หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Merry Christmas 2013

Merry Christmas 2013



สุขสันต์วันคริสต์มา
 
Jingle Bells Music
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=0kj7OPkNDbY#!

John Lennon - Happy Christmas War Is Over
http://www.youtube.com/watch?v=EZXlCUNm9cg&feature=share  

ของขวัญยามฉันเติบโต

ฉันโตแล้ว
ฉันจึงไม่ใฝ่ฝันถึงของขวัญวันคริสต์มาส
จากซานตาครอสเคราขาว
ผู้ขี่มาในเลื่อนพร้อมกวางเรนเดียร์


ฉันโตแล้ว
ฉันจึงไม่คิดว่าจะได้พบ
ซานตาครอสเคราขาวผู้ลงมาตาม
ปล่องไฟโบราณ
เพื่อบอกฉันว่าฉันเป็นเด็กดีเพียงใด


ฉันโตแล้ว
ฉันจึงหวังจะได้ของขวัญ
จากกรรมการสิทธิมนุษยชนในประเทศของฉันมากกว่า
กรรมการสิทธิผมสีขาวผู้มาพร้อมกับ
รถเบนซ์และน้ำมันฟรีเต็มถัง


ฉันโตแล้ว
ฉันจึงหวังจะได้ของขวัญจากกรรมการสิทธิ
ผู้ลงมาจากบันไดหอคอยงาช้าง
เพื่อบอกฉันว่า
พวกเขาได้แลเห็นและรับรู้
ถึงเหล่าผู้ถูกกระทำในประเทศ
มากเพียงใด


และเมื่อฉันคิดเช่นนั้น
ฉันจึงพบว่าฉันเป็นเด็กทารกมากเพียงใด
เด็กทารกที่ไม่กล้าจะเติบโต
เพื่อยอมรับความจริง
ในประเทศนี้
.........................................

หมายเหตุผู้เขียน: บทกวีวันคริสต์มาส ในวันที่ไม่มีอยู่ทั้งซานตาครอสและกรรมการสิทธิมนุษยชนในประเทศนี้(แรงบันดาลใจจากบทความของ มุกหอม วงษ์เทศ)
 
มุกหอม วงษ์เทศ: ความยุติธรรมอยู่ที่อื่น

นี่หรือคือโปร่งใส?

นี่หรือคือโปร่งใส?





เวทีรับฟังความเห็นเหมืองทองทุ่งคำ เกณฑ์ตำรวจ-ทหาร 2,000 กีดกันชาวบ้านไม่ให้เข้าร่วม

เวทีรับฟังความเห็นเหมืองทองทุ่งคำ เกณฑ์ตำรวจ-ทหาร 2,000 กีดกันชาวบ้านไม่ให้เข้าร่วม

 


 
 
ชาวบ้านกลุ่ม "ฅนรักษ์บ้านเกิด” ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามกว่า 700 คน ถูกกันไม่ให้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกว่า 2,000 นาย

23 ธ.ค. 55 - เวลา 6.00 น. ชาวบ้านในนาม “กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด” ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคามกว่า 700 คน เคลื่อนขบวนไปยังศาลาประชาคม ในบริเวณศาลากลางจังหวัดเลย ซึ่งมีการจัด “เวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพ" หรือ Public Scoping ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการ EHIA ของโครงการขยายเหมืองทองของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ตามคำขอประทานบัตรที่ 104/2538 อย่างไรก็ตาม การเดินทางมาเพื่อคัดค้านการขยายเหมืองทองของชาวบ้านกลับถูกกีดกันจากเจ้า หน้าที่ตำรวจและทหารกว่า 2,000 นายซึ่งได้เตรียมการตั้งแต่เมื่อช่วงสายวานนี้ ภายใต้แผนปฏิบัติการควบคุมฝูงชน “กรกฎ 52” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการกั้นถนนรอบศาลากลาง/ศาลาประชาคม ซึ่งเป็นที่จัดเวทีดังกล่าวด้วยรถบรรทุกของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ซึ่งลอกสติกเกอร์ชื่อบริษัทแต่ยังสามารถเห็นเป็นรอยชัดเจนอยู่ พร้อมทั้งแผงเหล็ก และแถวเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารอีกสามชั้น พร้อมด้วยรั้วลวดหนามรอบบริเวณศาลาประชาคม ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมเวที Public Scoping จะต้องผ่านทางเข้าซึ่งกำหนดไว้เพียงจุดเดียวบริเวณที่ว่าการอำเภอเมือง โดยเข้าได้ทีละคนและต้องผ่านการตรวจค้นอย่างละเอียด

