หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

ชุมนุมหน้าสถานทูตกัมพูชา กรุงเทพฯ ยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชา

ชุมนุมหน้าสถานทูตกัมพูชา กรุงเทพฯ ยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชา







Photo: รัฐบาลกัมพูชายุติความรุนแรงกับคนงานเดี๋ยวนี้!!

Men detained by military police lie on the ground with their hands bound at the scene of deadly clashes on Veng Sreng Boulevard
Silence broken at last
http://www.phnompenhpost.com/national/silence-broken-las

เผยสภาพชีวิตคนงานสิ่งทอกัมพูชา และบริบทในเหตุปราบปราม 2-3 ม.ค.
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/51059 
 
ประท้วงรัฐบาลกัมพูชาที่สลายการชุมนุมของคนงานอย่างรุนแรง ในวันเดียวกัน ๑เกาหลีใต้

 
 
 
ชุมนุมหน้าสถานทูตกัมพูชา กรุงเทพฯ ยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชา

- ยุติการใช้ความรุนแรงปราบปรามคนงานในอุตสาหกรรมรมเสื้อผ้า สิ่งทอ สหภาพแรงงานรวมทั้งประชาสังคมอื่นๆ
- ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมจากการใช้สิทธิที่ชอบธรรมในการชุมนุมโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข
- หามาตรการเพื่อความรับผิดทางกฎหมายและความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ ที่ใช้ความรุนแรงรวมถึงผู้ออกคำสั่งให้ใช้ความรุนแรงต่อคนงานและผู้ชุมนุมอื่นๆ


เนื่องจากในช่วงระหว่างวันที่ 2-4 มกราคมที่ผ่านมา แรงงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โรงงานสิ่งทอ รองเท้า กลุ่มเกษตรชาวนา ได้ทำการชุมนุมสาธารณะและการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้น แต่การชุมนุมตามสิทธิพื้นฐานดังกล่าวกลับได้รับการตอบรับจากรัฐบาลกัมพูชา ด้วยกำลังตำรวจ ทหารพร้อมอาวุธ เข้าจัดการและสลายการชุมนุม องค์กรสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาบอกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจหันปากกระบอกปืนยิงตรงเข้าใส่ผู้ชุมนุม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตรวมอย่างน้อย 5 ราย นอกจากนี้มีผู้บาดเจ็บสาหัสอีกอย่างน้อย 40 ราย ผู้ชุมนุมกว่า 23 รายถูกจับกุมภายใต้การคุมขังของตำรวจและทหาร ที่จังหวักัมปงจาม (Kampong Cham) ทางตะวันออกของประเทศกัมพูชา


นับเป็นเหตุการณ์ประท้วงที่มีการใช้ความรุนแรงจากรัฐที่รุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี 

ประมวลภาพ: พอกันทีฯ จุดเทียนรอบ 3 ปชช.ร่วมล้นลานหน้าหอศิลป์ฯ

ประมวลภาพ: พอกันทีฯ จุดเทียนรอบ 3 ปชช.ร่วมล้นลานหน้าหอศิลป์ฯ 





พอกันที! หยุดการชุมนุมที่สร้างเงื่อนไขไปสู่ความรุนแรง!
http://www.youtube.com/watch?v=QyG48xfuKPo&desktop_uri=%2Fwatch%3Fv%3DQyG48xfuKPo&app=


ประชาชนที่มาร่วมจุดเทียนได้ร่วมทำกิจกรรมย่อย อาทิ เขียนแสดงความคิดเห็นลงบนโพสต์-อิท เข้าคูหากาตามใจ เขียนผ้าระบายความ รู้สึก อ่านกวีดนตรีลำนำ และมีการส่งเสียงการตะโกนว่า "พอกันที" และ "เอาเลือกตั้ง" เป็นระยะ


ในเวลาประมาณ 18.30 น.ประชาชนร่วมกันจุดเทียนในครั้งแรก หลังจากนั้นประชาชนได้อ่านคำแถลงร่วมกัน และมีการร้องเพลง Imagine ของ john Lenon พร้อมกับโบกมือไปตามจังหวะ โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีกลุ่มประชาชนที่ร่วมทำกิจกรรมจุดเทียนจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเดินทางมาเข้าร่วมด้วย ต่อมาประชาชนบางกลุ่มยังไม่เดินทางกลับและยังมีผู้เดินทางมาเข้าร่วมเรื่อยๆ จึงการจุดเทียนอีกครั้งและร่วมกันยืนเป็นรูปวงกลมสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ


กิจกรรมดังกล่าวเสร็จสิ้นและประชาชนแยกย้ายกันในเวลาประมาณ 19.30 น.


