หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"ทหาร" อุปสรรคของประชาธิปไตย // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 สิงหาคม 55

"ทหาร" อุปสรรคของประชาธิปไตย // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 สิงหาคม 55

 


(คลิก)
Open publication
 

ในเล่มพบกับ

-
“กรรมาชีพ” กองหน้าในการสร้างสังคมที่เท่าเทียม โดย วัฒนะ วรรณ

-
ใน ซิเรีย นักสังคมนิยมต้องสนับสนุนกบฏ ต่อรัฐบาลเผด็จการ โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

-
ความเท่าเทียมทางเพศ เป็นเรื่องชนชั้น โดย ฮิปโปน้อย บรมสุข
 
-
วันสันติภาพไทย โดย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

-
เอียน! วันสำคัญ เพราะมันคือเครื่องมือทางการเมืองฮ่ะ! โดย สมุดบันทึกสีแดง

-
โอลิมปิกเปิดโปงธาตุแท้ของทุนนิยมตลาดเสรี โดย ลั่นทมขาว

-
ระบบทาสกับการเหยียดสีผิว โดย C.H.

-
ว่าด้วยทุน เล่ม 2 ภาคที่ 1 การเปลี่ยนรูปของทุนและวงจรของมัน(บทที่5-6) โดย กองบรรณาธิการ

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/08/8-3-55.html

Wake up Thailand 21 สิงหาคม 2555

Wake up Thailand  21 สิงหาคม 2555


 


 
นำเสนอประเด็น
 
 
- การใช้พลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ ในปฏิบัติการของ ศอฉ.
- DSI เตรียมเรียก จนท.เเจงเหตุสลายชุมนุม 22 ส.ค.
- เรืองไกร ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ตรวจสอบพ.ร.ฎ. เงินประจำตำแหน่งรัฐบุรุษ
- เมียนมาร์เลิก 'เซ็นเซอร์สื่อ'
 
(คลิกฟัง)

http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand

The Daily Dose 21 สิงหาคม 2555

The Daily Dose  21 สิงหาคม 2555
 

 

(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/the-daily-dose

เสวนา: สิทธิการชุมนุมของกรรมกร กรณีคนงานไทรอัมพ์ฯ

เสวนา: สิทธิการชุมนุมของกรรมกร กรณีคนงานไทรอัมพ์ฯ

 

นิติราษฎร์กับสิทธิการชุมนุม 


นักวิชาการแจงหลักกฎหมายสิทธิในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ นักกฎหมายสิทธิฯ ชี้ไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศฯ ซึ่งคุ้มครองสิทธิการชุมนุมแล้ว แม้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ แต่รัฐซึ่งหมายรวมถึงศาลต้องปฏิบัติตาม ขณะผู้นำแรงงานสงสัยทำไมตั้งข้อหาแค่สามคน ทั้งที่ไปเป็นร้อยๆ

(19 ส.ค.55) ในการเสวนา เรื่อง “สิทธิการชุมนุมของกรรมกรต่อกรณีคนงานไทรอัมพ์ฯ” จัดโดยเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิ ร่วมกับสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย กลุ่มคนงาน Try Arm และกลุ่มประกายไฟ ณ ห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ร่วมเสวนาโดยจิตรา คชเดช เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ และผู้ต้องหาในคดี ศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จันทจิรา เอี่ยมมยุรา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงาน ทั้งนี้ ผู้จัดแจ้งว่าได้ติดต่อกระทรวงแรงงานแล้ว แต่อธิบดีและผู้อำนวยการแรงงานสัมพันธ์ติดราชการต่างประเทศจึงไม่สามารถมา ร่วมได้


