หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เตือนคณะลิเก……เมื่อความถูกต้องยุติธรรมไม่มี….แผ่นดินย่อมลุกเป็นไฟ อียิปต์กำลังจะเกิด

เตือนคณะลิเก……เมื่อความถูกต้องยุติธรรมไม่มี….แผ่นดินย่อมลุกเป็นไฟ อียิปต์กำลังจะเกิด

 


Posted Image  

Egyptians protest election results

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Jqm2PiWQxE0

 

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญสูงสุดและสภาทหารของอียิปต์ใช้ตุลาการวิบัติยุบสภาที่พรรคการเมืองของประชาชนเลือกเข้ามาและได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น(หลังจากมีการโค่นล้มประธานาธิบดีจอมเผด็จการมูบารัค)
 
ศาลเฮงซวยยังแก้กฎหมายให้อดีตนายกรัฐมนตรีสมัยมูบารัค(อาเหม็ด ชาฟีค)ให้สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีได้ (ซึ่งต้องมาแข่งกับตัวแทนของพรรคการเมืองของประชาชนที่ช่วยกันโค่นล้มมูบารัค)

การเลือกตั้งยังไม่ทันประกาศผล นายชาฟีคได้ออกมาประกาศว่าตนเองได้รับชัยชนะ 

  
ประชาชนหลายพันคนไม่ พอใจ นาย อาเหม็ด ซาฟิก ผู้สมัครชิงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอียิปต์ ได้ออกมารวมตัวกันบุกที่ทำการของ นาย ซาฟิก ในเขต ด๊อกกิ ที่ กรุงไคโรเมืองหลวงของประเทศ และได้ทำการจุดไฟเผาตึกดังกล่าวหลังมีกระแสว่า นาย ซาฟิก ที่เคยทำงานให้กับ นาย ออสนี่ มูบารัก อดีตประธานาธิบดีจอมเผด็จการ มีแนวโน้มที่จะได้รับชัยชนะการเลือกตั้งครั้งใหม่   

ประชาชนผู้เข้ารวมประท้วงครั้งนี้ กล่าวว่า ไม่ต้องการให้ นาย  ชาฟิก เป็นผู้นำประเทศ และต้องการให้ศาลสูงพิจารณาให้ นายชาฟิก ขาดคุณสมบัติตำแหน่งผู้สมัครครั้งนี้ เนื่องจาก นายชาฟิก เคยทำงานให้กับนาย มูบาลัก อดีตผู้นำของประเทศที่กดขี่ และไม่ให้เสรีภาพแก่ประชาชน

ทำไมเสรีนิยมกลไกตลาด ไม่นำไปสู่เสรีภาพและประชาธิปไตย

ทำไมเสรีนิยมกลไกตลาด ไม่นำไปสู่เสรีภาพและประชาธิปไตย

 

“ไฮเยค” (Hayek)เขาเชื่อว่าอุดมการณ์ที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง “เสรีภาพ” แต่มันเป็นเสรีภาพที่ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” โดยไม่ให้รัฐเข้ามาสร้างอุปสรรค์ใดๆ พูดง่ายๆ นิยามของคำว่า “เสรีภาพ” ของไฮเยค คือ “เสรีภาพของเจ้าพ่อ นายทุน และผู้เป็นใหญ่” ที่จะทำอะไรก็ได้

โดย ลั่นทมขาว


บางคนที่ไม่เข้าใจเศรษฐศาสตร์การเมืองเพียงพอ จะพูดง่ายๆ ว่าความขัดแย้งในสังคมไทยที่นำไปสู่วิกฤตตั้งแต่ ๑๙ กันยา คือความขัดแย้งระหว่างนโยบาย “โลกาภิวัตน์กลไกตลาดเสรี” ของทักษิณและไทยรักไทย ในฐานะที่เป็น “กลุ่มนายทุนสมัยใหม่” กับนโยบาย “ปิดประเทศต้านโลกาภิวัตน์ต้านเสรีนิยม” ของอำมาตย์หัวเก่าแต่มันไม่เป็นความจริงเลย
   
นอกจากนี้มีนักต่อสู้เสื้อแดงไม่น้อยที่มองว่าปัญหาใหญ่ในประเทศไทยคือ “นายทุนผูกขาด” และการเปิดเสรีเพื่อให้มีกลไกตลาดและการแข่งขัน ซึ่งพวกนี้มองว่าจะนำไปสู่ประชาธิปไตย