(อ่านต่อ)

‘2 เอา 2 ไม่เอา’ หลากฝ่ายจับมือแถลงจุดยืนปฏิรูป ค้าน รปห.-ความรุนแรง เคารพสิทธิเลือกตั้ง

‘2 เอา 2 ไม่เอา’ หลากฝ่ายจับมือแถลงจุดยืนปฏิรูป ค้าน รปห.-ความรุนแรง เคารพสิทธิเลือกตั้ง



แถลงการเครือข่าย "2 เอา 2 ไม่เอา"
http://www.youtube.com/watch?v=l_pHA9n0Y 


10 ม.ค.2557 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการแถลงข่าวของเครือข่าย “2 เอา 2 ไม่เอา” นำเสนอจุดยืน คัดค้านการรัฐประหาร, คัดค้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ, เคารพการใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ, สนับสนุนการปฏิรูปบนวิถีทางประชาธิปไตย (อ่านแถลงการณ์เต็มด้านล่าง) ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างล้นหลาม

ทั้งนี้ เครือข่ายดังกล่าวประกอบด้วย 10 องค์กร ประกอบด้วย สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) สมัชชาคนจน ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มวลมหาประชาคุย เครือข่ายสลัมสี่ภาค ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) กลุ่มโลกสวย ปฏิรูปการเมืองตามวิถีประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี และเครือข่ายภาคประชาสังคม และมีผู้ลงนามท้ายแถลงการณ์รวม 69 ราย

ในการแถลงข่าวมีตัวแทนเครือข่าย ทั้งนักวิชาการ หมอ เอ็นจีโอ ร่วมอภิปรายด้วย มีเนื้อหาน่าสนใจ ประชาไทสรุปความนำเสนอ ดังนี้
 
(อ่านต่อ)

เข้าคูหา-กาตามใจ

เข้าคูหา-กาตามใจ




สุขสันต์วันเด็ก 2557

 สุขสันต์วันเด็ก 2557


 
รูปภาพของ กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
คลิป เนติวิทย์เสนอคำขวัญวันเด็กแห่งชาติ 2557
http://www.youtube.com/watch?v=iR7ZVj8QWPw

 
กำหนดการ (ช่วงเช้า) 10.00 - 10.30 เจอกัน หน้ากองทัพไทย และเดินพร้อมกัน อ่านแถลงการณ์
10.30 - 11.00 มอบดอกไม้ให้เหล่าทหาร ขอบคุณที่ไม่รัฐประหาร

ช่วงบ่าย ณ หอศิลป์ กทม สยาม
14.00 - 14.30 เขียนป้าย เวทีแสดงความเห็น
14.30 - 14.45 นั่งสมาธิร่วมกัน 15 นาที
14.45 - 15.00 กิจกรรมเซอร์ไพรส์ ยังบอกไม่ได้

คำชี้แจง: 1.การปฏิบัติสมาธิเป็นเรื่องสากล ไม่ขึ้นกับศาสนาใดศาสนาหนึ่
2.เมื่อ ปี 49 มีนักวิชาการ ประชาชนออกมามอบ ดอกไม้ให้ทหารที่รัฐประหาร ปี 57 นักเรียนไทย เด็กไทย ผู้รักประชาธิปไตย ขอมอบดอกไม้ที่ไม่รัฐประหาร
3. ผู้เข้าร่วมอยากให้แต่งกายด้วยเสื้อขาว หรือชุดนักเรียน นักศึกษา

จัดโดย : กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท , วารสารการศึกษาปริทัศน์และ Thai Young Flimmaker

