หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Press Freedom Index ของปี 2013

Press Freedom Index ของปี 2013






Press Freedom Index ของปี 2013 จัดทำโดย Reporters without borders องค์กรอิสระที่ได้รับการยอมรับระดับแนวหน้าของโลกออกแล้วนะครับ รายงานนี้สำนักข่าวของเกือบทุกประเทศทั่วโลกเอาไปลง 
 
ของตอแหลแลนด์ อันดับดีขึ้นมานิดนึงจากปีที่แล้ว +2อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 135 แต่ก็ยังทำให้ภาคภูมิใจมาก เช่นเดิม คือยังอยู่ในกลุ่ม ที่สื่อในประเทศอยู่ในภาวะ "Difficult Situation" (กลุ่มที่เกือบแย่ที่สุด) เหมือนเดิม โดยประเทศที่อยู่อันดับติดๆกับเรา ได้แก่ เอธิโอเปีย ลิเบีย ตูนิเซีย โมร็อคโค ซิมบับ เวบุรุนดี อินโดนีเซีย และถึงสถานการณ์ของตอแหลแลนด์จะแย่ขนาดนี้ แต่

พรรคเพื่อถอยก็ยังไม่สนใจแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจังยังคง กล้าๆกลัวๆ รัฐมนตรีบางคนก็มีแนวคิดเรืองการเซ็นเซอร์สื่อ เซ็นเซอร์เว็บ ไม่ต่างไปกับรัฐบาลแมลงสาบ

พวก สลิ่ม พรรคแมลงสาบ นอกจากละครเหนือเมฆ การเซ็นเซอร์สื่อ หนังสือ เว็บ อื่นๆ แม่มก็ไม่เคยจะสนใจอะไร ได้แต่ตอแหลดัดจริตไปวันๆ ซ้ำร้ายยังสนับสนุนให้มีการเซ็นเซอร์สื่อบางอย่างให้มากขึ้น

ตอแหลแลนด์จงเจริญ!!!!!

‘นิธิ’ วิเคราะห์ชนชั้นนำ-ทักษิณ-คนชั้นกลางระดับล่าง เสนอเสื้อแดงจัดองค์กรเอง

‘นิธิ’ วิเคราะห์ชนชั้นนำ-ทักษิณ-คนชั้นกลางระดับล่าง เสนอเสื้อแดงจัดองค์กรเอง

"ดังนั้น ต้องจัดองค์กร เพื่อให้ข้อเรียกร้องได้รับการรับฟัง ไม่ใช่ให้พรรคการเมืองเป็นผู้กำหนดเวลา เช่น ขอไม่แตะมาตรา 112 จังหวะก้าวทางการเมืองเป็นเรื่องต้องตกลงกัน ไม่ใช่คิดเองฝ่ายเดียว"


21 ก.พ.56 ที่สถาบันปรีดี  ในงาน "นิทรรศการศิลปะเพื่อเสรีภาพ"  ซึ่งจัดขึ้นเป็นวันแรก นิธิ เอียวศรีวงศ์ ปาฐกถาในหัวข้อ "เสรีภาพ ประชาธิปไตยกับสังคมไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน"  ประชาไทเก็บความนำเสนอ

ทั้งนี้ นิทรรศการศิลปะเพื่อเสรีภาพ จัดโดยกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย,กลุ่มกวีราษฎร์, กลุ่ม Real Frame, กลุ่ม FilmVirus, เครือข่ายศิลปินอิสระ เครือข่ายเดือนตุลา, เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 ระหว่างวันที่ 21-28 ก.พ. ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ โดยมีกิจกรรมแสดงภาพวาด ภาพถ่าย บทกวี ศิลปะจัดวาง ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี อ่านบทกวี ปาฐกถา ฉายภาพยนตร์

นิธิกล่าวว่า

วิธีที่ดีที่สุดในการเข้าใจเรื่องสังคมระยะเปลี่ยนผ่านคือ การย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
หลัง 2475 เป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากกลุ่มเจ้าในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นการแบ่งหรือกระจายอำนาจในกลุ่มราชการโดยที่ประชาชนแทบไม่ได้มาเกี่ยว ข้องด้วย

