วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ความกล้าหาญทางจริยธรรมของสื่อ กับ “ปัญหา ม.112”
Mon, 2011-08-01 00:00
นักปรัชญาชายขอบ
สำหรับรายการ Intelligence, Voice TV และสื่ออย่าง “คุณจอม เพชรประดับ” ก็สมควรปรบมือให้กับ “ความกล้าหาญทางจริยธรรม”ที่เข้ามาจับ “ประเด็นละเอียดอ่อน” นี้
เพราะเป็นที่รู้กันว่าสื่อในบ้านเรานั้นสนใจทำเรื่องของ “ตัวเงินตัวทองร่วมรักกันในบริเวณรัฐสภา”ให้เป็น “ข่าวหน้า 1” และเอาจริงเอาจังกับการใช้ “บทรักของตัวเงินตัวทอง”เป็น “ฐานคิด” ในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองตลอดมา
แต่หลีกเลี่ยงที่จะทำให้ปัญหาระดับรากฐานจริงๆ เช่น ปัญหา ม.112 เป็น “ข่าวหน้า 1” หรือเป็นประเด็นที่ควรนำเสนอการอภิปรายถกเถียงสู่สาธารณะอย่างกว้างขวาง!
ในขณะที่สื่อของรัฐ สื่อเสื้อเหลือง และสื่อกระแสหลักส่วนหนึ่งเสนอข่าวและความคิดเห็นตลอดมาว่าฝ่ายที่เสนอให้ อภิปรายประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสนอให้แก้ไขม.112 คือ ฝ่ายที่มีเจตนาทำลายสถาบัน และต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองแต่มีสื่อในวงแคบเท่านั้นที่นำเสนอ “เหตุผล” ว่าทำไมสังคมไทยจึงควรอภิปรายประเด็นสถาบัน และควรแก้ไข ม.112
นี่จึงเป็นภาพสะท้อนปัญหา “ความกล้าหาญทางจริยธรรมของสื่อ” อย่าน่าเป็นห่วง!
ความกล้าหาญทางจริยธรรมของสื่อ หมายถึงความกล้าหาญที่จะนำเสนอความจริง และต่อสู้เพื่อให้เกิดความถูกต้อง
แต่ ม.112 ที่ 1) ปิดกั้นเสรีภาพในการพูดความจริงเกี่ยวกับสถาบัน 2) มีการพิจารณาคดีแบบปิดลับ เป็นการปิดกั้นสิทธิที่จะรับรู้ความจริงของประชาชน 3) ไม่ให้ประกันตัวและมีบทลงโทษหนักเกินเหตุ เป็นการทำลายสิทธิมนุษยชน 4) ใครจะร้องทุกข์กล่าวโทษก็ได้ และจึงทำให้เกิด 5)ถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายกันทางการเมือง มากกว่าใช้ปกป้องสถาบัน
ฉะนั้น จึงเป็นกฎหมายที่ขัดหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือหลักเสรีภาพขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเพราะปิดกั้นสิทธิที่จะรับรู้และพูด ความจริงมีบทลงโทษที่รุนแรง และถูกซ้ำเติมด้วย “ตราบาป” ทางสังคมอันเกิดจากค่านิยมที่ถูกปลูกฝังโดยวัฒนธรรมอำนาจนิยมตาม “อุดมการณ์ราชาชาตินิยม” ที่ขัดแย้งกับความเป็นประชาธิปไตยโดยพื้นฐาน
เมื่อไม่มีเสรีภาพในการพูด สังคมก็ไม่อาจแลกเปลี่ยนเรียนรู้วินิจฉัย หรือมีความเห็นร่วมกันได้ว่า อะไรคือความจริง ความเท็จอะไรคือถูก อะไรคือผิด
ในสังคมที่ไม่มีเสรีภาพเช่นนี้เราไม่อาจเรียกว่าเป็น “สังคมประชาธิปไตย” ได้