สอบถามเพิ่มเติม pridisewa@gmail.com

น้ำเสียง สันติ Respect my Vote วิงวอน ร้องขอ

น้ำเสียง สันติ Respect my Vote วิงวอน ร้องขอ


 
ปรากฏการณ์แห่ง Respect my Vote ไม่ว่าจะเป็น ณ หอศิลปวัฒนธรรม กทม. ไม่ว่าจะเป็น ณ สะพานแก้ว ภายในเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

สะท้อน "อะไร" ในทางการเมือง

หากมองจากมุมมอง "พรรคประชาธิปัตย์" นี่คือการแอบแฝงเข้ามาของคนในเครือข่ายพรรคเพื่อไทย เครือข่ายของรัฐบาล

หากมองจากมุมของ กปปส. และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ตรงไปตรงมาอย่างยิ่ง

"ขี้ข้าทักษิณ"
น่าสนใจก็ตรงที่มิได้มีเพียงการแสดงออกของกลุ่มที่บอกต่อสังคมว่า "พอกันที" ที่นัดรวมตัวจุดเทียนแสดงพลัง

ยุติความรุนแรง เดินหน้า "เลือกตั้ง"

หวั่นสถานการณ์รุนแรง ทปอ.แถลงย้ำจุดยืน เลื่อนเลือกตั้ง แนะ2ฝ่ายหันหน้าเจรจา

หวั่นสถานการณ์รุนแรง ทปอ.แถลงย้ำจุดยืน เลื่อนเลือกตั้ง แนะ2ฝ่ายหันหน้าเจรจา


หวั่นสถานการณ์รุนแรง ทปอ.แถลงย้ำจุดยืน เลื่อนเลือกตั้ง แนะ2ฝ่ายหันหน้าเจรจา


อธิการบดี ม.มหิดล
http://www.isranews.org/thaireform-news-politics/item/26481-democ_26481.html

ชัดเจนแล้วครับ ความพยายามรัฐประหารเงียบ โดยที่ประชุมอธิการบดี ร่วมกับ กกต. สตง. อ้างม็อบโจรอันธพาลมาเรียกร้องนายกฯคนกลาง

ไม่น่าแปลกใจอะไร ที่ประชุมอธิการบดี เปลี่ยนหน้ามาโดยอธิการมหิดล คนในเครือข่ายพ่อไอ้มาร์ค (คนดีผู้ฝากลูกให้หนีทหาร)

ถึงนาทีนี้ต้องสนับสนุนรัฐบาลให้ยืนหยัดสู้ถึงที่สุด ถ้าพวกเมริงอยากรัฐประหาร ก็ทำเลย ไม่เอารัฐประหารเงียบ เอารถถังออกมาเลย นองเลือดเลยดีกว่า

Exclusive วรเจตน์ ภาคีรัตน์: วินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ความน่าเอือมระอาของศาลรัฐธรรมนูญ

Exclusive วรเจตน์ ภาคีรัตน์: วินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ความน่าเอือมระอาของศาลรัฐธรรมนูญ



 
วรเจตน์ ภาคีรัตน์: วินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ความน่าเอือมระอาของศาลรัฐธรรมนูญ
https://www.youtube.com/watch?v=h4vzlntLpeo 


ประชาไทสัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ชี้เป็นอีกครั้งที่ศาลวินิจฉัยโดยไม่มีอำนาจ ชี้ การเมืองไทยวิกฤตเพราะใช้หลักกฎหมายเป็นเครื่องมือ ซึ่งสื่อและสังคมไม่เคยตามทัน และสิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังทำคือการ “ทำซ้ำ” เงื่อนปมทางการเมืองไปสู่การหาทางออกนอกระบอบประชาธิปไตย แต่เขาเชื่อว่าสิ่งที่จะไม่ซ้ำเดิมคือประชาชนจำนวนไม่น้อยนั้นตื่นตัวและ เรียนรู้เพิ่มขึ้นแล้ว และสามารถวิจารณ์การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญได้เองด้วยซ้ำ สำหรับประเด็นการพิจารณาพ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านนั้น เขาเห็นว่าศาลมีอำนาจในการวินิจฉัย แต่เมื่อพิจารณาแนวทางการไต่สวนวันนี้ เขาเห็นว่าศาลกำลังก้าวล่วงเข้าไปแทรกแซงนโยบาย และแสดงความผิดหวังที่นักการเมืองไทยกลัวศาลจนลนลาน ไม่กล้าปฏิเสธคำถามที่ไม่ใช่หน้าที่ของศาล

