หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อำมาตย์กับอำนาจเชิงวัฒนธรรม

อำมาตย์กับอำนาจเชิงวัฒนธรรม

 

คิดถึงคำอธิบาย เรื่อง "รัฐ" ของเลนิน และ "การครองใจ" ของกรัมชี่ จึงพอจะสรุปความได้ว่า แท้จริงแล้ว "รูปแบบวัฒนธรรม" ที่ว่า มันก็คือ "การครองใจ" ผ่านกลไกและสถาบันทางสังคมต่างๆ ของโครงสร้างอำนาจรัฐนั่นเอง ซึ่งในสถานการณ์ปกติทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ กระบวนการการครองใจก็ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

โดย วัฒนะ วรรณ

เวลาเราพูดถึงระบอบอำมาตย์ในปัจจุบัน มันไม่ได้หมายความว่าระบบการปกครองล้าหลังในอดีตยุคไพร่ ทาส แต่เป็นการสะท้อนระบบการปกครองชนชั้นในระบบทุนนิยม ที่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งมีบทบาทอำนาจเหนือประชาชน ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

ในด้านเศรษฐกิจและการเมือง กลุ่มอำมาตย์ทั้งหมด ล้วนสังกัดชนชั้นนายทุนหมดแล้ว มีบทบาทอำนาจเช่นเดียวกับชนชั้นนายทุนทั่วโลก ที่อาศัยทั้งบทบาทประชาธิปไตยครึ่งใบที่มีการเลือกตั้งรัฐสภาและบางครั้งก็ อาศัยอำนาจเผด็จการเต็มรูปแบบ ในรูปแบบต่างๆ ดังเช่นในไทยที่ได้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลังการรัฐประหารเมื่อ กันยายน 49 เป็นต้นมา

ส่วนในรูปแบบวัฒนธรรม ที่หลายคนวิเคราะห์ว่ายังมีบทบาท ที่สามารถมีอิทธิพลต่อการควบคุมจัดการโครงสร้างรัฐอยู่ ที่อยู่เหนือกว่าอำนาจของประชาชน แต่บทบาทที่กล่าวถึง มันมีอำนาจในตัวเองหรือไม่ หรือต้องมีกลไกอื่น มาช่วยทำบทบาทนั้นๆ มีอำนาจขึ้นมา

เมื่อมาคิดถึงคำอธิบาย เรื่อง "รัฐ" ของเลนิน และ "การครองใจ" ของกรัมชี่ จึงพอจะสรุปความได้ว่า แท้จริงแล้ว "รูปแบบวัฒนธรรม" ที่ว่า มันก็คือ "การครองใจ" ผ่านกลไกและสถาบันทางสังคมต่างๆ ของโครงสร้างอำนาจรัฐนั่นเอง ซึ่งในสถานการณ์ปกติทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ กระบวนการการครองใจก็ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น แต่ถ้าเกิดวิกฤตขึ้นในสังคม กระบวนการครองใจ ก็มีประสิทธิภาพน้อยลง เนื่องจากสมองของมนุษย์มักมี "ความขัดแย้ง" ตลอดเวลา ระหว่าง "ความจริง" กับ "สิ่งสมมุติ" เช่น เอาอาจจะถูกสอนว่า นายจ้างเป็นผู้มีพระคุณต่อเรา ให้งานเราทำ มีเงินมีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อเกิดวิกฤตนายจ้างกลับไล่เราออก แต่ตัวเองกับอยู่สุขสบายเช่นเดิม ทำให้บางสถานการณ์ “การครองใจ” ที่ว่าจึงไม่ได้ผล ทำให้ต้องมีการใช้อำนาจรัฐ "ดิบ" ผ่านกลไกรัฐ เช่น "คุก ศาล ทหาร ตำรวจ" เพื่อควบคุมสังคม

หรือ ว่าเราถูกสอนว่า สังคมไทยเต็มไปด้วยผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีหน้าตาในสังคมเป็นคนดี พร้อมจะมอบความเป็นอยู่ที่ดี ความยุติธรรมให้กับประชาชน แต่พอมีพรรคการเมืองที่ให้ประโยชน์กับประชาชนถูกยึดอำนาจ คนดี เหล่านี้กลับสนับสนุนการยึดอำนาจนั้น รวมถึงสนับสนุนการเข่นฆ่าประชาชน ที่ออกมาต่อสู้กับเผด็จการ


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/blog-post_21.html

๒๔ มิถุนา' .. ล้มจ้าว เข้าปกครอง ปกป้องรัฐธรรมนูญ

๒๔ มิถุนา' .. ล้มจ้าว เข้าปกครอง ปกป้องรัฐธรรมนูญ



Posted Image


ล้มศักดินา สถาปนาการปกครอง ฉลองรัฐธรรมนูญ
Posted Image 
Posted Image
Posted Image

 


ประกาศของคณะราษฎร์ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ ราษฎรทั้งหลาย

เมื่อกษัตริย์ได้ครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้ คงจะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การหาเป็นไปตามความหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริตมีการรับสินบนในการก่อสร้าง ซื้อของใช้ในราชการหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม

ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์นี้ มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎร ตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดรัจฉานไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นแทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่าภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แต่ละเล็กแต่ละน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียภาษีราชการหรือภาษีส่วนตัว ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎรเป็นต้นว่า จะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้เจ้าได้กินว่าราษฎรมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษา ที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังตน

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมาจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนาเพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการผู้น้อย นายสิบและเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบ้านเมืองให้มีงานทำ จึงสมควรที่สนองคุณราษฎร ซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินมีเหลือเท่าไรก็เอาฝากต่างประเทศคอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรมปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย

เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือนที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎร์ และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎร์เห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎร์ไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้นจึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังมิได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎร์ได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูก ลดอำนาจลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา

ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำเพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคน ตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎร์จะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการโดยอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎร์ได้วางไว้มีอยู่ว่า

 
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
 
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้กาประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
 
3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 5 ประการดังกล่าวข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎร์ให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วฟ้าดินนี้ให้สำเร็จ คณะราษฎร์ขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร์นี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตรหลาน เหลน ของราษฎรเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมสมบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากความเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา คือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐที่เรียกเป็นศัพท์ว่าศรีอาริย์นั้น ก็พึงจะบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร์ 
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 21/06/55 เลี้ยงแกะ..มาตั้งแต่เด็กยันแก่

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 21/06/55 เลี้ยงแกะ..มาตั้งแต่เด็กยันแก่

 

Posted Image

จะกล่าวถึง จรกา หน้าตอแหล
เด็กยันแก่ มันปลิ้นปล้อน กะล่อนนัก

ความระยำ จัดเจน เห็นประจักษ์

คู่ควรพรรค สัปดน คนจัญไร....


กุเรื่องเท็จ โสมม ผังล้มเจ้า

แสร้งงี่เง่า ครอบงำ ทำหวั่นไหว

ครั้งก่อนโน้น เตี่ยบรรหาร สันดานใคร

สร้างเรื่องไว้ อำพราง ช่างระยำ....


เด็กเลี้ยงแกะ สมญานาม เรียกตามนั้น

เห็นหน้ามัน ช่างอดสู ดูแล้วขำ

เคยสร้างเรื่อง ใส่ร้าย ชายชุดดำ

ความใฝ่ต่ำ ฝังเต็มหัว ชั่วสิ้นดี....


เสิ้ยมเสื้อแดง กับเพื่อไทย ให้ทะเลาะ

แล้วยิ้มเยาะ ว่าเลอเลิศ ประเสริฐศรี

พูดไม่ได้ คิดไม่ออก บอกทันที

ทักษิณ..นี่..โน่น..นั่น..มันแถไป....


ไอ้พวก..ไร้จริยธรรม ระยำสิ้น

แค่ปลายลิ้น เจ้าเล่ห์ พูดเฉไฉ

ช่างสมชื่อ จรกา หน้าจัญไร

เป็นไปได้ แค่เย้ายวน เห่ากวนตีน....
 

๓ บลา / ๒๑ มิ.ย.๕๕
http://3blabla.blogspot.com
 


The Daily Dose

The Daily Dose

 

 

The Daily Dose 21มิย55

http://www.youtube.com/watch?v=6Oq62gFKcP4&feature=player_embedded 

The Daily Dose 20มิย55

http://www.youtube.com/watch?v=tQJGlu18Ai8

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


 

Wake Up Thailand 21มิย55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=DABBCeCasG4 

Wake Up Thailand 20มิย55

http://www.youtube.com/watch?v=3BmYfYeUSWY

จดหมายเปิดผนึกจากอดีตอธิการบดี (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) ถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย: ขอเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของ ม.112

จดหมายเปิดผนึกจากอดีตอธิการบดี (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) ถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย: ขอเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของ ม.112

 

 

จดหมายเปิดผนึกจากอดีตอธิการบดี ถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
Open Letter to All Rectors in Thailand (to become Siam)


17 มิถุนายน 2555
ตลิ่งชัน ธนบุรี สยามประเทศไทย


เรื่อง ขอเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของกฏหมายอาญา มาตรา 112

เรียน ศ. ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธาน “ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย”
อาคารจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม 10330
cupt@chula.ac.th, www.cupt-thailand.net,


สำเนา ส่งอธิการบดีทุกท่าน

สืบเนื่องจากการที่ท่าน และผู้ที่ได้รับสำเนานี้ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยต่างๆ  เพื่อรับผิดชอบในงานวิชาการและงานบริหาร สถาบันการศึกษาระดับสูงทั่วประเทศ และสืบเนื่องจากการที่ประเทศของเรา กำลังเผชิญปัญหาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กับ “การสมานฉันท์” ในชาติ ทั้งนี้โดยมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวพัน กับหลักการณ์และการบังคับใช้ กฎหมายอาญา มาตรา 112 ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้นั้น

เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้อง ทั้งในด้านตัวบทกฎหมาย ทั้งในด้านวิชาการ ทั้งในการแก้ไขร่วมกันในหมู่่อธิการบดี ครูบาอาจารย์ ของประเทศ และเพื่อจักได้ดำเนินการให้นิสิต นักศึกษา ตลอดจนเยาวชนของชาติ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของชาติ ที่สำคัญยิ่งยวดต่อสถาบันกษัตริย์ ตลอดจนความจำเป็น ที่จะต้องมีการปฏิรูปแก้ไข กฎหมายดังกล่าว เพื่อประโยชน์สุขของชาติ และราษฎรไทย ผมใคร่ขอเรียนเสนอความเห็น ที่ทั้งได้ประมวลมาจากมิตรสหายที่เป็นครูบาอาจารย์ และที่เป็นนักวิชาการทั้งในและนอกประเทศ ตลอดจนความคิดเห็นส่วนบุคคลของผม ความทราบแล้วนั้น จึงใคร่ขอรวบรวมและเสนอมา ดังต่อไปนี้

(หนึ่ง) จากการศึกษาและจากการสอน “วิชาประวัติศาสตร์การเมืองสยาม/ไทย” มาเป็นเวลานานปีผมได้พบว่า ขณะนี้สังคมและประชาชนไทยของเราเผชิญต่อปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คล้ายๆกับที่ได้เผชิญมาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2475 (1932) คือเมื่อ 80 ปีที่แล้วในเรื่องของ “รัฐธรรมนูญ” ที่ถ้ามองจากเหรียญด้านหัวของ “คณะเจ้า” ก็กล่าวกันว่า “คณะราษฎร” ใจร้อน ชิงสุกก่อนห้าม แต่ถ้ามองจากเหรียญด้านก้อยของ “คณะราษฎร” ก็เชื่อกันว่า “คณะเจ้า” นั่นแหละ ล่าช้า อืดอาด ไม่ทันโลก ผ่านจาก “การปฎิรูป พ.ศ. 2435/1893) รัชกาลที่ 5 (ตรงกับสมัยจักรพรรดิเมจิ) ก็แล้ว จนถึงรัชการที่ 6 (ทดลองดุสิตธานีก็แล้ว) รัชกาลที่ 7 (ทรงให้ที่ปรึกษาต่างชาติ ร่างรัฐธรรมนูญก็แล้ว) ก็ยังไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญเสียที จึงมี “ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์” ที่จะต้องมี “การปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475”  เพื่อเปลี่ยน “ระบอบราชาธิปไตย” ให้เป็น “ระบอบประชาธิปไตย”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41193 

ระบอบอำมาตย์ชราธิปไตย

ระบอบอำมาตย์ชราธิปไตย

 

 โดยสมชาย ปรีชาศิลปกุล


อำมาตย์ชราธิปไตยเป็นการปรับเปลี่ยนท่าทีในการครอบงำสังคมการเมืองไทยของ พลังฝ่ายอำมาตย์ในห้วงระยะเวลาประมาณหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โดยปรากฏเป็นรูปแบบและโครงสร้างในทางการเมืองที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสำคัญ

สังคมการเมืองไทยกำลังอยู่ภายใต้รูปแบบการปกครองประเภทหนึ่ง ซึ่งควรจะมีชื่อเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า “อำมาตย์ชราธิปไตย”

อำมาตย์ชราธิปไตยเป็นการปรับเปลี่ยนท่าทีในการครอบงำสังคมการเมืองไทยของ พลังฝ่ายอำมาตย์ในห้วงระยะเวลาประมาณหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา โดยปรากฏเป็นรูปแบบและโครงสร้างในทางการเมืองที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสำคัญ

ในอดีตที่ผ่านมา การครอบงำทางการเมืองของฝ่ายอำมาตย์ในสังคมการเมืองจะดำเนินไปโดยผ่านพลัง ของสถาบันทหาร ในด้านหนึ่งจะเป็นการใช้กำลังอำนาจในการเข้าแทรกแซงระบบการเมืองด้วยการรัฐ ประหารที่ปรากฏอย่างต่อเนื่อง และในสภาวะ “ปกติ” ก็ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเมืองผ่านการแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก ซึ่งจะมีอำนาจมากไปถึงมากที่สุดผันแปรไปตามแต่ละยุคสมัย

แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและการขยายอิทธิพลของระบอบประชาธิปไตยใน ระดับโลก ทำให้การครอบงำของพลังฝ่ายอำมาตย์ไม่อาจจะดำเนินไปในรูปแบบเดิมอีกต่อไป เนื่องอาจต้องเผชิญหน้ากับแรงต่อต้านจากภายในและแรงกดดันจากนานาอารยะประเทศ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนลักษณะของการครอบงำมาสู่รูปแบบอำมาตย์ชราธิปไตย

โดยอำมาตย์ชราธิปไตยเป็นการแทรกตัวเข้ามาในการขยายตัวของพลังประชาธิปไตย ในช่วงทศวรรษ 2540 อันปรากฏขึ้นพร้อมกับความตกต่ำทางด้านความชอบธรรมของนักการเมืองจากการเลือก ตั้งที่ยังคงปรากฏอย่างต่อเนื่อง แม้จะสามารถสร้างอำนาจนำทางการเมืองในระบบได้ จึงเป็นการเปิดทางให้กับพลังอำมาตย์เข้ามาช่วงชิงพื้นที่ของระบบการ เมืองอย่างเป็นทางการในตำแหน่งขององค์กรอิสระที่ได้ถูกริเริ่มจัดตั้งขึ้น นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา

อำมาตย์ชราธิปไตย มีลักษณะสำคัญที่ผันแปรไปจากอำมาตยาธิปไตย ดังนี้

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41182

กิจกรรม งานรำลึก80ปี 24 มิถุนาปฏิวัติประชาธิปไตย

กิจกรรม งานรำลึก80ปี 24 มิถุนาปฏิวัติประชาธิปไตย




กิจกรรม งานรำลึก80ปี 24 มิถุนาปฏิวัติประชาธิปไตย
เวทีคณะดาวแดง (สมัชชาประชาธิปไตยแห่งประเ
ทศไทย,กลุ่ม24มิถุนาฯ,แดงสยาม,กลุ่มแดงก้าวหน้าฯลฯ..)