จิตรา คชเดช เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ และผู้ต้องหาในคดีฝ่าฝืนมาตรา 215-216 ประมวลกฎหมายอาญา เล่าที่มาของคดีดังกล่าวว่า สืบเนื่องจากการเลิกจ้างพนักงานขนานใหญ่ของบริษัทบอดี้แฟชั่น ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายชุดชั้นในไทรอัมพ์ ในวันที่ 27 มิ.ย.52 ซึ่งสหภาพแรงงานมองว่าขัดต่อสภาพการจ้างที่ตกลงกันไว้ว่าถ้าจะมีการเลิกจ้าง จำนวนมาก ต้องแจ้งล่วงหน้า 60 วัน และจ่ายค่าชดเชยมากกว่ากฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม บริษัทได้แจ้งว่าประกาศเลิกจ้างจะมีผลในวันที่ 27 ส.ค. ซึ่งเข้าข่ายแจ้งล่วงหน้า 60 วันแล้ว รวมถึงขอให้คนงานไม่ต้องมาทำงานในช่วงดังกล่าว แต่จะได้รับค่าจ้างจน 27 ส.ค. ส่วนเรื่องการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายนั้น บริษัทระบุเพียงว่าไม่เข้าข่าย

จิตรา เล่าต่อว่า จากนั้น สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ เดินทางไปชุมนุมยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหา ให้มีการรับคนงานกลับเข้าทำงานและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล บีโอไอ ซึ่งอนุมัติเงินลงทุนให้บริษัท สถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ ฯลฯ จนวันที่ 27 ส.ค. ซึ่งเป็นวันที่การเลิกจ้างจะมีผล จึงได้เดินทางไปทวงถามความคืบหน้าจากรัฐบาลอีกครั้ง โดยยืนยันว่าไม่ได้มีวาระทางการเมืองใดๆ แต่ดูเหมือนรัฐบาลมองว่าเป็นเรื่องเกี่ยวโยงกับกลุ่มเสื้อแดงซึ่งจะชุมนุมใน วันที่ 30 ส.ค.ในขณะนั้น

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42184

15 วันรู้ผลถอนอุทธรณ์ ‘ธันย์ฐวุฒิ’–อีก 2 รายได้ออก 23 ส.ค

15 วันรู้ผลถอนอุทธรณ์ ‘ธันย์ฐวุฒิ’–อีก 2 รายได้ออก 23 ส.ค


 
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgq_e6ZUoq4u2NwO9p6pJY1e-UZMi_e5NABRTcDY8DFvqB03StYZYBTN09ONWIKhYocIWefNZ3308YHTQsTb5ul0kavkY1rnsKV3xLhf0hk26LxhnfyLay4pTWpTSZgAKw2AJHo7aex8bY/s1600/1122.jpg
 

21 ส.ค.55 นายอานนท์ นำภา ทนายความของนายธันย์ฐวุฒิ (สงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 แจ้งว่า หลังจากลูกความของเขา ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 13 ปี ได้ตัดสินใจยื่นเรื่องขอถอนอุทธรณ์ ผ่านมาเกือบ 2 เดือนจึงทราบว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา คำร้องถอนอุทธรณ์ได้ถูกยื่นต่อศาล และในวันนี้ (21 ส.ค.) ศาลได้สั่งให้โจทก์แถลงว่าจะค้านหรือไม่ ซึ่งตามกระบวนการจะต้องรออีก 15 วัน หากโจทก์ไม่ค้านคดีจะถึงที่สุด และจำเลยจะขอพระราชทานอภัยโทษต่อไป 

ทั้งนี้ ธันย์ฐวุฒิ อาชีพเป็นนักออกแบบเว็บ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ดูแลระบบเว็บไซต์นปช.ยูเอสเอ และปล่อยให้มีการเผยแพร่ข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เขาถูกจับกุมและคุมขังมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.53 โดยไม่ได้รับการประกันตัว ต่อมาศาลพิพากษาจำคุก 13 ปี เมื่อวันที่ 15 มี.ค.54

