หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

รายการ World Update ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2556

รายการ World Update ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2556




http://www.dailymotion.com/video/xyha46_yyyyyyyyyyy 
 
- ประชาชนไซปรัสยังวิตก แม้ได้เงินกู้จากอียู
- จับกระแส "พุทธสุดโต่ง" ในศรีลังกา

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand 

 

 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2556  ตอนที่ 2
กรุงเทพฯ ไม่ใช่ประเทศไทย คนต่างจังหวัดก็ป่วยเป็น 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xyh9oz 


จบแล้ว! เสื้อแดงไม่ได้เผา 
 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2556  ตอนที่ 1
จบแล้ว! เสื้อแดงไม่ได้เผา
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xyh9cm   

Divas Cafe ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2556

Divas Cafe ประจำวันที่ 26 มีนาคม 2556 



อันธพาลธิปไตย !!!
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xyhb6a 

ประเทศไทยอื้อฉาวใช้มาตรา 112 ข่มขู่กดหัวประชาชนเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ประเทศไทยอื้อฉาวใช้มาตรา 112 ข่มขู่กดหัวประชาชนเป็นการริดรอน สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย


 
Political Prisoners in Thailand(Light in the dark?)
http://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/2013/03/24/light-in-the-dark/

ภาพกษัตริย์ไทยออกมาชมทัศนียภาพ โดยมีหมาชื่อทองแดงเดินนำหน้า ตามด้วยองครักษ์ หมอและพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช

ขณะที่สถานการณ์การฟ้องร้องคดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพได้สร้างความขัดแย้งขึ้นในสังคมอย่างบานปลายทั้งในประเทศ และลามไปถึงต่างประเทศ จนเป็นที่อื้อฉาวว่า ประเทศไทยใช้มาตรา 112 ข่มขู่กดหัวประชาชนเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

ในหลวงเสด็จฯทอดพระเนตรเจ้าพระยา พระพักตร์แจ่มใส
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364130332&grpid=02&catid=no&subcatid=0000

ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมในพม่าถูกปลุกโดยทหาร

ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมในพม่าถูกปลุกโดยทหาร 


 


สื่อ กระแสหลักชอบเผยแพร่นิยายว่าความรุนแรงที่กำลังเกิดในพม่า มาจากความขัดแย้ง “ธรรมชาติ” ระหว่างคนที่มีเชื้อชาติและศาสนาต่างกัน แต่ในดินแดนที่ปัจจุบันเป็นพม่า ชนชาติต่างๆ อาศัยด้วยกันอย่างสงบมานาน 

ยุทธวิธี “แบ่งแยกและปกครอง” เป็นสิ่งที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษพัฒนามานาน เพื่อไม่ให้เกิดความสามัคคีกันระหว่างคนพื้นเมืองซึ่งจะมาท้าทายการปกครอง ของเจ้าอาณานิคม  และจักรวรรดินิยมตะวันตกมีนักวิชาการเชื่องชื่อ J.S. Furnivall ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการอังกฤษ ที่เสนอทฤษฏีเรื่อง “พหุสังคม” เพื่อแก้ตัวว่าคนเชื้อชาติต่างๆ มักแยกกันอยู่และแบ่งงานกันทำตามธรรมชาติ และแน่นอน “ธรรมชาติ” ระบุว่าคนตะวันตกต้องเป็นผู้ปกครอง มันตรงข้ามกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง เพราะอำนาจตะวันตกเป็นผู้กำหนดว่าเชื้อชาติไหนจะมีสิทธิ์ทำงานประเภทไหน พูดภาษาอะไร และอาศัยอยู่ในส่วนไหนของเมือง

ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ องค์กรชาตินิยมพม่าชื่อ Dobama Asiayone ซึ่งมี อองซาน เป็นสมาชิกสำคัญ มีนโยบายชาตินิยมพุทธสุดขั้ว องค์กรนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการก่อจลาจลทำร้ายคนเชื้อสายอินเดียที่เป็นกรรมกร ท่าเรือในปี 1930 ในปีนั้นกรรมกรท่าเรือเชื้อสายอินเดียนัดหยุดงาน แต่อังกฤษนำแรงงานพม่ามาแทนที่ ซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างหนัก พวกชาตินิยมพม่ามองว่าแรงงานเชื้อสายอินเดียเป็น “คนต่างชาติ” ที่มาแย่งงานคนพม่า นอกจากนี้พวกชาตินิยมใช้นายธนาคารอินเดียเป็นแพะรับบาปเพื่อโทษว่าเขาเป็น ต้นเหตุแห่งความยากจนในหมู่ชาวนาพม่า แต่ในความเป็นจริงชนบทพม่ามีความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในเชื้อชาติพม่าสูง และคนที่ปล่อยกู้ให้คนจนในชนบทเป็นคนพม่าในหมู่บ้านเดียวกัน ต่อมาในปี 1938 มีการทำร้ายชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลาม

รัฐสวัสดิการกับเรื่องสตรี

รัฐสวัสดิการกับเรื่องสตรี 

 

http://3.bp.blogspot.com/-gt2G5UuaGm4/UUmpYQKTzgI/AAAAAAAAB6Y/6dLiX26Z2KQ/s1600/housewife2.jpg 
นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังได้เงินช่วยเหลือยาม ตั้งครรภ์เป็นเงิน 80 % ของรายได้ต่อปี ตัวเลขคูณด้วย 0.989 แล้วหารด้วย  365 วัน ต่อปีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะเป็นตัวเงินที่ได้รับ เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว หากต้องการมีเวลาลี้ยงลูกก็สามารถลางานหรือหยุดงานได้ ซึ่งการลางานในก็จะได้เงินค่าช่วยเหลือผู้ครอง เป็นเงินทดแทนจากการขาดรายได้ การลางานเพื่อเลี้ยงลูกนั้นแม่เด็กสามารถลางานได้ถึง 1 ปี 3 เดือน

โดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม 


หากจะพูดถึงเรื่องการกดขี่สตรี แน่นอนรูปแบบการกดขี่นั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะในรูปแบบของภาระหน้าที่ที่ต้องเผชิญ ความคิดทัศนคติทางวัฒนธรรมที่กดขี่ ความไม่เท่าเทียมกันของสิทธิระหว่างเพศหญิงชาย และในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายกลุ่มหรือหลายองค์กรพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ดูเหมือนแนวทางในการสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อลดการกดขี่สตรีจะไม่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเลย

ถามว่าการมีรัฐสวัสดิการจะช่วยลดการกดขี่สตรีอย่างไร คำตอบคือการมีรัฐเข้ามาแบ่งเบาภาระของสตรี โดยการเข้ามาดูแลตั้งแต่เรื่องการตั้งครรภ์ การคลอด การเลี้ยงดูแก่เด็กที่เกิดมา และเอื้อให้สตรีมีโอกาสในการทำงานนอกบ้านมากขึ้น และรูปธรรมที่ชัดเจนที่ในการบอกว่า รัฐสวัสดิการนั้นช่วยลดการกดขี่สตรีได้จริงนั้น ดูตัวอย่างที่เป็นจริงจากประเทศสวีเดน ที่จริงแล้วสวีเดนเป็นประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการที่ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงที่อยู่ในสวีเดน จะได้รับสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ประเด็นที่อยากชี้ให้เห็นในแง่ของการช่วยลดการกดขี่สตรีคือ การนำเอางานบ้านและการเลี้ยงดูลูกซึ่งเป็นภาระของสตรี มาให้เป็นภาระที่รัฐที่ต้องดูแลแทน ยกตัวอย่างดังนี้

แรงงานเตรียมชุมนุม 3 เม.ย.นี้ ยันหนุนร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉ.คนงานที่ถูกปัดตก

แรงงานเตรียมชุมนุม 3 เม.ย.นี้ ยันหนุนร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉ.คนงานที่ถูกปัดตก

 

 
'สมานฉันท์แรงงานไทยเตรียมชุมนุมหน้ารัฐสภา 3 เม.ย. ยืนยันหนุนร่าง พรบ.ประกันสังคมฉบับคนงานที่ถูกปัดตกไปเมื่อพฤ. ถามรัฐบาลไหนว่าจะฟังเสียงประชาชน ชี้ร่างใหม่เน้นความเป็นอิสระของสำนักงานประกันสังคม ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่ม หวังแก้ปัญหาผู้ประกันตนเข้าไม่ถึงสิทธิ

สืบเนื่องจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติในวาระที่ 1 ไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ....ของวิไลวรรณ แซ่เตีย ร่วมกับประชาชนจำนวน 14,264 คน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มี.ค. ส่งผลให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวตกไปจากการพิจารณาตามกระบวนการนิติบัญญัติไทย