ในระบอบราชการที่เข้ามาถืออำนาจ มีกองทัพเป็นผู้นำสำคัญทางการเมือง มาเปลี่ยนผ่านเมื่อ 2510 โดยกลุ่มที่เข้ามาแบ่งสรรอำนาจประกอบด้วย

1)กองทัพ และราชการ

2)สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้น

3)กลุ่ม เทคโนแครต นักวิชาการที่รับราชการ ไม่ได้ทำหน้าที่บริหาร แต่มีข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ทำให้ผู้มีอำนาจในวงการเมืองรับฟังและอาจไปผลักดันนโยบาย

 4)กลุ่ม นักธุรกิจอุตสาหกรรม หลังจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ามายึดอำนาจได้เปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ โดยเปิดให้เอกชนเข้ามาทำด้านธุรกิจเพิ่มมากขึ้น สิบปีผ่านไปกลุ่มนี้เติบโตกล้าแข็งขึ้น เริ่มอยากมีอิสรภาพเพิ่มขึ้นบ้างเพื่อที่จะสามารถผลักดันนโยบาย โดยเฉพาะการส่งออก

5)กลุ่มเจ้าพ่อ หรือผู้นำท้องถิ่นที่เติบโตมากับนโยบายพัฒนาด้านเกษตรเพื่อส่งออก ซึ่งขึ้นมาเป็นผู้ให้เงินกู้ในชนบทคุ้มครองกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ชาวบ้านแทน รัฐไทย เริ่มเบนจากธุรกิจมุมมืดเข้าสู่แสงสว่างสลัวมากขึ้น เป็นเจ้ามือหวยเถื่อน
หันมาทำธุรกิจโรงแรมบ้าง

6)กลุ่มแรงงานคอปกขาว เมื่อก่อนมีน้อยมาก แต่สิบปีแรกที่สฤษดิ์เข้ามามีอำนาจ มีการเปิดขยายการศึกษามากในช่วงนั้น
พร้อม กับการเติบโตขึ้นของธุรกิจอุตสาหกรรมเท่ากับเปิดตลาดงานให้กลุ่มคนที่มีความ รู้เฉพาะด้าน ทำให้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ไม่ได้คิดจะรับราชการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม คนเหล่านี้เข้าสู่ระบบเดิมที่มีแต่ราชการกับทหารได้ด้วย
การ ที่พวกเขาเข้าไปร่วมผลประโยชน์กับกลุ่มเก่าค่อนข้างสูง ธนาคารทุกแห่งช่วงนั้นล้วนมีนายพลเป็นประธานกรรมการทั้งสิ้น มีการแบ่งผลประโยชน์ให้ เทคโนแครตในราชการเองก็ให้คำแนะนำการเงินแก่นายพล พวกเขาไม่ใช่คนแปลกหน้าต่อกัน แต่แบ่งปันผลประโยชน์กันในผู้มีอำนาจ
นอกจากนี้ ยังร่วมกันทางวัฒนธรรม โดยคนเหล่านี้ได้รับการศึกษาระดับหนึ่ง ไม่ว่าเจ้าสัวเจ้าของธนาคาร ที่เรียนภาษาจีน ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมา หรือคนไทยที่มีการศึกษา เทคโนแครตที่ไปเรียนต่อต่างประเทศก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมา คนเหล่านี้มีการร่วมวัฒนธรรมสูง นับถือชื่นชมในระบบค่านิยมเดียวกับข้าราชการและทหาร

แกนนำ นปช. หลอกลวงประชาชนไปวัน ๆ

แกนนำ นปช. หลอกลวงประชาชนไปวัน ๆ



[IMG]

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ผมไม่อินกับเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ผมไม่อินกับเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

  

 
โดย อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
โลกวันนี้วันสุข ฉบับที่ 400 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2556