ด้านนายคารม พลพรกลาง ทนายความนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข กล่าวว่า ศาลได้นัดพร้อมอีกครั้งในวันที่ 19 ก.ย.นี้ เพื่อฟังผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และนัดวันฟังคำพิพากษา ซึ่งภายในสัปดาห์หน้าทางทีมทนายจะยื่นประกันตัวอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 11 

ขณะที่ทีมงาน นปช.รายงานข่าวการเยี่ยมนักโทษการเมืองว่า 

“อ.สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ เผยว่า ได้ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษอย่างเป็นทางการวันนี้ โดยคดีทั้ง 5 คดีของตนเองเด็ดขาดแล้ว รวมโทษจำคุก 12 ปี 6 เดือน (คดีละ 2 ปี 6 เดือน) แต่ได้รับการลดโทษจาก พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ 2555 จึงเหลือโทษจำคุก 10 ปี 9 เดือน หลังจากนี้เป็นขั้นตอนการขอพระราชทานอภัยโทษ เริ่มจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี กองราชวัลลภ และสำนักพระราชวัง ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42198

ประชาพิจารณ์

ประชาพิจารณ์


โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์


มีอะไรเลอะเทอะในเมืองไทยหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือ "ประชาพิจารณ์" ผมหวังว่าเราจะช่วยกันทำให้มันหายเลอะเทอะได้สักวันหนึ่ง เพราะประชาพิจารณ์มีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบการปกครองที่เคารพต่อข้อมูล ข่าวสารของทุกฝ่าย

ประชาพิจารณ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจใน นโยบายสาธารณะต่างๆ และด้วยเหตุดังนั้นจึงเป็นการตัดสินใจ "ทางการเมือง" กล่าวคือกระทบต่อการใช้ทรัพยากรของสังคม - ใครใช้และใช้อย่างไร จึงจะเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด

ดังนั้น หากตัดสินใจไปแล้ว ก็ไม่รู้จะทำประชาพิจารณ์ไปทำไม เพราะถึงได้ข้อมูลข่าวสารใดๆ ไป ก็แทบจะไม่กระทบการตัดสินใจแต่อย่างไร

เช่น ในการประชุม ครม.สัญจรที่อุดรฯ ได้ลงมติเห็นชอบข้อเสนอของกลุ่มพ่อค้าในขอนแก่น ให้เอาป่าสาธารณะแห่งหนึ่งไปสร้างนิคมอุตสาหกรรม (และเรียกว่านิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งถึงอย่างไรก็คงเขียวไม่เท่าป่า) ซ้ำยังจัดสรรงบประมาณให้ศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility) ของโครงการ ผู้ที่ได้รับจ้างไปทำการศึกษา มีแนวคิดที่จะเปิดทำประชาพิจารณ์ เป็นส่วนหนึ่งของงานศึกษาของตน

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ต่างๆ นั้น เป็นการศึกษาความเป็นไปได้หลายด้าน นับตั้งด้านวิศวกรรม, เศรษฐกิจ และธุรกิจ, ผลกระทบด้านสังคม, การปกครอง, และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งความเห็นของพวกเขา แต่นี่เป็นการเก็บข้อมูลในการศึกษาตามปกติธรรมดา ไม่ใช่การทำประชาพิจารณ์

ก็งานศึกษายังไม่เสร็จเป็นรูปเป็นร่าง จะให้ประชาชนมีความคิดเห็นต่อโครงการได้อย่างไร ไม่ว่าจะแสดงความเห็นอย่างไร ผู้ทำการศึกษาก็สามารถอ้างได้ว่ามีมาตรการบรรเทาผลกระทบไว้แล้วทั้งนั้น เมื่อรับจ้างเขามาทำการศึกษาความเป็นไปได้ อย่างไรเสียก็ต้องศึกษาให้เป็นไปได้เสมอ ฉะนั้นการกระทำที่เรียกว่าประชาพิจารณ์นั้น ที่จริงแล้วคือการประชาสัมพันธ์โครงการต่างหาก

