ก้าวต่อไปของ "ครก." เมื่อ "สภา" ไม่รับ "ม.112"
39,185 คน คือ
จำนวนประชาชนผู้ร่วมลงชื่อเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ
"กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ซึ่ง "คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112)"
อาทิ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, พวงทอง ภวัครพันธุ์, เวียงรัฐ
เนติโพธิ์, ยุกติ มุกดาวิจิตร, วันรัก สุวรรณวัฒนา, วาด รวี
และเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกันยื่นให้กับ วิสุทธิ์ ไชยณรุณ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ตัวแทนประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม
พ.ศ.2555
หลังจากเดินหน้ารณรงค์อย่างเข้มข้นตั้งแต่กลางเดือนมกราคม
จนนักวิชาการ นักคิด
นักเขียนที่ออกมาให้ความรู้และคำอธิบายแก่ประชาชนได้รับทั้งอ้อมกอดและ
กำปั้น
เกิด "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์" ที่สั่นสะเทือนสังคมไทยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง
ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์รัฐสภาได้เผยแพร่เอกสารสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ระบุว่า
ได้สั่งจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของนายชาญวิทย์ พร้อมด้วยประชาชน 30,383 คน
ขณะเดียวกัน นิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภาในฐานะรักษาการประธานสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ได้ทำความเห็นระบุว่า เรื่องดังกล่าว
ไม่
เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163
ว่าด้วยเรื่องการเสนอชื่อของประชาชนที่กำหนดให้สามารถแก้ไขกฎหมายได้เพียง 2
หมวดเท่านั้น คือ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แต่การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
เกี่ยวข้องกับหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องพระมหากษัตริย์
ความพยายามขับเคลื่อนแก้ไข ม.112 โดยภาคประชาชนอย่างต่อเนื่องกว่า 5 เดือน จึงมีอันต้องตกไป
พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในสมาชิกคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112
กล่าวว่า ประชาชนที่สนับสนุน และกลุ่มนักวิชาการรู้สึกผิดหวัง
แม้จะไม่คิดว่าการยื่นแก้ไขมาตรา 112 จะราบรื่น หรือเป็นไปอย่างง่ายดาย
แต่ก็ยังหวังว่ารัฐสภาน่าจะให้โอกาสกับตัวแทนจาก ครก.112
หรือคณะนิติราษฎร์ซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายนี้ ไปให้คำอธิบาย
"เมื่อเขาบอกว่าไม่เข้าข่ายกฎหมายที่อยู่ในหมวดสิทธิและ
เสรีภาพ ทางสภา โดยท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือตัวแทน
ควรมาถกกับเราว่าคำว่าสิทธิเสรีภาพของพวกเขาหมายถึงอะไรกันแน่
การปัดตกโดยไม่พยายามจะอธิบาย
ทำความเข้าใจว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนมีขอบเขตอย่างไร มีความหมายอย่างไร
มันแสดงความคับแคบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีหน้าที่ปกป้องระบอบ
ประชาธิปไตย ที่มีหัวใจสำคัญคือสิทธิเสรีภาพของประชาชน"
นักวิชาการผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญของ ครก.112 กล่าว