ปรมาจารย์สำคัญของแนวเสรีนิยมกลไกตลาด (neo-liberalism) ในสมัยนี้คือ “ไฮเยค” (Hayek)เขาเชื่อว่าอุดมการณ์ที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง “เสรีภาพ” แต่มันเป็นเสรีภาพที่ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” โดยไม่ให้รัฐเข้ามาสร้างอุปสรรค์ใดๆ พูดง่ายๆ นิยามของคำว่า “เสรีภาพ” ของไฮเยค คือ “เสรีภาพของเจ้าพ่อ นายทุน และผู้เป็นใหญ่” ที่จะทำอะไรก็ได้ โดยคนอย่างไฮเยคและพวกเสรีนิยมโกหกกันว่า “ทุกคน” มีโอกาสพอๆ กันที่จะเลือกทำอะไรก็ได้ แม้แต่การไปรับจ้างขายแรงงาน เขาอ้างว่า “ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือก” แต่ในความเป็นจริง อย่างที่คนส่วนใหญ่ทราบดีจากประสบการณ์ชีวิต คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีทางเลือกอะไรมากมาย ถ้าไม่ไปทำงานให้คนอื่นก็จะอดตาย และเราไม่ได้มีเสรีภาพที่จะซื้ออะไรตามใจชอบ เพราะเราจน
    
ไฮเยค มองว่า “เสรีภาพ” ตามนิยามของเขา สำคัญกว่า อุดมการณ์ “ประชาธิปไตย”“ความเป็นธรรม” และ “ความสมานฉันท์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” เราอาจพูดได้ว่าเขาไม่ปลื้มในประชาธิปไตยเลยก็ได้ เพราะในความคิดเขามันนำไปสู่การที่รัฐจะกีดกันเสรีภาพในการกอบโกยของผู้ที่ มีความสามารถ ความคิดนี้ไม่แตกต่างจากพวกสลิ่ม พันธมิตรฯ หรืออำมาตย์เลย เพราะเขาเชื่อว่าการมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” ทำให้พลเมืองเลือกนักการเมือง “ผิดๆ” มาปกครองประเทศ
    
สำหรับนักสังคมนิยม “ประชาธิปไตย” เป็น สิ่งสำคัญยิ่ง และเราต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยเสมอ แต่เรามองว่าเสรีภาพกับประชาธิปไตยที่สมบูรณ์เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าสังคมยังไม่ เป็นธรรมและเต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ เพราะความเหลื่อมล้ำย่อมมีผลในด้านลบต่อ อำนาจต่อรอง การใช้สิทธิมนุษยชนเพื่อชีวิตที่ดี การมีส่วนร่วมทางการเมือง และความมั่นใจของพลเมือง 

(อ่านต่อ)http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/blog-post_22.html

คณะราษฎรกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย

คณะราษฎรกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย

 

 

 

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ “คณะราษฎรกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย” ในการสัมมนาเรื่อง จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปีประชาธิปไตย จัดโดยภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับนิตยสารศิลปวัฒนธรรมและสถาบันนโยบายศึกษา ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

 

ถ้าพูดเฉพาะเรื่องของคณะราษฎรอาจจะไม่เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงด้าน กฎหมายทั้งหมดหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงจะพูดถึงคณะราษฎรกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและเลยไปถึงช่วงห้าปีแรก หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นสำคัญ


โดยประเด็นหลักๆ ที่จะพูด แบ่งเป็น 3 ประเด็นใหญ่ๆ ประเด็นแรก คือ การก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเพื่อจัดวางโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย และการปกครองของรัฐ  2.การพัฒนาทางด้านกฎหมายและการใช้กฎหมายเป็นกลไกขับเคลื่อนระบอบการปกครอง แบบใหม่ 3.การสร้างอุดมการณ์ของระบอบรัฐธรรมนูญโดยประเมินความสำเร็จและความล้มเหลว และผลกระทบที่มีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


การก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
เพื่อจัดวางโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายและการปกครองของรัฐ


หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คณะราษฎรให้กำเนิดรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของประเทศไทยขึ้น แม้อาจมีการช่วงชิงความหมายของรัฐธรรมนูญ โดยมีนักกฎหมายในยุคหลังบางคนกล่าวว่า หลักศิลาจารึกมีสภาพเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก แต่ในทางกฎหมายแล้วจะนับเช่นนั้นไม่ได้  เราถือว่าคณะราษฎรให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยาม ชั่วคราว 2475 ซึ่งประกาศเมื่อ 27 มิ.ย. 2475