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2014/01/51032

ชีวิตภายใต้รัฐประหาร – การคุกคามประชาธิปไตยของกองทัพไทย

ชีวิตภายใต้รัฐประหาร – การคุกคามประชาธิปไตยของกองทัพไทย


 
 
โดย  โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
 

กองทัพไทยมีประเพณีอันยาวนานและเลวทรามในการขัดขวาง ประชาธิปไตย ทำร้ายประชาชนและเข้าแทรกแซงการเมืองเมื่อมองว่าจะเป็นผลประโยชน์ต่อตนเอง ตัวอย่างคือเหตุการณ์สังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ ในปี 2553 ที่พวกเขาไม่ลังเลใจที่จะสนับสนุนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แม้ว่ารัฐบาลนี้จะ ปราศจากประชามติตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็ตาม และยังปรากฎด้วยว่าพวกเขาคือผู้กระทำมีความช่ำชองและยินดีที่จะสั่งพลซุ่ม ยิงให้สังหารประชาชนมือเปล่าและตั้ง “เขตใช้กระสุนจริง” เพื่อพิทักษ์อำนาจตนเอง การพิทักษ์อำนาจที่มักนำไปใช้เพื่อทำลายประชาธิปไตยคือข้อเท็จจริงทาง ประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ การทำรัฐประหารหลายครั้งเพื่อใช้กำลังบังคับให้มีการระงับสิทธิทางการเมือง ตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชนไทยกลายเป็นเรื่องปกติ ดูเหมือนว่าการข่มขู่ทำรัฐประหารเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในการดำเนินชีวิตทาง การเมืองของคนไทย

ในทางตรงข้าม เมื่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยขอความช่วยเหลือเพื่อปก ป้องสิทธิทางการเมืองของประชาชนไทย ทหารกลับทำไม่รู้ไม่ชี้ กลุ่มนายพลที่ชั่วช้า (มี “นายพล” หลายระดับหลายร้อยนายในกองทัพไทย) และผู้บัญชาการทหารได้จัดแถลงข่าวและข่มขู่สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือก ตั้งทางอ้อม และหาอ้างอ้างแบบน่าสมเพชเพื่อมาอธิบายว่าทำไมพวกเขาจึงไม่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของพลเรือนตามระบอบประชาธิปไตยและรับผิดทางกฎหมาย และทำไมกองทัพจึงต้องรักษา “ความเป็นกลาง” ซึ่งในบริบทการเมืองไทยหมายความว่าคุณยอมรับกลุ่มต่อต้านประชาธิปไตยว่าเป็น กลุ่มการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ปกติของการพูดคุยทางการเมืองไปโดยปริยาย อย่างชัดเจน ดังนั้น ความเป็นกลางในกรณีนี้คือสัตว์ประหลาดที่ไม่มีอยู่จริงสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ เบี่ยงเบนการวิเคราะห์ที่ถูกต้องเรื่องเงื่อนไขอันแท้จริงภายในการปฏิบัติ การของกองทัพไทย

ผลจากกระบวนการรัฐประหาร การสังหารหมู่และความเฉื่อยชาที่ได้ปลุกเร้าโดยกองทัพคือประชาธิปไตยที่ยัง คงอ่อนแอ เหมือนก้อนน้ำแข็งอันบิดเบี้ยว และพร้อมที่จะแตกสลายทุกเมื่อ ทั้งยังยากที่จะประคับประคองการต่อสู้และการสนทนาที่เกี่ยวกับการเมืองอัน เป็นประโยชน์ได้ ดังนั้นรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตยของนายอภิสิทธิ์จึงสามารถยัดเยียดให้ ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยยอมรับตนเองได้ด้วยการใช้กำลังทางทหารอย่างรุนแรง ในขณะที่ไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและเป็นที่นิยมกลับต้องยุบ สภาเพื่อถ่วงเวลากองทัพที่อาจจะเข้ามาแทรกแซงโค่นล้มรัฐบาล และวงจรนี้ทำให้ประชาธิปไตยไทยอ่อนแอลงทุกครั้ง จะต้องใช้เวลานานอีกเท่าไรก่อนที่วิกฤติอันร้ายแรงยิ่งกว่านี้จะเกิดขึ้น และทำให้ประชาคมโลกที่ติดอาวุธและสนับสนุนกองทัพไทยมาหลายทศววรษหันมาสนใจ ปัญหานี้โดยทันที

