ประวัติศาสตร์ เหรียญด้านเดียว
โดยHorachio Nea
วันที่ 7 ม.ค. ที่วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม พร้อมครอบครัวได้ร่วมกันทำบุญถวายสังฆทานเนื่องในวันครบรอบวันเกิดปีที่ 75 พร้อมกล่าวถึงกรณีที่ทุกพรรคการเมืองมีมติไม่ควรแก้ไขมาตรา 112 ว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับเรื่องนี้ และที่ผ่านมาก็เคยแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดของบรรดานักวิชาการที่เห็นว่า เป็นการไม่บังควรอย่างยิ่ง
"ขอให้คนที่คิดเรื่องนี้ศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยให้ลึกและมากหน่อยว่า เรามีชาติไทยมาได้ถึงทุกวันนี้ เพราะเรามีพระมหากษัตริย์เป็นผู้กอบกู้ประเทศชาติมาตลอดเวลา ดังนั้นจึงสมควรให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่คู่กับชาติตลอดไป" รมว.กลาโหม กล่าว
ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ชิ้นนี้ทำให้ผู้เขียนรู้สึกบางอย่างในหัวใจและอาจ จะระบายออกไปว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ท่านเอ่ยอ้างมานั้นเป็นประวัติ ศาสตร์ในตำราไหน การเอ่ยอ้างเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เต็มไปด้วยแนวคิดราชาชาติ นิยมที่ไม่ได้เป็นไปตามประวัติศาสตร์อันแท้จริงที่เกิดขึ้น ตำราวิชาประวัติศาสตร์ใหม่ที่ถูกเขียนขึ้นโดยฝ่ายอนุรักษ์นิยมเต็มไปด้วยแนว คิดเข้าข้างตัวเองของสยามประเทศ เช่น พม่าศัตรูตลอดกาล ลาว เขมรต้องเป็นประเทศที่ต้องพึ่งบุญสยามมาโดยตลอด สยามเป็นลูกแกะที่โดนรังแกโดยหมาป่าฝรั่งเศส และอังกฤษ
แนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์เช่นนี้ปิดกั้นความคิดของคนในชาติ ส่งผลให้คนในชาตินั้นหลงใหลได้ปลื้มในประวัติศาสตร์แบบวรรณกรรมชนช้าง การสอนประวัติศาสตร์แบบนิทานปรัมปราที่ส่งผลหลายอย่างแก่ผู้เรียนมาจนส่งผล ให้เห็นได้จากแนวคิดของคนในสังคมปัจจุบันนี้ อาจอธิบายการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้ดังนี้ “ประวัติศาสตร์ไทย” นั้นมักจะเป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกตัดตอน คือเอามานำเสนอแค่ด้านเดียว เป็นประวัติศาสตร์แบบ “ราชาชาตินิยม” ศูนย์กลางเรื่องอยู่ที่พระมหากษัตริย์ อยู่ที่ชนชั้นปกครอง ไม่เห็นความสำคัญของราษฎร ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมนี้ให้ข้อมูลแต่ด้านเดียว ประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมนั้น มักจะได้รับการเอาใจใส่จากชนชั้นปกครอง ให้เรียนรู้ประวัติศาสตร์เช่นเรื่อง เสียดินแดน 14 ครั้ง, เขาพระวิหารเป็นของไทย อะไรประมาณนี้ หรือแม้กระทั่งเนื้อเพลงชาติที่ร้องกันทุกวันนี้ ถ้าตั้งคำถามแล้วจะโดนหาว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า? ประวัติศาสตร์แบบนี้นั้นมักจะสอนให้ซาบซึ้งและ “กล่อมประสาท” ไปวันๆ กล่อมประสาทจนไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น
“ในขณะที่เราเรียกร้องให้ระบบการศึกษาผลิตคนที่คิดเป็น เรากลับเรียกร้องให้เยาวชนเสพประวัติศาสตร์เป็นยากล่อมประสาทหนักเข้าไปอีก” (ธงชัย วินิจจะกูล)
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38660