การขึ้นสู่อำนาจของฟาสซิสต์ เป็นรัฐประหารหรือไม่?
โดย อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล
ขบวนการของสุเทพและพวก พรรคประชาธิปัตย์ เครือข่ายมหาวิทยาลัย คล้ายกับ การขึ้นสู่อำนาจของฟาสซิสต์และมุสโสลินี
เสนอให้เรียกคนเหล่านี้ว่า พวกเผด็จการฟาสซิสต์ ครับ
เสนอให้เรียกคนเหล่านี้ว่า พวกเผด็จการฟาสซิสต์ ครับ
มี
การประเมินกันทางประวัติศาสตร์และกฎหมายรัฐธรรมนูญว่า
การเดินเท้าเข้าสู่กรุงโรมของกองกำลังชุดดำ
และการแต่งตั้งมุสโสลินีเป็นนายกรัฐมนตรี ในปี ๑๙๒๒
ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการขึ้นสู่อำนาจของฟาสซิสต์
เป็นรัฐประหารหรือไม่?
ฝ่ายหนึ่ง เห็นว่าเป็น โดยอธิบายว่า กษัตริย์วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ ๓ ไม่ยอมลงนามในการประกาศกฎอัยการศึก แต่ให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งมุสโสลินีซึ่งเป็นพรรคเสียงข้างน้อยเป็นนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายที่สอง เห็นว่าไม่ถึงขั้นรัฐประหาร แต่เป็นเพียงการใช้กองกำลังปั่นป่วนกดดันเพื่อเป็นรัฐบาล โดยยังไม่เปลี่ยนระบบใดๆ การที่กษัตริย์แต่งตั้งนายกฯจากเสียงข้างน้อย ไม่ได้ละเมิดรัฐธรรมนูญ
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตรงกันหมดว่า กษัตริย์วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลสนับสนุนมุสโสลินี (นี่เป็นเหตุผลประการสำคัญที่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ อิตาลีมีการออกเสียงประชามติก่อนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่า จะเป็นสาธารณรัฐหรือมีกษัตริย์ต่อไป ผลปรากฏว่า ร้อยละ ๕๔.๓ เลือกสาธารณรัฐ ร้อยละ ๔๕.๗ เลือกกษัตริย์)
เมื่อกองกำลังชุดดำใช้วิธีการ Insurrection จนมุสโสลินีเสียงข้างน้อยได้เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาก็เริ่มต้นออกมาตรการต่างๆที่ทำให้ฟาสซิสต์รุกคืบเข้าไปในสถาบันการ เมืองทั้งหลาย
เริ่มจาก กฎหมาย Acerbo ในวันที่ ๑๘ พ.ย.๑๙๒๓ ที่ส่งผลให้ฟาสซิสต์ได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้น
ตามมาด้วยกฎหมาย ๒๔ ธันวาคม ๑๙๒๕ และกฎหมาย ๓๑ มกราคม ๑๙๒๖ ที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารและมุสโสลินีเพิ่มขึ้น
ต่อมา มีการตรากฎหมายวันที่ ๑๗ พ.ค. ๑๙๒๘ เปลี่ยนการได้มาของสภาผู้แทนราษฎร ให้มาจากการแต่งตั้งของสาขาอาชีพต่างๆ
และสุดท้าย ตรากฎหมาย ๙ ธันวาคม ๑๙๒๘ กำหนดให้ คณะกรรมการฟาสซิสต์ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
สมควรกล่าวเป็นข้อสังเกตด้วยว่า ตั้งแต่กองทัพชุดดำก่อการ Insurrection จนมุสโสลินีเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อด้วยการออกกฎหมายที่ทำให้มุสโสลินีกลายเป็น Il Duce ผู้เผด็จการและอิตาลีเป็นเผด็จการฟาสซิสต์แบบเบ็ดเสร็จนั้น มีนักกฎหมายรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุน อาทิ เช่น Alfredo Rocco ซึ่งต่อมามุสโสลินีตั้งให้เป็น รมต ยุติธรรม Santi Romano ซึ่งต่อมามุสโสลินีตั้งให้เป็นประธานสภาแห่งรัฐ (เทียบเท่าศาลปกครองสูงสุดและคณะกรรมการกฤษฎีกานั่นเอง)
แนวทางของฟาสซิสต์ ภายใต้มันสมองของ Alfredo Rocco และการนำของมุสโสลินี มีหลักพื้นฐาน คือ
๑. ต่อต้านรัฐสภาแบบผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง เน้นอำนาจรวมศูนย์ที่ผู้นำ
