หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เชิญขอร่วมงานสัปดาห์รำลึก 36 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยประชาชน

ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์รำลึก 36 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยประชาชน




(คลิกอ่านรายละเอียด)
http://www.facebook.com/events/282546441847558/

ร่วมรำลึกเหตุการณ์ 36ปี "6 ตุลา" ขอเชิญ อ่าน จุลสารปรีดี ฉบับ 35 ปี 6 ตุลา

ร่วมรำลึกเหตุการณ์ 36ปี "6 ตุลา" ขอเชิญ อ่าน จุลสารปรีดี ฉบับ 35 ปี 6 ตุลา





อ่านได้จากลิงค์ข้างล่างเลยนะครับ
https://docs.google.com/file/d/0BzjPS_Z6013SWllZWi1iWFRIY3M/edit?pli=1

สนับสนุนจุลสารปรีดีได้ที่
หมายเลขบัญชี 635-2-28832-0 ธนาคารกสิกรไทย
ชื่อบัญชี นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล
สาขา ซีคอนสแควร์2
pridimagazine@hotmail.com

เหยื่อ วีรชน กับอุดมการณ์

เหยื่อ วีรชน กับอุดมการณ์ 


 
"การเข้าใจเรียนรู้ถึงอุดมการณ์ของวีรชนนักสู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ถูกปกปิดบิดเบือนไป ให้เป็นเพียงเหยื่อสังหาร และอุบัติเหตุทางการเมือง โดยเฉพาะการปฏิเสธ “แนวทางสังคมนิยม” ที่ เป็นกระแสในหมู่คนหนุ่มสาวขณะนั้น แม้แต่การลอบสังหารเลขาธิการพรรคสังคมนิยมเมื่อต้นปี 2519 ก็ถูกลืมเลือนจากสังคมไทยไปแล้ว"

โดย ยังดี โดมพระจันทร์  

เรื่องราวสีเทาๆ กับความทรงจำในประวัติศาสตร์

การจัดงานรำลึกถึงวีรชนกรณีกวางจูที่เกาหลีใต้ ในเดือนพฤษภาคมทุกปีมีการจัดงานรำลึกถึงวีรชน เพื่อตอกย้ำประวัติศาสตร์เหตุการณ์การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมืองกวางจู กับเผด็จการทหาร(Gwangju People Uprising)

ปูมหลังคือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 หลังจากประธานาธิบดี ชอนดูฮวน ขึ้นสู่อำนาจได้จับกุมนักการเมืองหลายคน นักศึกษามหาวิทยาลัยชนนัมจึงจัดชุมนุมคัดค้านและถูกปราบปรามโดยกำลังติด อาวุธของรัฐ ทำให้ประชาชนกวางจูนับแสนโกรธแค้น เข้ายึดอาวุธจากสถานีตำรวจท้องถิ่น จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับกำลังทหารทั้งทางบกและทางอากาศของรัฐบาล  ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตราว 207 คน และสูญหายกว่า 900 คน  เหตุการณ์ผ่านมา 32 ปี ที่อนุสรณ์วีรชนกวางจู จะมีการประกอบพิธีรลึก โดยนายกรัฐมนตรีมาร่วมงาน รวมทั้งนักการเมือง นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย และญาติวีรชนเข้าร่วม ขณะที่กลางเมืองกวางจู มีการปิดถนนสายร่วมงานรำลึกกันนับหมื่นคน


สิ่งที่น่าคิดซึ่งสหายจากกลุ่ม All Together ซึ่งเป็นกลุ่มก้าวหน้าตั้งข้อสังเกตคือ ยุคใดที่รัฐบาลเป็นประชาธิปไตย เนื้อหาการจัดกิจกรรมรำลึกจะเน้นถึงวีรชน และอุดมการณ์ของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ แต่หากยุคใดรัฐบาลเป็นแนวปฏิรูป หรือกลุ่มอนุรักษ์นิยมก็จะเรียกผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ว่าเป็น
“เหยื่อ” ของความรุนแรง

รูปธรรมก็คือ การอธิบายถึงเหตุการณ์โดยไม่ประณามรัฐบาลและกลุ่มนายทหารที่ร่วมมือกันก่อ อาชญากรรม โดยเน้นภาพเหยื่อผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตจากการถูกลูกหลงแทน เช่น เหยื่อเสียชีวิตในบ้านขณะนั่งกินข้าว หรือไปซื้อของ เสียชิวิตจากเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มนักศึกษาประชาชนที่เข้าร่วมจับอาวุธต่อสู้ หรือกลุ่มนักศึกษาที่มีองค์กรจัดตั้ง เป็นต้น  การเลือกที่จะเสนอ “ความเป็นเหยื่อ” สร้างภาพ และเรื่องราวสีเทาๆ เหล่านี้เป็นการจงใจบิดเบือนประวัติศาสตร์หรือไม่???