“กลุ่มฅนรักษ์ บ้านเกิด” ซึ่งทะยอยมาถึงตั้งแต่เวลาเช้ามืดจำนวนมากเพื่อแสดงเจตจำนงค์ไม่เห็นด้วยกับ การจัดเวทีดังกล่าวและการขยายเหมืองทอง ได้สื่อสารกับเจ้าหน้าที่ถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมประชุมอย่างสงบ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้ายังคงไม่อนุญาตให้ชาาวบ้านทั้งหมดเข้าไปร่วมในเวทีดังกล่าว ชาวบ้านจึงหันมาใช้เครื่องขยายเสียงปราศัยข้อมูลรณรงค์เกี่ยวกับผลกระทบทั้ง สุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนได้รับจากเหมืองทองที่ดำเนินการอยู่ของบริษัท ทุ่งคำ
 
(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/12/44360

ชาวกรีซเห็นใจเพื่อนร่วมชาติ ช่วยกัน"บริจาค"สิ่งของให้"คนจน-ตกอับ"ในช่วงวิกฤตศก.ปท. (ชมคลิป)

ชาวกรีซเห็นใจเพื่อนร่วมชาติ ช่วยกัน"บริจาค"สิ่งของให้"คนจน-ตกอับ"ในช่วงวิกฤตศก.ปท. (ชมคลิป)

 


http://www.matichon.co.th/play_clip.php?newsid=1356330333

  
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 24 ธ.ค.ว่า ชาวกรีซจำนวนหลายพันคน ต่างออกมาสู้อากาศหนาวเย็น เพื่อแสดงน้ำใจบริจาคสิ่งของให้แก่"คนยากจน"ในสังคม ในช่วงประเทศกำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจในขณะนี้ ที่บริเวณจัตุรัส"ซินแทกมา"ในกรุงเอเธนส์ เมืองหลวง ประกอบด้วยอาหาร เสื้อผ้า และตุ๊กตา

รายงานระบุว่า ชาวกรีซทุกวัยต่างแบกกระเป๋าที่บรรจุสิ่งของที่พวกเขาต้องการบริจาคให้แก่คน ยากคนจนในสังคม ที่ต้องต่อสู้อย่างปากกัดตีนถีบ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ โดยเหตุการณ์ดังกล่าวจัดโดยสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น"เมก้า"ร่วมมือกับสภาเขต เทศบาลหลายเขตในกรุงเอเธนส์ โดยตัวแทนจากสถานีฯบอกว่า ขณะนี้มีครออบครัวกรีซจำนวนมากนับแสนครอบครัวที่ต้องประสบภาวะยากเข็ญ และพวกเขาจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในลักษณะนี้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลกรีซได้นำไปสู่การตัดลดค่าแรง ผลประโยชน์ และเบี้ยบำนาญ ขณะที่ประเทศมีอัตราการว่างงานสูงถึง 26 เปอร์เซนต์

(ที่มา) 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356330333&grpid=&catid=06&subcatid=0600

รายการ Voice News ประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2555 (19.00 น.)

รายการ Voice News ประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2555 (19.00 น.)


 
 
- เลื่อนสอบแอดมิชชั่นปี 2557 เร็วขึ้น รับอาเซียน
- เพื่อไทยแก้รธน.เป็นของขวัญปีใหม่ให้ปชช.

 
http://www.dailymotion.com/video/xw5uay

รายการ Go Global ประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2555

รายการ Go Global ประจำวันที่ 23 ธันวาคม 2555






ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้'แรงแค่ไหน?
http://www.dailymotion.com/video/xw5veo_


รายการ Wake Up Thailand

รายการ Wake Up Thailand


อ้าย เหวย เหว่ย ศิลปินทรงอิทธิพลของจีน 

รายการ Wake Up Thailand ประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2555 ตอน 2
เมื่อศาลตกเป็นจำเลย
http://www.dailymotion.com/video/xw66y5_yy-

สังคมเสพย์ติดม็อบ (มากกว่าอภิปรายฯ) 

รายการ Wake Up Thailand ประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2555 ตอน 1
อะไรกันนักกันหนากับประชามติ
http://www.dailymotion.com/video/xw669o_

Divas Cafe ประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 24 ธันวาคม 2555
 

เที่ยวเมืองไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก

ปิ่นโตไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลก
http://www.dailymotion.com/video/xw6cxi