ประชา พิจารณ์ที่ทำกันมาในโครงการต่างๆ ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันนี้ คือทำเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ เพราะล้วนตัดสินใจกันไปแล้ว แต่กฎหมายบังคับให้ทำประชาพิจารณ์บ้าง ทำเพื่อถ่วงดุลกับกลุ่มที่คัดค้านบ้าง จึงรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในรูปที่เรียกกันอย่างเลอะเทอะว่าประชาพิจารณ์


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345440937&grpid=&catid=02&subcatid=0207

สหภาพฯ พนง.ภาครัฐประท้วงนโยบายเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ออสเตรเลีย

สหภาพฯ พนง.ภาครัฐประท้วงนโยบายเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ออสเตรเลีย

 



 

สหภาพแรงงานและพนักงานลูกจ้างของรัฐ อาทิ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง เจ้าหน้าที่ประจำรถพยาบาล และอาจารย์ ออกมาประท้วงนโยบายรัดเข็มขัด ที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างและตัดลดสวัสดิการอื่นๆ
 
21 ส.ค. 55 – สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าสหภาพแรงงานและพนักงานลูกจ้างของรัฐ อาทิ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง, เจ้าหน้าที่ประจำรถพยาบาล และอาจารย์ ออกมาประท้วงนโยบายตัดลดงบประมาณ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีขึ้นเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่ในบางสายงาน แต่ก็กลับเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเพื่อตัดลดสวัสดิการอื่นๆ โดยได้เคลื่อนขบวนประท้วงที่หน้ารัฐสภาแห่ง Queensland

การประท้วงนำโดยสหภาพแรงงานคนทำงานภาครัฐ Queensland (Queensland Council of Unions - QCU) ที่มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 500 คน นี้เกิดขึ้นเพราะไม่เห็นด้วยกับนโยบายการปรับเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน

โดยในส่วนของอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เดินขบวนประท้วงไปก่อนหน้านี้ ถึงแม้ว่าจะมีการยื่นข้อเสนอขึ้นค่าแรงให้ 2.7 % แต่สหภาพแรงงานออกมาระบุว่าพวกเขาไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้าง อันอื่นแลกเปลี่ยนกับการขึ้นเงินเดือนนี้ 

เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ถูกยื่นข้อเสนอเพิ่มเงินให้ 2.2 % แต่ต้องถูกยืดระยะเวลาการทำงานให้ยาวขึ้นเป็น 12 ชั่วโมงต่อกะ

Alan Mountford เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยแพทย์หนึ่งในผู้ประท้วงกล่าวว่าพวกเขาถูกนโยบายนี้บีบ บังคับให้ต้องทำงานถึงกะละ 12 ชั่วโมง โดยไม่มีการหยุดพัก เขาให้ความเห็นต่อว่าไม่มีใครทำงานต่อเนื่อง 12 ชั่วโมงโดยไม่ได้หยุดพักได้  “มันไม่มีทางเป็นไปได้เลย” 

"ถ้าคุณทำงานตลอด 12 ชั่วโมงในกะกลางคืน แล้วก็มาคำนวณปริมาณยาให้กับเด็กๆ ต่ออีกในวันต่อไปมันอันตรายมาก" Mountford กล่าว