การที่สื่อไม่ได้จริงจังกับการนำเสนอ “ความจริง” ของปัญหา ม.112 เช่นติดตามข้อมูลและการเคลื่อนไหวของคนที่ถูกดำเนินการด้วยกฎหมายนี้ในระยะ กว่า 5 ปี มานี้ว่า มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเท่าไร สาเหตุที่ถูกดำเนินคดีเพราะเขาไปทำอะไรทำไมเขาไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน ต่างๆ เช่น การประกันตัวชะตากรรมในคุกของเขาเป็นอย่างไร ครอบครัวเขาเป็นอย่างไร ฯลฯและไม่ได้สนใจเสนอประเด็นการอภิปราย ข้อเรียกร้อง และเหตุผลเชิงลึกต่างๆของฝ่ายเรียกร้องให้แก้ ม.112 อย่างละเอียดทุกแง่มุมและต่อเนื่อง สะท้อนว่าสื่อขาดความกล้าหาญทางจริยธรรมอย่างชัดเจน
ในสังคมที่ดีมันควรจะมีความผิดเกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการพูดความจริง เกี่ยวกับสถาบันใดๆ ไหมว่าประชาชนต้องถูกดำเนินคดีโดยห้ามประกันตัว ศาลพิจารณาคดีแบบปิดลับและมีบทลงโทษอย่างหนัก โดยที่สื่อและประชาชนในประเทศไม่ต้องสนใจใดๆเลยกับ “ข้อเท็จจริง” เกี่ยวกับการกระทำ คำพูด และ/หรือสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ถูกกล่าวหาและดำเนินคดีเช่นนั้น
การที่สื่อไม่ได้สนใจกับการตั้งคำถามทำนองนี้ มันก็เป็นเรื่องตลกร้ายอย่างยิ่งเมื่อสื่อยังประกาศ “คำขวัญ” ที่ว่า “เสรีภาพสื่อคือเสรีภาพประชาชน”โดยที่พฤติกรรมของสื่อไม่แสดงให้เห็นว่าคุณ “อิน”กับความหมายของ “ความกล้าหาญทางจริยธรรม”หรือความกล้าหาญในการนำเสนอความจริงและต่อสู้เพื่อ ให้เกิดความถูกต้อง
ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ การต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน
คุณบอกว่า “เสรีภาพสื่อ คือเสรีภาพประชาชน”แต่คุณกลับสนใจใช้เสรีภาพนั้นเสนอเรื่องราว “การร่วมรักของตัวเงินตัวทอง”มากกว่าขณะที่แทบไม่สนใจทำข่าว หรือร่วมอภิปรายถกเถียงในประเด็นสถาบันและการแก้ไข ม.112 ซึ่งเป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่อสิทธิ เสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยของประชาชนเลย
พูดถึงตรงนี้แล้วก็น่าเศร้าครับ ในยุคสมัยที่ “พลเมืองประชาธิปไตย” ตื่นขึ้นจำนวนมากสื่อไทยกลับมีท่าทีหวาดระแวง หรือไม่เชื่อมั่นต่อการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนและไม่นำเสนอ “เนื้อหา” ของการตื่นตัวนั้นเท่ากับ “เนื้อหา” คำสัมภาษณ์ของผบ.ทบ.ด้วยซ้ำ
มันตลกไหมครับที่เรารับรู้เรื่องราวของ “หมู่บ้านแดง”ทั้งในชนบทและในเมืองจากการนำเสนอของสื่อต่างชาติ(แล้วสื่อไทย ก็แปลมานำเสนอต่อ) เช่นเดียวกับที่เราได้เห็นภาพเจ้าหน้าที่รัฐใช้ความ รุนแรงกับประชาชนในการสลายการชุมนุมจากสื่อต่างชาติ มากกว่าจากสื่อไทย
และแน่นอนว่า ประเด็นปัญหา ม.112 ที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็คงจะเป็นที่สนใจและถูกนำเสนอโดยสื่อ ต่างชาติมากกว่า แล้วเรายังจะมีความหวังอะไรกับสื่อไทย ในเรื่องการต่อสู้เพื่อสิทธิ เสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยอีกเล่า!