๒. ต่อต้านเสรีนิยม ยกเลิกสิทธิและเสรีภาพ
๓. ต่อต้านปัจเจกชนนิยม เน้นการรวมกลุ่มเป็นเอกภาพในนามของชาติ รัฐ หรือสหภาพวิชาชีพ
๔. ชาตินิยม
เก็บความอย่างกระชับจาก Joel Hautebert, "Fascisme et Coup d'Etat", in Le Coup d'Etat. Recours à la force ou dernier mot du politique?, 2007, pp.149-167
ฝ่ายหนึ่ง เห็นว่าเป็น โดยอธิบายว่า กษัตริย์วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ ๓ ไม่ยอมลงนามในการประกาศกฎอัยการศึก แต่ให้รัฐบาลพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งมุสโสลินีซึ่งเป็นพรรคเสียงข้างน้อยเป็นนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายที่สอง เห็นว่าไม่ถึงขั้นรัฐประหาร แต่เป็นเพียงการใช้กองกำลังปั่นป่วนกดดันเพื่อเป็นรัฐบาล โดยยังไม่เปลี่ยนระบบใดๆ การที่กษัตริย์แต่งตั้งนายกฯจากเสียงข้างน้อย ไม่ได้ละเมิดรัฐธรรมนูญ
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตรงกันหมดว่า กษัตริย์วิคเตอร์ เอ็มมานูเอลสนับสนุนมุสโสลินี (นี่เป็นเหตุผลประการสำคัญที่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ อิตาลีมีการออกเสียงประชามติก่อนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ว่า จะเป็นสาธารณรัฐหรือมีกษัตริย์ต่อไป ผลปรากฏว่า ร้อยละ ๕๔.๓ เลือกสาธารณรัฐ ร้อยละ ๔๕.๗ เลือกกษัตริย์)
เมื่อกองกำลังชุดดำใช้วิธีการ Insurrection จนมุสโสลินีเสียงข้างน้อยได้เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาก็เริ่มต้นออกมาตรการต่างๆที่ทำให้ฟาสซิสต์รุกคืบเข้าไปในสถาบันการ เมืองทั้งหลาย
เริ่มจาก กฎหมาย Acerbo ในวันที่ ๑๘ พ.ย.๑๙๒๓ ที่ส่งผลให้ฟาสซิสต์ได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้น
ตามมาด้วยกฎหมาย ๒๔ ธันวาคม ๑๙๒๕ และกฎหมาย ๓๑ มกราคม ๑๙๒๖ ที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารและมุสโสลินีเพิ่มขึ้น
ต่อมา มีการตรากฎหมายวันที่ ๑๗ พ.ค. ๑๙๒๘ เปลี่ยนการได้มาของสภาผู้แทนราษฎร ให้มาจากการแต่งตั้งของสาขาอาชีพต่างๆ
และสุดท้าย ตรากฎหมาย ๙ ธันวาคม ๑๙๒๘ กำหนดให้ คณะกรรมการฟาสซิสต์ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
สมควรกล่าวเป็นข้อสังเกตด้วยว่า ตั้งแต่กองทัพชุดดำก่อการ Insurrection จนมุสโสลินีเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อด้วยการออกกฎหมายที่ทำให้มุสโสลินีกลายเป็น Il Duce ผู้เผด็จการและอิตาลีเป็นเผด็จการฟาสซิสต์แบบเบ็ดเสร็จนั้น มีนักกฎหมายรัฐธรรมนูญจำนวนหนึ่งให้การสนับสนุน อาทิ เช่น Alfredo Rocco ซึ่งต่อมามุสโสลินีตั้งให้เป็น รมต ยุติธรรม Santi Romano ซึ่งต่อมามุสโสลินีตั้งให้เป็นประธานสภาแห่งรัฐ (เทียบเท่าศาลปกครองสูงสุดและคณะกรรมการกฤษฎีกานั่นเอง)
แนวทางของฟาสซิสต์ ภายใต้มันสมองของ Alfredo Rocco และการนำของมุสโสลินี มีหลักพื้นฐาน คือ
๑. ต่อต้านรัฐสภาแบบผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้ง เน้นอำนาจรวมศูนย์ที่ผู้นำ
๒. ต่อต้านเสรีนิยม ยกเลิกสิทธิและเสรีภาพ
๓. ต่อต้านปัจเจกชนนิยม เน้นการรวมกลุ่มเป็นเอกภาพในนามของชาติ รัฐ หรือสหภาพวิชาชีพ
๔. ชาตินิยม
เก็บความอย่างกระชับจาก Joel Hautebert, "Fascisme et Coup d'Etat", in Le Coup d'Etat. Recours à la force ou dernier mot du politique?, 2007, pp.149-167