ในรัฐธรรมนูญ คณะราษฎรได้จัดวางหลักการใหญ่ๆ และเป็นโครงของรัฐไทยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 3 เรื่อง คือ 1.การกำหนดรูปของรัฐเป็นราชอาณาจักร คือยังคงให้กษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ และคงสภาพรัฐเดี่ยวต่อไป แง่นี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐไปจากเดิมเท่าไหร่ 2.การกำหนดให้ประชาชนหรือที่คณะราษฎรเรียกว่า ราษฎร เป็นเจ้าของอำนาจใหม่ นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ เป็นการประกาศหลักประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งแตกต่างจากจินตนาการของ ร.7 และผู้คนแวดล้อมพระองค์ ซึ่งเห็นได้จากร่างรัฐธรรมนูญของเจ้าพระยากัลยาณไมตรี ซึ่งไม่ได้ประกาศใช้ ที่กำหนดให้อำนาจสูงสุดตลอดราชอาณาจักรเป็นของกษัตริย์ 3.หลักการปกครองโดยกฎหมายเป็นใหญ่ หรือปัจจุบันรู้จักกันในนามนิติรัฐ คือให้บุคคลเสมอภาคกันต่อหน้ากฎหมาย ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือจัดการปกครอง อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า หลักนิติรัฐไม่ได้ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก แต่อยู่ในคำประกาศของคณะราษฎรที่ว่าด้วยหลัก 6 ประการ การประกาศหลักนิติรัฐลงในรัฐธรรมนูญมาปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 10 ธ.ค. 2475 แต่วิธีคิดนี้มีอยู่แล้วในประกาศของคณะราษฎรและหลัก 6 ประการของคณะราษฎร

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41216

ประชาชนเตรียมพร้อมรับศึกใหญ่!

ประชาชนเตรียมพร้อมรับศึกใหญ่!

 

 

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
จาก “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2555

 

การปิดสมัยประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 คือความพ่ายแพ้ของแกนนำพรรคเพื่อไทยเบื้องหน้าการข่มขู่ของพวกเผด็จการผ่าน องค์กรตุลากร พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มมวลชนนอกสภา การไม่สามารถระดมจำนวนคะแนนเสียงในรัฐสภาให้มากพอที่จะผลักดันญัตติไม่ยอม รับคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ เป็นความรับผิดชอบของแกนนำพรรคเพื่อไทยโดยตรง

การ “ชะลอ” วาระสามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไป แม้จะมีความพยายามแก้ตัวว่า เป็นการถอยเพื่อรุกบ้าง ลับ ลวง พรางบ้าง หลีกเลี่ยงความรุนแรงและการนองเลือดบ้าง แต่ความเป็นจริงก็คือ แกนนำพรรคเพื่อไทยได้ยอมจำนนกับการคุกคามของเผด็จการ โดยหวังว่า จะได้รับ “ความเมตตา” ให้เป็นรัฐบาลต่อไปเรื่อย ๆ

ข้อแก้ตัวที่ “แย่” ที่สุดคือ อ้างว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างเงื่อนไขรัฐประหาร และนี่เป็นข้ออ้างเพียงข้อเดียวที่ยกขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อปิดปาก ผู้คนที่วิจารณ์ยุทธศาสตร์ “ปรองดอง” ของพรรคเพื่อไทย ทาสีให้ผู้วิจารณ์กลายเป็นพวก “ฮาร์ดคอร์” “แดงเทียม” หรือ “แดงเสี้ยม” ไปทุกครั้ง

ยุทธศาสตร์แต่เพียงประการเดียวของแกนนำพรรคเพื่อไทยคือ อยู่เป็นรัฐบาลให้นานที่สุดไม่ว่าจะต้องจ่ายด้วยอะไร แม้จะต้องแลกด้วยการยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมดก็ตาม ทั้งที่ประการหลังนี้ คือภารกิจสำคัญที่สุดของพรรคเพื่อไทยที่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยได้ฝากความ หวังไว้