สิ่งที่ชัดเจนคือ ตราบใดที่กองทัพไทยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนที่ชอบด้วยกฎหมาย, มีความรับผิดชอบและเป็นประชาธิปไตย กองทัพก็จะยังขัดขวางประชาธิปไตยไทยที่ล้มลุกคุกคลานแต่ก็ยังเติบโตอยู่ต่อ ไปเรื่อยๆ

(ที่มา)
http://robertamsterdam.com/thai/?p=1144

จับตาศาล-องค์กรอิสระ เรียงแถวโค่นรบ.ยิ่งลักษณ์

จับตาศาล-องค์กรอิสระ เรียงแถวโค่นรบ.ยิ่งลักษณ์


 
เอฟทีไล่เรียงศาล-องค์กรอิสระ ต่อต้านการเลือกตั้ง ไม่เอาระบอบรัฐสภา  แห่จองคิวถล่มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จ่อใช้ 'ตุลาการภิวัตน์' เหมือนปี 2551 ช่วยลงดาบซ้ำหากม็อบปิดกรุงเหลว จับตา 'ข้อหาถนนลูกรัง'
 
ผู้สื่อข่าว ไมเคิล พีล ของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ระบุในบทรายงาน เรื่อง "สถาบันต่างๆจ้องเล่นงานรัฐบาลยิ่งลักษณ์" ว่า สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ทบทวนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความสูญเปล่า
 
ก่อนหน้านี้ กกต.เองก็เคยเรียกร้องรัฐบาลให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป อ้างเหตุผลว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุรุนแรง

การเข้าแทรกแซงของสตง. มีขึ้นหลังจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุในสัปดาห์นี้ว่า จะแจ้งข้อกล่าวหาส.ส-ส.ว. รวม 308 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคเพื่อไทยของนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่พยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
 
ล่าสุด เมื่อวันพุธ ตุลาการคนหนึ่งของศาลรัฐธรรมนูญไทย โจมตีโครงการทางรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาล ที่ถูกกล่าวหาว่าขัดรัฐธรรมนูญ เขาแสดงความเห็นว่า เมืองไทยยังไม่พร้อมสำหรับรถไฟความเร็วสูง ควรอัพเกรดถนนลูกรังให้หมดทั้งประเทศเสียก่อน
 
แม้สถาบันเหล่านี้บอกว่า ตนทำงานโดยอิสระ แต่บรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า คำวินิจฉัยของศาลและองค์กรอิสระเป็นการแทรกแซงการเมืองอย่างโจ่งแจ้ง แม้แต่ปีกฝ่ายค้านยังรู้สึกอับอายต่อกรณีศาลรัฐธรรมนูญแทรกแซงโครงการรถไฟ ทีมงานของนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีคลัง และแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ยังทวีตข้อความว่า ตุลาการไม่ควรแสดงความเห็นในเรื่องนโยบาย แม้มีมูลทางกฎหมายที่จะวิจารณ์รัฐบาลก็ตาม
 
ไฟแนนเชียลไทมส์ รายงานว่า แม้ข้อโจมตีของศาลและองค์กรอิสระจะฟังดูพื้นๆ แต่สามารถส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้อย่างใหญ่หลวง

ศาลของประเทศไทยเคยปลดนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช เมื่อปี 2551 ด้วยข้อหารับค่าตอบแทนจากรายการทำกับข้าวทางทีวีตั้งแต่ก่อนดำรงตำแหน่ง และยังเคยยุบพรรคไทยรักไทยกับพรรคพลังประชาชนที่เป็นพันธมิตรของทักษิณและ ยิ่งลักษณ์ พร้อมทั้งตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค เป็นเวลา 5 ปี
 

