หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ฉลองแบบโต้รุ่ง "24 มิถุนายน 2475" ที่หมุดคณะราษฎร

ฉลองแบบโต้รุ่ง "24 มิถุนายน 2475" ที่หมุดคณะราษฎร



 
เปิดตัว "คณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์" และการกล่าวรำลึกเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดย พ.ต.พุทธินารถ พหลพลพยุหเสนา บุตรชายของพระยาพหลพลหยุหเสนา ผู้นำคณะราษฎร 

โต้รุ่งรำลึก "24 มิถุนายน 2475" ครบปีที่ 81 
ปิดตัว "คณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์" พร้อมกับจัดงาน "24 มิถุนาฯ เฉลิมฉลองวันชาติประชาชน" ที่หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยจัดแบบโต้รุ่งจนถึงเช้าพรุ่งนี้

รำลึกการปฏิวัติ 2475

แดงสังคมนิยม

รำลึกการปฏิวัติ 2475 




“ราษฎร ทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขา หลอกลวง  บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมาจากข้าศึก  พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ  และกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน..... การปกครองซึ่งคณะราษฎร์จะพึงกระทำก็คือ  จำต้องวางโครงการโดยอาศัยหลักวิชา  ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด   เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว....”

เมื่อเราอ่านแถลงการณ์ของคณะราษฎร์อันนี้ ซึ่งเขียนโดย ปรีดี พนมยงค์ เราอาจคิดว่าหลังการปฏิวัติล้มกษัตริย์ ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ฝ่ายกษัตริย์กระทำการปฏิวัติซ้อนและดึงอำนาจกลับมาสู่กษัตริย์ แต่นั้นจะเป็นความเข้าใจผิดมหาศาล

ระบบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของรัชกาลที่ ๗ เป็นระบบเผด็จการทุนนิยมที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีการรวมศูนย์ประเทศและสร้างรัฐไทยขึ้นมาเป็นครั้งแรก

การทำการปฏิวัติล้มรัชกาลที่ ๗ กระทำไปเพื่อขยายชนชั้นปกครองจากการผูกขาดของกษัตรย์และราชวงศ์ ไปสู่ชนชั้นปกครองที่กว้างกว่าและประกอบไปด้วยทหาร นายทุนเอกชนที่ไม่ใช่กษัตริย์ และข้าราชการที่ไม่ใช่ราชวงศ์ คนอย่าง ปรีดี พนมยงค์ อยากเห็นรัฐสวัสดิการด้วย แต่นั้นเป็นกระแสความคิดของคนกลุ่มน้อยในคณะราษฎร์

การฟื้นฟูบทบาทกษัตริย์เกิดขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน โดยหัวหอกสำคัญคือจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพรรคพวก รวมถึงนายทุนใหญ่และสหรัฐอเมริกา พวกนี้ไม่ใช่รุ่นคณะราษฎร์

แต่ประเด็นที่เราต้องเข้าใจคือ ชนชั้นนายทุนไทย ซึ่งรวมถึงนายทหารระดับสูง ข้าราชการพลเรือน และนายทุนเอกชน นำกษัตริย์รัชกาลที่ ๙ กลับมามีบทบาทเป็นประมุข หลังจากที่ทำให้อำนาจกษัตริย์เป็นหมัน ผลคือกษัตริย์เป็นเครื่องมือของพวกนี้อย่างเบ็ดเสร็จ แน่นอนต้องมีการ “ติดสินบน” เพื่อให้เชื่องด้วย คือยกทรัพย์สินมหาศาลให้และให้คนเล่นละครหมอบคลาน แต่อำนาจแท้อยู่ที่นายทหารระดับสูง ข้าราชการพลเรือน และนายทุนเอกชน โดยเฉพาะทหาร และนี่คือสถานการณ์ปัจจุบัน

(ที่มา)

ประกาศของคณะราษฎร์ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ ราษฎรทั้งหลาย

ประกาศของคณะราษฎร์ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ ราษฎรทั้งหลาย


ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 
http://www.youtube.com/watch?v=q2PbgE5K2-0&feature=player_embedded#!

เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน
http://www.youtube.com/watch?v=Wxe2AbTF_nM&feature=related


เมื่อกษัตริย์ได้ครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้ คงจะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การหาเป็นไปตามความหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริตมีการรับสินบนในการก่อสร้าง ซื้อของใช้ในราชการหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม
 

ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์นี้ มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎร ตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาล ของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดรัจฉานไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นแทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่าภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แต่ละเล็กแต่ละน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียภาษีราชการหรือภาษีส่วนตัว ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว


รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎรเป็นต้นว่า จะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้เจ้าได้กินว่าราษฎรมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษา ที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังตน


ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมาจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนาเพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการผู้น้อย นายสิบและเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบ้านเมืองให้มีงานทำ จึงสมควรที่สนองคุณราษฎร ซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินมีเหลือเท่าไรก็เอาฝากต่างประเทศคอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรมปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย


เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือนที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎร์ และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎร์เห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎร์ไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้นจึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังมิได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎร์ได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูก ลดอำนาจลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา


ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำเพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคน ตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎร์จะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการโดยอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎร์ได้วางไว้มีอยู่ว่า
   

1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง 

2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้กาประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก 

3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่) 