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42199

อนุกรรมการสิทธิฯ เผยข้อมูลสถิติคดีหมิ่น แจ้งความปีละ 50-70 คดี

อนุกรรมการสิทธิฯ เผยข้อมูลสถิติคดีหมิ่น แจ้งความปีละ 50-70 คดี


Posted Image


เมื่อวันที่ 20 ส.ค.55 คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้พบผู้แทนตำรวจเพื่อสอบถามเกี่ยวกับสถิติคดี มาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา หลักเกณฑ์วิธีการพิจารณาและสั่งคดี รวมถึงความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พ.ต.อ.ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ หนึ่งในอนุกรรมการ เปิดเผยว่า  สำหรับข้อมูลด้านการดำเนินคดีอาญา มาตรา  112 นั้น นับแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา มีคดีที่เกิดขึ้น และตำรวจรับคำร้องทุกข์ เฉลี่ยปีละ 50 ถึง 70 คดี รวมถึงปัจจุบัน มีประมาณ 200 คดีเศษ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับไว้พิจารณาโดยตรง และคดีที่อัยการสูงสุด ดำเนินการสืบสวนสอบสวนเอง โดยเฉพาะคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นับแต่ปลายปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อตรวจสอบ กลั่นกรองเว็บไซต์ ที่มีการนำเสนอข้อมูลที่ดูแล้วน่าจะเข้าข่ายดูหมิ่นสถาบันฯ ทำให้มีการปิดกั้นเว็บไซต์ และส่งเรื่องให้มีการดำเนินคดีประมาณ 12,000 URLs  ขณะที่ฝ่ายกองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันมีการดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ฯ คอมพิวเตอร์ฯ จริง ๆ เพียงไม่ถึง 20 คดี นอกจากนั้นจะเป็นการ เชื่อมโยงกับมาตรา 112 ทั้งนั้น

ศิริพล ระบุด้วยว่า สำหรับการพิจารณาคดีของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีคณะกรรมการกลั่นกรองคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พิจารณาให้สอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายอาญา และแนวคำพิพากษาฎีกา เป็นหลัก

“ในความคิดเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมว่าประเทศไทย เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายอาญา มาตรา 112  เรามักจะไม่กล้าใช้หลักกฎหมายอาญาเคร่งครัด ตามหลักการตีความกฎหมายอาญา ตีความเคร่งครัด และห้ามใช้กฎหมายประเพณีมาขยายความ ตลอดจนการตีความกฎหมายอาญาที่ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งถือเป็นหลักการแห่งสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และ หลักการที่ว่า บุคคลสาธารณะ (Public Figure) ทุกตำแหน่งต้องถูกวิจารณ์และตรวจสอบได้เสมอ”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42202

ปฏิญญาหน้าศาล...อาทิตย์ที่ 19 สค.55

ปฏิญญาหน้าศาล...อาทิตย์ที่19 สค.55

 

 


หมอนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

ปฏิญญาหน้าศาล วันที่ 19 สิงหาคม 2555 (อ.วิภา ดาวมณี) 

อ.วิภา ดาวมณี 

ศิลปินวงทับทิมสยาม  

เพลงนิติราษฎร์ โดยวงทับทิมสยาม

เพลงปฏิญญาหน้าศาล โดยวงทับทิมสยาม 

ศปช.เปิดฉบับสมบูรณ์รายงานสลายชุมนุม 53 - ฉบับ คอป.กรรมการสิทธิฯ ยังเงียบ

ศปช.เปิดฉบับสมบูรณ์รายงานสลายชุมนุม 53 - ฉบับ คอป.กรรมการสิทธิฯ ยังเงียบ



เว็บ pic2010.org มีอินโฟกราฟฟิคแสดงรายละเอียดผู้เสียชีวิตในจุดต่างๆ
 

ศปช.เปิดตัวรายงานฉบับสมบูรณ์ 933 หน้า รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงการสลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 เชื่อเป็นฉบับผู้สูญเสียที่ละเอียดสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ยังติดเข้าไม่ถึงข้อมูลรัฐ เบื้องต้นดูได้ที่ www.pic2010.org เตรียมปรับครั้งสุดท้ายก่อนพิมพ์จำหน่าย 1 ก.ย.ขณะที่ฉบับ คอป.ยังเงียบ ส่วน กสม.เสร็จแล้ว รอผ่านกรรมการชุดใหญ่

19 ส.ค.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดแถลงข่าวรายงาน “ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53” ของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53  หรือ (ศปช.) พร้อมเตรียมเดินสายอภิปรายรายงานทั่วประเทศ เช่น จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี เป็นต้น  