(26 มี.ค.56) ที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) โดยวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท. แถลงข่าวประณามการไม่รับร่างฯ ครั้งนี้ พร้อมระบุว่า คสรท.จะชุมนุมในวันพุธที่ 3 เม.ย.นี้หน้ารัฐสภา ตั้งแต่เวลา 9.00น. เพื่อยืนยันสนับสนุนร่างกฎหมายดังกล่าว  ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับนี้เป็นกฎหมายแรงงานฉบับแรกของประเทศที่เสนอสู่รัฐสภา หลังจากรัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อเสนอ ร่างกฎหมาย เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยทางตรงของประชาชน แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากประชาธิปไตยทางอ้อม กลับใช้อำนาจของตัวทำลายอำนาจของประชาชน สะท้อนว่าหากกฎหมายฉบับใดที่ประชาชนร่างขึ้นแล้ว ส.ส.ไม่ถูกใจ กฎหมายดังกล่าวก็จะไม่ถูกพิจารณาในรัฐสภาทันที ถือเป็นการกีดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชน

'หมอเจ็บ' กับ รมต.หมอ

'หมอเจ็บ' กับ รมต.หมอ

 

ม็อบแพทย์ชนบทเผาหุ้นฟางไล่


กระทรวงสาธารณสุขชิงจัดม็อบแพทย์พยาบาล รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป ให้กำลังใจหมอประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ก่อนถูกแพทย์ชนบทขับไล่ในวันนี้

ความขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุข อันที่จริงก็เป็นงูกินหาง แบ่งข้างไม่ถูก อย่างที่ผมเคยเขียนหลายครั้งว่า นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคของพรรคไทยรักไทย ประสบความสำเร็จได้เพราะทักษิณเป็นพ่อ แพทย์ชนบทและเครือข่ายหมอประเวศ หมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์, หมอวิชัย โชควิวัฒน์, หมอมงคล ณ สงขลา เป็นแม่ผู้ให้กำเนิด

ส่วนคนที่ต่อต้าน 30 บาท ก็คือผู้บริหารกระทรวง ซึ่งถูกตัดอำนาจ ตัดงบประมาณ ไปอยู่ สปสช.เกือบหมด และพวกแพทย์ บุคลากร ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (ขอเรียกง่ายๆ ว่า รพ.จังหวัด) เนื่องจากนโยบาย 30 บาทปฏิรูประบบสาธารณสุข ยกเลิกการจ่ายงบให้โรงพยาบาลต่างๆ ตามขนาด แต่จ่ายให้ตามรายหัวประชากรที่รับผิดชอบ จึงกลายเป็นปัญหาหนักสำหรับ รพ.ใหญ่ที่มีแพทย์พยาบาลเยอะ ให้ต้องลดหรือไม่รับบุคลากรเพิ่ม

ถ้าย้อนอดีตไป คงจำกันได้ว่า พวกแพทย์พยาบาล รพ.จังหวัดนี่แหละที่แต่งดำเป็นหมอ “ประชุมเพลิง” ประท้วงรัฐบาลไทยรักไทย

แต่ขั้วก็พลิกไปเมื่อเครือข่ายหมอประเวศกลายเป็นแกนสำคัญในขบวนการไล่ ทักษิณ กระทั่งรัฐประหาร หมอมงคล ณ สงขลา เข้าไปเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข แต่อีกด้านหนึ่ง พวกแพทย์พยาบาลที่ต่อต้าน 30 บาทก็ไม่ใช่เสื้อแดงที่ไหน ก็ไล่ทักษิณด้วยกันนั่นแหละ ไปดูตาม รพ.ใหญ่ๆ สมัยนั้น เปิด ASTV กันเอิกเกริก

เพียงแต่เมื่อพรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาล ไม่ทราบว่าเพราะอะไร กลับไปเข้ากับพวกผู้บริหารในกระทรวง และแพทย์ รพ.จังหวัด เปิดศึกกับเครือข่ายหมอประเวศและแพทย์ชนบทมาตลอด (อาจเป็นเพราะผู้บริหารกระทรวงสนองความต้องการของฝ่ายการเมืองได้เสมอ)

