หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ค่าจ้าง 300 บาทไม่ตรงกับหาเสียง!!!

ทวงถามไปยังพรรคเพื่อไทยอีกครั้งว่ามันเกิด อะไรขึ้น?!?

คสรท.จี้นายกฯทบทวนค่าจ้าง 300 บ. นัดถก"เผดิมชัย" 5 ก.ย.นี้

น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) กล่าวว่า ค่าจ้างขั้นต่ำนั้นคือการอยู่ในกรอบของกฏหมายที่กำหนดให้ได้รับค่าจ้างขั้น ต่ำ 300 บาท ตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน ส่วนค่าครองชีพ ค่าทำงานล่วงเวลา เบี้ยขยัน โบนัส ค่าอาหาร ค่ารถ ถือเป็นสวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กฏหมายกำหนดไว้ จะต้องแยกออกมาจากค่าจ้างขั้นต่ำ ที่ลูกจ้างจะต้องได้ต่างหาก
 
"ตอนหาเสียงพรรคเพื่อไทย(พท.)บอกว่าจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทันทีพร้อมกันทั่วประเทศ แต่พอมาเป็นรัฐบาลแล้ว จะมาบิดเบือนคำพูดของตัวเองไม่ได้  เพราะ รายได้ไม่เกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งอยากให้นายกฯหญิงทบทวน ถึงนโยบายและสิ่งที่ตัวเองพูดด้วย ทั้งนี้ ในวันที่ 5 ก.ย.นี้ คสรท. จะมีการประชุมเรื่องค่าจ้าง จากการรวบรวมข้อมูลค่าครองชีพตามความเป็นจริงของแรงงานในเขตปริมณฑลและใน ต่างจังหวัด เพื่อแถลงเป็นข้อมูลต่อไป"


ด้านนายยงยุทธ เม่นตะเภา ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการแถลงนโยบายของรัฐบาลเรื่องค่าจ้าง 300บาทถือว่าผิดเพี้ยนจากช่วงหาเสียงที่บอกว่าจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300บาททันทีทั่วประเทศ มาเป็นรายได้ไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาทซึ่งทุกวันนี้หากเอาค่าจ้างรวมกับค่าล่วงเวลาและสวัสดิการต่างๆก็ถือว่า มีรายได้มากกว่า300 บาทอยู่ แล้ว ซึ่งเครือข่ายแรงงานจะไม่ยอมถอยในเรื่องนี้และหากรัฐบาลเบี้ยวผู้ใช้แรงงาน ในลักษณะนี้ก็คงต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างแน่นอน 

นายยงยุทธ กล่าวว่า เบื้องต้นทางเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยจะจัดสัมมนาในวันที่ 5 ก.ย. และนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์รมว.แรงงานได้ตกลงเข้าร่วมงานแล้วดังนั้นจะใช้โอกาสนี้ระดมพี่ น้องแรงงานมาร่วมสัมมนาและซักถามนายเผดิมชัยให้ชัดแจ้งว่ารัฐบาลจะทำอย่างไร กันแน่


ขณะ ที่นายพรมมา ภูมิพันธุ์โฆษกสหพันธ์แรงงานสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์เครื่อง หนังแห่งประเทศไทยกล่าวว่า รัฐบาลกำลังเลี่ยงบาลีและซื้อเวลาเนื่องจากในช่วงเลือกตั้งเคยคุยกับนายจารุ พงศ์ เรืองสุวรรณเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และได้รับการยืนยันว่าจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300บาททั่วประเทศ "ถ้า เป็นแบบนี้เราไม่พอใจแน่นอนเพราะค่าจ้างขั้นต่ำกับรายได้เป็นคนละอย่าง กันถ้ารัฐบาลทำแบบนี้เราจะออกมาทวงถามไปยังพรรคเพื่อไทยอีกครั้งว่ามันเกิด อะไรขึ้น"นายพรมมากล่าว

ส่วน นางอำนวย เอี่ยมรักษาอดีตประธานสหพันธ์แรงงานกระดาษและการพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่าไม่เห็นด้วยที่จะเอาเรื่องผลิตภาพและทักษะฝีมือมาผูกกับค่าจ้าง เพราะรัฐบาลบอกว่าวันที่1 ม.ค. 2555 จะขึ้นค่าจ้างให้มันทีหลังจากนี้จะเคลื่อนไหวร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรง งานไทยกดดันรัฐบาลต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น