ทั้งนี้ ศปช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 โดยกลุ่มนักกิจกรรมร่วมกับนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 5-6 คนในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์พยาน ผู้ได้รับผลกระทบฯ เคยแถลงข่าวมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนในครั้งนี้เป็นการสรุปรายงานร่างฉบับสมบูรณ์ 932 หน้า ซึ่งมีกำหนดพิมพ์เพื่อวางแผงทั่วไปในวันที่ 1 กันยายนนี้ พร้อมกับจะเปิดให้ดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ www.pic2010.org  นอกจากนี้ ในเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการย่อยข้อมูลต่างๆ เป็นแผนภาพ แผนที่ต่างๆ ด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำรายงานเรื่องการสลายการชุมนุมปี 2553 อีกหน่วยคือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) ซึ่งหมดอายุการทำงานเมื่อสิ้นเดือนก.ค.และมีกำหนดว่ารายงานฉบับเต็มจะออกราว เดือน ส.ค.นี้เช่นกัน ขณะที่อีกหน่วยหนึ่งคือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น เคยมีร่างรายงานดังกล่าวเล็ดรอดออกมาจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเมื่อ เดือน ก.ค.ปีที่ผ่านมา และนำกลับไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ หนึ่งในอนุกรรมการที่ร่วมจัดทำรายงานกล่าวว่า ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์เขียนเสร็จแล้ว แต่จะต้องเข้าที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการสิทธิก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้เร็วๆ นี้
 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42147

ศปช.นำเสนอรายงาน เม.ย.-พ.ค. อำมหิต

ศปช.นำเสนอรายงาน เม.ย.-พ.ค. อำมหิต


Posted Image
(คลิกฟัง)

ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมเดือน เม.ย.-พ.ค.53 หรือ (ศปช.) จัดแถลงข่าวนำเสนอรายงาน "ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53" เมื่อ19 ส.ค.55 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการจากกลุ่มสันติประชาธรรม อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รายงานฉบับนี้ถือเป็นการบันทึกข้อเท็จจริง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยมุ่งหวังว่าในอนาคต การรวบรวมข้อมูลนี้จะสามารถนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมกับผู้ได้รับผลกระทบ และนำคนผิดมาลงโทษได้ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดสำคัญของคณะทำงานคือการเข้าไม่ถึงข้อมูลจากภาครัฐ ไม่มีอำนาจในการเรียกเอกสารหรือเจ้าหน้าที่มาให้ข้อมูล แต่ก็ได้มีการรวบรวมข้อมูลเอกสารทางการเท่าที่มีการเผยแพร่และหามาได้ไว้ ทั้งหมด รวมถึงหลักฐานจำพวกคลิปวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก และส่วนใหญ่ถูกลบไปแล้ว

"นี่เป็นรายงานที่สะท้อนเสียงและมุมมองของประชานที่ตกเป็นเหยื่อ และเป็นเสมือนคำประกาศต่อสังคมไทย ว่า เราจะไม่มีวันยอมรับความพยายามใดๆ ที่จะให้ผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ผู้ที่สูญเสีย ลืม เงียบเฉยและยอมจำนน ต่อความอยุติธรรม เราไม่มีวันยอมรับการเปลี่ยนการก่ออาชญากรรมต่อประชาชนให้เป็นสิ่งถูกกฎหมาย เราไม่มีวันไม่ยอมรับวัฒนธรรมการบูชาความปรองดองและความมั่นคงของรัฐ แต่ดูถูกเหยียบย่ำสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ เราจะไม่มีวันยอมรับวัฒนธรรมการเมืองที่ช่วยโอบอุ้มประเพณีของการปล่อยให้ ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล" พวงทอง กล่าว ประชาไท นำวิดีโอส่วนหนึ่งจากการแถลงข่าวดังกล่าวมานำเสนอ

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42159