หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

5 ปีรัฐประหาร 5 ปี 19 กันยายน 2549 "รุก" ยัน "รับ"


ถึงแม้สื่อกระแสหลักยังไม่ให้ความสนใจต่อวาระครบ 5 ปี ของรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มากนัก

แต่บรรยากาศในหมู่ ปัญญาชน นักวิชาการ และในหมู่ คนเสื้อแดง คึกคักอย่างยิ่ง

ตรงกันข้าม ไม่มีการเคลื่อนไหวจาก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้มีบทบาทเป็นอย่างสูงในการยึดอำนาจ โค่นรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

แม้กระทั่ง พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ก็เงียบ

แม้กระทั่ง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ก็เงียบ

ยิ่ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้เสพเสวยผลพวงจากการรัฐประหารด้วยตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี" ยิ่งเงียบ

เงียบเหมือน พล.อ.วินัย ภัททิยกุล เลขาธิการ คมช.

ความ จริง ผู้มีบทบาทในการทำรัฐประหารกระทั่งสามารถโค่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงได้ภายในชั่วข้ามคืนน่าจะร่วมกันเฉลิมฉลองชัยชนะ ประกาศความสำเร็จ แสดงความยินดีเปิดแชมเปญ

ตรงกันข้าม คนที่ออกมาเคลื่อนไหวกลับเป็นฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการรัฐประหาร

นี่ย่อมแปลกอย่างประหลาดยิ่ง

ถามว่า "เป้าหมาย" ของสถานการณ์ก่อนและภายหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คืออะไร

ตอบได้ว่า คือ โค่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

สรุปตามสำนวนของพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องว่า คือ โค่นระบอบทักษิณ

กองหน้าในการเคลื่อนไหวนี้คือ รายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิป ไตย

แนวร่วม ส่วนหนึ่ง เป็นกลุ่มอำนาจอันเรียกว่า "อำมาตยาธิปไตย"

กลุ่ม นี้เป็นทั้งบรรดาคนชั้นสูงซึ่งเคยมีตำแหน่งทางการเมือง ตำแหน่งทางราชการในระดับหัวกะทิ บางส่วนมีสถานะทางสังคม บางส่วนเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่

ขณะเดียวกัน ส่วนหนึ่งเป็นปัญญาชน นักวิชาการ เป็นนักเคลื่อนไหวภาคประชาชน

บาง คนเคยมีบทบาทในการเคลื่อนไหวตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคม 2516 บางคนเคยมีบทบาทอย่างสำคัญในขบวนการฝ่ายซ้าย บางคนเป็นถึงกรรมการบริหารกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ด้วยซ้ำ

เมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปูทางสร้างเงื่อนไขได้ควรแก่เวลา กองทัพก็นำกำลังออกมาประกาศยึดอำนาจ

เป็นการยึดอำนาจโดยประสานกับขบวนการตุลาการภิวัฒน์

ผ่าน มา 5 ปี อาจสรุปได้ว่าขบวนการ รัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 สามารถโค่น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกจากอำนาจได้ในระดับที่แน่นอนหนึ่ง

แต่ยังมิอาจสยบให้ศิโรราบได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

รูปธรรม 1 คือ ชัยชนะที่พรรคพลังประชาชนได้มาในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550

แต่ชัยชนะนี้ก็ไม่ยืนยาวเดือนธันวาคม 2551 ก็ถูกโค่นอีก

รูปธรรม 1 คือ ชัยชนะที่พรรคเพื่อไทยได้มาในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 เป็นชัยชนะที่ถล่มทลายมากยิ่งกว่าที่เคยได้มาในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ เดือนธันวาคม 2550

พรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล โดย น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

2 ปรากฏการณ์จากการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2550 และจากการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2554 ยืนยันถึงการดำรงอยู่ ของอิทธิพลทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยืนยันถึงการดำรงอยู่ของระบอบทักษิณ

เป็นการดำรงอยู่ภายใต้ร่มเงาของรัฐธรรม นูญ พ.ศ.2550 อันเป็นผลผลิตจากการรัฐประหาร

เป็น การดำรงอยู่ภายใต้โครงสร้างของ กองทัพซึ่ง ผบ.เหล่าทัพเติบใหญ่มาจากการมีส่วนร่วมในการรัฐประหาร และการมีส่วนร่วมในการค้ำยันรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์

การดำรงอยู่ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงเป็นการดำรงอยู่บนความไม่แน่นอน

ความไม่แน่นอนของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือเงาสะท้อนแห่งอิทธิพลจากการรัฐประหาร

แม้ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะมีอำนาจทางการเมือง แต่ก็ยังไม่ได้ครองอำนาจเหนือ "กลไกอำนาจรัฐ" อย่างเป็นจริง ทั้ง 2 ฝ่ายจึงอยู่ในลักษณะยัน ผลัดกันรุก ผลักกันรับ


วาทกรรม "ปรองดอง" จึงเสมอเป็นเพียง "น้ำยาบ้วนปาก" ในทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น