จาก 6 ตุลา 2519 เราเคยมีรัฐบาลของประชาชนหรือไม่??? 


ขณะที่เราเห็นใจเหยื่อ เราก็ต้องไม่ลืมวีรชน และอุดมการณ์ของเขา เพราะมิเช่นนั้นพวกนักบิดเบือนประวัติศาสตร์ก็สามารถจะสร้างเรื่องราว และชุดความคิดอื่นเข้ามาแทนที่


หันมามองสังคมไทย อาชญากรรมรัฐในเหตุการณ์ 6 ตุลา ในความเห็นของนักวิชาการหลายคน เรื่องของเหตุการณ์นองเลือดไม่มีอะไรลึกลับ และทุกวันนี้ถึงแม้ว่าเราจะขาดข้อมูลบางประการ โดยเฉพาะข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐว่าใครสั่ง หน่วยอะไรวางแผน และปฏิบัติงานอย่างไร แต่ข้อมูลจากสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ในยุคนั้น ตลอดจนบทความในยุคต่อมา รวมกับความทรงจำของผู้ที่เกี่ยวข้องก็สามารถประกอบเป็นภาพรวม ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้สำหรับคนรุ่นใหม่ แต่ในที่สุดคำถามที่ว่าใครสั่งฆ่าประชาชนก็ยังไม่มีคำตอบ


ดร.ธงชัย วินิจจะกูล
เสนอเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้เราไม่มีประวัติศาสตร์สาธารณะของเหตุการณ์นี้ ว่าฝ่ายที่ได้รับ “ชัยชนะ” ในวันนั้นเป็นฝ่ายที่มีส่วนโดยตรงหรือทางอ้อมในการปราบปราม ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีอำนาจและอิทธิพลในสังคมไทย ดังนั้นเขาจึงไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับ 6 ตุลา

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
สรุปว่าประวัติศาสตร์ 6 ตุลา เป็นประวัติศาสตร์ของผู้ชนะ ซึ่งลักษณะนี้ต่างกับประวัติศาสตร์ที่มีความเจ็บปวดและบาดแผลในประเทศอื่น บางประเทศที่ได้รับการชำระไปแล้ว เนื่องจากการชำระดังกล่าวส่งเสริมอุดมการณ์และอำนาจของรัฐปัจจุบันในประเทศ นั้นๆ  ที่ต้องขีดเส้นใต้เพราะ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ผ่านมากว่า 35 ปี เราเคยมีรัฐบาลของประชาชนจริงหรือ???

การปฏิเสธ “แนวทางสังคมนิยม” จาก 6 ตุลาทำให้อุดมการณ์พร่าเลือน

   
การเข้าใจเรียนรู้ถึงอุดมการณ์ของวีรชนนักสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ถูกปกปิดบิดเบือนไป ให้เป็นเพียงเหยื่อสังหาร และอุบัติเหตุทางการเมือง โดยเฉพาะการปฏิเสธ “แนวทางสังคมนิยม” ที่เป็นกระแสในหมู่คนหนุ่มสาวขณะนั้น แม้แต่การลอบสังหารเลขาธิการพรรคสังคมนิยมเมื่อต้นปี 2519 ก็ถูกลืมเลือนจากสังคมไทยไปแล้ว

ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ให้ข้อสรุปว่า  6 ตุลา เป็นเรื่องของความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ยากที่จะมีผู้ร้ายฝ่ายเดียวที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นผู้ร้าย ไม่เหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2519 ที่สังคมโดยรวมยอมสรุปว่าเป็นเพราะความผิดของเผด็จการทหาร ดังนั้น 6 ตุลา จึงถูกทำให้ “ลืม” มากกว่าการจดจำ

เวลาผ่านไป สังคมไทยเปลี่ยนจากการมองว่านักศึกษาเป็นผู้กระทำผิด มาเป็นการมองนักศึกษาว่าเป็น
“เหยื่อ” ที่น่าเห็นใจ

