อียิปต์ต้องการมีการปฏิวัติรอบที่สอง
แผนพัฒนาประเทศของประธานาธิบดีมูซี่นั้น ต้องการใช้นโยบายการการตัดค่าใช้จ่ายของรัฐลง และใช้แนวเสรีนิยมสุดขั้วเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจของอียิปต์ ซึ่งมันหมายความว่าการเผชิญหน้าในอนาคตจะมีความเข้มข้นมากขึ้น
โดย ซาเมช นากิป
แปลโดย นุ่มนวล ยัพราช
การปฏิวัติอียิปต์ยังคงดำเนินต่อไป แต่มันจะเป็นชัยชนะที่แหลมคม ถ้าเราชนะใจมวลชนที่สนับสนุนกลุ่มมุสลิมด้วยการเมืองของการปฏิวัติ
การปฏิวัติในโลกสมัยใหม่ต้องใช้เวลาเป็นปีที่จะเจอจุดสมดุลย์ มันมักจะเริ่มต้นในลักษณะการรวมตัวชั่วคราวและพิเศษระหว่างผู้ต่อต้านอำนาจ เผด็จการเก่า แต่ภายหลังที่อำนาจเก่าถูกล้มไปไม่นาน การรวมตัวเหล่านี้ก็จะมีการแบ่งแยกขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่แต่ละกลุ่ม สังกัด กลุ่มใหม่และเต็มไปด้วยความหลากหลายจะเดินเข้าไปในพื้นที่และโครงสร้างอัน เดิมซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของอำนาจเก่า โดยการเริ่มจัดตั้งเพื่อเตรียมที่จะเผชิญหน้ากับการปฏิวัติซ้อน ซึ่งมันมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างสถาบันของรัฐและลักษณะทางชนชั้นของ สังคม ที่ผลประโยชน์จะถูกตอบสนอง รัฐเก่าไม่เคยออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนแต่มันได้ปกป้องและขยายผล ประโยชน์ของกลุ่มคนเล็กๆ ที่ควบคุมความมั่งคั่งและมีอำนาจจริง
กองทัพไม่ได้ปกป้องประชาชน แต่พิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่ การเปลี่ยนหัวนายพลจะไม่ทำให้สถาบันนี้ดีขึ้นแต่อย่างใด ตำรวจและหน่วยงานความมั่นคงไม่ได้รับใช้ประชาชนแต่ให้การบริการสำหรับกรรม สิทธิส่วนบุคคล บทบาทหลักขององค์กรเหล่านี้ คือ ควบคุมกลุ่มคนที่กล้าท้าทายระบบกรรมสิทธิ์ มันเป็นเรื่องเดียวกันเมื่อเอ่ยถึงกลไกการบริหารต่างๆ เพราะมันเป็นตัวแทนของกลุ่มคอรัปชั่น กลุ่มผลประโยชน์และอำนาจรัฐเดิมๆ
รัฐสภาเป็นเพียงสถาบันเดียวที่สมาชิกถูกเลือกตั้งเข้ามาบนหลักการ ประชาธิปไตย แต่ยังขาดอำนาจในนามของเจ้าของประเทศที่มีอำนาจอย่างแท้จริงการปฏิวัติ อียิปต์ได้อนุญาติให้กลุ่มพรรคมุสลิมได้เข้ามามีอำนาจและเปลี่ยนหัวของเผด็จ การเก่าแต่พรรคนี้ไม่ต้องการให้การปฏิวัติประสบความสำเร็จ พรรคนี้ไม่กล้าแตะและท้าทายอำนาจเก่าแต่อย่างใด
ตำรวจ
พรรคมุสลิมได้นำตำรวจกลับเข้าประจำการบนท้องถนน แต่ไม่ใช่เพื่อให้สัญญานไฟจราจร แต่เพื่อให้ทำลายการนัดหยุดงานและการยึดโรงงาน จับกุมผู้นำแรงงาน นำการทรมานกลับมาใช้ ฆ่า และ ข่มขู่
โมฮัมเหม็ด มูซี่ ประธานาธิบดีอียิปต์ เริ่มต้นการปกครองด้วยการไปเยือนซาอุดิอาระเบีย ซึ่งใช้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชที่เต็มไปด้วยการกดขี่ และเป็นสูญกลางของพวกปฏิกิริยาล้าหลังในภูมิภาคตะวันออกกลาง แทนที่จะไปเยี่ยมตูนีเซียซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการปฏิวัติในโลกอาหรับ