หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

ทั่วโลกองค์กร “อิสระ” คือเครื่องมือเผด็จการ

ทั่วโลกองค์กร “อิสระ” คือเครื่องมือเผด็จการ 


 
โดย อ.ใจ อึ๊งภากรณ์

 
ขณะนี้องค์กรที่อ้างกันว่า “อิสระ” ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)  คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือวุฒิสภาในส่วนที่มาจากการแต่งตั้ง ล้วนแต่หมดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิงในสายตาประชาชนไทยส่วนใหญ่ สาเหตุก็อย่างที่เราเห็นกันอยู่คือ องค์กรเหล่านี้ ซึ่งในปัจจุบันงอกออกมาจากเผด็จการและรัฐประหาร ล้วนแต่ตั้งหน้าตั้งตาสร้างอุปสรรค์กับกระบวนการประชาธิปไตย และพร้อมที่จะทำลายสิทธิเสรีภาพในแง่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

องค์กร เหล่านี้ไม่เคยจับผิดผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐไทยที่เข่นฆ่าประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ หรือการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในปาตานี และพวกนี้ก็เพิกเฉยกับการฆ่าวิสามัญใน “สงครามยาเสพติด” ในยุคทักษิณอีกด้วย พวกนี้เพิกเฉยต่อการโกงกินทั้งบ้านทั้งเมือง ไม่ว่าจะเป็นผู้บัญชาการทหารที่รวยกว่าเงินเดือนปกติและกอบโกยทรัพย์สินจาก การทำรัฐประหารหรือการคุมสื่อและรัฐวิสาหกิจ หรือนายทุนที่โกงลูกจ้าง และถ้ามีการจับผิดนักการเมือง ก็แค่เป็นเพราะเป็น “ฝ่ายตรงข้าม” ไม่เคยมีการจับผิดพวกที่แต่งตั้งกันเองและชงเรื่องกันเองเพื่อประโยชน์ฝ่าย ตน ไม่เคยมีการออกมาประณามกฏหมายเผด็จการ 112 ที่ปิดปากและทำลายสิทธิเสรีภาพ ไม่เคยมีการวิจารณ์สองมาตรฐานของการที่คนอย่างคุณสมยศติดคุกเป็นสิบๆปี ในขณะที่นักการเมืองและทหารฆาตกรอย่างสุเทพ อภิสิทธิ์ ประยุทธ์ หรือทักษิณลอยนวล และไม่มีองค์กรอิสระใดที่วิจารณ์การที่ศาลลำเอียงปกป้องตนเองจากการถูก วิจารณ์ด้วยกฏหมาย “หมิ่นศาล”

พวกนักวิชาการที่เชิดชูแนวคิดเกี่ยวกับ “องค์กรอิสระ” โดยเฉพาะในช่วงที่ร่างรัฐธรรมนูญปี ๔๐ และหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา ไม่เคยสุจริตพอที่จะเปิดเผยว่าแนวคิด “เสรีนิยม” (liberalism) อันนี้ เป็นเพียงหนึ่งแนวคิดในหลายความคิดที่ตรงข้ามกันและนำไปสู่การถกเถียงเสมอในระดับสากล เขาพยายามพูดว่า “ทุกคนที่รักประชาธิปไตย” ย่อมเห็นด้วยกับการมีองค์กรอิสระ และพูดเหมือนกับว่ามันเป็นแค่ “เทคนิค” ในการบริหารประเทศที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง

เลือกตั้งโมฆะ นักวิชาการชี้ “คำวินิจฉัยนี้เป็นการรัฐประหารทางรัฐธรรมนูญ”

เลือกตั้งโมฆะ นักวิชาการชี้ “คำวินิจฉัยนี้เป็นการรัฐประหารทางรัฐธรรมนูญ”

 

อุษา แสงจันทร์'s photo. 

ไม่ผิดคาดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติ 6 : 3 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 ขัดรัฐธรรมนูญ และต้องจัดการเลือกตั้งใหม่

คดีนี้เริ่มต้นจากผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องพร้อมความเห็นกรณีที่นาย กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ อาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า การจัดการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 2 ก.พ. เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในหลายประเด็น โดยเฉพาะการไม่สามารถจัดการเลือกตั้งในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรตามกฎหมาย กำหนด (อ่านรายละเอียด)  

จากนั้นเมื่อวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกนั่งบัลลังก์รับฟับคำชี้แจงจากนายพรเพชร วิชิตชลชัย ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตัวแทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรรักษาการนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย

ล่าสุดวันที่ 21 มี.ค.นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญได้แถลงข่าวโดยอ่านคำวินิจฉัยโดยสรุปว่า 

เมื่อได้ดำเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 ก.พ. 2557 ไปแล้ว ปรากฏยังไม่มีการจัดการเลือกตั้ง สำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัครการเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่า ในวันที่ 2 ก.พ. 2557 มิได้มีการเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนการที่จะดำเนินการจัดการเลือกตั้ง สำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง หลังวันที่ 2 ก.พ.2557 ก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียว กัน เป็นผลให้ พ.ร.ฎ. ยุบสภา พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 108 วรรค 2

ส่วนตุลาการเสียงข้างน้อย 3 เสียง ประกอบด้วย นายชัช ชลวร นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี นายเฉลิมพล เอกอุรุ ที่เห็นว่า การเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ไม่มีอะไรที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนเนื้อหารายละเอียด หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า ยังไม่สามารเปิดเผยได้ ขอให้รอดูคำวินิจฉัยส่วนตนอีกครั้งหนึ่ง

คำวินิจฉัยนี้เป็นที่จับตาอย่างยิ่ง และผลของคำวินิจฉัยก็ได้สร้างบรรทัดฐานรวมถึงผลสะเทือนทางการเมืองอยู่ไม่ น้อย และยังไม่แน่ใจว่าปัญหาทางการเมืองจะเดินไปทิศทางที่ดีขึ้นหรือเลวร้ายลง

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักวิชาการด้านกฎหมายรุ่นใหม่ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้ให้ความเห็นเบื้องต้นต่อเรื่องนี้ว่า

1.ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการจัดการเลือกตั้งไม่ได้ในบางเขตเนื่องจากมี การขัดขวางการจัดการเลือกตั้ง ส่งผลให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งในบางเขตเหล่านั้นลุล่วง คือจัดให้มีการรับสมัครในเขตที่ไม่อาจเปิดรับสมัครได้ในรอบแรกเนื่องจากมี ม็อบมาขัดขวางการรับสมัคร เป็นเหตุให้ต้องจัดการเลือกตั้งในเขตเหล่านี้ในภายหลังเพื่อให้มีการเลือก ตั้งครบทุกเขต เป็นการจัดการเลือกตั้งเกินกว่าหนึ่งวันและไม่พร้อมกันทั่วราชอาณาจักร จะเห็นได้ว่าการตีความเช่นนี้ส่งผลประหลาดในการบังคับใช้กฎหมาย

2. คำวินิจฉัยนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานต่อไปว่าการขัดขวางการดำเนินการจัดการ เลือกตั้ง ทั้งการขัดขวางการรับสมัครก็ดี การขัดขวางการลงคะแนนก็ดี แม้ขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในเขตใดเขตหนึ่ง ก็ทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะทั้งประเทศได้ คำวินิจฉัยนี้ส่งผลประหลาดในการบังคับใช้กฎหมาย นัยเดียวกับกรณีเสียบบัตรลงคะแนนแทนกันในการโหวตกฎหมายในสภา แม้เพียงเสียบบัตรแทนกัน 1 คน ศาลรัฐธรรมนูญก็ถือว่าเป็น defect ที่ทำให้การลงมติของทั้งสภาเป็นโมฆะไปด้วย ตรรกะเดียวกัน หากอาศัยบรรทัดฐานการตีความเช่นนี้แล้ว ในภายหน้า ใครก็ตามที่ปรารถนาที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ก็ทำได้โดยเกณฑ์พวกไปปิดกั้นที่ทำการ กกต. ที่เปิดรับสมัคร "ผู้สมัครรับเลือกตั้ง" เพียง 1 เขต

"คณิน" อัด "ศาลรธน." วินิจฉัยทำลายระบบประชาธิปไตย จี้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ 21 มี.ค.57

"คณิน" อัด "ศาลรธน." วินิจฉัยทำลายระบบประชาธิปไตย จี้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ 21 มี.ค.57



Photo 

"คณิน" อัด "ศาลรธน." วินิจฉัยทำลายระบบประชาธิปไตย จี้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ 21 มี.ค.57
https://www.youtube.com/watch?v=ueyTAEFNWxc&feature=youtu.be 

ร่วมกันต่อต้าน "รัฐประหารทางรัฐธรรมนูญ"

ร่วมกันต่อต้าน "รัฐประหารทางรัฐธรรมนูญ"



Photo
PhotoPhoto
PhotoPhoto

กิจกรรม "คลุมผ้าดำ" อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้นเกิดจากกลุ่มต่างๆที่รวมตัวกันได้แก่ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, ธรรมศาสตร์เสรีเพื่อปชต., กลุ่มวันใหม่ และ respect my future เพื่อแสดงสัญลักษณ์คัดค้านคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ 

PhotoPrachatai's photo.
PhotoPhoto


Photo

 
 Photo
ชมภาพชุด "เอก อัตถากร-กลุ่มปชช.เสื้อดำ" รวมตัวต่อต้านองค์กรอิสระ-นายกฯม.7

Photo



กลุ่มเพื่อนสาธารณสุขเพื่อประชาธิปไตยแต่งดำ-ชูป้ายคัดค้านตัดสินเลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ
http://www.prachatai.com/journal/2014/03/52384

Photo

Photo
รวมความเห็นกรณีศาลรธน.วินิจฉัย เลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ 

ฟังเสียงวีรชนคนเดินดิน"คุณป้าไฟฉาย-หญิงปีนข้ามรั้ว-หนุ่มถูกบีบคอ" สุดผิดหวังเลือกตั้งโมฆะ(ชมคลิป) 

Photo 

Photo
"จาตุรนต์" เขียน8ความหมายของคำตัดสิน "เลือกตั้งโมฆะ" ชี้แนวโน้มนำไปสู่ความสูญเสียใหญ่ 

Photo
 
Photo
Pipob Udomittipong


ในขณะที่สื่อต่างประเทศ และคนไทยจำนวนหดหู่และแค้นเคืองกับคำตัดสินของศาล ผมว่าศาล กกต. องค์กรอิสระกำลังทำตัวเหมือน “กบ” ในหม้อน้ำเดือด ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน New York Times บอกว่า การตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะจะยิ่งทำให้ความวุ่นวายทางการเมืองบานปลาย (Court Voids Thailand’s February Election, Adding to Political Turmoil) ส่วน Financial Times บอกว่า “จะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองรุนแรงขึ้น” (Court annuls Thai election adding to political crisis) 

สุณัย ผาสุก Human Rights Watch บอกว่าเป็น “วันอันมืดมนของประชาธิปไตยไทย เพราะการขัดขวางการเลือกตั้งกลับกลายเป็นเหตุใหห้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้ เป็นมาตรฐานของคำวินิจฉัยที่อันตรา ย” (Dark day for democracy in Thailand Disruption of voting in some constituencies can nullify national election. Dangerous precedence.)  

และสื่ออย่างน้อยสองฉบับคือ Daily Mail ของอังกฤษและ The Star ของมาเลเซีย ถึงคนเขียนข่าวจะเป็นคนละคนกัน แต่มีข้อสรุปคล้ายกันมากว่า 

“พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักสนับสนุนผู้ประท้วงอย่างเต็มที่ และเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งก่อนจะมีการลงคะแนนเสียง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอิทธิพลของทักษิณ...พรรคการเมืองภายใต้การนำของทักษิณหรือพวกพ้องชนะการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา” (Daily Mail) 

“ผู้ประท้วงเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งก่อนจะมีการลงคะแนนเสียง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอิทธิพลของทักษิณ พรรคการเมืองภายใต้การนำของทักษิณหรือเป็นพวกพ้องกับเขาชนะการเลือกตั้งทุกครั้งตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา” (The Star) 

พูดอีกอย่างสื่อสรุปตรงกันว่า (1) ไม่ต้องไปอ้างว่าเรียกร้อง “การปฏิรูป” พวกต่อต้านรัฐบาลทำทุกอย่างเพื่อลดอิทธิพลของคนชื่อทักษิณ ชินวัตรคนเดียวเท่านั้น และ (2) พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการขัดขวางการเลือกตั้ง เพราะเลือกตั้งทที่ไรแพ้ทุกที แต่ดูท่านหัวหน้าพรรคให้สัมภาษณ์สื่อนอกอย่าง NY Times สิครับ “จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์คือต้องการให้การเลือกตั้งจัดขึ้นอย่างเรียบร้อย และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ถ้าเกิดขึ้นแบบนนั้นได้ พรรคเราก็พร้อม (จะลงเลือกตั้ง)

คืออย่างนี้ เกิดมาผมไม่เคยเห็นใครหน้าด้านเท่าคน ๆ นี้ พรรคคุณและมวลชนของคุณคือตัวการทำให้การเลือกตั้งไม่เรียบร้อย พรรคคุณรอดจากการถูกยุบได้ก็เพราะคณะตลกตัดสินให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ คุณยังลอยหน้าลอยตามาบอกว่า “กูไม่เกี่ยว” ปัญหาอยู่ที่คนอื่น “มึงจัดเลือกตั้งให้ดีแล้วกัน กูจะลง” ปริญญาจากอ็อกฟอร์ดไม่ได้ช่วยอะไรเขาเลยนะครับ
 อย่ามาตลกกับกู

http://www.dailymail.co.uk/news/article-2585891/Thailands-general-election-ruled-invalid-court.html  

http://www.thestar.com.my/News/World/2014/03/21/Thai-court-could-declare-February-election-void/http://www.ft.com/intl/cms/s/0/b73523cc-b0c9-11e3-bbd4-00144feab7de.html?siteedition=intl#axzz2wbK79wi9  

http://www.nytimes.com/2014/03/22/world/asia/court-voids-thailands-february-election-adding-to-political-turmoil.html?_r=0  

https://twitter.com/sunaibkk/statuses/446894264564199424

ขอเชิญประชาชนผู้สนใจ รับฟังการเสวนาในหัวข้อ "ฤาตุลาการจะทำให้ประเทศแตกแยก"

ขอเชิญประชาชนผู้สนใจ รับฟังการเสวนาในหัวข้อ "ฤาตุลาการจะทำให้ประเทศแตกแยก"

Photo 

แต่ไหนมา เรามักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ศาลคือที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน” กาลเวลาแห่งเส้นทางของกระบวนการยุติธรรมไทย ได้เดินทางมาถึงจุดที่ล่อแหลม สุ่มเสี่ยงต่อวิกฤติแห่งศรัทธา เห็นได้จากผลแห่งคำพิพากษาที่เป็นที่ตั้งคำถามทั้งของประชาน และ วงการนิติศาสตร์ไทย ฤานี่จะเป็นชนวนวิกฤติใหม่การเมืองไทย ศาลจะยังเป็นที่ถึ่งสุดท้ายอยู่จริงหรือไม่ เชิญหาคำตอบได้จากงานนี้

สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย
ขอเชิญประชาชนผูู้สนใจ รับฟังการเสวนา

ในหัวข้อ "ฤาตุลาการจะทำใ
ห้ประเทศแตกแยก"

วิทยากร

-อ.สถิตย์ ไพเราะ อดีตผู้พิพากษา
-ดร.คณิน บุญสุวรรณ อดีต ส.ส.ร.
-ใบตองแห้ง คอมลัมนิสต์อิสร

-ตัวแทนนิติราษฎ
ร์

ดำเนินรายการโดย
อ.ศิโรฒน์ คล้ามไพบูลย์

กำหนดจัดงานวันท
ที่ : 22 มีนาคม 2557

สถานที่เสวนา : ณ ห้องแกรนด์ A ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิล ถนนวิภาวดี

เวลา 13.00 – 17.00 น.

ติดต่อสอบถาม : 081-1168867

ขอเชิญร่วมรับฟัง สมัชชาปกป้อประชาธิปไตย แถลงข่าวกรณี "ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ"

ขอเชิญร่วมรับฟัง สมัชชาปกป้อประชาธิปไตย แถลงข่าวกรณี "ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ"

 
Photo 

สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย แถลงข่าวกรณี "ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ"
วันอาทิตย์ 23 มีนาคม 2557 เวลา 13.30 น. ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ตึกอเนกประสงค์ 1 ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม

ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม 



Photo

เราจะไปหน้าศาลรัฐธรรมนูญเก่า เพื่อบอกกับตุลาการทั้ง 9 คน พวกคุณละเมิดอำนาจประชาชน พวกคุณไม่เห็นคุณค่าของเรา ประชาชน ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาฯ

"เห็นหัวเราบ้าง" 

เราขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญลาออก เพื่อรับผิดชอบการกระทำนี้ 

6 โมงเย็นวันนี้ พบกัน หน้าที่ทำการศาลรัฐธรรมนูญ(เดิม) ถนนมหาไชย ลงสะพานพระปกเกล้า ทางไปพาหุรัด

เครือข่ายนักกิจกรรม

สาระ+ภาพ: ย้อนผลงาน ‘องค์กรอิสระ’ ฮีโร่ผ่าทางตันการเมืองไทย?

สาระ+ภาพ: ย้อนผลงาน ‘องค์กรอิสระ’ ฮีโร่ผ่าทางตันการเมืองไทย?

 


 
บทบาทขององค์กรอิสระเป็นที่จับตาอย่างยิ่งในช่วง ‘เดทล็อก’ ทางการเมือง จนดูเหมือนทิศทางประเทศอยู่ในมือคนกลุ่มนี้อย่างสำคัญ ประกอบกับจุดหักเหทางการเมืองหลายต่อหลายครั้งตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็ทำให้ ‘คนกลาง’ อย่าง องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งหลายอยู่ในจุดสูงสุดของการถูกตั้งคำถาม

รายงานชิ้นนี้รวบรวมคำวินิจฉัยสำคัญๆ ขององค์กรอิสระ โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีต่อสถาบันทางการเมืองอย่างพรรคการเมือง รัฐบาล และนโยบายภาครัฐ เพื่อทวนความจำ รวมถึงรายละเอียดที่มาของผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองไทยกลุ่มนี้ ซึ่งหลายคนอาจลืมไปแล้ว

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2014/03/52371

มติศาล รธน. 6 ต่อ 3 ชี้เลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ

มติศาล รธน. 6 ต่อ 3 ชี้เลือกตั้ง 2 ก.พ.เป็นโมฆะ

 

Photo
Photo
PhotoPhoto 
Photo 


ศาล รธน. มีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 ชี้เลือกตั้ง 2 ก.พ.ขัดรัฐธรรมนูญ เหตุ 28 เขตภาคใต้ไร้ผู้สมัคร ไม่ได้จัดเลือกตั้งวันเดียว ระบุ รัฐบาลกับกกต. หารือออกพ.ร.ฎ.ใหม่ ปัดพิจารณาใครต้องรับผิดชอบ 

21 มี.ค. 2557 เมื่อเวลา 12.30 น. ว่าที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 6 ต่อ 3 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา เป็นโมฆะ เนื่องจากขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรค 2

นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงผลการวินิจฉัยที่ ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 245 (1) ว่า การจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 ตามพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ โดยศาลมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 สรุปว่า

เมื่อได้ดำเนินการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป ในวันที่ 2 ก.พ. 2557 ไปแล้ว ปรากฏยังไม่มีการจัดการเลือกตั้ง สำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง ซึ่งยังไม่เคยมีการรับสมัครการเลือกตั้งมาก่อนเลย จึงถือได้ว่า ในวันที่ 2 ก.พ. 2557 มิได้มีการเลือกตั้ง วันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ส่วนการที่จะดำเนินการจัดการเลือกตั้ง สำหรับ 28 เขตเลือกตั้ง หลังวันที่ 2 ก.พ.2557 ก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรเช่นเดียว กัน เป็นผลให้ พ.ร.ฎ. ยุบสภา พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในวันที่ 2 ก.พ. ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 108 วรรค 2