ชี้รายได้เฉลี่ยลูกจ้างไทยไม่พอยาไส้
http://www.chupitchtv.com/video/2011/07/108
4 ส.ค. 54 – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยของผู้มีงานทำในประเทศไทยที่มีอาชีพลูกจ้าง และพนักงาน ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ล่าสุด สิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้ที่มีงานทำที่เป็นลูกจ้างทั้งสิ้น 17,310,300 คน แบ่งเป็นลูกจ้างในภาครัฐบาล 3,560,000 คน และเป็นลูกจ้างในภาคเอกชน 13,750,300 คน พบว่า ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างล่าสุด ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาพบว่า ลูกจ้างไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 9,775.1 บาทเท่านั้น
ทั้งนี้ หากแยกเป็นผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้างในภาคเกษตรกรรมพบว่า มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนเพียง 4,900.3 บาท ขณะที่ผู้ที่มีงานทำในภาคนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งหมายรวมถึงภาคก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และภาคบริการ มีรายได้เฉลี่ย 10,501.5 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างในภาคการเกษตร
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างโดยรวมปรับตัวดีขึ้น โดยสำหรับค่าจ้างแรงงานโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้น 5% ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานในภาคเกษตรกรรม ปรับเพิ่มขึ้น 11% ค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้า และการบริการ ปรับเพิ่มขึ้น 5.6%
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า ภาวะตลาดแรงงานยังคงตึงตัว โดยสัดส่วนจำนวนตำแหน่งงานว่างและผู้ว่างงานยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าอัตราการว่างงานในช่วงต่อไปจะต่ำลงได้ เนื่องจากดัชนีชี้ความยากง่ายในการทำงาน ระบุว่า การหางานจะทำได้ง่ายขึ้นกว่าในเดือนที่ผ่านมา
ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะในขณะนี้รายได้ของลูกจ้างยังต่ำ จึงควรจะได้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ และไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ จนกระทั่งกลายเป็นการสร้างปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งของสังคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ควรจะขึ้นค่าจ้างแรงงานอย่างเดียว แต่ควรจะที่เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และศักยภาพในการผลิต และทักษะแรงงานที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ค่าจ้างแรงงานใหม่ เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้นด้วย
ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น โดยตั้งแต่ ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน พบว่า อัตราการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหักเงินเฟ้อแล้ว ยังไม่ฟื้นตัว หรือมีระดับต่ำกว่าในช่วงปี 2540 หมายความว่า ผู้ใช้แรงงานยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และเท่าที่มีการประเมินค่าจ้างที่ขึ้น หักเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานยังมีช่องว่างสามารถให้ปรับขึ้นได้ 10% แต่หากปรับขึ้นครั้งเดียว 300 บาท หรือประมาณ 40% อาจจะส่งผลให้ภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เมื่อมีการปรับขึ้นค่าแรงแล้วก็ควร เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่ออนาคตประเทศควบคู่ไปด้วย
ด้านนายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวถึงการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ว่า เป็นมติที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้แล้วว่า ในที่สุดสหรัฐฯน่าจะแก้ปัญหาเพดานหนี้ของรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวถือเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นให้ผ่านไปก่อนเท่านั้น แต่ในระยะยาวปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอยังคงเป็นปัญหาที่กระทบ ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
ความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกของสหรัฐฯบ้าง ซึ่งสำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น การส่งออกในช่วงต่อไปอาจจะได้รับผลกระทบบ้างจากกำลังซื้อจากสหรัฐฯที่ลดลง โดยประเทศไทยมีสัดส่วนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณ 11% ของการส่งออกรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ผู้ส่งออกของไทยได้มีการกระจายการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในจีน อาเซียน และอื่นๆ มากขึ้น โดย ธปท.คงต้องจับตาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยในระยะต่อไป
7-11 หนุนนโยบายรัฐปรับค่าแรง 300
นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง 7-11 กล่าวในงานเสวนาพิเศษ การปรับตัวของภาคธุรกิจในยุครัฐบาลใหม่ว่า ซีพีออลล์พร้อมปฏิบัติตามนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ของรัฐบาลถึงแม้ว่านโยบายดังกล่าว จะกระทบต่อต้นทุนการผลิต แต่ก็พร้อมปรับตัวด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะการปรับขึ้นค่าแรง ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับลูกจ้าง
ขณะเดียวกัน ซีพีออลล์ มีความพร้อมที่จะรับแรงงานปริญญาตรีจบใหม่ 10,000 อัตรา เข้าทำงานในทันที นอกจากนี้ ยังฝากให้รัฐบาลชุดใหม่ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภาคบริการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่การออกกฎหมายควบคุมธุรกิจค้าปลีก ขณะเดียวกัน ต้องลดแรงงานภาคเกษตรลง
Thu, 2011-08-04 19:03
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยลูกจ้างไทยยุคหมู-ไก่-ไข่แพงรายวันไม่พอยาไส้ ด้านบริษัทซีพีออลล์ บริษัทแม่ 7-11 ยันหนุนนโยบายรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำเป็น 300 บาท พร้อมรับแรงงานปริญญาตรี 15,000 บาท4 ส.ค. 54 – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยข้อมูลค่าจ้างเฉลี่ยของผู้มีงานทำในประเทศไทยที่มีอาชีพลูกจ้าง และพนักงาน ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ล่าสุด สิ้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมีผู้ที่มีงานทำที่เป็นลูกจ้างทั้งสิ้น 17,310,300 คน แบ่งเป็นลูกจ้างในภาครัฐบาล 3,560,000 คน และเป็นลูกจ้างในภาคเอกชน 13,750,300 คน พบว่า ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างล่าสุด ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาพบว่า ลูกจ้างไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 9,775.1 บาทเท่านั้น
ทั้งนี้ หากแยกเป็นผู้มีงานทำที่เป็นลูกจ้างในภาคเกษตรกรรมพบว่า มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนเพียง 4,900.3 บาท ขณะที่ผู้ที่มีงานทำในภาคนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งหมายรวมถึงภาคก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และภาคบริการ มีรายได้เฉลี่ย 10,501.5 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกจ้างในภาคการเกษตร
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างโดยรวมปรับตัวดีขึ้น โดยสำหรับค่าจ้างแรงงานโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้น 5% ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของแรงงานในภาคเกษตรกรรม ปรับเพิ่มขึ้น 11% ค่าจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง การค้า และการบริการ ปรับเพิ่มขึ้น 5.6%
นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า ภาวะตลาดแรงงานยังคงตึงตัว โดยสัดส่วนจำนวนตำแหน่งงานว่างและผู้ว่างงานยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าอัตราการว่างงานในช่วงต่อไปจะต่ำลงได้ เนื่องจากดัชนีชี้ความยากง่ายในการทำงาน ระบุว่า การหางานจะทำได้ง่ายขึ้นกว่าในเดือนที่ผ่านมา
ด้าน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานว่า ส่วนตัวมองว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะในขณะนี้รายได้ของลูกจ้างยังต่ำ จึงควรจะได้ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ และไม่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ จนกระทั่งกลายเป็นการสร้างปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งของสังคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ควรจะขึ้นค่าจ้างแรงงานอย่างเดียว แต่ควรจะที่เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และศักยภาพในการผลิต และทักษะแรงงานที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ค่าจ้างแรงงานใหม่ เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้นด้วย
ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวก่อนหน้านี้ว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานในช่วงที่ผ่านมา ยังไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น โดยตั้งแต่ ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน พบว่า อัตราการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหักเงินเฟ้อแล้ว ยังไม่ฟื้นตัว หรือมีระดับต่ำกว่าในช่วงปี 2540 หมายความว่า ผู้ใช้แรงงานยังไม่ได้รับความเป็นธรรมในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และเท่าที่มีการประเมินค่าจ้างที่ขึ้น หักเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา ค่าจ้างแรงงานยังมีช่องว่างสามารถให้ปรับขึ้นได้ 10% แต่หากปรับขึ้นครั้งเดียว 300 บาท หรือประมาณ 40% อาจจะส่งผลให้ภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้เมื่อมีการปรับขึ้นค่าแรงแล้วก็ควร เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมที่ส่งผลดีต่ออนาคตประเทศควบคู่ไปด้วย
ด้านนายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวถึงการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ว่า เป็นมติที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้แล้วว่า ในที่สุดสหรัฐฯน่าจะแก้ปัญหาเพดานหนี้ของรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวถือเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้นให้ผ่านไปก่อนเท่านั้น แต่ในระยะยาวปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอยังคงเป็นปัญหาที่กระทบ ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
ความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกของสหรัฐฯบ้าง ซึ่งสำหรับเศรษฐกิจไทยนั้น การส่งออกในช่วงต่อไปอาจจะได้รับผลกระทบบ้างจากกำลังซื้อจากสหรัฐฯที่ลดลง โดยประเทศไทยมีสัดส่วนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณ 11% ของการส่งออกรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ผู้ส่งออกของไทยได้มีการกระจายการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในจีน อาเซียน และอื่นๆ มากขึ้น โดย ธปท.คงต้องจับตาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อประเทศไทยในระยะต่อไป
7-11 หนุนนโยบายรัฐปรับค่าแรง 300
นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมง 7-11 กล่าวในงานเสวนาพิเศษ การปรับตัวของภาคธุรกิจในยุครัฐบาลใหม่ว่า ซีพีออลล์พร้อมปฏิบัติตามนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ของรัฐบาลถึงแม้ว่านโยบายดังกล่าว จะกระทบต่อต้นทุนการผลิต แต่ก็พร้อมปรับตัวด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะการปรับขึ้นค่าแรง ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับลูกจ้าง
ขณะเดียวกัน ซีพีออลล์ มีความพร้อมที่จะรับแรงงานปริญญาตรีจบใหม่ 10,000 อัตรา เข้าทำงานในทันที นอกจากนี้ ยังฝากให้รัฐบาลชุดใหม่ ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภาคบริการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ใช่การออกกฎหมายควบคุมธุรกิจค้าปลีก ขณะเดียวกัน ต้องลดแรงงานภาคเกษตรลง
ขอทวงความยุติธรรมและประชาธิปไตยจากรัฐบาลใหม่ของคุณยิ่งลักษณ์
เสื้อแดงสังคมนิยม ขอทวงความยุติธรรมและประชาธิปไตยจากรัฐบาลใหม่ของคุณยิ่งลักษณ์
พรรค เพื่อไทยชนะการเลือกตั้งเพราะคนเสื้อแดงเคลื่อนไหวต่อสู้และเสียสละมาตลอด ช่วงรัฐบาลเผด็จการทหารของอภิสิทธิ์ ตอนนี้เราเห็น สส. และคณะรัฐมนตรีใหม่แต่งชุดเครื่องแบบสีขาวเดินเข้ารัฐสภาตามทำเนียมอำมาตย์ แต่เขาจะไม่มีตำแหน่งดังกล่าวถ้าไม่มีขบวนการเสื้อแดง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่จะต้องเตือนความจำรัฐบาลใหม่ว่าเขาต้องตอบแทนบุญคุณ ของมวลชนประชาชน เราขอทวงความยุติธรรมและประชาธิปไตยดังนี้ (อ่านต่อ)...