แกนนำพรรคเพื่อไทยย่อมรู้ดีว่า กระบวนการโค่นล้มรัฐบาลได้เริ่มขึ้นอีกแล้ว เหมือนที่ได้เผชิญมาแล้วสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยและรัฐบาลพรรคพลังประชาชน แต่พวกเขาก็ไม่ได้เรียนรู้จากบทเรียนสองครั้งแรก ยังคงหลอกตัวเอง ฝันหวานไปว่า การยอมถอยในทุกแนวรบและยอมสยบต่อการคุกคาม หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าในทุกกรณี เป็นหนทางเดียวที่จะต่อสู้รับมือและ “ยืดอายุ” รัฐบาลออกไปได้เรื่อย ๆ จนครบวาระสี่ปี เพื่อหวังไปชนะเลือกตั้งอีกรอบ

แกนนำพรรคเพื่อไทยบางคนอ้างว่า ถึงแม้จะผ่านวาระสามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันนี้ไปได้ ก็จะต้องเผชิญกับ “ด่านแห่งความตาย” ในขั้นตอนต่อไปอยู่ดี ฉะนั้น ควรรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน ตราบใดที่วาระสามร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญยังคงค้างอยู่ รัฐบาลก็ยังมีเวลาอีกหลายปี จะยกขึ้นมาพิจารณาเมื่อไรก็ได้

แกนนำพรรคเพื่อไทยทำเป็นนอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็นว่า ถึงพวกท่านจะหลีกเลี่ยง “ด่านแห่งความตาย” ด้วยการไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญวาระสามในวันนี้ แต่ฝ่ายเผด็จการก็ยังมีด่านอื่น ๆ รอท่านอยู่ในทันที พวกท่านยังมองไม่เห็นอีกหรือว่า ในขณะนี้ ใบมีดบั่นคอของตุลาการได้ง้างขึ้นจนสุดในเบื้องหน้าแล้ว และรัฐบาลอาจจะอยู่รอดได้อีกเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากนี้!

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41209

Divas Cafe

Divas Cafe

 

แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

ย้อนรอยปฏิวัติสยาม Divas Cafe 22มิย55.wmv

http://www.youtube.com/watch?v=XVeEMbfnTYM&feature=plcp

ย้อนรอยปฎิวัติสยาม..ผ่านสถาปัตย์คณะราษฎร์

http://www.dailymotion.com/video/xrnvj1_yyyyyy-divas-cafe-yyyyyy-yy-21-y-y-2555_news 

พยานหลักฐานชี้ชัดกระสุนสังหารเหยื่อวัดปทุมฯมาจากบนลงล่าง Divas Cafe 20มิย55

http://www.youtube.com/watch?v=LA0o35_hZdM

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


 

Wake Up Thailand 22มิถุนายน55

http://www.youtube.com/watch?v=zgttiBQlbOw&feature=player_embedded

The Daily Dose

The Daily Dose

 

 

The Daily Dose 22มิย55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Ux7yYAZj5hw

ยูโร 2012: กรีซปะทะเยอรมัน … และเรื่องที่มากกว่านั้นนอกสนามฟุตบอล

ยูโร 2012: กรีซปะทะเยอรมัน … และเรื่องที่มากกว่านั้นนอกสนามฟุตบอล

 


อุ่นเครื่องก่อนเกมรอบ 8 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันยูโร 2012 ระหว่างคนป่วยแห่งยุโรป “กรีซ” กับพี่เบิ้มแห่งทวีปอย่าง “เยอรมัน” เรื่องที่มากกว่าเกมฟุตบอลเมื่อเจ้าหนี้อันดับสองเจอลูกหนี้ที่มีขวัญกำลัง ใจดีขึ้นหลังเลือกตั้ง

สื่ออังกฤษเล่นภาพการ์ตูนล้อ เลียนเรื่องฟุตบอลและประเด็นนอกสนามระหว่างกรีซกับเยอรมันประเทศเจ้าหนี้ อันดับสองผู้เป็นหัวหอกพยุงประเทศกรีซไม่ให้ออกจากยูโรโซน ก่อนที่ทั้งคู่จะโคจรมาพบกันในรอบ 8 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันยูโร 2012 (ที่มาภาพ: www.guardian.co.uk)
 
ว่ากันว่าในวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา เกมระหว่างเยอรมันและเดนมาร์ก ซึ่งเยอรมันเป็นว่าที่ทีมที่จะต้องมาเจอกับกรีซในรอบที่ 8 ทีมสุดท้าย แทนที่นักเตะกรีซจะมีสมาธิดูรูปเกมของนักเตะเยอรมัน …พวกเขากับจดจ่อลุ้นอยู่กับผลการเลือกตั้งในประเทศตัวเองมากกว่า

