หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

:screaming: ...

วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 14:26:17 น.

ที่ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 1 กันยายน นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีแถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมกัมพูชา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงเรื่องนี้ในประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล อีกทั้งอาจเป็นข้อสงสัยในประชาชน จึงได้มีการสั่งการให้นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ไปตรวจสอบหาข้อเท็จจริงว่าเรื่องนี้มีความเป็นมาอย่างไร

ทั้ง นี้ ยังไม่ได้กำหนดเวลา แต่นายสุรพงษ์ยืนยันว่าต้องตรวจสอบเรื่องดังกล่าวทันที ซึ่งส่วนเนื้อหาในแถลงการณ์ก็เป็นเรื่องของกัมพูชากับรัฐบาลชุดอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่บ่งบอกว่าเป็นการเจรจาในลักษณะทางลับ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ยืนยันว่าการเจรจาใดๆ ของทุกรัฐบาลควรจะมีขั้นตอนมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้อย่างแท้จริงในหลักการ

นางฐิติมากล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลชุดนี้ คงต้องเป็นการเจรจาลักษณะเปิดเผยแน่นอนเหมือนอย่างที่รัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ เพราะว่าความโปร่งใสมันเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ เราคงไม่ให้ไปทำในทางลับเหมือนอย่างกับที่รัฐบาลชุดที่แล้วที่เขาถูกกล่าวหา กัน ซึ่งทางลับมันก็แสดงว่ามีอะไรหรือเปล่า มีผลประโยชน์อะไรทับซ้อนตรงนั้น ส่วนจะเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นเพราะก่อนหน้านี้มีข่าว พ.ต.ท.ทักษิณมีการเจรจาเรื่องนี้หรือไม่นั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ยืนยันว่าท่านไม่ได้มีธุรกิจเรื่องนี้เลย

 :screaming: http://www.mediafire.com/?6lavfhew2mjqvtx // รู้ชัด แจ้งจริง อ.ฉ.ฉิ่ง 09-01-11 http://www.mediafire.com/?ip501e7k6kg2p23 // รู้จริง ชัดเจน อ.พัช 09-01-11

112 นักวิชาการไทยศึกษา ร้องนายกฯ ทบทวนการใช้ กม.หมิ่นฯ–พ.ร.บ.คอม


นักวิชาการด้านไทยศึกษาจาก มหาวิทยาลัยต่างๆ ในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชีย จำนวน 112 คน ลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิและเสรีภาพที่ถูกจำกัดในสังคมไทย โดยเฉพาะการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีอัตราการสั่งฟ้องเพิ่มขึ้น อย่างทวีคูณในรอบห้าปีที่ผ่านมา

ในจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว ที่มีนักวิชาการระดับโลก เช่น โนม โชมสกี้ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสเสทชูเสตต์ ประเทศสหรัฐฯ ร่วมลงนาม ระบุว่า การใช้มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งนำไปสู่การจับกุมคุมขังประชาชน เป็นภัยคุกคามต่ออนาคตของประชาธิปไตยไทย กลุ่มนักวิชาการ 112 คน จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทย ทบทวนการใช้กฎหมายดังกล่าว เพื่อไม่ให้นำไปสู่การละเมิดสิทธิทางการเมือง
นอกจากนี้ ยังเสนอแนะให้ รัฐบาลพิจารณากรณีการจับกุมและการดำเนินคดีด้วยกฎหมายดังกล่าวอย่างละเอียด พร้อมทั้งให้สิทธิการประกันตัวแก่ผู้ต้องหา เพื่อให้สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเป็นธรรม............
(อ่านต่อ)  http://www.prachatai.com/journal/2011/09/36715