ในรายการเสวนาเรื่อง “การเมือง ความยุติธรรม และ สถาบันกษัตริย์” ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้กล่าวถึงการเลือกตั้งกรุงเทพมหานครตอนหนึ่งว่า เขาจะไม่เลือกคุณพงศพัศ พงษ์เจริญ ตราบเท่าที่พรรคเพื่อไทย ยังไม่อาจสัญญาได้ด้วยซ้ำว่า จะช่วยปล่อยพี่น้องประชาชนเสื้อแดงออกจากคุก โดยความหมายของสมศักดิ์ก็คือ พรรคเพื่อไทยไม่อาจจะเรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชนเพียงข้างเดียว โดยไม่ช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งถ้าพรรคเพื่อไทยที่ประชาชนเลือกไปบริหารประเทศแล้ว เอาแต่ประนีประนอมกับชนชั้นนำแบบจารีตประเพณี โดยวางเฉยต่อประชาชน ประชาชนก็มีสิทธิถอนการสนับสนุนได้


ในกรณีนี้ ผมเองก็เห็นพ้องกับคุณสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในประเด็นที่ว่า รัฐบาลพรรคเพื่อไทยช่วยเหลือพี่น้องคนเสื้อแดงที่ยังคงติดคุกน้อยเกินไป ยอมจำนนต่อศาลและผ่อนปรนต่อฝ่ายอำมาตย์มากเกินไป ถ้าหากมีสิทธิที่จะเลือก ผมก็คงจะเลือกคุณโสภณ พรโชคชัย เบอร์ 4 แทนที่จะเลือกคุณพงศทัต แต่น่าเสียดายว่าผมไม่มีสิทธิในการเลือก เพราะทะเบียนบ้านอยู่สามพราน นครปฐม เพื่อนผมบางคนไม่มีสิทธิเลือกเพราะทะเบียนบ้านอยู่นนทบุรีบ้าง ปากน้ำบ้าง พวกเราเลยกลายเป็นพวกไม่อินกับการเลือกตั้ง กทม. และอิจฉาชาวกรุงเทพฯที่มีโอกาสสนุกอย่างนี้


ที่ชวนแลกเปลี่ยนในเรื่องนี้ เพราะสถานการณ์การเลือกตั้งในกทม.กำลังเข้มข้น ก่อนการลงคะแนนในวันที่ 3 มีนาคม โดยคุ่แข่งขันหลักคือ พล.ต.อ.พงศพัศ เบอร์ 9 จากพรรคเพื่อไทย กับ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เบอร์ 16 จากพรรคประชาธิปัตย์ พวกปีกขวาจัด เช่น ฝ่ายหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ พยายามจะผลักดันให้เลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวศ เบอร์ 11 โดยหวังกันว่า ถ้าพลังเงียบออกมาลงคะแนนเสียงกันมาก พลังเหล่านี้จะปฏิเสธพรรคการเมือง และหันมาเลือก คุณเสรีพิศุทธิ์ ซื่งอ้างกันมีพร้อมทั้งความซื่อสัตย์ และกล้าทำประเภท“จัดหนักได้ทุกเรื่อง” แต่น่าเสียดายว่า พลังเงียบในกรุงเทพฯนั้นเป็นพลังเงียบตลอดกาล ไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลง โอกาสที่คุณเสรีพิศุทธิ์ หรือผู้สมัครคนอื่นจะชนะการเลือกตั้งจึงแทบจะไม่มีเลย 

ได้ยินผู้คนร้องเพลงไหม?

ได้ยินผู้คนร้องเพลงไหม?


ART FOR FREEDOM : เทศกาลศิลปะเพื่อเสรีภาพประชาชน


ได้ยินผู้คนร้องเพลงไหม? ardisto เดอะภารโรง , กานต์ ทัศนภักดิ์ , แก้วตา ธัมอิน
ในงาน "ศิลปะเพื่อเสรีภาพ"
21 ก.พ. 2556 สถาบันปรีดี พนมยงค์  

http://www.youtube.com/watch?v=YYfJhZ78C6s