ช่วงเช้า 05:00น. กิจกรรมกลุ่ม24มิถุนาฯ บริเวณหลักหมุดคณะราษฏร์ ร่วมทำความสะอาดหมุด 2475 เวลา 05.30 น. กล่าวรำลึกถึงคณะราษฎร เวลา 05.45 น. ร่วมร้องเพลง 24 มิถุนา
และช่วงบ่าย15:00น. กิจกรรมเวทีปราศรัย ณ บริเวณหน้าอนุสรณ์14ตุลา แยกคอกวัว ดร.สุนัย จุลพงศธร ,อ.จรัล ดิษฐาอภิชัย, อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, พลท เฉลิมแสน ฯลฯ กิจกรรมจากกลุ่มเสรีธรรมศาสตร์ การแสดงจากประกายไฟการละคร และคอนเสริ์ตแป๊ะ บางสนาน และศิลปินเพื่อประชาธิปไตย...


80ปีปฏิวัติปชต เงื่อนไขปฏิวัติสุกงอม Intelligence 17มิย55

http://www.youtube.com/watch?v=SZW7biD6pGc&feature=watch-vrec 

คุยกับคณะราษฎรที่ 2 พร้อมคลิปเปิดตัวกิจกรรมสัปดาห์คณะราษฎร คัดค้านอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ

คุยกับคณะราษฎรที่ 2 พร้อมคลิปเปิดตัวกิจกรรมสัปดาห์คณะราษฎร คัดค้านอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ

 

คณะราษฎรที่ 2 ยื่นหนังสือเพื่อขอยืมยุทโธปกรณ์จากกองทัพบก ที่มาภาพ Suwanna Tallek https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2956365368437


คณะราษฎรที่ 2

http://www.youtube.com/watch?v=5o8pLOSOTx8&feature=player_embedded 

 

นศ.จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ รวมตัวตั้งกลุ่ม คณะราษฎรที่ 2 จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์สัปดาห์คณะราษฎร คัดค้านอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ภายใต้โจทย์หากคณะราษฎรยังอยู่เขาจะคิดอย่างไรกับการเมืองไทยในปัจจุบัน  

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา “คณะราษฎรที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น กลุ่มสะพานสูง กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) และกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน ( CCP ) ได้เผยแพร่วีดีโอคลิปแนะนำคณะราษฎรที่ 2 ลงใน Youtube โดย User LLTD2012 ซึ่งเป็นของกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย

วันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางคณะราษฎรที่ 2 ได้เดินทางไปยื่นหนังสือเพื่อขอยืมยุทโธปกรณ์จากกองทัพบก ประกอบการแสดง รำลึกเนื่องในวันชาติ 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งถือเป็นวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย ที่หมุดคณะราษฎร บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า  และวันถัดมา(19 มิ.ย.) กลุ่มดังกล่าวยังได้ไปทำกิจกรรมหน้ารัฐสภา พร้อมยืนหนังสือผ่านเจ้าหน้าที่สภาแสดงความไม่เห็นด้วยต่อเหตุการณ์ความ วุ่นวายในห้องประชุมสภาฯเมื่อปลายเดือนก่อน

ทั้งนี้จากกำหนดการกิจกรรมสัปดาห์คณะราษฎร คัดค้านอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ โดยคณะราษฎรที่สอง (ดู https://www.facebook.com/events/461759790520821/) ระบุถึงกิจกรรมของทางกลุ่มต่อจากนี้ว่า ในวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน  เวลา 14.15 น. ณ งานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ “จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย” ที่ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะราษฎรทื่สองจักร่วมรับฟังความคิดเห็นปัญหาชนชาวสยาม และร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นของคณะราษฎรที่สอง ต่อประชาธิปไตยและการอภิวัฒน์ในยุคปัจจุบัน ในหัวข้อ "อดีต และอนาคต จาก 80 ปีประชาธิปไตยไทย"

และวันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน ที่หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า ร.5 เวลา 7.00 น. จะมีการอ่านแถลงการณ์คณะราษฎร์ ที่ 1 โดยพระยาพหลพลพยุหเสนา เวลา 7.15 น. ปราศรัยเรื่องความล้มเหลวของประชาธิปไตย โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อด้วยเวลา 7.30 น. – 8.10 น. อ่านข้อเสนอหลัก 6 ประการคณะราษฎรที่สอง และในเวลา 19.00 น. ร่วม Talk Show กับเวทีกลุ่ม 24 มิถุนาฯ ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41172