5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 5 ประการดังกล่าวข้างต้น 

6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร


ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎร์ให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วฟ้าดินนี้ให้สำเร็จ คณะราษฎร์ขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร์นี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตรหลาน เหลน ของราษฎรเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมสมบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากความเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา คือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐที่เรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริย์” นั้น ก็พึงจะบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร์  ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ 

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 23 มิถุนายน 2556

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 23 มิถุนายน 2556 



2475 จากไพร่เป็นพลเมือง 
2475 จากไพร่เป็นพลเมือง
http://www.dailymotion.com/video/x1163c9_master-intelligence230656_news#.UcbBHdhGOwE


การอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475 ให้อะไรกับสามัญชน นอกเหนือไปจากรูปแบบการปกครองและรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร
 
คนรุ่นปัจจุบันไม่ตระหนักว่า 24 มิถุนายน 2475 ไม่เพียงให้โอกาสทางการเมือง แต่รวมถึงโอกาสทุกอย่าง ทั้งการศึกษา การประกอบอาชีพ สร้างความเสมอภาค สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับวิถีชีวิตสามัญชน
 
ตรงกันข้าม คนจำนวนมากกลับเข้าใจว่า ก่อน 2475 ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาชนมีชีวิตอย่างสงบสุขใต้พระบรมโพธิสมภาร
 
ณัฐพล ใจจริง อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา ชี้ว่า 2475 ได้ทำให้ประชาชนมีฐานะใหม่ คือเปลี่ยนจาก "ไพร่" มาเป็น "พลเมือง" ผู้มีสิทธิเสรีภาพ สำนึกพลเมืองนี้เองที่ได้ถ่ายทอดมาสู่การเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในช่วงไม่กี่ ปีที่ผ่านมา และทำให้เกิดความตื่นตัวกลับมาสนใจประวัติศาสตร์ 2475 อีกครั้ง

ร่วมเฉลิมฉลองวันชาติ ณ หมุดคณะราษฎร วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556

ร่วมเฉลิมฉลองวันชาติ ณ หมุดคณะราษฎร
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556





 

เชิญร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว "คณะกรรมการ 14 ตุลาเพื่อประชาธิปไตยสมบูรณ์"

ร่วมเฉลิมฉลองวันชาติ ณ หมุดคณะราษฎร
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556


15.30 น. ลงทะเบียนสื่อมวลชนและคณะกรรมการ
16.00น. ประธานคณะกรรมการ จรัล ดิษฐาอภิชัย แถลงเปิดตัวรองประธาน ที่ปรึกษา กรรมการ และองค์กรที่เข้าร่วม เปิดตัวกิจกรรม และโครงการต่างๆ
16.30 น. ลำตัดประชาธิปไตย โดยวีระกานต์ มุสิกพงค์ นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ และชาวคณะ
17.030 น.เปิดให้สื่อซักถาม
18.00น. ร่วมร้องเพลงชาติ 14 มิถุนา

40 ปี 14 ตุลา จงพิทักษ์เจตนารมณ์ ประชาธิปไตยสมบูรณ์ ของวีรชน 14 ตุลา

(เก่าเล่าใหม่) 83 เบื้องหลังคน เบื้องหลังข่าว เรื่องเล่าของ ปรีดี พนมยงค์จากลูกสาว

(เก่าเล่าใหม่) 83 เบื้องหลังคน เบื้องหลังข่าว เรื่องเล่าของ ปรีดี พนมยงค์จากลูกสาว

 

83 เบื้องหลังคน เบื้องหลังข่าว   เรื่องเล่าของ ปรีดี พนมยงค์ 040655 Part2
 

 
 
 






 
83 เบื้องหลังคน เบื้องหลังข่าว เรื่องเล่าของ ปรีดี พนมยงค์ 040655 Part1

83 เบื้องหลังคน เบื้องหลังข่าว เรื่องเล่าของ ปรีดี พนมยงค์ 040655 Part2

(เก่า เล่าใหม่) 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "ปฐมบทรัฐธรรมนูญ"

(เก่า เล่าใหม่) 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "ปฐมบทรัฐธรรมนูญ" 



80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย  "ปฐมบทรัฐธรรมนูญ" 
อ.วรเจตน์ ปฐมบทรัฐธรรมนูญ 80ปีปฏิวัติประชาธิปไตย
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=u7PazFBvVaM#at=176

 
"อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้ง หลาย" นั่นคือประโยคสำคัญในมาตรา 1 มาตราแรกของ "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" ซึ่งประกาศใช้ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 แม้ประโยคนี้จะไม่มีในรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม 2475 ซึ่งเป็นผลจากการ "ปรองดอง" ระหว่างคณะราษฎรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ แต่เนื้อหาที่แจ่มชัดในรัฐธรรมนูญ 2475 ทั้ง 2 ฉบับ และฉบับที่ปรีดี พนมยงค์ แก้ไขใหม่ในปี 2489 คือคณะราษฎรได้เทิดสถาบันพระมหากษัตริย์ให้พ้นไปจากการเมืองการปกครอง เป็นองค์ประมุขที่เคารพสักการะ
 
แต่ฝ่ายตรงข้ามไม่ยินยอมให้เป็นเช่นนั้น เมื่อรัฐประหาร 2490 จึงเกิดรัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม เกิดอภิรัฐมนตรี ที่แปลงมาเป็นองคมนตรีในรัฐธรรมนูญ 2492 และยังให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกตั้งวุฒิสมาชิก
 
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จะชี้ให้เห็นว่า เหตุใดนิติราษฎร์จึงเสนอให้การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยึดเอารัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรก กับบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นแบบ