นี่เป็นประเด็นที่ผู้รักประชาธิปไตย เกลียดชังรัฐประหารทั้งหลาย ซึ่งหมั่นไส้ “ลัทธิประเวศ” จะต้องแยกแยะให้ดีว่าอะไรเป็นผลประโยชน์กับประชาชน เป็นประโยชน์กับ “ประชาธิปไตยกินได้” (ซึ่ง 30 บาทอยู่ในนั้น) โดยไม่เลือกข้างรัฐบาลและรัฐมนตรีไว้ก่อน

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/03/45949

สามัคคีวิจารณ์ ส.ศิวลักษณ์

สามัคคีวิจารณ์ ส.ศิวลักษณ์

 


โดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 

 
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2475 ตามระบบปฏิทินเก่าซึ่งขึ้นปีใหม่เมื่อวันที่ 1 เมษายน ดังนั้น เมื่อถืงเดือนมีนาคม ปีนี้ จึงเป็นปีอายุ 80 ปีพอดี และได้มีการจัดปาฐกถาเพื่อเป็นเกียรติเมื่อวันที่ 17 มีนาคมที่ผ่านมา โดย คุณสุลักษณ์ปาฐกถาในเรื่อง “สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข 10” แต่ในบทความนี้ จะลอง”สามัคคีวิจารณ์”บทบาทของ ส.ศิวลักษณ์ ในสังคมไทยในระยะเวลาที่ผ่านมา

ก่อนอื่นคงต้องอธิบายว่า ส.ศิวลักษ์นั้นเป็น”ปัญญาชนสยาม” ที่มีความโดดเด่นมาก เป็นนักคิด นักเขียน นักพูด และนักวิชาการ มีผลงานที่เป็นงานเขียนมากกว่า 200 เล่ม และที่ไม่ค่อยทราบกัน คือ มีงานเขียนที่เป็นวิชาการจริง เช่น ประวัติศาสตร์จีน ปรัชญาการเมืองฝรั่ง นโยบายสหรัฐอเมริกาในเอเชียอาคเนย์ เรื่องพระเจ้าอโศก ฯลฯ ซึ่งถือเป็นงานวิชาการที่มีคุณภาพ แต่ผลงานจำนวนที่มากกว่า มาจากการแสดงข้อคิดเห็นในเชิงวิพากษ์ ศาสนา การเมือง และสังคมไทย

ส.ศิวรักษ์ได้เล่าประวัติของตัวเองช่วงแรกในหนังสือเล่มหนา ชื่อ ช่วงแห่งชีวิต เล่าว่า จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญและได้ผ่านการบวชเป็นสามเณรที่วัดทองนพคุณใน ช่วงสงครามเอเชียบูรพา ทำให้มีความสนใจอย่างลึกซึ้งมากในเรื่องศาสนา ต่อมา หลัง พ.ศ.2495 ได้เดินทางไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ จบปริญญาตรีด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีมหาวิทยาลัยเซนต์เดวิด ที่เมืองแลมปีเตอร์ในแคว้นเวลส์ จากนั้น ก็กลับมาประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2504 .ในระหว่างนี้ได้เริมมีผลงานทางวิชาการแล้ว จากเรื่องแรกที่มีหลักฐานคือ “เรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาในยุโรป” (2501)

พ.ศ.2505 ส.ศิวลักษณ์ ได้เข้ารับตำแหน่งบรรณาธิการคนแรกของวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ วารสารนี้จะมีส่วนสำคัญมากในทางประวัติศาสตร์ความคิดที่จะปูทางมาสู่กรณี 14 ตุลาคม ส.ศิวรักษ์เองก็เริ่มแสดงบทบาทในฐานะปัญญาชนคนสำคัญที่ต่อต้านระบบทหาร แต่ข้อที่น่าสังเกตคือ การต่อต้านเผด็จการของ ส.ศิวลักษณ์ มาจากจุดยืนอนุรักษ์นิยม ส.ศิวลักษณ์แสดงบทบาทชัดเจนในฐานะผู้ชื่นชมชนชั้นเจ้า-ขุนนาง ชื่นชมแบบแผนเก่า ประเพณีเก่า และนุ่งผ้าม่วง รวมถึงการต่อต้านปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎร เพราะเชื่อมโยงคณะราษฎรเข้ากับเผด็จการทหาร ซึ่งเป็นกระแสความคิดในขณะนั้น สอดคล้องกับข้อเท็จจริงว่า กระแสประชาธิปไตย 14 ตุลาด้านหนึ่งมาจากกระแสอนุรักษ์นิยม