การแข่งขันรอบ 8 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันครั้งนี้ เกมระหว่างพี่ใหญ่ของยุโรปอย่างเยอรมัน กับประเทศลูกหนี้แห่งยุโรปอย่างกรีซ (กรีซเป็นหนี้เยอรมันมากที่สุดรองจากฝรั่งเศส) เป็นที่จับตามากกว่าประเด็นเรื่องในสนามฟุตบอล 

นักเตะกรีซเกือบได้กลับไปเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. แต่ด้วยสปิริตและกฎ Head to Head ทำให้พวกเขายังอยู่ในการแข่งขัน และอาจะมีความหวัง? – อดีตแชมป์ยูโร 2004 ผ่านรอบแบ่งกลุ่มมาได้อย่างพลิกความคาดหมาย ขณะที่ที่แข็งแกร่งและโชว์ผลงานได้เผ็ดร้อนอย่างรัสเซียกับเจ้าภาพร่วม โปแลนด์กลับต้องตกรอบไป 

ในขณะที่สื่อทั้งสองชาติรวมถึงทั่วโลกจับตาการเจอกันครั้งนี้มากกว่า เรื่องของฟุตบอล แต่ Joachim Löw หัวหน้าโค้ชของเยอรมันก็ปฏิเสธที่จะกล่าวไปมากกว่าเรื่องฟุตบอล 

" Angela Merkel กับทีมชาติเยอรมัน พวกเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเรามีข้อตกลงกันว่าเธอจะไม่แนะนำผมเกี่ยวกับเรื่องแทคติคของนักฟุตบอลที่ จะลงสนาม และผมก็จะไม่ไปแนะนำเธอในเรื่องทางการเมือง” ทั้งนี้ Löw แสดงความเห็นว่ามันก็แค่เป็นเกมรอบ 8 ทีม ธรรมดาๆ ในนัดที่จะพบกับกรีซ 

สิ่งที่เขาให้สัมภาษณ์สื่อพุ่งเป้าไปที่เกมรับที่แข็งแกร่งของกรีซ รวมถึงเน้นให้นักเตะเยอรมันมีสมาธิในการเผชิญหน้ากับกรีซ "กรีซจะไม่ได้เป็นคู่แข่งที่ง่าย พวกเขาต้องทำให้เรารู้สึกอึดอัด … เราจึงจำเป็นต้องมีสมาธิ และไม่ผ่อนเกมเพียงเพราะว่าเขาเป็นทีมเล็ก"

ด้าน Grigoris Makos กองกลางของกรีซแอบมั่นใจลึกๆ ว่าพวกเขาอาจจะมีโอกาส พลิกล็อคโค่นทีมชาติเยอรมันได้เช่นกัน "เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ เราบรรลุเป้าหมายแรกมาแล้ว หลังจากเรามีปัญหาผู้เล่นบาดเจ็บ และเหตุการณ์โชคร้ายในเกม แน่นอนเราเคารพในฝีเท้าของพวกเขา แต่เราไม่กลัวพวกเขา เราจะจ้องตาพวกเขาแล้วสู้"

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41208

80 ปี ประชาธิปไตย: "รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย"

80 ปี ประชาธิปไตย: "รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย"

 


ภาคเช้า "วิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน"


วิทยากร
ศ.ดร.อนุสรณ์ ลิ่มมณี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธุ์ระหว่างประเทศ  คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
คุณจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
คุณจุลินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี ดำเนินรายการ

จัดโดยหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการจัดการปกครอง ร่วมกับศูนย์ติดตามประชาธิปไตย (Thailand Democracy Watch) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

80 ปี ปชต.:รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย

(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?v=-fHauK83vlY&feature=player_embedded#!

 

ภาคบ่าย “การเมืองมวลชนในสถานการณ์หลายขั้วสี” 

วิทยากร
ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
ผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง ผู้อำนวนการหลักสูตร ร.ม.การเมืองและการจัดการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
ร.ศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวั่นแก้ว หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
ผศ.ดร. ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬา
ดร.นฤมล ทับจุมพล ดำเนินรายการ

80 ปี ปชต.:รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย(2)

(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?v=Fm1bHruYNHM&feature=player_embedded