| โดย เกษียร เตชะพีระ
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 23 กันยายน 2554)
|
เป็นเรื่องเผอิญประจวบเหมาะที่น้ำกำลังท่วมประเทศไทยหลายจังหวัด ในจังหวะครบรอบ 5 ปี ของรัฐประหาร คปค.พอดี
ทำให้ผมอดครุ่นคิดถึงความเกี่ยวพันอย่างยอกย้อนระหว่างปัญหาสิ่งแวดล้อมกับประชาธิปไตยในโลกปัจจุบันไม่ได้
ว่า ทำไมเท่าที่ผ่านมาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดังที่เป็นอยู่ (actually existing democracies) หรือนัยหนึ่งการปกครองด้วยอำนาจเสียงข้างมากผ่านการเลือกตั้ง จึงไม่สามารถนำพานานาประเทศในโลกไปดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมใหญ่ๆ อย่างเช่นภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงหรือโลกร้อนสำเร็จ เพื่อจะอนุรักษ์ดาวพระเคราะห์โลกให้อยู่ยั่งยืนได้?
พูดแบบนี้ไม่ได้แปลว่าระบอบเผด็จการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าประชาธิปไตยนะครับ
การ ไม่มีสื่อเสรี, ประชาชนไม่มีสิทธิรวมตัวจัดตั้งเคลื่อนไหวกดดันรัฐและทุนโดยอิสระ, ผู้ปกครองผูกขาดอำนาจโดยไม่ต้องรับผิดต่อความบกพร่องผิดพลาดทางนโยบาย การบริหารจัดการหรือทุจริต คอร์รัปชั่น ที่เกิดขึ้น, การอ้างอิงความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นฐานความชอบธรรมหลักแก่อำนาจผูกขาด ของตน เพื่อชดเชยความขาดพร่องสิทธิเสรีภาพสาธารณะและไม่เป็นประชาธิปไตย ฯลฯ เหล่านี้ล้วนทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมค่อนข้างด้อยความสำคัญและมักถูกละเลยภาย ใต้เผด็จการ เสียยิ่งกว่า
และถ้าจะอ้างสมรรถนะในการใช้อำนาจแก้ ปัญหาได้เด็ดขาดเฉียบพลันขนานใหญ่ ไม่ต้องรอท่ารับฟังหรือเกรงใจใคร ว่านี่เป็นจุดแข็งข้อดีของเผด็จการหากแม้นผู้ปกครองเกิดตาสว่างตระหนักถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ขอให้ดูตัวอย่างกรณีพลเอกอาวุโสตานฉ่วยจอมเผด็จการทหาร พม่าสั่งเปิดโครงการเขียวอื๋อรณรงค์ปลูกสบู่ดำเพื่อทำไบโอดีเซลให้ได้ 8 ล้านเอเคอร์ทั่วประเทศ ภายใน 3 ปี จากธันวาคม ค.ศ.2005-2008
|
ปรากฏ ว่า เอาเข้าจริงมันส่งผลให้ชาวบ้านพม่าถูกรัฐแย่งยึดที่ดินทำกิน, บังคับกะเกณฑ์แรงงาน, ข่มขู่คุกคามและจับกุมปรับสินไหมเพื่อให้ปลูกสบู่ดำครบต้นตามโควตารายหัว เยี่ยงไพร่ทาสของรัฐ, ต้องสูญเสียรายได้และความมั่นคงทางอาหาร, พากันอพยพหลบหนีเข้าไทยเป็น "ผู้ลี้ภัย สบู่ดำ"
และในที่สุดโครงการดังกล่าวก็ล้มเหลวเปล่า
(อ่านต่อ...) |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น