่มขึ้นมาจากฟากรัฐบาล ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านไปปราศรัยกับประชาชนเริ่มรณรงค์แต่ไก่โห่ให้นอนหลับทับ สิทธิลงประชามติ เนื่องจากข้อกำหนดการลงประชามติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 นั้นกำหนดให้ต้องมีประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกมาลงคะแนนเกินกว่ากึ่ง หนึ่ง และเสียงโหวตเห็นด้วยต้องเกินกว่ากึ่งหนึ่งของประชาชนที่ออกมาลงประชามติ

ขวากหนามกองใหญ่ก็ปรากฏให้เห็นอีกครั้ง ประชาไทสนทนากับวรเจตน์ ภาคีรัตน์ เพื่อถามความเห็นของเขาในเรื่องนี้ รวมไปถึงท่าทีของรัฐบาลต่อการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเขาเห็นว่า รัฐบาลนี้หวาดกลัวมากเกินไป

ผู้ร่วมสนทนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย ใบตองแห้ง คอลัมนิสต์ผู้มีลีลาเฉพาะตัว, ธนาพล อิ๋วสกุล บ.ก.นิตยสารฟ้าเดียวกัน และพิณผกา งามสม บรรณาธิการข่าวประชาไท

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/01/44488 

การแก้รัฐธรรมนูญ 50 ถึงทางตัน

การแก้รัฐธรรมนูญ 50 ถึงทางตัน

 

โดย อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ 
ที่มา:  “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2556

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า แกนนำพรรคเพื่อไทยได้เลือกที่จะไม่เดินหน้าประชุมรัฐสภาลงมติผ่านร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ ม.291 วาระสามโดยทันที หากแต่จะใช้เส้นทางการทำประชามติ ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ “แนะนำ” ไว้

ทั้งหมดนี้สะท้อนถึง “สภาวะล้มละลายทางหลักกฎหมาย” ของระบบตุลาการในประเทศไทยอย่างชัดเจน อันเป็นผลที่ฝ่ายเผด็จการใช้ตุลาการเป็นเครื่องมือสนับสนุนกลุ่มคนที่เป็น พวกของตน ไปทำลายล้างกลุ่มการเมืองที่ตนคิดว่า เป็นศัตรูให้ตุลาการลากตีความตัวบทกฎหมายเอาตามใจชอบ ไม่ใยดีต่อหลักนิติรัฐ เพื่อไปบรรลุเป้าทางการเมือง

ผลก็คือ ทุกคนที่ถูกกระทำ รวมทั้งพรรคเพื่อไทย จึงต้องเดินตามแนวทางและวิธีการเดียวกันเพื่อเอาตัวรอด ซึ่งก็คือใช้หลักการ “ตุลาการวิบัติ” หาช่องทางกฎหมาย เลี่ยงบาลี เพื่อหลบหลีกการถูกกระทำจากตุลาการฝ่ายเผด็จการ

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.291 ซึ่งพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลได้ดำเนินไปตามกรอบของรัฐธรรมนูญอย่าง เคร่งครัดระมัดระวัง แต่ก็ยังถูกแทรกแซงโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ “ลากตีความ ม.68” เพิ่มอำนาจให้กับตนเอง กระทำ “ตุลาการรัฐประหาร” ยกระดับอำนาจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้กลายเป็นอำนาจอธิปไตยสัมบูรณ์เหนือ อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ เลยเถิดไปถึงกับ “แนะนำ” ให้ทำประชามติถ้าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทั้งที่ไม่มีระบุในที่ใดของรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการ “เขียนรัฐธรรมนูญใหม่โดยตุลาการเพียงไม่กี่คน”

สถานการณ์ยิ่งแย่ลงเมื่อทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล และสมาชิกวุฒิสภาที่สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่างเลือกที่จะทิ้งหลักการ ประชาธิปไตย เกียรติและศักดิ์ศรีของฝ่ายนิติบัญญัติ ปฏิเสธที่จะลงมติไม่รับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ จนทำให้การลงมติผ่านวาระสามแก้ไข ม.291 ต้อง “แท้ง” ไปในที่สุด

สาเหตุคือ สส.และสว.พวกนี้ส่วนใหญ่ล้วนขี้ขลาดตาขาว ไร้ซึ่งหลักการและความกล้าหาญที่จะยืนหยัดเพื่อประชาธิปไตยไปให้ถึงที่สุด พอได้ยินว่า เป็น “คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ” ก็พากันตกใจสุดขีด หันหลังวิ่งหนีกันจ้าละหวั่น