เสียงจาก"สดศรี สัตยธรรม" เปรียบ"ประชามติ"เหมือนเล่นพนัน

เสียงจาก"สดศรี สัตยธรรม" เปรียบ"ประชามติ"เหมือนเล่นพนัน



"การทำประชามติมันก็เหมือนการเล่นการพนัน มันก็ต้องมีได้มีเสีย มีแพ้มีชนะ มันก็อยู่ที่รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลจะเดินหน้า"

 
หมายเหตุ - นาง สดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมือง ให้สัมภาษณ์ "มติชน" เกี่ยวกับการจัดทำประชามติของรัฐบาล เพื่อเดินหน้าในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291

 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356312602&grpid=01&catid=&subcatid=

'จาตุรนต์' แนะไม่ควรจัดลงประชามติแก้ รธน. ตาม ม.165 ชี้สำเร็จยาก

'จาตุรนต์' แนะไม่ควรจัดลงประชามติแก้ รธน. ตาม ม.165 ชี้สำเร็จยาก

 


 


23 ธ.ค. 55 - นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทยได้แสดงความเห็นกรณีประชามติและการแก้รัฐ ธรรมนูญ ลงในโปรแกรมทวิตเตอร์ของตนเอง https://twitter.com/chaturon โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กรณีประชามติและการแก้รัฐธรรมนูญ

เห็น พรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์ย้ำแล้วย้ำอีกเรื่องคัดค้านการแก้มาตรา 309 เข้าใจว่าจะแกล้งทำเป็นไขสือไม่รู้ว่ารัฐสภากำลังแก้เฉพาะมาตรา 291  รัฐสภาหรือนายกรัฐมนตรี จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะมารับรองว่าจะไม่แก้มาตรา 309 เพราะต้องให้เป็นอำนาจการตัดสินใจของสสร. ซึ่งสุดท้ายจะตัดสินโดยประชาชน ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะยอมรับกระบวนการที่ยกอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินกัน หรือไม่

ส่วนเรื่องว่าควรยกเลิกหรือรักษามาตรา 309 ไว้หรือไม่นั้น มีการถกเถียงกันมามากแล้ว จุดสำคัญอยู่ที่จะรับรองการรัฐประหารว่าถูกต้องหรือไม่ อย่างไรจึงจะสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม ไม่ควรเอาเรื่องตัวบุคคลมาเป็นเกณฑ์อย่างที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังเสนออยู่ ซึ่งกลายเป็นไม่มีหลัก  การแก้รัฐธรรมนูญอย่างไรจึงจะดี ต้องดูผลที่จะเกิดกับประเทศชาติเป็นส่วนรวม  ไม่ใช่ดูที่ว่าจะเป็นผลอย่างไรกับพ.ต.ท.ทักษิณ

ส่วนประเด็นที่กำลัง เป็นที่สนใจและสำคัญมากก็คือเรื่องการจะทำประชามติก่อนการลงมติวาระสามหรือ ไม่ เรื่องนี้จะมีผลอย่างมากต่อวิกฤตประเทศ รัฐธรรมนูญปัจจุบันไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องมีการลงประชามติก่อนที่จะมีการลง มติในวาระที่ 3ฉะนั้นจะลงมติเสียเลยก็ย่อมทำได้  แต่เข้าใจว่ามีความเป็นห่วงว่าถ้าลงมติไปแล้วก็อาจไปสะดุดข้างหน้าอีกเพราะ ศาลรัฐธรรมนูญแนะนำไว้ว่าถ้าจะแก้ทั้งฉบับควรลงประชามติเสียก่อน  แต่พอจะให้มีการลงประชามติก็มีปัญหาต้องตีความกันมากพอสมควรว่าจะทำอย่างไร และจะมีผลอย่างไรกันแน่  เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้ต้องมีประชามติ

ข้อ ดีอีกอย่างของการลงประชามติคือ การแก้ปัญหาการเมือง เนื่องจากรัฐธรรมนูญนี้ผ่านการลงประชามติมาก่อนจะนำมาใช้ ถ้าจะแก้กันใหม่มากๆ การมีประชามติก็ดี  ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ค้างสภาอยู่ก็กำหนดให้ต้องมีการทำประชามติอยู่แล้ว เพียงแต่ให้ทำในขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าทำก่อนยกร่าง  แต่ถ้าจะลงประชามติกันถึง 2 รอบ คือ ทั้งก่อนและหลังการยกร่างโดยสสร.แล้วสังคมไม่เห็นว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลืองก็ สามารถทำได้เหมือนกัน