1. ต้อง ปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดงทุกคน ไม่ใช่แค่แกนนำ และไม่ใช่แค่การประกันตัวเท่านั้น ต้องเลิกคดีเพราะข้อหาต่างๆ นาๆ ที่อำมาตย์ตั้งกับคนเสื้อแดงเป็นข้อหาทางการเมืองทั้งสิ้น คนของเราไม่ได้ทำความผิด
2. ต้อง ปล่อยนักโทษกฏหมายหมิ่นฯ และยกเลิกกฏหมายหมิ่นและกฏหมายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ปิดปากประชาชนไทย การมีกฏหมายหมิ่นฯ รวมถึงกฏหมายหมิ่นศาล เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพทางวิชาการ และความสามารถของประชาชนที่จะตรวจสอบองค์กรของรัฐ เพื่อความโปรงใส กฏหมายเหล่านี้ไม่มีในประเทศประชาธิปไตย และเราจะไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยแท้ได้ถ้ายังมีกฏหมายนี้อยู่ และเราไม่สามารถร่วมกันกำหนดอนาคตของระบบการปกครองไทยได้อีกด้วย รัฐบาลใหม่ต้องเลิกเซ็นเซอร์สื่ออย่างที่อำมาตย์ทำมาตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา
3. ต้อง สร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน โดยการนำนักการเมืองและนายพลที่มีส่วนในการฆ่าประชาชนที่ผ่านฟ้าและราช ประสงค์มาขึ้นศาล อย่างที่ประเทศ อียิปต์ เกาหลีใต้ และประเทศอื่นทำ ต้องนำนายอภิสิทธิ์ สุเทพ อนุพงษ์ และประยุทธิ์มาขึ้นศาลโดยเร็ว
4. ต้อง มีกระบวนการที่ชัดเจนในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่ไม่ใช่รัฐธรรมนูญทหาร อาจนำรัฐธรรมนูญปี ๔๐ กลับมาใช้แล้วแก้ให้ดีขึ้น หรืออาจร่างใหม่ แต่คราวนี้ชุมชนคนเสื้อแดงต้องมีส่วนสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการ ไม่ใช่ยกให้นักวิชาการหรือเอ็นจีโอที่ชื่นชมเผด็จการร่างแต่ฝ่ายเดียว
5. ต้อง มีการปฏิรูปกองทัพ และระบบศาล แบบถอนรากถอนโคน ต้องปลด ผบทบ.ประยุทธิ์ออกจากตำแหน่ง ผบทบ.ต้องรับใช้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องนำทหารออกจากสื่อและลดงบประมาณทหารให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้แทรก แซงการเมือง ต้องปลดผู้พิพากษาสองมาตรฐานออก และนำระบบลูกขุนมาใช้เพื่อพิจารณาคดีสำคัญๆ
6. ต้อง สร้างสันติภาพในภาคใต้และที่ชายแดนเขมรด้วยมาตรการทางการเมืองที่ปฏิเสธการ คลั่งชาติ ควรให้ทหารกลับกรมกอง เพื่อปูทางไปสู่สมัชชาประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนใต้ เพื่อกำหนดวิธีการปกครองที่ประชาชนเหล่านั้นต้องการ และในกรณีเขมร เราควรร่วมพัฒนาเขาพระวิหารกับฝ่ายเขมรดังมิตรและเพื่อนบ้านที่ดี
7. ประเทศไทยต้องเริ่มสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าและครบวงจร ผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย เพื่อสร้าง “ความเป็นพลเมืองเท่าเทียมกัน” แทน “วัฒนธรรมเจ้ากับไพร่”
8. ขบวน การทางสังคม เช่นสหภาพแรงงาน และกลุ่มชุมชน ต้องมีสิทธิเสรีภาพในการต่อรองตามมาตรฐานสากล การก่อตั้งสหภาพแรงงานและการนัดหยุดงานจะต้องไม่ถูกปราบปรามโดยรัฐหรือนาย จ้าง และแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านต้องมีสิทธิร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานกับคนงาน ไทย
ถ้า รัฐบาลใหม่เลือกที่จะหักหลังมวลชนเสื้อแดง และหันไปจับมือ “ปรองดอง” กับอำมาตย์ เราคนเสื้อแดงควรออกมาชุมนุมใหญ่จนกว่าเราจะได้ความยุติธรรมและประชาธิปไตย
คนเสื้อแดงจะมีพลังยิ่งใหญ่ถ้าจับมือกับขบวนการแรงงาน และทหารเกณฑ์ระดับล่างในการต่อสู้
วีรชนคนเสื้อแดงต้องไม่ตายเปล่า!!!
วีรชนคนเสื้อแดงต้องไม่ถูกขังลืม!!!
ใจ อึ๊งภากรณ์ 3 สิงหาคม 2553
เชิญฟังคลิปเสียงรายการวิทยุเรื่องนี้ http://www.mediafire.com/?62lgislnc5h572x
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)