วิกฤตยูเครนคงไม่จบง่ายๆ
หลังจากที่ประธานาธิบดี แยนูโควิช
ถูกรัฐสภาปลดออกจากตำแหน่ง และหลบหนีออกจากเมืองหลวง นักการเมืองฝ่ายค้านก็พยายามสร้างรัฐบาลใหม่
แต่ฝ่ายค้านมีความคิดหลากหลายและแตกแยก ที่พอตกลงกันได้คือไม่เอารัฐบาลเก่าและ ประธานาธิบดี
แยนูโควิช
แยนูโควิช ต้องลาออกหลังจากที่พวกนักการเมืองมาเฟียที่เคยสนับสนุนเขา
มองว่าเขาเป็นภาระ เลยต้องทิ้งให้เป็นแพะรับบาปไป ความพยายาม และความล้มเหลว ของ แยนูโควิช
ที่จะปราบมวลชนในจัตุรัสกลางเมืองด้วยความรุนแรง เป็นสาเหตุสำคัญ
ความแตกแยกในยูเครน มาจากการที่ฝ่ายค้านอยากเข้าใกล้ประชาคมยุโรปหรือ “อียู”
โดยฝ่ายรัฐบาลอยากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียแทน
มหาอำนาจตะวันตกก็คอยสนับสนุนฝ่ายค้าน และประธานาธิบดี ปูติน ของรัสเซียก็เคยสนับสนุน
แยนูโควิช การเมืองภายในยูแครนมีอิทธิพลของพวกนายทุนมาเฟียอีกด้วย
ยูเครนเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียด
และเป็นพื้นที่ที่ถูกกดขี่อย่างหนักสมัยสตาลิน ยูเครนมีสินค้าเกษตรมากมาย
ซึ่งเป็นที่ต้องการของรัสเซียสมัยสตาลิน
จริงๆ
แล้วยูเครนมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ทางด้านตะวันตกเคยเป็นประเทศเดียวกับโปแลนด์และออสเตรีย
ทางด้านตะวันออกมีคนเชื้อสายรัสเซียจำนวนมาก
ยิ่งกว่านั้นเมืองหนึ่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเป็นฐานทัพเรือสำคัญของ
รัสเซียจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้นยูเครนอาจแตกแยกเป็นสองประเทศในอนาคต
รัสเซียคงอยากปกป้องอิทธิพลในยูเครน โดยเฉพาะในส่วนตะวันออก
และอาวุธที่สำคัญในการกดดันนักการเมืองยูเครน นอกจากกองทัพแล้ว
คือการที่รัสเซียเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติที่ป้อนยูโรปรวมถึงยูเครน
ถ้ามีการขึ้นราคาก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจยูเครนที่อ่อนแอและติดหนี้มหาศาลอยู่แล้ว
การที่นักการเมืองในรัฐบาลใหม่หันไปขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากอียูและไอเอ็มเอฟ
อาจสร้างวิกฤตรอบใหม่ เพราะไอเอ็มเอฟแจ้งว่าถ้าจะปล่อยกู้ให้ยูเครน
ต้องมีการตัดเงินที่รัฐใช้ในการช่วยประชาชน
ซึ่งคาดว่าจะทำให้เชื้อเพลิงแพงขึ้นเท่าตัว
และสร้างความโกรธแค้นไม่พอใจในหมู่ประชาชนซึ่งยังชุมนุมกันที่จัตุรัสเพื่อตรวจสอบรัฐบาลใหม่
ในขณะเดียวกันกองกำลังฟาสซิสต์ก็ระดมคนบนท้องถนน
เราคงต้องจับตาดูบทบาทของขบวนการแรงงานในอนาคตด้วย
(ที่มา)