3 แนวทาง แก้รัฐธรรมนูญ ใน เพื่อไทย

3 แนวทาง แก้รัฐธรรมนูญ ใน เพื่อไทย

 


มี ความเป็นไปได้มากเพียงใดที่ข้อเสนอ "ต้าน" การทำประชามติอันมาจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อันมาจาก นายจตุพร พรหมพันธุ์ จะประสบผลสำเร็จ

อย่างน้อยก็ประสบผลสำเร็จในที่ประชุมพรรคเพื่อไทยในวันที่ 25 ธันวาคม

หากมองเพียงภาพของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หากมองเพียงภาพของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ก็อาจมีความเป็นไปได้

เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มากด้วยความจัดเจนทางการเมือง

เพราะที่ยืนอยู่เบื้องหลัง นายจตุพร พรหมพันธุ์ คือ นปช.แดงทั้งแผ่นดินอันทรงพลานุภาพอย่างยิ่ง

ชี้ต้นตาย ชี้ปลายเป็นให้กับพรรคเพื่อไทย ให้กับรัฐบาล

เพราะ ความต้องการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราขณะที่ความต้องการของ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นปช.คือเดินหน้าโหวตวาระ 3 ไปเลย

อย่ามองข้ามความปรารถนาดีของ 2 คนนี้อย่างเด็ดขาด

"ถามหัวใจคนเสื้อแดง เดินหน้าโหวตวาระ 3 ให้จบสิ้นไปเลย ขอเสียงให้ได้ยินถึงทำเนียบรัฐบาล โหวตวาระ 3 เราชนะ ลงประชามติเราแพ้"

หลากทรรศนะ "ผ่าทางตัน" เดินหน้าประชามติ-แก้รธน.

หลากทรรศนะ "ผ่าทางตัน" เดินหน้าประชามติ-แก้รธน.

 

หมายเหตุ - นักวิชาการได้แสดงทรรศนะความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำประชามติของรัฐบาลเพื่อ แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 เพื่อให้ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงประมาณ 24.3 ล้านเสียง

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ


เห็น ข่าวว่าจะมีการประชุมคณะทำงานของรัฐบาลเพื่อศึกษาการทำประชามติ ในวันที่ 24 ธันวาคมนี้ และมีผู้เป็นห่วงเรื่องการออกเสียงประชามติ ตลอดจนเรื่องที่อาจจะมีผู้ไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าประชามติผิดรัฐธรรมนูญ นั้น ขอเสนอความเห็นว่า ทางออกหนึ่งที่เป็นไปได้ คือการที่รัฐบาลและรัฐสภาควรยึดหลักอธิบายว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ได้วางหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอันเป็นหลักกฎหมายพื้นฐานที่สุดของรัฐ ธรรมนูญ ดังนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงไม่อาจทำประชามติตามมาตรา 165 เพื่อหาข้อยุติอันเป็นการก้าวล่วงอำนาจของรัฐสภาในกรณีที่เกี่ยวข้องกับ อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอันเป็นอำนาจเฉพาะของรัฐสภาได้

อย่างไรก็ ดี เพื่อเป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ครม. เมื่อรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายมหาชน แม้ผมจะไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ เพราะโดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการมีวาระซ่อนเร้นของรัฐบาลในการแทรกวาระที่ 2.5 ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่ถ้าจำเป็นต้องทำประชามติ ผมเสนอให้ทำตามมาตรา 165 โดยดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้คำปรึกษาแก่ ครม.เพื่อร่วมหาทางออกในการบริหารราชการแผ่นดินในสภาวะที่สังคมมีความขัด แย้ง อันเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ใช้เพียงเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงเท่านั้น ด้วยการให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียงให้เยอะเพียงอย่างเดียว อีกทั้งสามารถเสนอผลเพื่อหารือกับรัฐสภาได้ ส่วนรัฐสภาจะพิจารณาผลประชามติอย่างไร ก็ถือว่าเป็นอำนาจของรัฐสภา การที่ประชาชนออกมาให้คำปรึกษากับ ครม. แม้จะไม่ผูกพันต่อรัฐสภา แต่ ครม.อาจเปิดอภิปรายในรัฐสภาได้ เมื่อได้มีการทำประชามติในกรณีขอคำปรึกษา


(อ่านต่อ) 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356314898&grpid=01&catid=&subcatid=