แต่กระแสหลักในสังคมกำหนดเงื่อนไขในการ
“ให้อภัย” นักศึกษาว่าจะต้องมีการเลิกตั้งข้อสงสัยต่างๆ พร้อมกันไป เพื่อสิ่งที่ ดร.ธงชัย เรียกว่า “การหุบปากเหยื่อเพื่อสมานฉันท์สังคม” เมื่อ นำมาเทียบกับเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา 2553 แล้ว การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนพยายามเสนอการปรองดอง น่าจะกล่าวได้ว่าเป็นการหุบปากเหยื่อเช่นกัน

ขบวนการคนเสื้อแดง และผู้รักประชาธิปไตยคงต้องสำรวจตรวจสอบ และร่วมกันพิจารณาอย่างจริงจังว่า เราจักสืบทอด ความเป็นเหยื่อ เชิดชูวีรชน หรือ ยึดถืออุดมการณ์??? จะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้อย่างไร จะสามารถจดจำความจริงที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ความจริงไม่ใช่เพียงจำนวนกระสุนสังหาร จำนวนศพ และการลำดับเหตุการณ์ แต่ความจริงของไพร่กับอำมาตย์ อุดมการณ์ที่เราหวงแหน ความขัดแย้งทางชนชั้นที่เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ อาชญากรรมรัฐที่ต้องมีผู้รับผิดชอบ อย่าลืม!!


(ข้อมูลจากหนังสือ “อาชญากรรมรัฐในวิกฤตการเปลี่ยนแปลง 6 ตุลาคม 2519” เว็บไซต์ www.2519.net)
 


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/10/blog-post_5.html

อ่านอีกรอบ: จม.เล่าเหตุการณ์เช้ามืด 6 ตุลา จากหนังสือ'เราคือผู้บริสุทธิ์'

อ่านอีกรอบ: จม.เล่าเหตุการณ์เช้ามืด 6 ตุลา จากหนังสือ'เราคือผู้บริสุทธิ์'

 

หมายเหตุ: เนื่องในวาระ ครบรอบ 36 ปี 6 ตุลาคม 2519 ‘ประชาไท’ หยิบยกบทบันทึกเหตุการณ์วันนั้น ซึ่งเขียนโดย ชวลิต วินิจจะกูล เป็นตอนหนึ่งจากหนังสือ ‘เสียงจากอดีตจำเลยคดี 6 ตุลา เราคือผู้บริสุทธิ์’ แม้หนังสือเล่มนี้จะเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วในฐานะบทบันทึกประวัติศาสตร์ แรงบันดาลใจทางการเมือง หรืออะไรก็ตาม แต่เมื่อเวลาผ่านเลยไป คนอีกรุ่นอาจไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับงานเหล่านี้  จึงขออนุญาตหยิบยกมาปัดฝุ่นใหม่ โดยเริ่มต้นจากสิ่งพื้นฐานที่สุดนั่นคือ เกิดอะไรขึ้นบ้างในวันนั้น ทั้งในแง่เหตุการณ์และอารมณ์ความรู้สึก

จดหมายจากชวลิต วินิจจะกูล ฉบับที่ 1

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43012

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เปิด นสพ. เก่า อ่านชนวน 6 ตุลา ผ่านข่าวก่อนเกิดเหตุ

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เปิด นสพ. เก่า อ่านชนวน 6 ตุลา ผ่านข่าวก่อนเกิดเหตุ

 

 


5 ต.ค.55  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค  “วันนี้เมื่อ 36 ปีก่อน” โดยนำรูปปกหนังสือพิมพ์เก่าฉบับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดาวสยาม บ้านเมือง ไทยรัฐ บางกอกโพสต์ ประชาชาติ เปรียบเทียบการพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการชุมนุมใหญ่ของประชาชนและนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันที่ 1, 2, 3, 4, 5 ตุลาคม 2519 ก่อนจะเกิดเหตุการณ์กวาดล้างนักศึกษาและประชาชนในวันที่  6 ตุลาคม 2519

สำหรับ ในวันนี้ ( 5 ต.ค.) เมื่อ 36 ปีที่แล้ว สมศักดิ์ ได้วิเคราะห์ข่าวของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ไว้ว่า ชนวนของการจุดประเด็นเรื่องละครแขวนคอ อันเป็นเหตุให้ฝ่ายขวาลุกฮือและมีการกวาดล้างผู้ชุมนุมอย่างโหดเหี้ยมนั้น ถูกจุดขึ้นจากประเด็นเพียงเล็กน้อยและด้วยเวลาอันรวดเร็วเพียงใด ทั้งที่สื่อมวลชนเกือบทั้งหมด รวมทั้งดาวสยามเองนำเสนอข่าวการแสดงละครนี้ในวันที่ 5 ต.ค. เป็นเพียงข่าวเล็กๆ ที่แทบไม่ได้รับความสนใจ