5 กกต.ลงนามหนังสือ 'ลับ' ถึง 'ยิ่งลักษณ์' พิจารณาเลื่อนเลือกตั้ง

5 กกต.ลงนามหนังสือ 'ลับ' ถึง 'ยิ่งลักษณ์' พิจารณาเลื่อนเลือกตั้ง 



?5 เสือ กกต.สั่ง จนท.ยึดพระราชดำรัสในหลวง ทำบ้านเมืองสงบ? 

5 กกต. ลงนามหนังสือ "ลับ ด่วนที่สุด" ถึง "ยิ่งลักษณ์" พิจารณาเลื่อนเลือกตั้ง 2 ก.พ. ชี้ปัญหาเพียบ หวั่นหลังเลือกตั้งเปิดประชุมไม่ได้ ชี้ทางออก ครม.ส่งกฤษฎีชุดใหญ่ตีความกำหนดวันเลือกตั้งใหม่
 
สำนักข่าวอิศรา รายงาน อ้างแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 5 คนได้ลงนามในหนังสือลับ ด่วนที่สุด ถึง น.ส.ยิ่งลักษริ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาเลื่อนการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. 2557 ออกไป เนื่องจากเห็นว่ามีข้อเท็จจริงหลายประการที่ชี้ให้เห็นว่า หากมีการจัดเลือกตั้ง ในวันที่ 2 ก.พ. จะเกิดปัญหาขึ้น รวมทั้งไม่แน่ใจว่า เมื่อเลือกตั้งไปแล้ว จะเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ เนื่องจาก ส.ส.ที่เลือกมา จะไม่ครบจำนวน 95% ตามที่รัฐธรรมกำหนด ทำให้ไม่สามารถเปิดประชุมได้ ดังนั้น หากมีการเลือกตั้งไป ในสภาพการณ์แบบนี้ จะทำให้สูญเสียงบประมาณจำนวนมาก ซึ่งอำนาจการพิจารณาเลื่อนการเลือกตั้ง เป็นอำนาจของรัฐบาล สามารถกระทำได้โดยการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมในการกำหนดวันเลือก ตั้งใหม่
  
แหล่งข่าวกล่าวว่า มีแนวโน้มที่ ครม.จะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดใหญ่ พิจารณา เพราะรัฐบาล สามารถออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมในการกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้

ทั้งนี้ สำนักข่าวอิศรา รายงานด้วยว่า นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ยืนยันว่า “กกต. ทั้ง 5 ได้ลงนามในหนังสือร่วมกันเพื่อเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตามที่มีข่าวจริง และขณะนี้ กกต.อยู่ระหว่างขั้นตอนการประสานงาน เพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า”

ขณะที่ในช่วงเวลา 13.00 น. ของวันที่ 10 ม.ค.นี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีนัดประชุมวาระพิเศษ ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.เรื่องหนังสือที่ สตง. ส่งมาให้ทบทวนการจัดการเลือกตั้ง 2.กรณีที่ศาลฎีกาได้ปฏิเสธคำร้องของผู้สมัคร ส.ส.ใน 28 เขต 8 จังหวัด และ 3.การประเมินสถานการณ์ปัญหาทางการเมือง และความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้ (9 ม.ค.57) จนถึงวันที่ 2 ก.พ. 2557 ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรรุนแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเลือกตั้งหรือไม่
 
โดยเบื้องต้น นายสมชัย ระบุว่า คาดว่าภายหลังการประชุมหากได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้ว กกต. คงจะต้องไปเข้าพบกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อปรึกษาหารือร่วมกันกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะตามพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้ง ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้ นายกรัฐมนตรี และประธาน กกต. ถือเป็นผู้รักษาการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนี้ ส่วนผลการหารือร่วมกันจะเป็นอย่างไรนั้น คงได้คำตอบที่ชัดเจนหลังจากมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง

(ที่มา)