หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ข้อตกลงระหว่างเพื่อไทยกับอำมาตย์
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

เรา เริ่มเห็นภาพของ “ข้อตกลง” ไม่ว่าจะทางการหรือไม่ ระหว่างอำมาตย์กับพรรคเพื่อไทย เพื่อให้พรรคเพื่อไทยตั้งรัฐบาลได้ และเพื่อให้แกนนำเพื่อไทยถูกกลืนกลับไปเป็นพรรคพวกของอำมาตย์เหมือนเดิม เพราะพรรคไทยรักไทยในอดีตก็เคยเป็นพวกเดียวกับอำมาตย์ก่อนที่จะทะเลาะกัน (อ่านเพิ่ม...)
อำมาตย์ กีดกันไม่ให้เพื่อไทยตั้งรัฐบาลยาก เพราะเสียงประชาชนชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยแสดงความยินยอมที่จะ “ปรองดอง” แบบยอมจำนนต่ออำมาตย์ เพื่อแลกกับการไม่ถูกล้ม โดยการสัญญาว่าจะไม่เปลี่ยนอะไรมากมายในสังคมไทย สรุปแล้วในอดีตเราเห็นรัฐประหาร ๑๙ กันยา ตามด้วยรัฐประหารผ่านศาล และปัจจุบันเราเห็นรัฐประหารที่สาม ผ่านการกดดันและการปรองดองจอมปลอม และผ่านการหักหลังเสื้อแดง

ลองมาพิจารณาประเด็นสำคัญๆ เช่น กรณี 112 กรณีภาคใต้ กรณีคดีการเมืองเนื่องจากการชุมนุม และกรณีทหาร

คดี 112
๕ สิงหาคม ตำรวจจับนักศึกษาที่พึ่งจบจากม.เกษตร นรเวศย์ ยศปิยะเสถียร ในข้อหา 112 เพราะ ดาวน์โหลดข้อความจากอินเตอร์เน็ท นักศึกษาคนนี้โดนฟ้องโดยเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเองคือ นายนิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศา​สตร์ ฝ่ายกิจการนิสิต เป็นผู้มาแจ้งความดำเนินคดี
๑๓ สิงหาคม น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เปิด เผยว่า นับจากนี้ไป จะมีการกำชับให้ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวง ในทุกระดับ มีการเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ในการกำกับดูแลปราบปรามการกระทำผิด พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และการหมิ่นสถาบันผ่านเว็บไซต์ต่างๆ โดยจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด สรุปแล้วไม่มีอะไรดีขึ้น อาจแย่ลง และการเซ็นเซอร์สื่อยังมีอยู่เหมือนเดิม

นักโทษการเมืองคดี 112 ทุก คน เช่นคุณสมยศ อ.สุชัย คุณดาร์ตอร์บิโด และคนอื่นๆ อีกมากมายยังติดคุกอยู่ ทั้งคนที่ผ่านกระบวนการศาลสองมาตรฐาน และคนที่ยังรอคดีในศาล
สส. และรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ด้วยการหมอบ คลาน แต่ยังไม่มีการแสดงความจงรักภักดีต่อประชาชนที่เลือกเขามา

112 สำคัญสำหรับทหารเผด็จการ เพราะเป็นวิธีอ้างความชอบธรรมจากกษัตริย์แล้วปิดปากผู้ที่คัดค้านทหาร การที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยรณรงค์ใช้ 112 ต่อ ไปแสดงว่ายอมรับอิทธิพลของทหาร และยอมรับการใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อกดขี่ประชาชน โดยอาจหวังว่าในอนาคตพวกทหารจะเลิกกล่าวหาทักษิณว่าเป็นพวก “ล้มเจ้า” นี่คือการปรองดองตามเงื่อนไขอำมาตย์

สงครามกลางเมืองในภาคใต้
ภาค ใต้เป็นเรื่องแหลมคมทางการเมือง พรรคเพื่อไทยประกาศว่าจะใช้การเมืองแก้ไขปัญหา โดยพูดถึงนครปัตตนี แต่ในเรื่องความยุติธรรมยังไม่ทำอะไรเลย ทุกอย่างเหมือนเดิม ซึ่งทำให้หลายคนนึกกลับไปสู่การที่รัฐบาลไทยรักไทยปราบปรามประชาชนที่กรือ แซะและตากใบ

นาย ซูดีรือมัน มาเละ เหยื่อการถูกตำรวจทรมานในคดี “ปล้นปืน” ที่นราธิวาสเมื่อปี ๒๕๔๗ ซึ่งยื่นฟ้องให้มีการสืบสวนตำรวจ โดยมีทนายสมชาย นีละไพจิตร ให้ความช่วยเหลือ โดนลงโทษจำคุกสองปีในวันที่ ๑๐ สิงหาคม เพราะ พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา ยื่นฟ้องกลับข้อหา “แจ้งความอันเป็นเท็จ” เกี่ยวกับตนเองทั้งๆ ที่ยังไม่มีการสอบสวนเรื่องการทรมานเลย นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม เห็นว่า การร้องเรียนให้มีการตรวจสอบการกระทำความผิดกรณีการซ้อมทรมาน ผู้ร้องเรียนโดยสุจริตควรได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้เสียหายที่ได้ร้องเรียนโดยสุจริต มีความกล้าเผชิญในการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อนำผู้กระทำผิดโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐมาลงโทษ อันเป็นการส่งเสริมมิให้เกิดวัฒนธรรมผู้กระทำผิดลอยนวล สรุปแล้วเหยื่อที่ถูกตำรวจทรมานโดนจำคุก และทนายของเขาโดนฆ่าตายโดยตำรวจในยุครัฐบาลทักษิณ กรณีแบบนี้ไม่ช่วยสร้างสันติภาพในภาคใต้เลย และส่งเสริมวัฒนธรรมเจ้าหน้าที่รัฐลอยนวล

๑๑ สิงหาคม รัฐบาลยิ่งลักษณ์ปล่อยให้ทหารใช้สไนเปอร์ยิงนักโทษในคุกที่นราธิวาส โชคดีไม่ใครตาย เหตุเกิดเพราะตำรวจบุกเข้าไปค้นยาเสพติดในคุก ประเด็นสำคัญคือ 1. ใครๆ ก็ทราบว่าเจ้าหน้าที่คุมคุกทั่วประเทศเป็นผู้นำยาเสพติกเข้ามาในคุกแต่แรก ทำไมเอาตำรวจเข้าไปค้นที่พักนักโทษ? 2.ทำไมไม่เจรจาใช้วิธีอื่นแก้ปัญหา ทำไมใช้สันดานดิบอำมาตย์คือใช้ทหารติดอาวุธสงครามเพื่อสู้กับคนไม่มีปืน? เมื่อไรจะหยุดวัฒนธรรมเลวๆ แบบนี้สักที? 3. คุกในไทยมีไว้ขังใครและสภาพคุกทำไมจึงเลวร้ายถึงขนาดนี้ ทำไมคนมีเส้นไม่เคยติดคุก? 4. เหตุการณ์นี้จะช่วยสร้างสันติภาพในภาคใต้ได้อย่างไร? และ 5. รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะสั่งหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่รัฐบาลสามารถออกมาประกาศว่าการใช้ทหารไม่เหมาะสม และสามารถวางนโยบายใหม่ แต่เลือกที่จะเงียบเฉยแทน

ใน กรณีภาคใต้ทหารอำมาตย์ต้องการใช้ทหารนำการเมืองต่อไปเหมือนเดิม เราทราบดีจากคำพูดของ ผบทบประยุทธ์ เราคงต้องรอดูว่ารัฐบาลของยิ่งลักษณ์จะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนสถานการณ์หรือไม่ และถ้าไม่ทำเสื้อแดงควรออกมารณรงค์

คดีการชุมนุมของเสื้อแดง
นัก โทษการเมืองเสื้อแดงที่ติดคดีเนื่องจากการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ยังถูกจำคุก ยังถูกฟ้อง และยังถูกปฏิเสธการประกันตัว ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และยังไม่มีการสอบสวนผู้ที่สั่งฆ่าประชาชนเมื่อปีที่แล้ว

รัฐมนตรี และ สส.พรรคเพื่อไทยไว้ทุกข์ให้ญาติกษัตริย์ ยอมใช้เงินรัฐที่มาจากภาษีประชาชนจำนวนมหาศาลในงานศพ แต่ยังไม่มีการไว้ทุกข์ให้ประชาชนผู้เสียชีวิตในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และยังไม่มีการปลดอธิบดี DSI

ข้อ ตกลงกับอำมาตย์แปลว่ายากที่จะเห็นใครโดนลงโทษในข้อหาสั่งฆ่าประชาชนเมื่อปี ที่แล้ว เราคงต้องรอดูต่อไป และพร้อมที่จะออกมาเคลื่อนไหว

ทหาร
การ ตั้งรัฐมนตรีกลาโหมที่เป็นทหาร ตรงข้ามกับการสร้างวัฒนธรรม “พลเรือนคุมทหารผ่านการเลือกตั้ง” และนายทหารคนนี้อาจมีประวัติเกี่ยวข้องกับการปราบประชาชนในอดีต และแน่นอนยังไม่มีการปลดผบทบ.ประยุทธ์

เสื้อแดงกับประชาธิปไตย
ถ้า เราต้องการสร้างประชาธิปไตยแท้ สิทธิเสรีภาพ และความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคม เสื้อแดงต้องเริ่มพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่อง “ข้อตกลงกับอำมาตย์” อันนี้ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเคลื่อนไหวต่อสู้ต่อต้านทั้งอำมาตย์และรัฐบาลพร้อม กัน เราอาจมีความหวังได้ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนใจถ้าเรากดดันเพียงพอ ถ้าเป็นเช่นนั้น เราน่าจะสนับสนุนมาตรการดีๆ ของรัฐบาล แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนใจอะไรเลย และยึดติดกับ “ข้อตกลงกับอำมาตย์” เราต้องสู้กับรัฐบาล

อย่า ลืมว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมามีความสำคัญในประเด็นเดียวเท่านั้น คือการพิสูจน์ว่าคนส่วนใหญ่ไม่เอาทหารเผด็จการและอภิสิทธิ์มือเปื้อนเลือด การมีรัฐบาลใหม่ของพรรคเพื่อไทยจะมีความหมายเป็นสูญ ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น