หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คนไทยเสียภาษีทุกคน และ คนรวยไม่ได้มีภาระภาษีสูงกว่าคนจนมากนัก

คนไทยเสียภาษีทุกคน และ คนรวยไม่ได้มีภาระภาษีสูงกว่าคนจนมากนัก

 

http://www.matichon.co.th/online/2013/07/13748494571374849530l.jpg 
โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร


มีบทความในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ อ้างถึงข้อมูลกรมสรรพากรที่บอกว่า ในเมืองไทยมีคนเสียภาษีรายได้ในอัตราระหว่าง ร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 35 เพียงมากกว่า 3 ล้านคนเท่านั้น ขณะที่อีกเกือบ 7 ล้านคน ได้รับการยกเว้น เพราะมีรายได้น้อยไม่ถึงเกณฑ์ที่ 150,000 บาทต่อปี จึงเห็นว่า ประชาธิปไตยในประเทศนี้มีปัญหา เริ่มแรกเลยถ้าการบริหารจัดการภาษีลักลั่นเช่นนี้ เราจะคาดหวังให้มีความเท่าเทียมกันได้อย่างไร

ข้อมูลที่อ้างมาไม่ ผิด แต่สำหรับผู้อ่านคนชั้นกลางทั่วไปที่ไม่รู้รายละเอียดเรื่องรายได้แหล่ง ต่างๆของรัฐ และภาระภาษีของคนกลุ่มต่างๆ อาจเข้าใจผิดได้ว่า เอาละวา ทั่วเมืองไทยนี้มีมนุษย์เงินเดือนอย่างเราเพียงกว่า 3 ล้านคนเท่านั้นฤๅ ที่เสียภาษีให้รัฐบาลใช้กันโครมโครม อย่างนี้มันก็ไม่แฟร์แน่นอน

แต่ ข้อมูลที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบมีมากกว่านี้เช่น ภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเป็นเพียงส่วนเสี้ยวของภาษีทั้งหมด และขณะที่อัตราภาษีทางการ คือ ร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 35 อัตราเฉลี่ยที่จ่ายจริงคือ ร้อยละ 10 เท่านั้น สาเหตุหลักคือ ผู้มีรายได้สูงได้รับการลดหย่อนมาก และมีจำนวนน้อยมาก

9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 2 : ความสัมพันธ์กับกองทัพ

9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 2 : ความสัมพันธ์กับกองทัพ




การควบตำแหน่ง รมต. กลาโหมของยิ่งลักษณ์ อาจเป็นเพียงภาพเล็กๆ ของความพยายามต่อรองกับอำนาจทหารที่ เป็นปัจจัยอันดับ 1 ในปัจจัยวิเคราะห์เสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ว่าได้ พร้อมกับงบประมาณกองทัพที่เพิ่มขึ้นทุกปีตามมาด้วย 


หลังเหตุการณ์ พฤษภา 35 กองทัพถูกเรียกกลับเข้ากรมกอง บทบาทในทางการเมืองเริ่มลดน้อยลง รวมทั้งงบประมาณกองทัพที่ลดน้อยตามไปด้วย กองทัพจึงแทบจะไม่อยู่ในปัจจัยการวิเคราะห์เสถียรภาพของรัฐบาล หรือถึงอยู่แต่ก็อาจเป็นปัจจัยต้นๆ แต่หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.49 กองทัพถูกจัดมาเป็นปัจจัยอันดับ 1 ในปัจจัยวิเคราะห์เสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ว่าได้ พร้อมกับงบประมาณกองทัพที่เพิ่มขึ้นทุกปีตามมาด้วย

ทหารอาชีพ?

ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.49 มีการพูดถึงความเป็นทหารอาชีพของทหาร ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือ อย่างที่นักวิชาการรัฐศาสตร์ชาวอเมริกาคนสำคัญอย่าง ฮันติงตั้น (Samuel Phillips Huntington) เขียนไว้ใน The Soldier and the State: The Theory and Politics pf Civil-Military Relations. Cambridge: Harvard University Press. ปี 1957 ซึ่งอ้างถึงในบทความ “ว่าด้วยการแทรกแซงการเมืองของ "ชายบนหลังม้า" ที่เขียนโดย  พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เมื่อปลายปี 49 โดยฮันติงตั้น มองว่า "ความเป็นทหารอาชีพ จะไม่ทำให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะทหารในสังคมสมัยใหม่นั้นเป็นนักเทคนิคในการบริหารจัดการความรุนแรงของ รัฐ ซึ่งต่างจากทหารเมื่อสองร้อยปีที่แลวที่เป็นนักรบรับจ้าง หรือทหารของพระราชา.."
ในขณะที่พิชญ์ เองกลับมองว่า "วิธีคิดของฮันติงตั้นวางอยู่บนความ เชื่อที่ว่า "ความเป็นทหารอาชีพ" นั้นมีอยู่แบบเดียวคือต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือเป็นกลางทางการเมืองทั้งที่บ่อยครั้งความเป็นทหารอาชีพต่างหากที่ผลัก ดันให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะเขาจะเชื่อว่าเขาเป็นข้าฯรับใช้ประเทศชาติและองค์อธิปัตย์มากกว่า รัฐบาลที่ปกครองประเทศอยู่"

และความคิดของกองทัพที่สะท้อนออกมาผ่านโอวาทเนื่องในงานพิธีประกาศให้ปี 2555 เป็นปีแห่งการพัฒนาบุคลากรของกองทัพบก ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 23 เม.ย.55 ที่ว่า "ให้ทหารทุกนาย เป็นทหารมืออาชีพ พร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะในเรื่องของภาษา พร้อมทั้งมีความจงรักภักดี เป็นทหารของพระมหากษัตริย์ และเป็นที่พึ่งของประชาชน.." นั้นแสดงให้เห็นว่าผู้นำกองทัพอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้มองความเป็นทหารอาชีพหรือทหารมืออาชีพแบบเดียวกับฮันติงตั้น แต่มองแบบที่พิชญ์วิเคราะว่าทหารเชื่อว่าเขาเป็นข้าฯรับใช้ประเทศชาติและ องค์อธิปัตย์หรือในที่นี้ พล.อ.ประยุทธ์บอกว่า “ทหารของพระมหากษัตริย์” มากกว่ารัฐบาลที่ปกครองประเทศอยู่

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47880 

9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 1: พ.ร.บ. ปรองดอง + นิรโทษกรรม
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47808