รายละเอียดมีดังนี้
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/43000

ห้องเรียนประชาธิปไตย

ห้องเรียนประชาธิปไตย

 

ห้องเรียนประชาธิปไตย - 2 ปี นิติราษฎร์ ทบทวนรัฐประหารไทย 5-10-55


ห้องเรียนประชาธิปไตย 2 ปี นิติราษฎร์ ทบทวนรัฐประหารไทย 5 10 2012 
http://www.youtube.com/watch?v=LDMc_cNqWYo&list=UU8plyTl978zwLwp6Otn8YpQ

5 10 55 ห้องเรียนประชาธิปไตย 2 ปี นิติราษฎร์ ทบทวนรัฐประหารไทย part 2
http://www.youtube.com/watch?v=vzf1u8BgPhY&feature=player_embedded

5 10 55 ห้องเรียนประชาธิปไตย 2 ปี นิติราษฎร์ ทบทวนรัฐประหารไทย part 3
http://www.youtube.com/watch?v=xxxJ_UA57ig&feature=player_embedded

5 10 55 ห้องเรียนประชาธิปไตย 2 ปี นิติราษฎร์ ทบทวนรัฐประหารไทย part 4
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=clv84e629d4 

The October 1976 Massacre in Bangkok 36 ปี 6 ตุลา

The October 1976 Massacre in Bangkok 36 ปี 6 ตุลา 




http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/561862_3226030269218_548788787_n.jpg 


6 ตุลา (ที่มั่นแดง)
เก็บตกย้อนปีเสวนา เบื้องหลัง 6ตุลา(ปี2554)

เสวนา เบื้องหลัง6ตุลา ตอน1
http://www.youtube.com/watch?v=tUBx66z9AF0&feature=related 

เสวนา เบื้องหลัง 6ตุลา ตอน2
http://www.youtube.com/watch?v=mHqoot_lWEM&feature=relmfu

ภารกิจสืบสานเจตนารมณ์ต่อต้านเผด็จการ
สร้างสรรค์ประชาธิปไตยยังไม่เสร็จสิ้น
 

(ร่าง) คำไว้อาลัย 36 ปี 6 ตุลา 2519 โดย ‘หมอมิ้ง’ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

(คลิกอ่าน)
http://www.prachatai.com/journal/2012/10/42980 

วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์

วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ 


วันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ 

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xrbxdg

Wake up Thailand

Wake up Thailand

 

อย่าให้ถึงขั้นรัฐบาลปลุกชาวนา 


Wake up Thailand ประจำวันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555
อย่าให้ถึงขั้นรัฐบาลปลุกชาวนา
http://www.dailymotion.com/video/xu3hb2 


สงคราม 'จำนำข้าว' จนไม่ว่าขอให้อย่าโกง

Wake up Thailand ประจำวันพุธที่ 4 ตุลาคม 2555  
สงคราม "จำนำข้าว" จนไม่ว่าขอให้อย่าโกง
http://www.dailymotion.com/video/xu2hnz

The Daily Dose

The Daily Dose 


The Daily Dose ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2555
Romney ชนะโต้วาทีรอบเเรกตามคาด
The Daily Dose ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2555
หล่อหลอมอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างทั่วถึง
http://www.dailymotion.com/video/xu2z6h

Divas Cafe

Divas Cafe


กวาดล้างโสเภณีฝรั่งเศส กับเสรีภาพในอาชีพและเรือนร่าง    


Divas Cafe ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2555
กวาดล้างโสเภณีฝรั่งเศส กับเสรีภาพในอาชีพและเรือนร่าง
http://www.dailymotion.com/video/xu3uv5 


ถึงเวลากำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ต้องปรับตัว !


Divas Cafe ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2555 
ถึงเวลากำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ต้องปรับตัว ! 
http://www.dailymotion.com/video/xu2sez

การเมืองไทย2501-2516

การเมืองไทย2501-2516 


พลิกไปพลิกมาประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ฝ่ายเจ้าขึ้นบ้าง ฝ่ายทหารขึ้นบ้าง!!!
ฟังอาจารย์ธงชัย ฝ่ายเจ้าพลิกขึ้นมามีอำนาจจากปัจจัยอะไรและขึ้นมาช่วงเวลาไหน???
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=BfGTAGIVGSc